กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ออกงานวิจัยล่าสุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาระลอกใหม่จากกรณีที่มีเยาวชนติดเชื้อเอชไอวีและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มสูงขึ้น โดยร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เยาวชนที่ขายบริการทางเพศ และเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
การศึกษาเรื่อง “วิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย” เก็บข้อมูลจากเยาวชนประมาณ 2,000 คนในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง เยาวชนหญิงที่ขายบริการทางเพศ แรงงานต่างด้าว และเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา และอุบลราชธานี การศึกษาชิ้นนี้ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการสนับสนุนจากยูนิเซฟ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และวิธีสุ่มข้อมูลแบบแกนนำเริ่มต้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน ตลอดจนทบทวนนโยบายและบริการต่างๆ ที่มีอยู่สำหรับเยาวชนกลุ่มนี้
“เยาวชนเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากกว่าในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เนื่องจากมักขาดทักษะในการควบคุมสถานการณ์เสี่ยง ประกอบกับการดื่มแอลกอฮล์และการใช้สารเสพติด” โรเบิร์ต แกส หัวหน้าแผนกเอชไอวี/เอดส์ ขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยกล่าว เเละว่า “นอกจากนี้โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์หาคู่ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในมือถือในปัจจุบันยังเอื้อให้เยาวชนพบปะกันเพื่อมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วครั้งชั่วคราวกันได้ง่ายขึ้น”
การศึกษาครั้งนี้อ้างอิงข้อมูลระดับประเทศซึ่งระบุว่า ร้อยละ 41 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทย คือ กลุ่มชายที่มีเพศ สัมพันธ์กับชาย และชี้ให้เห็นว่าเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มชายหญิง
พงศ์ธร จันทร์เลื่อน ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า แม้เยาวชนจะทราบดีถึงความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศ แต่เยาวชนจำนวนมากมักอายที่จะไปซื้อถุงยาง หรือไม่ก็ไม่ใช้ถุงยางเมื่อถึงเวลามีเพศสัมพันธ์จริงๆ
ในส่วนของหญิงขายบริการแบบประจำในสถานบริการในประเทศไทย ความชุกของเชื้อเอชไอวีลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 1.8 ในปี 2554 อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าหญิงขายบริการทางเพศมักจะใช้ถุงยางอนามัยกับลูกค้าขาจรมากกว่าคู่รักหรือคู่นอนประจำ
การศึกษายังระบุว่าเยาวชนหญิงที่ขายบริการทางเพศแบบเป็นครั้งคราวมักมีความสามารถในการต่อรองในการใช้ถุงยางอนามัยกับลูกค้าได้น้อยกว่าหญิงขายบริการแบบประจำเป็นอาชีพ นั่นความว่า หากเยาวชนที่ขายบริการทางเพศได้รับเชื้อ ก็จะมีโอกาสสูงในการแพร่เชื้อให้แก่คู่รักหรือคู่นอนประจำของตนเอง ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่า ประมาณหนึ่งในสามของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทย คือ คู่รักของบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง
การศึกษาครั้งนี้ยังระบุว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวคือกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และเป็นกลุ่มที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการฟรีและข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านภาษาและด้านการเงิน
นอกจากนี้ เยาวชนทุกกลุ่มจากการศึกษาครั้งนี้ยังสะท้อนถึงประสบการณ์ด้านลบจากการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐ หลายคนระบุว่าข้อมูลของพวกเขาไม่ถูกปกปิดเป็นความลับ และเจ้าหน้าที่ไม่เป็นมิตรหรือแสดงความรังเกียจต่อพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งทำให้เยาวชนไม่อยากไปใช้บริการในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการของรัฐ
“การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า แรงสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะช่วยปกป้องเยาวชน คือเยาวชนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีแรงสนับสนุนจากครอบครัว มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงน้อยกว่าเยาวชนที่ไม่มี” โรเบิร์ตกล่าว
ยูนิเซฟเห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีมาตรการรับมือกับปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในหมู่เยาวชน ซึ่งรวมถึงการมีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการตรวจและการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ควรกำหนดในระดับท้องถิ่น และให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา
“หนึ่งในข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ก็คือ เราเรียกร้องให้มีการลดอายุสำหรับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีและการให้คำปรึกษา จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 18 ปี” โรเบิร์ตกล่าว เเละว่า “ถ้าเยาวชนคนใดก็ตามรู้สึกว่าตนเองไปทำอะไรที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี พวกเขาควรมีสิทธิไปตรวจเลือดได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง”
Report : LIV Capsule
งานวิจัยชี้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในไทยเพิ่มขึ้นสูง 70% ในกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี
การศึกษาเรื่อง “วิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวีของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย” เก็บข้อมูลจากเยาวชนประมาณ 2,000 คนในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง เยาวชนหญิงที่ขายบริการทางเพศ แรงงานต่างด้าว และเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา และอุบลราชธานี การศึกษาชิ้นนี้ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการสนับสนุนจากยูนิเซฟ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และวิธีสุ่มข้อมูลแบบแกนนำเริ่มต้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน ตลอดจนทบทวนนโยบายและบริการต่างๆ ที่มีอยู่สำหรับเยาวชนกลุ่มนี้
“เยาวชนเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากกว่าในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เนื่องจากมักขาดทักษะในการควบคุมสถานการณ์เสี่ยง ประกอบกับการดื่มแอลกอฮล์และการใช้สารเสพติด” โรเบิร์ต แกส หัวหน้าแผนกเอชไอวี/เอดส์ ขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยกล่าว เเละว่า “นอกจากนี้โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์หาคู่ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในมือถือในปัจจุบันยังเอื้อให้เยาวชนพบปะกันเพื่อมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วครั้งชั่วคราวกันได้ง่ายขึ้น”
การศึกษาครั้งนี้อ้างอิงข้อมูลระดับประเทศซึ่งระบุว่า ร้อยละ 41 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทย คือ กลุ่มชายที่มีเพศ สัมพันธ์กับชาย และชี้ให้เห็นว่าเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มชายหญิง
พงศ์ธร จันทร์เลื่อน ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองในจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า แม้เยาวชนจะทราบดีถึงความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศ แต่เยาวชนจำนวนมากมักอายที่จะไปซื้อถุงยาง หรือไม่ก็ไม่ใช้ถุงยางเมื่อถึงเวลามีเพศสัมพันธ์จริงๆ
ในส่วนของหญิงขายบริการแบบประจำในสถานบริการในประเทศไทย ความชุกของเชื้อเอชไอวีลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 1.8 ในปี 2554 อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าหญิงขายบริการทางเพศมักจะใช้ถุงยางอนามัยกับลูกค้าขาจรมากกว่าคู่รักหรือคู่นอนประจำ
การศึกษายังระบุว่าเยาวชนหญิงที่ขายบริการทางเพศแบบเป็นครั้งคราวมักมีความสามารถในการต่อรองในการใช้ถุงยางอนามัยกับลูกค้าได้น้อยกว่าหญิงขายบริการแบบประจำเป็นอาชีพ นั่นความว่า หากเยาวชนที่ขายบริการทางเพศได้รับเชื้อ ก็จะมีโอกาสสูงในการแพร่เชื้อให้แก่คู่รักหรือคู่นอนประจำของตนเอง ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่า ประมาณหนึ่งในสามของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทย คือ คู่รักของบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง
การศึกษาครั้งนี้ยังระบุว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวคือกลุ่มหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และเป็นกลุ่มที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการฟรีและข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านภาษาและด้านการเงิน
นอกจากนี้ เยาวชนทุกกลุ่มจากการศึกษาครั้งนี้ยังสะท้อนถึงประสบการณ์ด้านลบจากการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลของรัฐ หลายคนระบุว่าข้อมูลของพวกเขาไม่ถูกปกปิดเป็นความลับ และเจ้าหน้าที่ไม่เป็นมิตรหรือแสดงความรังเกียจต่อพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งทำให้เยาวชนไม่อยากไปใช้บริการในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการของรัฐ
“การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า แรงสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะช่วยปกป้องเยาวชน คือเยาวชนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีแรงสนับสนุนจากครอบครัว มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงน้อยกว่าเยาวชนที่ไม่มี” โรเบิร์ตกล่าว
ยูนิเซฟเห็นว่าประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีมาตรการรับมือกับปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในหมู่เยาวชน ซึ่งรวมถึงการมีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการตรวจและการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ควรกำหนดในระดับท้องถิ่น และให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา
“หนึ่งในข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ก็คือ เราเรียกร้องให้มีการลดอายุสำหรับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีและการให้คำปรึกษา จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 18 ปี” โรเบิร์ตกล่าว เเละว่า “ถ้าเยาวชนคนใดก็ตามรู้สึกว่าตนเองไปทำอะไรที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี พวกเขาควรมีสิทธิไปตรวจเลือดได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง”
Report : LIV Capsule