ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
[๑๒] ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน ความประมาท
เป็นทางแห่งความตาย ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ชน
เหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว บัณฑิต
ทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทราบเหตุนั่นโดยความ
แปลกกันแล้ว ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท ยินดีแล้ว
ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น
เป็นนักปราชญ์ เพ่งพินิจ มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจาก
โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มี
ความหมั่น มีสติ มีการงานอันสะอาด ผู้ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท ผู้มี
ปัญญาพึงทำที่พึงที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความฝึกตน ชน
ทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความ
ประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน
ทรัพย์อันประเสริฐสุด ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความ
ประมาทอย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม
เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
เมื่อใด บัณฑิตย่อมบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นบัณฑิตผู้มีความประมาทอันบรรเทาแล้วนั้น ขึ้นสู่
ปัญญาดุจปราสาท ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์
ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล เหมือน
บุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น ฉะนั้น ผู้มี
ปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว ย่อมไม่ประมาท
เมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคล
เห็นปานนั้นไป ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น
ท้าวมัฆวาฬถึง ความเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดกว่า เทวดาทั้งหลาย
ด้วยความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ
ไม่ประมาท ความประมาทบัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ ภิกษุยินดี
แล้วในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เผา
สังโยชน์น้อยใหญ่ไป ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น
ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาทหรือเห็นภัยใน ความประ
มาทเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพาน
ทีเดียว ฯ
ความไม่ประมาท.....เป็นผลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอริยะสาวกผู้มีปัญญาประกอบ
แต่การทำเหตุแห่งความไม่ประมาทคือ
การวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ อย่างหนักแน่น สม่ำเสมอ ตั้งมั่น
เห็นความไม่เที่ยง เกิด ดับไปของความไม่ประมาท
คือฝึกฝนตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่ประมาทต่อความพอใจ ไม่พอใจที่กระทบเราตลอดเวลา เพื่อการรู้เท่าทันต่อการกระทบของอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ได้ด้วยตนเอง...สร้างเหตุปัจจัยในการทำบุญ
กุศลให้ถึงพร้อม...ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย..แน่นอน
ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
[๑๒] ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน ความประมาท
เป็นทางแห่งความตาย ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย ชน
เหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว บัณฑิต
ทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ทราบเหตุนั่นโดยความ
แปลกกันแล้ว ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท ยินดีแล้ว
ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น
เป็นนักปราชญ์ เพ่งพินิจ มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องนิพพานอันเกษมจาก
โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ยศย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มี
ความหมั่น มีสติ มีการงานอันสะอาด ผู้ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมระวัง ผู้เป็นอยู่โดยธรรม และผู้ไม่ประมาท ผู้มี
ปัญญาพึงทำที่พึงที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความฝึกตน ชน
ทั้งหลายผู้เป็นพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความ
ประมาท ส่วนนักปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน
ทรัพย์อันประเสริฐสุด ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตามความ
ประมาทอย่าประกอบการชมเชยด้วยสามารถความยินดีในกาม
เพราะว่าคนผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
เมื่อใด บัณฑิตย่อมบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นบัณฑิตผู้มีความประมาทอันบรรเทาแล้วนั้น ขึ้นสู่
ปัญญาดุจปราสาท ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์
ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล เหมือน
บุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น ฉะนั้น ผู้มี
ปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว ย่อมไม่ประมาท
เมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคล
เห็นปานนั้นไป ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น
ท้าวมัฆวาฬถึง ความเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดกว่า เทวดาทั้งหลาย
ด้วยความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ
ไม่ประมาท ความประมาทบัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ ภิกษุยินดี
แล้วในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เผา
สังโยชน์น้อยใหญ่ไป ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น
ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาทหรือเห็นภัยใน ความประ
มาทเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพาน
ทีเดียว ฯ
ความไม่ประมาท.....เป็นผลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอริยะสาวกผู้มีปัญญาประกอบ
แต่การทำเหตุแห่งความไม่ประมาทคือ
การวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ อย่างหนักแน่น สม่ำเสมอ ตั้งมั่น
เห็นความไม่เที่ยง เกิด ดับไปของความไม่ประมาท
คือฝึกฝนตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่ประมาทต่อความพอใจ ไม่พอใจที่กระทบเราตลอดเวลา เพื่อการรู้เท่าทันต่อการกระทบของอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ได้ด้วยตนเอง...สร้างเหตุปัจจัยในการทำบุญ
กุศลให้ถึงพร้อม...ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย..แน่นอน