ความฝันในหอแดง ประพันธ์โดย เฉาเสวี่ยฉิน (曹雪芹) ปี ค.ศ. 1744 - 1755 รวมเวลาสิบปีระหว่างรัชสมัย
จักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง (ปี ค.ศ. 1735 - 1795) นิยายเรื่องนี้ มีชื่อเดิมว่า “บันทึกแห่งศิลา” หรือ สือโถ่วจี้ (石头记)
ต้นฉบับ ความฝันในหอแดง ที่เฉาเสวี่ยฉินเป็นผู้ประพันธ์นั้นไม่จบสมบูรณ์ มีเพียง 80 ตอน โดยข้อมูลทั่วไประบุว่า
เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยายไปได้ 80 ตอน ก็ถึงแก่กรรม ขณะที่ผู้อ่านติดนิยายเรื่องนี้กันมาก จนเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแต่ง
นิยายต่อจนจบ จึงมีนักประพันธ์หลายท่าน มาแต่ง “ภาคต่อ” บางฉบับมี 20 ตอน บางฉบับมี 30 ตอน
ความฝันในหอแดง “ภาคต่อ” แต่งโดยเกาเอ้อ (高鹗) จำนวน 40 ตอน ได้รับเลือกให้ผนวกเข้ากับฉบับดั้งเดิม 80 ตอน
ของเฉาเสวี่ยฉิน กลายเป็น ความฝันในหอแดง ฉบับสมบูรณ์ 120 ตอน ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 1791 และถือเป็น
ฉบับแพร่หลาย แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่า “ภาคต่อ” ของเกาเอ้อนั้น ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเฉาเสวี่ยฉิน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักหอแดงวิทยา อาทิ โจวหรูชัง (周汝昌) ระบุว่า เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยาย ความฝันในหอแดง จบบริบูรณ์
รวมทิ้งสิ้น 108 ตอน แต่ 28 ตอนนั้น ได้สูญหายไป
ความฝันในหอแดง เป็นนิยายแนว “สัจจนิยม” (Realism) ที่มุ่งสะท้อนความฟอนแฟะของระบบสังคมศักดินา เปิดโปงชีวิตฟุ้งเฟ้อ
ของชนชั้นสูงผ่าน4 ตระกูลใหญ่ คือ จย่า (贾) สื่อ (史) หวัง (王) และเสวีย (薛) เช่น การใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของชนชั้นสูง การทุจริต
ต่อหน้าที่ในระบบราชการ การมั่วเมาตัณหากามารมณ์ การกดขี่ข่มเหงผู้ที่อ่อนด้อยกว่า
จึงเป็นหนังสือต้องห้ามในยุคนั้น ราชสำนักใช้ “คุกอักษร” (文字狱) จัดการกับผู้ประพันธ์หนังสือต้องห้าม เฉาเสวี่ยฉิน จึงไม่แต่งง่ายๆ
แสดงนัยออกมาตรงๆ แต่ได้ซ่อนความจริงไว้ในระหว่างบรรทัดของเรื่องราว
ในประเทศจีน มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการศึกษาวรรณกรรม “ความฝันในหอแดง” ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง และกลายเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง
เรียกว่า “แดงวิทยา” (红学) หรือ “Redology” โดยมีนักหอแดงวิทยา (红学家) ทำงานศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ตีความแง่มุมต่างๆ ขุดค้น
คุณค่าและความจริงที่แฝงเร้นอยู่ในนิยายเรื่องนี้ อย่างไม่รู้จบจวบจวนปัจจุบัน
รัตนคันฉ่องแห่งสายลมและดวงเดือน กับความจริงที่ซ่อนไว้ที่ด้านหลังกระจก
ในตอนที่ 12 จย่ารุ่ย ผู้หลงรักนางหวังซีเฟิ่ง ผู้มีศักดิ์เป็นพี่สะใภ้ของตน แต่ถูกนางกลั่นแกล้งอย่างอำมหิตจนล้มป่วย วันหนึ่งนักพรต
เต๋าได้มอบกระจกวิเศษ “รัตนคันฉ่องแห่งสายลมและดวงเดือน” (风月宝鉴) ให้แก่จย่ารุ่ย เพื่อรักษาอาการป่วยไข้ โดยกำชับว่าจะต้อง
ส่องด้านหลังกระจก ห้ามส่องด้านหน้ากระจกเด็ดขาด จย่ารุ่ยได้นำกระจกขึ้นมาส่องทางด้านหลัง ก็เห็นเป็นโครงกระดูกน่าเกลียดน่ากลัว
จึงลองพลิกด้านหน้ากระจกมาดู ก็เห็นเป็นยอดปรารถนา นางหวังซีเฟิ่ง กวักมือเรียก จย่ารุ่ยลุ่มหลงเฝ้าแต่ส่องด้านหน้ากระจกกระทั่งสิ้น
ลมอย่างอเนจอนาถยิ่ง
กำเนิด “บันทึกแห่งศิลา”
เทพก้งกงกับจวนซีต่อสู้กันจนฟ้าถล่มพัง ร้อนถึงหนี่ว์วาเทวีต้องหลอมหิน 36,501 ก้อน เพื่อซ่อมปะแผ่นฟ้า แต่เมื่อหนี่ว์วาเทวีใช้
ก้อนหิน 36,500 ก้อน ปะซ่อมหลังคาสวรรค์ก็แล้วเสร็จ และได้ทิ้งก้อนหินอีกหนึ่งก้อนที่เหลือไว้ที่ยอดเขาบนสวรรค์ ก้อนศิลาที่ถูกทอด
ทิ้งนี้โศกเศร้าและอยากลงไปเที่ยวยังโลกมนุษย์ จนในที่สุดก็สมหวัง ได้จุติลงมาเกิดเป็น เป่าอี้ว์ ผู้มีหยกอยู่ในปากเมื่อถือกำเนิดจากครรภ์
มารดา และนี่ก็คือจุดกำเนิด “บันทึกแห่งศิลา”
ความฝันในหอแดง
ความฝันในหอแดง ประพันธ์โดย เฉาเสวี่ยฉิน (曹雪芹) ปี ค.ศ. 1744 - 1755 รวมเวลาสิบปีระหว่างรัชสมัย
จักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง (ปี ค.ศ. 1735 - 1795) นิยายเรื่องนี้ มีชื่อเดิมว่า “บันทึกแห่งศิลา” หรือ สือโถ่วจี้ (石头记)
ต้นฉบับ ความฝันในหอแดง ที่เฉาเสวี่ยฉินเป็นผู้ประพันธ์นั้นไม่จบสมบูรณ์ มีเพียง 80 ตอน โดยข้อมูลทั่วไประบุว่า
เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยายไปได้ 80 ตอน ก็ถึงแก่กรรม ขณะที่ผู้อ่านติดนิยายเรื่องนี้กันมาก จนเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแต่ง
นิยายต่อจนจบ จึงมีนักประพันธ์หลายท่าน มาแต่ง “ภาคต่อ” บางฉบับมี 20 ตอน บางฉบับมี 30 ตอน
ความฝันในหอแดง “ภาคต่อ” แต่งโดยเกาเอ้อ (高鹗) จำนวน 40 ตอน ได้รับเลือกให้ผนวกเข้ากับฉบับดั้งเดิม 80 ตอน
ของเฉาเสวี่ยฉิน กลายเป็น ความฝันในหอแดง ฉบับสมบูรณ์ 120 ตอน ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 1791 และถือเป็น
ฉบับแพร่หลาย แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่า “ภาคต่อ” ของเกาเอ้อนั้น ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเฉาเสวี่ยฉิน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักหอแดงวิทยา อาทิ โจวหรูชัง (周汝昌) ระบุว่า เฉาเสวี่ยฉิน แต่งนิยาย ความฝันในหอแดง จบบริบูรณ์
รวมทิ้งสิ้น 108 ตอน แต่ 28 ตอนนั้น ได้สูญหายไป
ความฝันในหอแดง เป็นนิยายแนว “สัจจนิยม” (Realism) ที่มุ่งสะท้อนความฟอนแฟะของระบบสังคมศักดินา เปิดโปงชีวิตฟุ้งเฟ้อ
ของชนชั้นสูงผ่าน4 ตระกูลใหญ่ คือ จย่า (贾) สื่อ (史) หวัง (王) และเสวีย (薛) เช่น การใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของชนชั้นสูง การทุจริต
ต่อหน้าที่ในระบบราชการ การมั่วเมาตัณหากามารมณ์ การกดขี่ข่มเหงผู้ที่อ่อนด้อยกว่า
จึงเป็นหนังสือต้องห้ามในยุคนั้น ราชสำนักใช้ “คุกอักษร” (文字狱) จัดการกับผู้ประพันธ์หนังสือต้องห้าม เฉาเสวี่ยฉิน จึงไม่แต่งง่ายๆ
แสดงนัยออกมาตรงๆ แต่ได้ซ่อนความจริงไว้ในระหว่างบรรทัดของเรื่องราว
ในประเทศจีน มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการศึกษาวรรณกรรม “ความฝันในหอแดง” ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง และกลายเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง
เรียกว่า “แดงวิทยา” (红学) หรือ “Redology” โดยมีนักหอแดงวิทยา (红学家) ทำงานศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ตีความแง่มุมต่างๆ ขุดค้น
คุณค่าและความจริงที่แฝงเร้นอยู่ในนิยายเรื่องนี้ อย่างไม่รู้จบจวบจวนปัจจุบัน
รัตนคันฉ่องแห่งสายลมและดวงเดือน กับความจริงที่ซ่อนไว้ที่ด้านหลังกระจก
ในตอนที่ 12 จย่ารุ่ย ผู้หลงรักนางหวังซีเฟิ่ง ผู้มีศักดิ์เป็นพี่สะใภ้ของตน แต่ถูกนางกลั่นแกล้งอย่างอำมหิตจนล้มป่วย วันหนึ่งนักพรต
เต๋าได้มอบกระจกวิเศษ “รัตนคันฉ่องแห่งสายลมและดวงเดือน” (风月宝鉴) ให้แก่จย่ารุ่ย เพื่อรักษาอาการป่วยไข้ โดยกำชับว่าจะต้อง
ส่องด้านหลังกระจก ห้ามส่องด้านหน้ากระจกเด็ดขาด จย่ารุ่ยได้นำกระจกขึ้นมาส่องทางด้านหลัง ก็เห็นเป็นโครงกระดูกน่าเกลียดน่ากลัว
จึงลองพลิกด้านหน้ากระจกมาดู ก็เห็นเป็นยอดปรารถนา นางหวังซีเฟิ่ง กวักมือเรียก จย่ารุ่ยลุ่มหลงเฝ้าแต่ส่องด้านหน้ากระจกกระทั่งสิ้น
ลมอย่างอเนจอนาถยิ่ง
กำเนิด “บันทึกแห่งศิลา”
เทพก้งกงกับจวนซีต่อสู้กันจนฟ้าถล่มพัง ร้อนถึงหนี่ว์วาเทวีต้องหลอมหิน 36,501 ก้อน เพื่อซ่อมปะแผ่นฟ้า แต่เมื่อหนี่ว์วาเทวีใช้
ก้อนหิน 36,500 ก้อน ปะซ่อมหลังคาสวรรค์ก็แล้วเสร็จ และได้ทิ้งก้อนหินอีกหนึ่งก้อนที่เหลือไว้ที่ยอดเขาบนสวรรค์ ก้อนศิลาที่ถูกทอด
ทิ้งนี้โศกเศร้าและอยากลงไปเที่ยวยังโลกมนุษย์ จนในที่สุดก็สมหวัง ได้จุติลงมาเกิดเป็น เป่าอี้ว์ ผู้มีหยกอยู่ในปากเมื่อถือกำเนิดจากครรภ์
มารดา และนี่ก็คือจุดกำเนิด “บันทึกแห่งศิลา”