ท่านที่เคารพรักครับ พรรคเพื่อไทย มี นปช พรรค ประชาธิปัตย์ มี กปปส แต่พรรคอื่น ไม่มี กกน อะไรทั้งนั้น
นี่เป็นหมากแต้มคูที่เสมอกัน ถ่วงดุลกันในกระดาน ตามสายตา นักวิเคราะห์การเมือง
คำถามทำนองว่า พรรคเพื่อไทยเกี่ยวข้องกับ นปช หรือไม่ พรรค ปชป เกี่ยวข้องกับ กปปส หรือไม่ ไม่ควรไปคาดคั้น
ไปจี้ ไปจิก ยิก ยิก ยิก เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า หากเคลื่อนมวลชนไปปฏิบัติการใดๆในนามพรรคการเมือง มันสุ่มเสี่ยง มันล่อแหลม ปัญหามันก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้นอีก
ปัญหาคือ เฉลิมไม่เคยขึ้นเวทีคนเสื้อแดงเลยสักครั้ง พอหลังเลือกตั้งเสร็จ ก็เปิดบ้านเลี้ยงข้าว จตุพรกับณัฐวุฒิคุยกันบ้าง
ปัญหาคือ ชวน บัญญัติ กรณ์ อภิรักษ์ ไปร่วมกับ กปปส ข้างถนนแทบจะหมดพรรค หนักสุดคือมาร์คหัวหน้าพรรค
ที่ผ่านมาภาพรวมคือ นปช เติบโตอย่างรวดเร็ว จนที่ผ่านมาจะเห็นภาพข่าวว่า กลุ่มใดที่จะมาเข้ากับ นปช มักจะโดนกันออก
เช่นสุรชัย ด่านฯ จนภาพ นปช เป็นภาพของ " สามเกลอหัวแข็ง " ที่เคยปะทะกับเสธ แดง เคยชนกับ ขวัญชัย ไพรฯ
แต่ความจริงองคาพยพใน นปช มีมากกว่า วีระกานต์ จตุพร ณัฐวุฒิ
ปี 50 แนวร่วมประชาชนต้านฯ ( นปตร ) ภายใต้การออกแบบของหมอเหวงและมิตรสหาย
ความจริงที่รับรู้คือการแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างระหว่าง " พลังประชาธิปไตย " กับ " คนรักทักษิณ "
เฉกเช่น" คนรักประชาธิปไตย " กับ " คนรักสนธิ " ที่กลายเป็นพันธมิตรฯ ( พปป )
ในระยะแรกหมอเหวงไม่นำองค์กรไปเกี่ยวพันกับม๊อบ พีทีวี ภายใต้การนำทัพโดยวีระ มุสิกพงศ์
แต่สุดท้ายก็ต้องร่วมรวมแรงกัน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า " แนวร่วมประชาธิปไตย ขับไล่ฯ ( นปก )
และหมอเหวงมาพร้อมกับ หมอสันต์ หัตถีรัตน์ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ที่เป็นแม่น้ำแยกสาย เป็นไผ่แยกกอ
เพราะขาดมิตรร่วมรบเดือนพฤษภาก็คือ สมศักดิ์ โกศัยสุข และจำลอง ศรีเมือง ที่ไปร่วมกับพันธมิตร
ยุคที่หมอเหวงเป็นนายกฯสหพันธ์นักศึกษามหิดล ปี 17 หมอเหวงได้รับฉายาจากเพื่อนๆว่า " ท่านมหา "
เพราะเป็นคนที่ใฝ่ศึกษาธรรมะอย่างมาก จึงเป็นอันว่า ท่านมหาต้องมาอยู่ตรงกันข้ามกับ มหา อีกคน นั่นคือ มหาจำลอง
หลังมาร์คยุบสภาการหาเสียงที่ผ่านมาของคุณยิ่งลักษณ์ เต้น ณัฐวุฒิคือมือวางอันดับหนึ่งในฐานะโฆษกหน้าเวที
ที่ตระเวนไปเปิดปราศัยหาเสียงตามจังหวัดต่างๆ และวันที่ผลนับคะแนนเสียงเสร็จสิ้นลง
ภายหลังการถ่ายทอดสดคำกล่าวขอบคุณพ่อแม่พี่น้องประชาชน ทั้งประเทศของคุณยิ่งลักษณ์
ก็มีณัฐวุฒินี่แหละที่กล่าวปิดว่า นับจากนี้ไป นโยบายที่เคยหาเสียงไว้ ก็จะเริ่มทำงาน
ชัยชนะของคุณยิ่งลักษณ์ เป็นฟางเส้นสุดท้ายของการทำงานการเมืองในระบบพรรคของเทือก
เขาเลือกประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งเลขาพรรคอีกต่อไป ขอออกมาทำงานข้างนอก นั่นคือที่มาของ กปปส
นี่คือแต้มคูที่ทัดเทียมกัน เสมอกัน ทันกัน ระหว่างสองพรรค ซึ่งการพัฒนาขึ้นมาของเทือก เป็น มูลนิธิซึ่งมีท่าทีว่า งานนี้ ยาว
ข้อน่าสังเกตก็คือ ทำไมนักการเมืองระดับคีร์แมน ตัวเป้งๆในพรรค ปชป ยังออกมาร่วมกลุ่มเคลื่อนไหว กับเทือก
ข้อนี้พออธิบายได้ว่า ในระยะที่ผ่านมา หรือที่จะเป็นไป พรรค ปชป ก็ไม่ได้อะไรติดมือ การออกมาพยายามมีส่วนร่วมงาน
กับรัฐบาล ก็เพื่อไม่ให้ตกรถ
อย่าลืมว่ายังมี เนวินและพรรคภูมิใจไทยอยู่อีกทั้งคน ที่เชี่ยวชาญชำนาญการกวาดต้อน
พรรคเล็ก พรรคน้อย มาเข้ากลุ่ม และภูมิใจไทยเวลานี้ ก็ไม่ใช่ธรรมดาที่ใครจะประมาทได้
เพราะมีสายสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดากับผู้มีอำนาจเวลานี้อย่างมาก เมื่อการเลือกตั้งมาถึงเมื่อไหร่ พรรคภูมิใจไทยจึงน่ากลัว
นี่จึงคือประเด็นหนึ่ง ที่นักการเมืองใน ปชป ยังต้องออกเหนื่อยอีกครั้งกับ กปปส นั่นเองครับ
เพราะเทือกคือ สัญลักษณ์ของ กปปส ไปเสียแล้ว เหมือนสนธิ กับ พันธมิตร
หากไม่มีเทือก กระแสมวลชน ก็จะไม่มีเพื่อคานอำนาจ ถ่วงดุลกับ นปช
นี่เป็นหมากแต้มคูที่เสมอกัน ถ่วงดุลกันในกระดาน ตามสายตา นักวิเคราะห์การเมือง
คำถามทำนองว่า พรรคเพื่อไทยเกี่ยวข้องกับ นปช หรือไม่ พรรค ปชป เกี่ยวข้องกับ กปปส หรือไม่ ไม่ควรไปคาดคั้น
ไปจี้ ไปจิก ยิก ยิก ยิก เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า มวลชน นปช เลือก พรรคเพื่อไทยแน่นอน ศรัทธาในประชาธิปไตย
แต่มวลชน กปปส ไม่แน่ว่า จะฝักใฝ่ พรรค ประชาธิปัตย์ นี่คือความแตกต่างครับ
จากเหมยถึงกาสะลอง จากโกวเล้งถึงคุณยิ่งลักษณ์ ( บุรุษในการเมือง บุรุษในบอร์ดการเมือง ตอนที่ สาม )
นี่เป็นหมากแต้มคูที่เสมอกัน ถ่วงดุลกันในกระดาน ตามสายตา นักวิเคราะห์การเมือง
คำถามทำนองว่า พรรคเพื่อไทยเกี่ยวข้องกับ นปช หรือไม่ พรรค ปชป เกี่ยวข้องกับ กปปส หรือไม่ ไม่ควรไปคาดคั้น
ไปจี้ ไปจิก ยิก ยิก ยิก เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า หากเคลื่อนมวลชนไปปฏิบัติการใดๆในนามพรรคการเมือง มันสุ่มเสี่ยง มันล่อแหลม ปัญหามันก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้นอีก
ปัญหาคือ เฉลิมไม่เคยขึ้นเวทีคนเสื้อแดงเลยสักครั้ง พอหลังเลือกตั้งเสร็จ ก็เปิดบ้านเลี้ยงข้าว จตุพรกับณัฐวุฒิคุยกันบ้าง
ปัญหาคือ ชวน บัญญัติ กรณ์ อภิรักษ์ ไปร่วมกับ กปปส ข้างถนนแทบจะหมดพรรค หนักสุดคือมาร์คหัวหน้าพรรค
ที่ผ่านมาภาพรวมคือ นปช เติบโตอย่างรวดเร็ว จนที่ผ่านมาจะเห็นภาพข่าวว่า กลุ่มใดที่จะมาเข้ากับ นปช มักจะโดนกันออก
เช่นสุรชัย ด่านฯ จนภาพ นปช เป็นภาพของ " สามเกลอหัวแข็ง " ที่เคยปะทะกับเสธ แดง เคยชนกับ ขวัญชัย ไพรฯ
แต่ความจริงองคาพยพใน นปช มีมากกว่า วีระกานต์ จตุพร ณัฐวุฒิ
ปี 50 แนวร่วมประชาชนต้านฯ ( นปตร ) ภายใต้การออกแบบของหมอเหวงและมิตรสหาย
ความจริงที่รับรู้คือการแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างระหว่าง " พลังประชาธิปไตย " กับ " คนรักทักษิณ "
เฉกเช่น" คนรักประชาธิปไตย " กับ " คนรักสนธิ " ที่กลายเป็นพันธมิตรฯ ( พปป )
ในระยะแรกหมอเหวงไม่นำองค์กรไปเกี่ยวพันกับม๊อบ พีทีวี ภายใต้การนำทัพโดยวีระ มุสิกพงศ์
แต่สุดท้ายก็ต้องร่วมรวมแรงกัน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า " แนวร่วมประชาธิปไตย ขับไล่ฯ ( นปก )
และหมอเหวงมาพร้อมกับ หมอสันต์ หัตถีรัตน์ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ที่เป็นแม่น้ำแยกสาย เป็นไผ่แยกกอ
เพราะขาดมิตรร่วมรบเดือนพฤษภาก็คือ สมศักดิ์ โกศัยสุข และจำลอง ศรีเมือง ที่ไปร่วมกับพันธมิตร
ยุคที่หมอเหวงเป็นนายกฯสหพันธ์นักศึกษามหิดล ปี 17 หมอเหวงได้รับฉายาจากเพื่อนๆว่า " ท่านมหา "
เพราะเป็นคนที่ใฝ่ศึกษาธรรมะอย่างมาก จึงเป็นอันว่า ท่านมหาต้องมาอยู่ตรงกันข้ามกับ มหา อีกคน นั่นคือ มหาจำลอง
หลังมาร์คยุบสภาการหาเสียงที่ผ่านมาของคุณยิ่งลักษณ์ เต้น ณัฐวุฒิคือมือวางอันดับหนึ่งในฐานะโฆษกหน้าเวที
ที่ตระเวนไปเปิดปราศัยหาเสียงตามจังหวัดต่างๆ และวันที่ผลนับคะแนนเสียงเสร็จสิ้นลง
ภายหลังการถ่ายทอดสดคำกล่าวขอบคุณพ่อแม่พี่น้องประชาชน ทั้งประเทศของคุณยิ่งลักษณ์
ก็มีณัฐวุฒินี่แหละที่กล่าวปิดว่า นับจากนี้ไป นโยบายที่เคยหาเสียงไว้ ก็จะเริ่มทำงาน
ชัยชนะของคุณยิ่งลักษณ์ เป็นฟางเส้นสุดท้ายของการทำงานการเมืองในระบบพรรคของเทือก
เขาเลือกประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งเลขาพรรคอีกต่อไป ขอออกมาทำงานข้างนอก นั่นคือที่มาของ กปปส
นี่คือแต้มคูที่ทัดเทียมกัน เสมอกัน ทันกัน ระหว่างสองพรรค ซึ่งการพัฒนาขึ้นมาของเทือก เป็น มูลนิธิซึ่งมีท่าทีว่า งานนี้ ยาว
ข้อน่าสังเกตก็คือ ทำไมนักการเมืองระดับคีร์แมน ตัวเป้งๆในพรรค ปชป ยังออกมาร่วมกลุ่มเคลื่อนไหว กับเทือก
ข้อนี้พออธิบายได้ว่า ในระยะที่ผ่านมา หรือที่จะเป็นไป พรรค ปชป ก็ไม่ได้อะไรติดมือ การออกมาพยายามมีส่วนร่วมงาน
กับรัฐบาล ก็เพื่อไม่ให้ตกรถ
อย่าลืมว่ายังมี เนวินและพรรคภูมิใจไทยอยู่อีกทั้งคน ที่เชี่ยวชาญชำนาญการกวาดต้อน
พรรคเล็ก พรรคน้อย มาเข้ากลุ่ม และภูมิใจไทยเวลานี้ ก็ไม่ใช่ธรรมดาที่ใครจะประมาทได้
เพราะมีสายสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดากับผู้มีอำนาจเวลานี้อย่างมาก เมื่อการเลือกตั้งมาถึงเมื่อไหร่ พรรคภูมิใจไทยจึงน่ากลัว
นี่จึงคือประเด็นหนึ่ง ที่นักการเมืองใน ปชป ยังต้องออกเหนื่อยอีกครั้งกับ กปปส นั่นเองครับ
เพราะเทือกคือ สัญลักษณ์ของ กปปส ไปเสียแล้ว เหมือนสนธิ กับ พันธมิตร
หากไม่มีเทือก กระแสมวลชน ก็จะไม่มีเพื่อคานอำนาจ ถ่วงดุลกับ นปช
นี่เป็นหมากแต้มคูที่เสมอกัน ถ่วงดุลกันในกระดาน ตามสายตา นักวิเคราะห์การเมือง
คำถามทำนองว่า พรรคเพื่อไทยเกี่ยวข้องกับ นปช หรือไม่ พรรค ปชป เกี่ยวข้องกับ กปปส หรือไม่ ไม่ควรไปคาดคั้น
ไปจี้ ไปจิก ยิก ยิก ยิก เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น
ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า มวลชน นปช เลือก พรรคเพื่อไทยแน่นอน ศรัทธาในประชาธิปไตย
แต่มวลชน กปปส ไม่แน่ว่า จะฝักใฝ่ พรรค ประชาธิปัตย์ นี่คือความแตกต่างครับ