สินค้าล้นตลาด เพราะการผลิตเยอะกว่าความต้องการซื้อ
นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับจีนในตอนนี้
โดยจุดเริ่มต้นของปัญหานี้ ก็มาจาก การที่จีนต้องเจอปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ ซึ่งกระทบต่อการส่งออก
ทำให้จีนจำเป็นต้องหาเครื่องจักรตัวใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้โตได้อย่างที่หวัง
และการสนับสนุนภาคการผลิต ก็คือหนึ่งในเครื่องจักรที่จีนเลือก
โดยช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีนโยบายในการสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจ
เช่น นโยบาย Made in China 2025 ที่สนับสนุนการผลิตและการบริโภคในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
หรือนโยบายส่งเสริมการผลิตของรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ภาครัฐถือหุ้น
รวมถึงการอัดฉีดสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของภาคธุรกิจ
นโยบายเหล่านี้ทำให้มีสินค้าของจีนออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กำลังซื้อของคนจีนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามการผลิต เพราะรายได้ถูกฉุดด้วยเศรษฐกิจที่ซบเซา
รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หายไปจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์
ในขณะที่การจะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ ก็ถูกกีดกัน จากมาตรการต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการนำเข้าจากจีน
เมื่อมีสินค้าผลิตออกมามากกว่าความต้องการ ก็ทำให้ระดับสินค้าคงเหลือของจีน มีการปรับสูงขึ้นในหลายหมวดสินค้า ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือยานยนต์
และเมื่อขายไม่ออก สิ่งหนึ่งที่ทำได้ก็คือการลดราคาสินค้า ซึ่งดูได้จากอัตราเงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตของจีนที่ลดลงในปี 2565 และติดลบในปี 2566
เมื่อผู้ผลิตลดราคาสินค้า ก็หมายถึงราคาสินค้าในตลาดที่จะลดลง ซึ่งก็หมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง และกลายเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้จีนเข้าสู่ ภาวะเงินฝืดแบบยืดเยื้อ ในที่สุด
แต่ปัญหานี้ก็ไม่ได้จบแค่ในจีน..
เพราะนอกจากการลดราคา อีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้เพื่อระบายสินค้าคงเหลือก็คือ การหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อทดแทนความต้องการในประเทศที่ลดลง และการโดนกีดกันและลดการนำเข้าจากสหรัฐฯ
ซึ่งไทย ก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของสินค้าเหล่านั้น
โดยเมื่อดูตัวเลขการนำเข้า จะพบว่าจีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับ 1 ของไทย และกำลังมีมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยครองสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของการนำเข้าของไทยทั้งหมด
เมื่อสินค้าราคาถูกจากจีน มาตีตลาดไทย ถ้าถามว่าใครได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการไทย ที่ไม่สามารถสู้ต้นทุนการผลิตกับจีนได้ จนสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศ และต้องหยุดผลิตไปในที่สุด
โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ที่เรานำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นมา 4 ปีติดต่อกัน และครองสัดส่วนมากถึง 40% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดของไทย
โดยสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ไทยนำเข้าจากจีนมากที่สุด ก็คือ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
- เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน
และยังมีสินค้าที่เรานำเข้ามากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คือ
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน
และเมื่อลองมาดูอัตราการใช้กำลังการผลิตของไทย ในอุตสาหกรรมที่มีสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดบ้านเรา ก็จะพบว่ากำลังลดลงอย่างหนัก..
โดยเมื่อดูปี 2565 เทียบกับปี 2566 จะพบว่า
- การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จาก 52% เหลือ 39%
- การผลิตเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
(กระเป๋า รองเท้า) จาก 52% เหลือ 44%
- การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าแผ่น จาก 42% เหลือ 37%
แม้สาเหตุหนึ่งที่อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง จะมาจาก กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ลดลง
แต่จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ก็ระบุว่า การที่ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนแทน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่บริษัทไทยได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศลดลง
และเมื่ออัตราการผลิตลดลง ก็หมายถึง จำนวนแรงงานที่ลดลง หรือก็คือคนตกงานกันมากขึ้น
โดยเมื่อดูดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม ที่จะช่วยให้เห็นแนวโน้มการจ้างงานในแต่ละอุตสาหกรรม ก็พบว่าลดลงอย่างมากเช่นกัน ในอุตสาหกรรมที่เรามีการนำเข้าสินค้าจากจีน
นอกจากผลกระทบต่อผู้ผลิตและแรงงานไทยแล้ว
การเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากจีน ยังเป็นส่วนหนึ่งที่กดให้เงินเฟ้อของไทยต่ำมาหลายเดือนติดต่อกัน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะเป็นบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อีกทั้งการขาดดุลทางการค้า ที่เราขาดดุลกับจีนมาหลายปีติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นปัญหาที่เราต้องเจออยู่ในตอนนี้
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าจะพูดว่าไทยกำลังเป็นแหล่งระบายของเหลือจากจีน และกำลังนำเข้าเงินฝืดจากจีน ก็คงไม่ผิด
โดยนอกจากไทย ก็ยังมีอีกหลายประเทศเช่นกันที่เจอกับปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ หรือยุโรป จนต้องออกนโยบายมาป้องกันการทุ่มตลาดของสินค้าจีน เพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ และลดการนำเข้าเงินฝืด
ก็น่าติดตามว่า เราจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ด้วยการสร้างสมดุลระหว่าง การป้องกัน การเข้ามาทุ่มตลาดของสินค้าจีน ควบคู่กับ การรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า ได้หรือไม่
เพราะเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้..
เมื่อจีนแย่ เราแย่ด้วย
การที่จีนต้องเจอปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์
และการถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ ซึ่งกระทบต่อการส่งออก
เราจึงกลายเป็นหนึ่งในทางออกของจีน สำหรับผลักดันการเติบโตเศรษฐกิจจีน
แต่กำลังซื้อของไทยน้อยมาก ปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย การมาสินค้าจีน
ทำให้ปิดโรงงาน การเลิกจ้าง ไม่มีกำลังซื้อ ยิ่งทำให้ภาวะเงินฝืดเราขยายตัว
จขกท ไม่รู้ว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของแต่ละประเทศในอาเซียนเป็นอย่างไร
แต่สำหรับไทยสาหัสพอสมควร ภาคการผลิตเรามีปัญหาแน่นอนในระยะยาว
ทุกวันนี้ผู้ประกอบการเริ่มไม่ผลิตในโรงงานไทยแล้ว
หากไม่คุ้มค่ากว่าจ้างการผลิตในจีน และส่งออกไทยเริ่มมีปัญหาซ้ำด้วย
ทางออกของปัญหา สำหรับสถานการณ์นี้ เราควรแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร
ภาคการคลัง
ขึ้นภาษีนำเข้า ?
ลดภาษี ?
หาตลาดส่งออกใหม่ ?
สนับสนุนการลงทุนภาครัฐและเอกชน ?
ใช้งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล ?
เลิกอุ้มราคาพลังงาน หาแหล่งพลังงานราคาถูกใหม่ ?
ภาคการเงิน
ซื้อพันธบัตร ?
ลดดอกเบี้ย ซื้อเงินบาท เทขายดอลลาร์ ?
จขกท คิดว่า ราคาพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อการภาคการผลิตอย่างมาก ยิ่งกว่าค่าแรง
หากราชการหาแหล่งพลังงานใหม่ ที่ราคาถูกกว่าในปัจจุบัน
จะยิ่งทำให้ภาคการผลิตไทยยังแข็งแกร่ง และการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีการผลิต
จะทำให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน และก้าวทันตลาดโลกครับ
แต่เทรนด์ของ deglobalization / slowbalization ความขัดแย้ง ทำให้ทั่วโลกเริ่มพึ่งพาตนเองมากกว่าเดิม
การผลิตก็จะเน้นการผลิตในมิตรประเทศ หรือ ประเทศตนเอง เกิดการเติบโตที่ช้าลงของโลกาภิวัฒน์
ไทยที่ต้องการจะเป็นสวรรค์ของทุกคน จึงเป็นหมุดหมายสำคัญ
ที่ไทยต้องเดินไปให้ถึง ไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร เพื่อให้ประโยชน์กับทุกฝ่ายครับ
เศรษฐกิจไทย กำลังปั่นป่วน จากการเป็นแหล่งระบาย ของล้นตลาด จากจีน
นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับจีนในตอนนี้
โดยจุดเริ่มต้นของปัญหานี้ ก็มาจาก การที่จีนต้องเจอปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ ซึ่งกระทบต่อการส่งออก
ทำให้จีนจำเป็นต้องหาเครื่องจักรตัวใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้โตได้อย่างที่หวัง
และการสนับสนุนภาคการผลิต ก็คือหนึ่งในเครื่องจักรที่จีนเลือก
โดยช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีนโยบายในการสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจ
เช่น นโยบาย Made in China 2025 ที่สนับสนุนการผลิตและการบริโภคในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
หรือนโยบายส่งเสริมการผลิตของรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ภาครัฐถือหุ้น
รวมถึงการอัดฉีดสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของภาคธุรกิจ
นโยบายเหล่านี้ทำให้มีสินค้าของจีนออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กำลังซื้อของคนจีนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามการผลิต เพราะรายได้ถูกฉุดด้วยเศรษฐกิจที่ซบเซา
รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หายไปจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์
ในขณะที่การจะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ ก็ถูกกีดกัน จากมาตรการต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการนำเข้าจากจีน
เมื่อมีสินค้าผลิตออกมามากกว่าความต้องการ ก็ทำให้ระดับสินค้าคงเหลือของจีน มีการปรับสูงขึ้นในหลายหมวดสินค้า ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือยานยนต์
และเมื่อขายไม่ออก สิ่งหนึ่งที่ทำได้ก็คือการลดราคาสินค้า ซึ่งดูได้จากอัตราเงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตของจีนที่ลดลงในปี 2565 และติดลบในปี 2566
เมื่อผู้ผลิตลดราคาสินค้า ก็หมายถึงราคาสินค้าในตลาดที่จะลดลง ซึ่งก็หมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง และกลายเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้จีนเข้าสู่ ภาวะเงินฝืดแบบยืดเยื้อ ในที่สุด
แต่ปัญหานี้ก็ไม่ได้จบแค่ในจีน..
เพราะนอกจากการลดราคา อีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้เพื่อระบายสินค้าคงเหลือก็คือ การหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพื่อทดแทนความต้องการในประเทศที่ลดลง และการโดนกีดกันและลดการนำเข้าจากสหรัฐฯ
ซึ่งไทย ก็เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของสินค้าเหล่านั้น
โดยเมื่อดูตัวเลขการนำเข้า จะพบว่าจีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับ 1 ของไทย และกำลังมีมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น โดยครองสัดส่วนกว่า 1 ใน 4 ของการนำเข้าของไทยทั้งหมด
เมื่อสินค้าราคาถูกจากจีน มาตีตลาดไทย ถ้าถามว่าใครได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการไทย ที่ไม่สามารถสู้ต้นทุนการผลิตกับจีนได้ จนสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศ และต้องหยุดผลิตไปในที่สุด
โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ที่เรานำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นมา 4 ปีติดต่อกัน และครองสัดส่วนมากถึง 40% ของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดของไทย
โดยสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ไทยนำเข้าจากจีนมากที่สุด ก็คือ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด
- เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน
และยังมีสินค้าที่เรานำเข้ามากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็คือ
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน
และเมื่อลองมาดูอัตราการใช้กำลังการผลิตของไทย ในอุตสาหกรรมที่มีสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดบ้านเรา ก็จะพบว่ากำลังลดลงอย่างหนัก..
โดยเมื่อดูปี 2565 เทียบกับปี 2566 จะพบว่า
- การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จาก 52% เหลือ 39%
- การผลิตเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
(กระเป๋า รองเท้า) จาก 52% เหลือ 44%
- การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าแผ่น จาก 42% เหลือ 37%
แม้สาเหตุหนึ่งที่อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง จะมาจาก กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ลดลง
แต่จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ก็ระบุว่า การที่ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าราคาถูกจากจีนแทน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่บริษัทไทยได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศลดลง
และเมื่ออัตราการผลิตลดลง ก็หมายถึง จำนวนแรงงานที่ลดลง หรือก็คือคนตกงานกันมากขึ้น
โดยเมื่อดูดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม ที่จะช่วยให้เห็นแนวโน้มการจ้างงานในแต่ละอุตสาหกรรม ก็พบว่าลดลงอย่างมากเช่นกัน ในอุตสาหกรรมที่เรามีการนำเข้าสินค้าจากจีน
นอกจากผลกระทบต่อผู้ผลิตและแรงงานไทยแล้ว
การเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากจีน ยังเป็นส่วนหนึ่งที่กดให้เงินเฟ้อของไทยต่ำมาหลายเดือนติดต่อกัน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะเป็นบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
อีกทั้งการขาดดุลทางการค้า ที่เราขาดดุลกับจีนมาหลายปีติดต่อกัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นปัญหาที่เราต้องเจออยู่ในตอนนี้
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าจะพูดว่าไทยกำลังเป็นแหล่งระบายของเหลือจากจีน และกำลังนำเข้าเงินฝืดจากจีน ก็คงไม่ผิด
โดยนอกจากไทย ก็ยังมีอีกหลายประเทศเช่นกันที่เจอกับปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ หรือยุโรป จนต้องออกนโยบายมาป้องกันการทุ่มตลาดของสินค้าจีน เพื่อปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ และลดการนำเข้าเงินฝืด
ก็น่าติดตามว่า เราจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ด้วยการสร้างสมดุลระหว่าง การป้องกัน การเข้ามาทุ่มตลาดของสินค้าจีน ควบคู่กับ การรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า ได้หรือไม่
เพราะเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้..