ตามระเบียบแบงค์ชาติ ธนาคารต้องสำรองหนี้ในส่วนสินทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์/ล้มละลาย อย่างไรครับ

ขออนุญาตตั้งกระทู้ถามคำถามนี้เพื่อใช้ข้อมูลเป็นส่วนนึงของรายงานนะครับ เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับกฏหมายล้มละลาย และ ระเบียบปฏิบัติของธนาคาร ท่านใดรู้หรือมีข้อมูลยินดีที่จะรับข้อมูลจากท่านครับ ไม่ว่าจะถูกหรือไม่ผิดว่ากัน ขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ

ประเด็นคำถามมีอยู่ว่า

1. พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน มาตรา 60 กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีการกันเงินสำรอง(คือสำรองหนี้ตามภาษาพูดถูกต้องไหมครับ) รายละเอียดของมาตรานี้ปรากฏตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ที่ สนส. 31/2551 ถูกต้องรึเปล่าครับ หรือมีประกาศฉบับใหม่กว่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการกันเงินสำรองหรือไม่ครับ

2. การกันเงินสำรอง ธนาคารจะเอาเงินจากไหนมาวางในส่วนนี้ครับ กระบวนการเป็นอย่างไรครับ

3. ตามประกาศ สนส. 31/2551 เนี่ยระบุให้
    3.1 สินทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ถูกจัดชั้นสงสัย ต้องมีการกันเงินสำรองแปรผันตาม กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ ในส่วนของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หากมีบุคคลที่สามมาทำบันทึกรับชำระหนี้ให้ จะสามารถใช้อ้างอิงเป็น กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ ได้หรือไม่ครับ
    3.2 สินทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกพิพากษาล้มละลาย ในประกาศฉบับดังกล่าวเขียนว่า "ให้สถาบันการเงินตัดออกจากบัญชีทั้งจำนวน" แค่นี้ครับ หมายความว่าอย่างไรครับ ต้องมีการสำรองหนี้ไหม

ประเด็นไหนไม่เคลียร์สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ เข้ามาดูเรื่อยๆครับ

ปล. ผมเรียนด้านกฏหมายและไม่มีความรู้ด้านบัญชีเลย รบกวนด้วยนะครับ ที่จริงแล้วเช้านี้ผมเดินทางไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาแล้ว ตั้งใจจะไปสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ แต่เข้าไปไม่ได้ครับ ไม่ทราบว่าต้องมีเอกสารอ้างอิงตัวตนอะไรทำนองนั้นด้วย แฮ่ โทรติดต่อก็ไม่ได้ครับ จึงขอใช้พันทิปเป็นอีกช่องทางนึงในการหาความรู้นะครับ รบกวนด้วยครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่