🎌🎌🎌อํานาจทางปกครอง...................คืออะไรมาดูครับ แล้วจะรู้ว่าเนติบริกรท่านนี้ แกมั่วนิ่มอย่างไร

กฎหมายปกครอง
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้  

เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะ
เป็นกรรมการหรือฐานะ อื่นใด

หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
ราชการส่วนภูมิภาค ราชการ ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และ ให้
หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้เป็น หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ข้างต้นจะเห็นว่าอํานาจทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
เจตนาเพื่อใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสหกิจ ไม่ว่า

1.  ส่วนราชการ
2.  รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายเฉพาะ
3.  หน่วยงานอื่นตามพระราชกฤษฎีกา

( คุณยิ่งลักษณ์  ตอนนั้น ...ไม่ทราบว่า  สังกัดอยู่ในส่วนราชการไหน หรือ รัฐวิสหกิจไหน  ครับ )

อย่างเช่น  ตัวอย่างของคําสั่งทางปกครอง  
1.คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ลงโทษทางวินัย  
2.คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ
3.คําสั่งอื่นๆ
4.คําสั่งที่ไม่ออกใบอนุญาต เพิกถอนหรือพักใช้ ใบอนุญาต  
5.คําสั่งเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของข้าราชการ
6.คําสั่งให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา  
7.คําวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่ง

-----------------------------------
คําสั่งทางปกครอง
ที่จริงก็คือวิธีการบริหารงานภายในหน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสหกิจ
น่าจะเทียบเคียงได้กับ กฏ ระเบียบ กติกาในการทํางาน  ของภาคเอกชนทั่วๆไป

-----------------------------------
ต่อกรณี  คุณยิ่งลักษณ์
สิ่งสําคัญ  ที่ผมอยากจะโต้ คุณ วิษณุ  มีอยู่สองประเด้น

1. คําสั่งทางปกครอง
หากดูตาม  พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ต้องใช้กับเจ้าหน้าที่ เท่านั้น
คุณยิ่งลักษณ์  ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่  ของกระทรวงการคลัง หรือ หน่วยงานใดๆเลย

หากแม้เป็นเจ้าหน้าที่จริง  ก็ต้องไปดูอีกว่า
จะยังนําคําสั่งทางปกครอง  มาใช้บังคับได้หรือไม่ เพราะนํามาใช้ขณะพ้นจากตําเหน่งเจ้าหน้าที่ไปแล้ว

ที่จริง  การปรับ ลด ปลด ย้าย ข้าราชการ ก็เป็นคําสั่งทางปกครองอย่างหนึ่ง
โดยหลักแล้ว
เมื่อบุคคลใด  พ้นสภาพจากตําเหน่งเจ้าหน้าที่ไปแล้ว  บุคคลนั้นย่อมมีสภาพเป็นคนนอก
คําสั่งทางปกครองจึงย่อมไม่มีผล  ต่อบุคคลนั้นๆอีก

เพราะอย่างที่กล่าวมาตอนต้น  
คําสั่งทางปกครอง คือวิธีการบริหารงานภายในหน่วยงานราชการ หรือ รัฐวิสหกิจ
( แม้จะอ้างว่า  เป็นการกระทําละเมิด  ขณะมีตําเหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ก็ตาม  )

คําสั่งทางปกครอง  จึงต้องบังคับใช้ขณะบุคคลนั้น  ยังดํารงตําเหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ เท่านั้น


2. คําสั่งทางปกครอง
( ให้สังเกตุ "คําสั่ง" เมื่อเป็นคําสั่ง ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ผู้น้อย  จะเป็นผู้ออกคําสั่งต่อผู้บังคับบัญชา ย่อมไม่ได้ )
จึงเป็นลักษณะระหว่าง ผู้บังคับบัญชา  ออกคําสั่งกับ  ผู้ใต้บังคับบัญชา  หรือ ผู้ใหญ่ ใช้กับ ผู้น้อย
แต่เมื่อดูสถานะ คุณยิ่งลักษณ์ ( ขณะนั้น ) เป็นผู้บังคับบัญชาของกระทรวงการคลัง  
คําสั่งทางปกครองต่อ   คุณยิ่งลักษณ์   ในการกระทําละเมิดนี้  จึงย่อมนํามาบังคับใช้ไม่ได้
ขัดกับเจตนาของกฏหมายทางปกครอง  อย่างชัดเจน

***นี่ยังไม่นับรวมถึงความเหมาะสม เมื่อคดีนี้เข้าสู่กระบวนศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมืองแล้ว
กลับมาใช้วิธีรวบรัดตัดตอนแบบนี้  มันเหมาะสมหรือไม่

หรือ  คุณยิ่งลักษณ์  ขณะดํารงตําเหน่งนายกรัฐมนตรี
มีสถานะเป็นเจ้าพนักงาน หรือ เจ้าหน้าที่ ( ตามความหมายของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด )
แล้วเจ้าพนักงาน  กับ  เจ้าหน้าที่ เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร
นี่ก็เป็นอีกประเด้น

-------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่