สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ไม่รอดหลอกครับ สายการบินภาระแห่งชาติกะลาแลนด์ ล้มละลายแน่ๆ
นี่ยังดีช่วงนี้น่าจะกำไรค่าเงินอยู่ น่าเปลื่ยนธุรกิจไปเทรดForex แทน
น้ำมันก็ถูกๆ
พยายามไปก็เท่านั้น คนดีศรีนกหวีต ยึดครองอยู่
ล้มแล้วตั้งใหม่ เจ็บน้อยกว่าครับ
สังเกตุไหม องค์กรณ์ห่วยๆ ขาดทุน มักมีแต่พวก คนดีศรีนกหวีตเต็มเลย สายการบินภาระแห่งชาติกะลาแลนด์ การรถไฟแห่งกะลาแลนด์ โทรศัพท์กะลาแลนด์
นี่ยังดีช่วงนี้น่าจะกำไรค่าเงินอยู่ น่าเปลื่ยนธุรกิจไปเทรดForex แทน
น้ำมันก็ถูกๆ
พยายามไปก็เท่านั้น คนดีศรีนกหวีต ยึดครองอยู่
ล้มแล้วตั้งใหม่ เจ็บน้อยกว่าครับ
สังเกตุไหม องค์กรณ์ห่วยๆ ขาดทุน มักมีแต่พวก คนดีศรีนกหวีตเต็มเลย สายการบินภาระแห่งชาติกะลาแลนด์ การรถไฟแห่งกะลาแลนด์ โทรศัพท์กะลาแลนด์
ความคิดเห็นที่ 5
ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นของคนทั้งประเทศ แต่รู้สึกว่าเป็นองค์กรที่เห็นแก่ตัว ทำลายผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
เมื่อไร้ความสามารถในการบริหารก็มาเรียกร้องเกาะคนในประเทศ "กัมมุนา วัตตติ โลโก" ค่ะ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอย่านำเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง เพราะคุณพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวกับการเมืองเองตั้งแต่แรก
แทนที่คุณจะมีวิสัยทัศน์พัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ กลับมีวิสัยทัศน์องค์แบบนี้
แทนที่คุณจะมีแนวทางปฏิรูปองค์กร คุณกลับสนับสนุนการทำลายประเทศ แล้วมันเกี่ยวกับการปฏิรูปองค์กรคุณตรงไหน
แทนที่จะจัดกิจกรรมอบรมพนักงาน ปรับปรุงบริการ แต่ดูกิจกรรมที่พวกคุณจัด บอกว่าเพื่อวันข้างหน้าของพวกคุณ
นี่ไงล่ะ วันนี้มาถึงแล้ว
สารพัดปัญหาในองค์กรที่อุ้ยอ้าย ไม่มืออาชีพ นี่ไม่นับปัญหาที่ผู้โดยสารเอือมระอา ทั้งด้านบริการ เช่นเรื่องเสิร์ฟกาแฟในตำนาน หรือการเผยแพร่ข้อมูลลูกค้าเพราะหวังผลทางการเมือง
ไม่ได้จะซ้ำเติม แต่ทุกอย่างเมื่อเกิดปัญหา ต้องมองด้วยว่ารากมันมาจากอะไร ไม่ใช่โทษนั่นโทษนี่ แล้วคิดแต่ใช้เงินภาษีไปอุ้ม
คุณไม่ทำหน้าที่ตัวเองให้ดีก่อน วันนี้จะให้ใครมาสงสาร
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอให้ผ่านวิกฤตไปให้ได้ พยายามเรียนรู้จากกรณีศึกษา วางกลยุทธ์ ตั้งเป้าหมาย และทำให้สำเร็จ
ใช้วิธีแบบนักบริหารมืออาชีพที่มีวิสัยทัศน์และมีใจสู้ ไม่ใช่วิธีมวยวัดแบบศักดินา
เมื่อไร้ความสามารถในการบริหารก็มาเรียกร้องเกาะคนในประเทศ "กัมมุนา วัตตติ โลโก" ค่ะ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอย่านำเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง เพราะคุณพาตัวเองเข้าไปเกี่ยวกับการเมืองเองตั้งแต่แรก
แทนที่คุณจะมีวิสัยทัศน์พัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ กลับมีวิสัยทัศน์องค์แบบนี้
แทนที่คุณจะมีแนวทางปฏิรูปองค์กร คุณกลับสนับสนุนการทำลายประเทศ แล้วมันเกี่ยวกับการปฏิรูปองค์กรคุณตรงไหน
แทนที่จะจัดกิจกรรมอบรมพนักงาน ปรับปรุงบริการ แต่ดูกิจกรรมที่พวกคุณจัด บอกว่าเพื่อวันข้างหน้าของพวกคุณ
นี่ไงล่ะ วันนี้มาถึงแล้ว
สารพัดปัญหาในองค์กรที่อุ้ยอ้าย ไม่มืออาชีพ นี่ไม่นับปัญหาที่ผู้โดยสารเอือมระอา ทั้งด้านบริการ เช่นเรื่องเสิร์ฟกาแฟในตำนาน หรือการเผยแพร่ข้อมูลลูกค้าเพราะหวังผลทางการเมือง
ไม่ได้จะซ้ำเติม แต่ทุกอย่างเมื่อเกิดปัญหา ต้องมองด้วยว่ารากมันมาจากอะไร ไม่ใช่โทษนั่นโทษนี่ แล้วคิดแต่ใช้เงินภาษีไปอุ้ม
คุณไม่ทำหน้าที่ตัวเองให้ดีก่อน วันนี้จะให้ใครมาสงสาร
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอให้ผ่านวิกฤตไปให้ได้ พยายามเรียนรู้จากกรณีศึกษา วางกลยุทธ์ ตั้งเป้าหมาย และทำให้สำเร็จ
ใช้วิธีแบบนักบริหารมืออาชีพที่มีวิสัยทัศน์และมีใจสู้ ไม่ใช่วิธีมวยวัดแบบศักดินา
ความคิดเห็นที่ 4
ปัญหาของ JAL ไม่สลับซับซ้อนเหมือนของไทย
ตราบใดที่ การบินไทย ยังดึงตัวไม่พ้นจากฝ่ายการเมือง อย่าหวังว่าจะแก้ปัญหาใดๆได้
การจะแก้ปัญหาขาดทุนขององค์กรใดๆ อย่างแรกคือ ต้องหาทางลดรายจ่ายก่อน เพราะทำได้ง่ายกว่า
การเพิ่มรายได้ แต่ที่การบินไทยสมารถลดรายจ่ายได้เพียง 6 % ทั้งๆที่เงินเดือนและสวัสดิการของบอร์ด
และพนักงานเป็นสิ่งแรกที่ควรลด และลดง่ายที่สุด แต่ที่ทำไม่ได้เพราะเป็นลูกท่านหลานเธอ หรือไม่ก็เป็นคนของพรรคการเมือง
ป.ล อัตราการใช้พนักงาน ต่อ เครื่องบิน 1 ลำ การบินไทยสูงอันดับต้นๆของสายการบินทั่วโลก
ป.ล 2 การบินไทย เหมือน JAL อยู่อย่างคือ แอร์ แก่ พอๆกัน
ตราบใดที่ การบินไทย ยังดึงตัวไม่พ้นจากฝ่ายการเมือง อย่าหวังว่าจะแก้ปัญหาใดๆได้
การจะแก้ปัญหาขาดทุนขององค์กรใดๆ อย่างแรกคือ ต้องหาทางลดรายจ่ายก่อน เพราะทำได้ง่ายกว่า
การเพิ่มรายได้ แต่ที่การบินไทยสมารถลดรายจ่ายได้เพียง 6 % ทั้งๆที่เงินเดือนและสวัสดิการของบอร์ด
และพนักงานเป็นสิ่งแรกที่ควรลด และลดง่ายที่สุด แต่ที่ทำไม่ได้เพราะเป็นลูกท่านหลานเธอ หรือไม่ก็เป็นคนของพรรคการเมือง
ป.ล อัตราการใช้พนักงาน ต่อ เครื่องบิน 1 ลำ การบินไทยสูงอันดับต้นๆของสายการบินทั่วโลก
ป.ล 2 การบินไทย เหมือน JAL อยู่อย่างคือ แอร์ แก่ พอๆกัน
แสดงความคิดเห็น
✈️✈️--จาก case study สายการบิน Jal และความหวังการพลิกฟื้นการบินไทย (TG)--✈️✈️
http://ppantip.com/topic/34022999
ขอภัยถ้าเคยมีผู้ลงแล้วนะครับ
✈️ทำให้ผมนึกถึง case study Japan airlines ที่มีบางอย่างคล้าย TG ที่นักศึกษาในไทยน่าจะได้ศึกษาเหมือนกัน✈️
Case Study : ฮีโร่ผู้มาพลิกฟื้น JAL (Japan Airlines)
» Kazuo Inamori ผู้ยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อฟื้นฟู JAL โดยไม่ขอรับค่าตอบแทนแม้แต่เยนเดียว
ในวันที่ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเมื่อต้นปี 2010 เพราะการบริหารที่อุ้ยอ้าย และการเมืองเข้าแทรกแซงนั้น JAL มีหนี้สินมากถึง 25,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมทั้งต้องถอนบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวอีกด้วย
ความท้าทายเฉพาะหน้าในขณะนั้นก็คือ จะมีใครที่สามารถเข้ามาพลิกฟื้น JAL ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าขนาดนั้น ได้หรือไม่
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทาบทามนาย Kazuo Inamori ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก “Kyocera Corporation” ให้เข้ามาเป็นผู้นำในการฟื้นฟู JAL ซึ่งนายอินาโมรินั้น อาจจะถือได้ว่ามีข้อด้อยอยู่ข้อหนึ่งก็คือ เขาไม่เคยมีประสบการณ์หรือความรู้เกี่ยวกับธุรกิจการบินเลย แม้แต่นิดเดียว
นายอินาโมริ เริ่มเข้ามาบริหารงาน JAL เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 และหลังจากผ่านไป 6 เดือน เขาให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องรับงานหนักมาก น้ำหนักลดลงไปถึง 4 กิโลกรัม พร้อมกล่าวว่าสิ่งที่เขาได้พบใน JAL ก็คือ...
“ผู้บริหารและพนักงานแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน องค์กรขาดข้อมูลที่สะท้อนผลประกอบการที่เป็นปัจจุบัน ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจน รวมทั้งความไม่ใส่ใจอย่างจริงจังของผู้บริหารที่จะพลิกฟื้นองค์กร ถือว่าเป็นองค์กรที่อุ้ยอ้าย และผู้บริหารขาดความรับผิดชอบ”
เป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงทีเดียว และนายอินาโมริยังบอกว่า มีข้าราชการเก่าหลายคนที่ใช้เส้นสาย ลาออกก่อนกำหนดเพื่อรับเงินชดเชยก้อนโตจากรัฐบาล แล้วก็เบียดตัวเองเข้ามาเป็นผู้บริหาร JAL ในอัตราเงินเดือนที่สูง
ว่าแล้วนายอินาโมริ ก็ลงมือบริหารความเปลี่ยนแปลงทันที โดยกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงสุด 50 คน ต้องเข้า “โครงการฝึกอบรมผู้นำ” สัปดาห์ละ 4 ครั้ง รวมเวลาฝึกอบรมทั้งหมด 17 ครั้ง เพื่อให้ตระหนักว่า “ผู้นำที่ดีนั้น เป็นเช่นใด”
โดยเขาเป็นผู้ร่วมบรรยายด้วยถึง 6 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเขา ว่า “ผู้นำที่ดีจะต้องมีความรอบรู้ในเรื่องข้อมูลทางการเงิน มีบุคลิกภาพที่ดี มีความลุ่มหลงในงานที่ทำ และความทุ่มเท เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย”
หลังจากนั้น เขาก็ฝึกอบรมผู้บริหารในระดับถัดไปจนครบ 200 คน บางครั้งเขาก็หิ้วกระป๋องเบียร์ เดินไปแจกพนักงาน แล้วดื่มเบียร์ไป พูดคุยกันไป เพื่อให้เข้าใจความรู้สึกของพนักงาน
นอกจากนั้น เขาพยายามลดต้นทุนทุกชนิด ด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งวีธีการปลุกจิตสำนึก ด้วยการติดป้ายราคา สิ่งของและเครื่องใช้ชนิดต่างๆ เช่นกล่องบรรจุกระดาษ ก็ติดป้ายไว้ว่ากระดาษแต่ละแผ่นที่พนักงานหยิบไปใช้นั้น มีราคาแผ่นละเท่าใด เป็นต้น
นายอินาโมริ ใช้เวลาเพียงสั้นๆเท่านั้น ในการพลิกฟื้น JAL เพราะก่อนสิ้นปีแรก ก็ปรากฏว่าผลประกอบการเริ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดหวังแล้ว และหลังจากนั้นก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งกลับมามีกำไร และสามารถ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ได้อีกครั้ง ในเวลาเพียงไม่ถึง 3 ปี เท่านั้น
ความสำเร็จล่าสุด ที่ไม่เกี่ยวกับผลประกอบการโดยตรง ก็คือ JAL ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสายการบินที่ตรงเวลาที่สุด เป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปี 2012
การพลิกฟื้น JAL ครั้งนี้ จึงถือเป็นเรื่องราวของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ที่สถาบันการศึกษาบริหารธุรกิจ จะต้องนำไปใช้เป็นกรณีศึกษา เพื่อสอนนักศึกษาและนักบริหาร อย่างแน่นอน
เล่ามาถึงขนาดนี้ ผมยังไม่ได้บอกรายละเอียดเลยว่า นายอินาโมริ นั้นมีอายุอานามเท่าใด มีศิลปะการบริหารอย่างไร จึงเก่งกาจขนาดนี้
เชื่อหรือไม่ครับว่า วันที่นายอินาโมริ ได้รับการทาบทามให้เข้าไปพลิกฟื้น JAL เมื่อต้นปี 2010 นั้น เขามีอายุมากถึง 78 ปีแล้ว!
อายุขนาดนี้สำหรับคนทั่วไป ก็คือ ไม้ใกล้ฝั่ง ที่อยากพักผ่อน ใกล้หมดพลังทางกายหรือทางปัญญา ไปแล้ว แต่เหตุใดรัฐบาลจึงกล้ามอบให้คนวัยนี้ เข้าไปบริหารเพื่อฟื้นฟูองค์กรขนาดยักษ์ ในภาวะล้มละลายอย่างร้ายแรง
และเหตุใดเขาจึงทำได้สำเร็จในระยะเวลาเพียง 3 ปี เท่านั้น!?
ต้องถือว่า อินาโมริ เป็นบุคคลพิเศษ เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Kyocera Corporation ด้วยตัวเอง เมื่อมีอายุเพียง 27 ปี เท่านั้น
และบริษัทแห่งนี้ได้เติบโตขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการระดับโลก ภายใต้การบริหารงานของเขามาเป็นวลานานถึง 53 ปี และมีผลกำไรมาตลอด ไม่เคยขาดทุนเลยแม้แต่ปีเดียว
อินาโมริ เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักพูด และ นักบวช เขามีปรัชญาในการบริหารงานที่น่าศึกษา วันแรกที่เขาเข้าไปรับตำแหน่งซ๊อีโอของ JAL นั้น เขาบอกพนักงานตรงๆว่า “ผมเกลียด JAL มาก และไม่ใช้บริการ JAL มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว”
เขาให้สัมภาษณ์ว่า “พนักงาน JAL ทำหน้าที่ตามหนังสือคู่มือเท่านั้น แต่ไม่ได้มีจิตใจในการให้บริการอันอบอุ่นแก่ผู้โดยสาร ที่เกิดขึ้นจากหัวใจ”
แม้ไม่เคยมีประสบการณ์ในการบริหารสายการบิน แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา เขาบอกว่าปรัชญาในการบริหารที่เขาใช้ได้เสมอ ก็คือ องค์กรไม่จำเป็นต้องมีเอกสาร หรือพิธีรีตองอะไรมากมาย
“ขอเพียงให้ฝ่ายบริหารตระหนักในปรัชญาเดียวกัน และตรงกัน ว่าหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ก็คือการสร้างความสุขกาย สุขใจ ให้เกิดขึ้นแก่พนักงาน เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ที่เหลือก็คือสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นตามมาเอง”
ความจริงผมควรจะต้องเรียกเขาอย่างเต็มยศว่า ดร.อินาโมริ ผู้ซึ่งวันนี้อยู่ในวัย 82 ปี แล้ว เขาเป็นผู้บริหารอาวุโส ที่มากด้วยแนวคิด ปรัชญาการบริหาร และผลงานโดดเด่น
เขายอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อฟื้นฟู JAL โดยไม่ขอรับค่าตอบแทนแม้แต่เยนเดียว ดร. อินาโมริ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากวงการทั่วโลก ได้รับเชิญไปบรรยาย ในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศต่างๆ นับว่าเป็นผู้อาวุโส ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า อายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น
Credit : ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม | กรุงเทพธุรกิจ
❌❌❌❌ช่วงปีก่อนคนการบินไทยเอาต้วเข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองเรียกร้องการปฏิรูป ถึงตอนนี้พวกท่านต้องปฏิรูปตัวเองได้แล้ว และไอ้การบินไทยเป็นของคนไทยเนี่ย คนไทยได้เงินเดือนกับ bonus ด้วยไหมครับ
แต่เวลาขาดทุนจะมาเอาภาษีเราไปอุ้มคุณ ขนาดคนถือหุ้นบริษัทคุณยังมีแต่กระอักโลหิต เป็นหุ้นในดวงใจจริงๆ❌❌❌❌
-----ยังไงก็ขอให้ ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ผ่านไปให้ได้ด้วยดีนะครับในฐานะคนไทยด้วยกัน-----