Bloomberg สื่อธุรกิจชื่อดังกล่าวว่า รัฐบาลไทยต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องปรับคณะรัฐมนตรี และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังตัวเลขการส่งออกยังลดลง บวกกับความเสื่อมถอยในความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการคาดการณ์ตัวเลขภาคการผลิตที่ตกต่ำ ซึ่งทำให้ไทยมีการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค
กระทรวงการคลังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การส่งออกและจีดีพีเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีซึ่งขึ้นมามีอำนาจหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว อาจตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่ง Bloomberg กล่าวว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคณะรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยในการบริหารงาน
"ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่รัฐบาลจึงอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ต้องทำอะไรบ้าง" นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกร ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้กล่าว "รัฐบาลควรปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่น และมีมาตรการอย่างน้อยในระยะสั้นมากระตุ้นเศรษฐกิจ"
จากประเทศที่เคยเป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่ นับแต่เดือนมีนาคมปี 2013 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้ปรับลดลงแทบทุกเดือน ขณะที่ในปีนี้ไม่มีเดือนใดที่ตัวเลขการส่งออกไม่ลดลง และคาดการณ์กันว่าการถดถอยอาจจะสืบเนื่องต่อไปถึงปีหน้า ขณะที่การร่างรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เสร็จสิ้น พร้อมกับเสียงวิจารณ์ที่กล่าวว่ากระบวนการร่างในปัจจุบันกลับยิ่งสร้างความแตกแยกในสังคมให้หนักขึ้นไปอีก
ด้านตลาดเงินของไทยถือเป็นตลาดทุนเพียงแห่งเดียวในเอเชียของปีนี้ที่มีตัวเลขเงินทุนโดยรวมไหลออกนอกตลาดตัวเลขการขายพันธบัตรก็น่าจะทำได้ไม่ถึงยอดของปีที่แล้ว และเงินบาทก็มีมูลค่าลดลง 6 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในรอบ 6 เดือน ซึ่งเป็นค่าเงินที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดในบรรดาสกุลเงินหลักในเอเชีย
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนสร้างผลกระทบต่อการส่งออกไปทั่วทั้งภูมิภาคทำให้ไทยต้องพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่กำลังประสบปัญหากับตัวเลขหนี้สินในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ไทยยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ สร้างความเสียหายให้กับภาคการเกษตรที่มีสัดส่วนต่อจีดีพีที่ 7 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่รัฐบาลรับปากที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้สูงที่สุดในรอบเจ็บปี ในปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ แต่ความคืบหน้าในแผนการลงทุนในภาคโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคมกลับมีไม่มากนัก ทั้งนี้จากความเห็นของนายวิษณุ วาราธัน นักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร Mizuho ในสิงคโปร์
"ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตดูจะซบเซามากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และด้วยผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาการเมือง ทำให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว" ซาราห์ ฟาวเลอร์ นักวิเคราะห์จากคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษกล่าว "สถานการณ์ทางการเมืองจะเป็นตัวฉุดความพยายามในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ"
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่มีใครที่จะมากดดันให้ตนเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เพียงเพราะความผิดพลาดของใครบางคน หรือเพราะแรงกดดันทางสังคม
อัมภิกา อาฮูจา นักวิเคราะห์จากยูเรเซียกรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองกล่าวว่า การปรับคณะรัฐมนตรีจะช่วยเพิ่มแรงสนับสนุนจากชนชั้นกลางให้กับรัฐบาลแม้ว่าจะส่งผลกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงไม่มากแต่จะช่วยในด้านภาพลักษณ์ต่อสาธารณะ และการประสานงานเชิงนโยบายในระดับผู้ปฏิบัติ
"รัฐบาลคงไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระดับโครงสร้างซึ่งรวมถึงการพึ่งพาการส่งออกภาคการเกษตรและความล้มเหลวในการกำหนดนโยบายที่จะช่วยจูงใจให้บรรดาบริษัทผู้ผลิตหันมาผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่าได้" นักวิเคราะห์จากลอนดอนกล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438419311
Bloomberg: รัฐบาลทหารถูกกดดันหนักจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ โตไม่ทันเพื่อนบ้าน
กระทรวงการคลังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การส่งออกและจีดีพีเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีซึ่งขึ้นมามีอำนาจหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว อาจตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่ง Bloomberg กล่าวว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคณะรัฐมนตรีเป็นเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อยในการบริหารงาน
"ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่รัฐบาลจึงอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ต้องทำอะไรบ้าง" นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกร ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้กล่าว "รัฐบาลควรปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่น และมีมาตรการอย่างน้อยในระยะสั้นมากระตุ้นเศรษฐกิจ"
จากประเทศที่เคยเป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่ นับแต่เดือนมีนาคมปี 2013 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้ปรับลดลงแทบทุกเดือน ขณะที่ในปีนี้ไม่มีเดือนใดที่ตัวเลขการส่งออกไม่ลดลง และคาดการณ์กันว่าการถดถอยอาจจะสืบเนื่องต่อไปถึงปีหน้า ขณะที่การร่างรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เสร็จสิ้น พร้อมกับเสียงวิจารณ์ที่กล่าวว่ากระบวนการร่างในปัจจุบันกลับยิ่งสร้างความแตกแยกในสังคมให้หนักขึ้นไปอีก
ด้านตลาดเงินของไทยถือเป็นตลาดทุนเพียงแห่งเดียวในเอเชียของปีนี้ที่มีตัวเลขเงินทุนโดยรวมไหลออกนอกตลาดตัวเลขการขายพันธบัตรก็น่าจะทำได้ไม่ถึงยอดของปีที่แล้ว และเงินบาทก็มีมูลค่าลดลง 6 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในรอบ 6 เดือน ซึ่งเป็นค่าเงินที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดในบรรดาสกุลเงินหลักในเอเชีย
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนสร้างผลกระทบต่อการส่งออกไปทั่วทั้งภูมิภาคทำให้ไทยต้องพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่กำลังประสบปัญหากับตัวเลขหนี้สินในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ไทยยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ สร้างความเสียหายให้กับภาคการเกษตรที่มีสัดส่วนต่อจีดีพีที่ 7 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่รัฐบาลรับปากที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้สูงที่สุดในรอบเจ็บปี ในปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ แต่ความคืบหน้าในแผนการลงทุนในภาคโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคมกลับมีไม่มากนัก ทั้งนี้จากความเห็นของนายวิษณุ วาราธัน นักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร Mizuho ในสิงคโปร์
"ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตดูจะซบเซามากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และด้วยผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาการเมือง ทำให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว" ซาราห์ ฟาวเลอร์ นักวิเคราะห์จากคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในอังกฤษกล่าว "สถานการณ์ทางการเมืองจะเป็นตัวฉุดความพยายามในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ"
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่มีใครที่จะมากดดันให้ตนเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เพียงเพราะความผิดพลาดของใครบางคน หรือเพราะแรงกดดันทางสังคม
อัมภิกา อาฮูจา นักวิเคราะห์จากยูเรเซียกรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางการเมืองกล่าวว่า การปรับคณะรัฐมนตรีจะช่วยเพิ่มแรงสนับสนุนจากชนชั้นกลางให้กับรัฐบาลแม้ว่าจะส่งผลกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงไม่มากแต่จะช่วยในด้านภาพลักษณ์ต่อสาธารณะ และการประสานงานเชิงนโยบายในระดับผู้ปฏิบัติ
"รัฐบาลคงไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระดับโครงสร้างซึ่งรวมถึงการพึ่งพาการส่งออกภาคการเกษตรและความล้มเหลวในการกำหนดนโยบายที่จะช่วยจูงใจให้บรรดาบริษัทผู้ผลิตหันมาผลิตสินค้าที่เพิ่มมูลค่าได้" นักวิเคราะห์จากลอนดอนกล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438419311