.
พระพุทธพจน์
น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ.
บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ในใจ,
ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่น,
พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้น.
บางส่วนจากเรื่อง ปาฏิกาชีวก
เรื่องปาฏิกาชีวกข้างบนนี้ อุบาสิกาฟังธรรมไม่รู้เรื่องเพราะมัวแต่ส่งใจไปคิดถึงคำพูดของอาชีวกะ
ถ้าเอาใจมาไว้กับพระธรรมที่ทรงแสดงก็จะเข้าใจธรรมได้
นั่นก็คือทรงสอนว่า
อย่าเอาใจใส่กับคำพูดตำหนิติเตียนของใครๆ ให้เอาใจใส่เฉพาะกิจที่เรากำลังทำอยู่เท่านั้น
พระพุทธพจน์นี้ จึงไม่ใช่การห้ามตักเตือน หรือห้ามทักท้วง เมื่อมีคนทำผิด กล่าวผิด ผิดธรรมนองคลองธรรม
(ตามชื่อกระทู้)
ในพรหมชาลสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีปฏิบัติเมื่อมีคนติเตียนพระรัตนตรัย ว่า
“ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา กล่าวติเตียนพระธรรมหรือกล่าวติเตียนพระสงฆ์ก็ตาม
พวกเธอไม่ควรผูกอาฆาตแค้นเคืองขุ่นใจคนพวกนั้น
ถ้าพวกเธอโกรธเคืองหรือไม่พอใจพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตราย เพราะความโกรธเคืองนั้นได้” ...
“
คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้เห็นชัดว่า
‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา”
พรหมชาลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0
.
☆ ที่มาของคติ - อย่าไปเที่ยวว่าอะไรใครเขา ให้ดูแต่ตัวของเราเอง ☆
น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ.
ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่น,
พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้น.
ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
เรื่องปาฏิกาชีวก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=6
บางส่วนจากเรื่อง ปาฏิกาชีวก
เรื่องปาฏิกาชีวกข้างบนนี้ อุบาสิกาฟังธรรมไม่รู้เรื่องเพราะมัวแต่ส่งใจไปคิดถึงคำพูดของอาชีวกะ
ถ้าเอาใจมาไว้กับพระธรรมที่ทรงแสดงก็จะเข้าใจธรรมได้
นั่นก็คือทรงสอนว่า
อย่าเอาใจใส่กับคำพูดตำหนิติเตียนของใครๆ ให้เอาใจใส่เฉพาะกิจที่เรากำลังทำอยู่เท่านั้น
พระพุทธพจน์นี้ จึงไม่ใช่การห้ามตักเตือน หรือห้ามทักท้วง เมื่อมีคนทำผิด กล่าวผิด ผิดธรรมนองคลองธรรม
(ตามชื่อกระทู้)
ในพรหมชาลสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีปฏิบัติเมื่อมีคนติเตียนพระรัตนตรัย ว่า
“ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา กล่าวติเตียนพระธรรมหรือกล่าวติเตียนพระสงฆ์ก็ตาม
พวกเธอไม่ควรผูกอาฆาตแค้นเคืองขุ่นใจคนพวกนั้น
ถ้าพวกเธอโกรธเคืองหรือไม่พอใจพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตราย เพราะความโกรธเคืองนั้นได้” ...
“คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้เห็นชัดว่า
‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา”
พรหมชาลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0
.