ตามหัวข้อเลยครับท่านเห็นว่าสมควรมีการปฏิรูปหรือไม่ ถ้าควรปฏิรูปควรจะเป็นไปในรูปแบบใด เพื่อให้มีการ check and balance ตาม
หลักการของระบอบประชาธิปไตยครับ และถ้าไม่ควรปฏิรูปเป็นเพราะสาเหตุใดครับ
ขอเพิ่มเติมบทความ
การปกครองในอดีตอำนาจสูงสุดอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว กล่าวคือกษัตริย์เป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย (นิติบัญญัติ)
เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย (บริหาร) และตัดสินคดี (ตุลาการ) ดังนั้นเมื่อผู้ออกกฎหมาย ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้ตัดสิน
คดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน การใช้อำนาจของกษัตริย์ย่อมไร้ซึ่งการตรวจสอบและการคานอำนาจและเป็นช่องทางให้เกิด
การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง มองเตสกิเออร์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส จึงเห็นว่าเพื่อไม่ให้
เกิดการใช้อำนาจไปในทางละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรมีการแบ่งแยกอำนาจสูงสุดออกจากกันโดยไม่ให้องค์กร
ใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจแต่เพียงองค์กรเดียว เพื่อให้แต่ละองค์กรมีอำนาจ check (ตรวจสอบ) & balance (ถ่วงดุล) ซึ่งกัน
และกัน เพราะเหตุว่าอำนาจเท่านั้นที่จะยับยั้งอำนาจด้วยกันได้ดีที่สุด จนนำมาซึ่งการแบ่งแยกอำนาจในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในปัจจุบัน โดยแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติไปให้รัฐสภาพ อำนาจบริหารให้แก่คณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ
ให้แก่ผู้พิพากษา
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นตามหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง อำนาจทั้งสามอำนาจดังกล่าวจึงต้อง
มีกลไกการตรวจสอบหรือถ่วงดุลซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป
ยกตัวอย่างประเทศที่ปกครองในระบบประธานาธิบดีเช่นสหรัฐอเมริกา กลไกการคานอำนาจจะเน้นไปในทางถ่วงดุลอำนาจ
กล่าวคือประธานาธิบดี (ฝ่ายบริหาร) และสภาคองเกรส (นิติบัญญัติ) จะแบ่งแยกอำนาจจากกันอย่างเด็ดขาด ประธานาธิบดี
จะทำหน้าที่บริหารประเทศไป ส่วนสภาคองเกรสก็จะทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายไป ดังนั้นจึงไม่มีบทบัญญัติให้ประธานาธิบดียุบ
สภาคองเกรสได้ หรือให้สภาคองเกรสถอดถอนประธานาธิบดีได้ ( การ Impeacement ไม่ใช่การถอดถอนโดยสภาคองเกรส
ในฐานะองค์กรนิติบัญญัติ) โดยระบบนี้จะเน้นที่ความเข้มแข็งของฝ่ายบริหาร
ส่วนการปกครองในระบบรัฐสภา กลไกการคานอำนาจจะเน้นไปในทางตรวจสอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ รัฐสภา (นิติบัญญัติ)
เป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจะสามารถทำงานได้ภายใต้ความไว้วางใจของรัฐสภา ดังนั้นรัฐสภา
จึงต้องมีอำนาจตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีได้ ซึ่งเครื่องมือในการตรวจสอบของรัฐสภาได้แก่ กระทู้ ญัตติ การตั้ง
กรรมาธิการ การอภิปราย และการถอดถอน แต่ในขณะเดียวกันคณะรัฐมนตรีก็มีเครื่องมือในการตอบโต้รัฐสภา หากเห็นว่ารัฐสภา
ขัดขวางการทำงานของตนเอง นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจยุบสภา เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ได้ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย
กับการกระทำของรัฐบาลก็จะเลือกตั้งพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลเข้ามาใหม่ โดยระบบนี้จะเน้นที่ความเข้มแข็งของฝ่ายนิติบัญญัติ
สำหรับอำนาจตุลาการนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะมีที่มาจากที่ใดบางรัฐในสหรัฐอเมริกาก็มาจากการเลือกตั้ง แต่ศาลสูงสุดของ
รัฐบาลกลางสหรัฐคณะผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ซึ่งการเลือกตั้งผู้พิพากษาเป็นการก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้
การใช้อำนาจสูงสุดของรัฐยึดโยงกับประชาชน เพราะตัดสินคดีไม่ถูกต้องหรือฝืนความเห็นของประชาชนก็อาจทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เข้ามาได้ ส่วนการแต่งตั้งผู้พิพากษาโดยประธานาธิบดีนั้น แม้ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นการให้อำนาจบริหารไปก้าวก่ายอำนาจตุลาการ
แต่ศาลสูงสุดของสหรัฐก็มีอำนาจพิจารณาคดีเพียงบางประเภทเท่านั้น แต่การใช้อำนาจของศาลหากไม่ถูกต้องก็ย่อมมีผลกระทบ
ต่อความนิยมของประธานาธิบดีที่แต่งตั้งตนเข้ามา ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกก็ได้ ดังนั้นการใช้อำนาจของศาลสูงสุด
ของสหรัฐจึงยึดโยงกับประชาชนโดยอ้อม นอกจากนี้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาศาลสูงสุดของสหรัฐค่อนข้างจะเข้าใจและตระหนัก
ถึงบทบาทของตนเองเป็นอย่างดี หลายครั้งมีช่องที่ศาลจะตัดสินเพื่อเพิ่มอำนาจให้องค์กรตนเองได้ซึ่งจะทำให้เป็นการก้าวก่าย
อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ศาลสูงสุดก็เลือกที่จะจำกัดบทบาทของตน นอกจากนี้ศาลสูงสุดยังตัดสินคดีที่เป็นช่องว่างไปในทาง
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ตุลาการภิวัฒน์" อย่างแท้จริง
นอกจากการเลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรงหรือการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ในหลาย ๆ ประเทศก็มีตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ
ของผู้พิพากษาโดยการใช้ลูกขุน เช่น ในสหรัฐก็มีการใช้ลูกขุนในการตัดสินคดีบางประเภท (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีความสำคัญหรือ
คดีอุกฉกรรจ์) โดยอำนาจของลูกขุนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ บางประเทศลูกขุนมีอำนาจพิจารณาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง
บางประเทศมีอำนาจพิจารณาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย เป็นที่น่าสังเกตุว่าประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบ
ประมวลกฎหมาย (Civil law) เหมือนไทย ( ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือ Common law ส่วนใหญ่จะใช้ระบบลูกขุน)
และเป็นระบบผู้พิพากษาอาชีพมาจากการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับไทย แต่เดิมก็ให้ผู้พิพากษามีอำนาจตัดสินทั้งปัญหาข้อกฎหมาย
และข้อเท็จจริง แต่ต่อมาได้แก้ไขให้มีลูกขุน (Saipan - in) เข้ามานั่งพิจารณาร่วมกับผู้พิพากษาในคดีบางประเภท ซึ่งสาเหตุที่ยก
ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นนัน เป็นเพราะญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลในการปรับปรุงระบบกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน ส่วนประเทศ
ไทยในการปฏิรูประบบกฎหมายในสมัย ร.5 อันเนื่องมาจากการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส เยอรมัน
และญี่ปุ่น เช่นกัน
ซึ่งการมีลูกขุนในการพิจารณาคดีของศาลนั้นทำให้การใช้อำนาจของศาลมีการยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น (ซึ่งปกติยึดโยงกับประชาชน
น้อยมาก) และเป็นการลดการใช้อำนาจของศาลลง เพราะการมีลูกขุนทำให้การตัดสินคดียึดโยงกับความเห็น ค่านิยม และความต้อง
การของคนในสังคมนั้นมากขึ้น
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วก็จะขอแตะถึงการการแบ่งอำนาจฟ้องคดีกับอำนาจตัดสินคดีไปด้วยเลยทีเดียว ในอดีตก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส
การพิจารณาคดีของฝรั่งเศสเป็นระบบไต่สวน กล่าวคือผู้พิพากษามีอำนาจริเริ่มคดีได้เอง กล่าวคือมีอำนาจสอบสวน อำนาจฟ้อง
คดี และตัดสินคดี ในตัวบุคคลคนเดียว ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการดำเนินคดี เพราะหากผู้พิพากษาตั้งธงไว้เสียแล้วจำเลย
ก็ยากที่จะพ้นผิดไปได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีการลดทอนอำนาจ
ผู้พิพากษาลงโดยให้ผู้พิพากษามีอำนาจเฉพาะพิจารณาคดีเท่านั้น โดยแบ่งแยกอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องคดีไปให้ตำรวจ
และอัยการแทน ซึ่งการให้อำนาจศาลไต่สวนได้โดยอิสระนั้นก็เปรียบเสมือนดาบสองคมว่าศาลจะใช้อำนาจไต่สวนนั้นไปในทาง
ไต่สวนเพื่อลงโทษจำเลยหรือทำให้จำเลยพ้นผิด
ด้วยเหตุผลตามที่เขียนมาข้างต้นและศึกษากระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศมาบ้างเล็กน้อย จึงอยากเห็นกระบวนการยุติธรรม
ของไทยพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควร จึงเป็นที่มาของกระทู้ตอบโพลและถามความคิดเห็นแนวทางการปฏิรูปศาลว่าควรเป็นไปใน
ทิศทางใด หรือหากไม่ควรปฏิรูปเป็นเพราะอะไร และระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มีข้อดีอย่างไร
หากบทความผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยมา ณ ที่นี้เพราะเขียนจากความเข้าใจของตนเอง
***เพิ่มเติมบทความ***
*** ปิดโหวต วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2558 เวลา 00:03:43 น.
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
โพลสำรวจความเห็น ท่านเห็นว่าสมควรมีการปฏิรูปองค์กรศาลมั๊ยครับ ( ทุกศาลตั้งแต่ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ฯลฯ)
หลักการของระบอบประชาธิปไตยครับ และถ้าไม่ควรปฏิรูปเป็นเพราะสาเหตุใดครับ
ขอเพิ่มเติมบทความ
การปกครองในอดีตอำนาจสูงสุดอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว กล่าวคือกษัตริย์เป็นทั้งผู้ออกกฎหมาย (นิติบัญญัติ)
เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย (บริหาร) และตัดสินคดี (ตุลาการ) ดังนั้นเมื่อผู้ออกกฎหมาย ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้ตัดสิน
คดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน การใช้อำนาจของกษัตริย์ย่อมไร้ซึ่งการตรวจสอบและการคานอำนาจและเป็นช่องทางให้เกิด
การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง มองเตสกิเออร์ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส จึงเห็นว่าเพื่อไม่ให้
เกิดการใช้อำนาจไปในทางละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรมีการแบ่งแยกอำนาจสูงสุดออกจากกันโดยไม่ให้องค์กร
ใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจแต่เพียงองค์กรเดียว เพื่อให้แต่ละองค์กรมีอำนาจ check (ตรวจสอบ) & balance (ถ่วงดุล) ซึ่งกัน
และกัน เพราะเหตุว่าอำนาจเท่านั้นที่จะยับยั้งอำนาจด้วยกันได้ดีที่สุด จนนำมาซึ่งการแบ่งแยกอำนาจในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในปัจจุบัน โดยแบ่งแยกอำนาจนิติบัญญัติไปให้รัฐสภาพ อำนาจบริหารให้แก่คณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ
ให้แก่ผู้พิพากษา
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นตามหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง อำนาจทั้งสามอำนาจดังกล่าวจึงต้อง
มีกลไกการตรวจสอบหรือถ่วงดุลซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป
ยกตัวอย่างประเทศที่ปกครองในระบบประธานาธิบดีเช่นสหรัฐอเมริกา กลไกการคานอำนาจจะเน้นไปในทางถ่วงดุลอำนาจ
กล่าวคือประธานาธิบดี (ฝ่ายบริหาร) และสภาคองเกรส (นิติบัญญัติ) จะแบ่งแยกอำนาจจากกันอย่างเด็ดขาด ประธานาธิบดี
จะทำหน้าที่บริหารประเทศไป ส่วนสภาคองเกรสก็จะทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายไป ดังนั้นจึงไม่มีบทบัญญัติให้ประธานาธิบดียุบ
สภาคองเกรสได้ หรือให้สภาคองเกรสถอดถอนประธานาธิบดีได้ ( การ Impeacement ไม่ใช่การถอดถอนโดยสภาคองเกรส
ในฐานะองค์กรนิติบัญญัติ) โดยระบบนี้จะเน้นที่ความเข้มแข็งของฝ่ายบริหาร
ส่วนการปกครองในระบบรัฐสภา กลไกการคานอำนาจจะเน้นไปในทางตรวจสอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ รัฐสภา (นิติบัญญัติ)
เป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจะสามารถทำงานได้ภายใต้ความไว้วางใจของรัฐสภา ดังนั้นรัฐสภา
จึงต้องมีอำนาจตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีได้ ซึ่งเครื่องมือในการตรวจสอบของรัฐสภาได้แก่ กระทู้ ญัตติ การตั้ง
กรรมาธิการ การอภิปราย และการถอดถอน แต่ในขณะเดียวกันคณะรัฐมนตรีก็มีเครื่องมือในการตอบโต้รัฐสภา หากเห็นว่ารัฐสภา
ขัดขวางการทำงานของตนเอง นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจยุบสภา เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ได้ หากประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย
กับการกระทำของรัฐบาลก็จะเลือกตั้งพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลเข้ามาใหม่ โดยระบบนี้จะเน้นที่ความเข้มแข็งของฝ่ายนิติบัญญัติ
สำหรับอำนาจตุลาการนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะมีที่มาจากที่ใดบางรัฐในสหรัฐอเมริกาก็มาจากการเลือกตั้ง แต่ศาลสูงสุดของ
รัฐบาลกลางสหรัฐคณะผู้พิพากษามาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ซึ่งการเลือกตั้งผู้พิพากษาเป็นการก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้
การใช้อำนาจสูงสุดของรัฐยึดโยงกับประชาชน เพราะตัดสินคดีไม่ถูกต้องหรือฝืนความเห็นของประชาชนก็อาจทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เข้ามาได้ ส่วนการแต่งตั้งผู้พิพากษาโดยประธานาธิบดีนั้น แม้ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นการให้อำนาจบริหารไปก้าวก่ายอำนาจตุลาการ
แต่ศาลสูงสุดของสหรัฐก็มีอำนาจพิจารณาคดีเพียงบางประเภทเท่านั้น แต่การใช้อำนาจของศาลหากไม่ถูกต้องก็ย่อมมีผลกระทบ
ต่อความนิยมของประธานาธิบดีที่แต่งตั้งตนเข้ามา ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกก็ได้ ดังนั้นการใช้อำนาจของศาลสูงสุด
ของสหรัฐจึงยึดโยงกับประชาชนโดยอ้อม นอกจากนี้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาศาลสูงสุดของสหรัฐค่อนข้างจะเข้าใจและตระหนัก
ถึงบทบาทของตนเองเป็นอย่างดี หลายครั้งมีช่องที่ศาลจะตัดสินเพื่อเพิ่มอำนาจให้องค์กรตนเองได้ซึ่งจะทำให้เป็นการก้าวก่าย
อำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ศาลสูงสุดก็เลือกที่จะจำกัดบทบาทของตน นอกจากนี้ศาลสูงสุดยังตัดสินคดีที่เป็นช่องว่างไปในทาง
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ตุลาการภิวัฒน์" อย่างแท้จริง
นอกจากการเลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรงหรือการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ในหลาย ๆ ประเทศก็มีตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ
ของผู้พิพากษาโดยการใช้ลูกขุน เช่น ในสหรัฐก็มีการใช้ลูกขุนในการตัดสินคดีบางประเภท (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่มีความสำคัญหรือ
คดีอุกฉกรรจ์) โดยอำนาจของลูกขุนก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ บางประเทศลูกขุนมีอำนาจพิจารณาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง
บางประเทศมีอำนาจพิจารณาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย เป็นที่น่าสังเกตุว่าประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบ
ประมวลกฎหมาย (Civil law) เหมือนไทย ( ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือ Common law ส่วนใหญ่จะใช้ระบบลูกขุน)
และเป็นระบบผู้พิพากษาอาชีพมาจากการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับไทย แต่เดิมก็ให้ผู้พิพากษามีอำนาจตัดสินทั้งปัญหาข้อกฎหมาย
และข้อเท็จจริง แต่ต่อมาได้แก้ไขให้มีลูกขุน (Saipan - in) เข้ามานั่งพิจารณาร่วมกับผู้พิพากษาในคดีบางประเภท ซึ่งสาเหตุที่ยก
ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นนัน เป็นเพราะญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลในการปรับปรุงระบบกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศสและเยอรมัน ส่วนประเทศ
ไทยในการปฏิรูประบบกฎหมายในสมัย ร.5 อันเนื่องมาจากการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส เยอรมัน
และญี่ปุ่น เช่นกัน
ซึ่งการมีลูกขุนในการพิจารณาคดีของศาลนั้นทำให้การใช้อำนาจของศาลมีการยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น (ซึ่งปกติยึดโยงกับประชาชน
น้อยมาก) และเป็นการลดการใช้อำนาจของศาลลง เพราะการมีลูกขุนทำให้การตัดสินคดียึดโยงกับความเห็น ค่านิยม และความต้อง
การของคนในสังคมนั้นมากขึ้น
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วก็จะขอแตะถึงการการแบ่งอำนาจฟ้องคดีกับอำนาจตัดสินคดีไปด้วยเลยทีเดียว ในอดีตก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส
การพิจารณาคดีของฝรั่งเศสเป็นระบบไต่สวน กล่าวคือผู้พิพากษามีอำนาจริเริ่มคดีได้เอง กล่าวคือมีอำนาจสอบสวน อำนาจฟ้อง
คดี และตัดสินคดี ในตัวบุคคลคนเดียว ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการดำเนินคดี เพราะหากผู้พิพากษาตั้งธงไว้เสียแล้วจำเลย
ก็ยากที่จะพ้นผิดไปได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสได้มีการลดทอนอำนาจ
ผู้พิพากษาลงโดยให้ผู้พิพากษามีอำนาจเฉพาะพิจารณาคดีเท่านั้น โดยแบ่งแยกอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องคดีไปให้ตำรวจ
และอัยการแทน ซึ่งการให้อำนาจศาลไต่สวนได้โดยอิสระนั้นก็เปรียบเสมือนดาบสองคมว่าศาลจะใช้อำนาจไต่สวนนั้นไปในทาง
ไต่สวนเพื่อลงโทษจำเลยหรือทำให้จำเลยพ้นผิด
ด้วยเหตุผลตามที่เขียนมาข้างต้นและศึกษากระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศมาบ้างเล็กน้อย จึงอยากเห็นกระบวนการยุติธรรม
ของไทยพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควร จึงเป็นที่มาของกระทู้ตอบโพลและถามความคิดเห็นแนวทางการปฏิรูปศาลว่าควรเป็นไปใน
ทิศทางใด หรือหากไม่ควรปฏิรูปเป็นเพราะอะไร และระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มีข้อดีอย่างไร
หากบทความผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยมา ณ ที่นี้เพราะเขียนจากความเข้าใจของตนเอง
***เพิ่มเติมบทความ***