ขอถามหน่อยครับ เรื่องหลักการพิพาษาโดยดูจากเจตนา

พอดีอ่านกรณี บิ๊กแจ็ส อัยการ JP ไม่ฟ้องเพราะไม่มีเจตนา
เลยนึกมาเทียบกับกรณีที่ดิน แต่อาจจะไม่เหมือนกันทีเดียว
ระหว่าง
1. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่สร้างบ้านบนเขายายเที่ยง พอเป็นข่าวเลยคืนที่ดิน แล้วรื้อสิ่งปลูกสร้างบนยอดเขาออก ไม่มีความผิดเพราะไม่มีเจตนา
2. พตท ทักษิน ชินวัตร เซ็นต์ชื่อให้ภรรยาเพื่อไปประมูลซื้อที่ดิน มีความผิดถูกตัดสินจำคุก 2 ปี เพราะมีเจตนาในการหาประโยชน์จาการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ โดยที่ท่านเข้าใจว่า เซ็นต์ได้เพราะไม่ได้เอาไปใช้ทำธุรกรรมกับหน่วยงานรัฐ ในตอนนั้น บริษัทบรรหารสินทรัพย์อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังถือเป็นนิติบุคคล จึงไม่ถือเป็นหน่วยงานรัฐ และไม่อยู่ภายใต้กำกับรัฐบาล ต่อมาจึงมีการแก้กฏหมายหลัง รปห ให้เป็นหน่วยงานราชการ(ถ้าผมเข้าใจผิดขออภัยด้วย)  

ตาม common sense ที่ผมมีถ้ายึดหลักเจตนา ผมว่าลุงยุทธ์ กรณีที่ 1 มีเจตนามากกว่า เพราะเป็นที่ทราบโดยทั่วไปแล้ว ท่ี่ดินบนเขายายเที่ยงไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่อนุญาตให้ซื้อ ขายได้ ความผิดก็เกิดขึ้นแล้วทำไมไม่เห็นมีการส่งฟ้อง เพื่อตัดสินพิพากษาครับ
กรณีที่ 2 อันนี้ผมเห็นว่าไม่เจตนาครับ เพราะผมคิดว่าทีม กม หรือ ทีมกฤษฎีกา อาจจะบอกว่าทำได้ มันเป็นการตีความกฏหมาย เหมือนตอนที่มีคำว่า และ หรือ ในกรณีที่เถียงกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญ สามารถรับเรื่องได้โดยตรงหรือเปล่า สุดท้าย
.....ตลก รธน ก็สรุปว่ารับได้

ถ้าหลักการของการพิพาษาดูที่เจตนา ผมว่าคำตัดสินลุงแม้ว กรณีไม่เป็นธรรมกับลุงแม้วอย่างมากครับ
พี่ๆที่เก่ง กม มีความเห็นยังไงมั่งครับ

แก้คำผิดครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่