พระไตรปิฏกมีการกล่าวถึงชาติภพ เพื่อประโยชน์คือการพิจารณาว่าเป็นภัย

พระไตรปิฏกมีการกล่าวถึงชาติภพ วัฎฎะสงสาร รวมไปถึงผลของกรรม เพื่อให้พิจารณาว่าเป็นภัย
เมื่อพิจารณาว่าเป็นภัย มีความสะดุ้งกลัว หิริโอตตัปปะก็ย่อมเจริญ ไม่ประมาทในกุศลกรรม

แต่บางท่านมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทำให้คนเชื่อ หลง งมงาย จนพยายามเหมาว่าเป็นเพราะคำสอนเหล่านี้
ผมอยากจะให้แยกแยะครับ ว่า ในโลกนี้มีหลายสิ่งไม่น้อยนะครับ ที่สามารถทำให้หลง ทำให้งมงายได้
ถ้าการพิจารณานั้น ขาดปัญญา เพราะเจือด้วยทิฐิบ้าง อคติบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง โลภะบ้าง

ผมยกตัวอย่าง
- แค่คำพูด คำนินทา สรรเสริญ คำกล่าวหา ก็สามารถทำให้ผู้อื่นหลงได้ ถ้าไม่พิจารณา
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายอย่าง คนก็สามารถนำมาตีความจนเป็นความเชื่อ ความหลงไปต่างๆนาๆได้
- ที่สุดแล้ว แม้การประจักษ์กับรูปด้วยทวารทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และจิต ด้วยตนเอง
ก็สามารถทำให้บุคคล เกิดความหลงไปได้ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณา


สรุป สิ่งที่ผมจะบอก คือ คนเราถ้าจะเป็นผู้หลง แม้สิ่งที่น้อยนิดที่เกิดที่เห็นต่อหน้า ก็ยังความหลงให้เกิดขึ้นได้
ดังนั้นหากเห็นคนหลงงมงายกับนรกสวรรค์ ชาตินี้ชาติหน้า แนะนำว่าขอให้ใช้สติปัญญาแยกแยะ
ไม่ใช่เหมารวมเอาง่ายๆ ว่าเป็นเพราะคำสอนในพระไตรปิฏก แล้วไปพยายามดิสเครดิตพระไตรปิฏก
เพราะตัวอย่างดีๆ คนที่เขาไม่ประมาท เจริญในธรรมก็มีอยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่