จากความเดิม
ตอนที่ 1 - ปฏิรูปประเทศไทย : ปูพื้นฐาน อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร ? (
http://ppantip.com/topic/34868249 )
................................................................................................................................................................................................
ตอนที่ 2 : ' ระบบถ่วงดุล ' รากฐานชาติและประชาธิปไตยสหรัฐฯ
( ดูคลิปวีดีโอ ------>>> http://news.voicetv.co.th/global/43688.html )
สหรัฐอเมริกา หนึ่งในประเทศต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงที่สุดในโลก โดยความมั่นคงนี้ มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ระบบการเมืองของสหรัฐฯ ที่เน้นการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างสถาบันหลัก ซึ่งทำให้การบริหารประเทศสามารถทำได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรากฐานความเป็นชาติของชาวอเมริกัน ก็คือระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ ตามหลักปรัชญาของชาร์ลส์ เดอ มองเตสกิเออร์ นักปราชญ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส โดยอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยทั้งสามฝ่ายต่างมีอำนาจในการตรวจสอบกันและกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สำหรับสหรัฐฯ ประธานาธิบดีถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ เนื่องจากได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่อำนาจนี้ก็ถูกถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิภาพโดยสภาคองเกรส หรือรัฐสภาของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเพียงองค์กรเดียวที่สามารถถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ หากพบว่ามีความผิดที่สมควร เนื่องจากถือว่าเป็นองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเช่นกัน
โดยในอดีตที่ผ่านมา มีความพยายามถอดถอนผู้นำสหรัฐฯ เกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง ในจำนวนนี้รวมถึงความพยายามในการถอดถอนประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ในปี 2517 และประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในปี 2542
สำหรับบทบาทของฝ่ายตุลาการ ถึงแม้ว่าศาลสูงสุดของสหรัฐฯซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี จะไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะถอดถอนประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในระบบถ่วงดุลแห่งอำนาจอันสมบูรณ์นี้ ก็ให้อำนาจแก่ศาลในการพิจารณานโยบายและกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งหากศาลพิจารณาว่ากฎหมายเหล่านี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะสามารถยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยถึงแม้การใช้อำนาจในลักษณะนี้จะไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ประธานาธิบดีต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากทางการเมือง และถือเป็นการบรรลุเป้าหมายของระบบการถ่วงดุลอำนาจ ที่ต้องการให้อำนาจอธิปไตยแต่ละฝ่ายปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมของผู้นำประเทศ
กรณีตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดของการที่ศาลพิจารณาให้กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ ได้แก่กรณีของ Patriot Act หรือกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่ออกโดยรัฐบาลของนายจอร์ช ดับเบิลยู บุช หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11
กฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษวิจารณ์อย่างหนักว่าให้อำนาจแก่รัฐบาลและสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ หรือ FBI มากเกินไปในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย จนมีการฟ้องร้องต่อศาลสูงสุด โดยศาลตัดสินให้ส่วนหลักของกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งระบุว่า FBI มีอำนาจในการเรียกดูข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เนตของประชาชนโดยไม่ต้องขอหมายศาล เป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยอ้างความมั่นคงแห่งรัฐ
ส่วนกรณีล่าสุดที่ศาลสูงสุดของสหรัฐฯมีบทบาทในการพิจารณากฎหมายที่เป็นนโยบายสำคัของรัฐบาล ก็คือคดี "โอบามาแคร์" หรือการพิจารณากฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบัน กฎหมายฉบับนี้ถูกฟ้องร้องว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากบังคับให้ชาวอเมริกันทุกคนซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งอาจถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ศาลตัดสินให้กฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของนายโอบามา และประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงเป็นตัวอย่างของการตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้มุ่งแต่เพียงการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ด้วยระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพนี้ สหรัฐฯจึงสามารถมีทั้งระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งและถ่วงดุลรัฐบาลได้อย่างสร้างสรรค์ ระบบศาลที่ยุติธรรมและไม่ก้าวก่ายอำนาจรัฐเกินขอบเขต รวมถึงประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหารประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ไม่ปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่ยาวนานและมีระบบการเมืองภายในที่เข้มแข็งที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
***** ปฏิรูปประเทศไทย ตอนที่ 2 : ' ระบบถ่วงดุล ' รากฐานชาติและประชาธิปไตยสหรัฐฯ ***** ( by : Robinhood )
ตอนที่ 1 - ปฏิรูปประเทศไทย : ปูพื้นฐาน อเมริกาเลือกตั้งกันอย่างไร ? ( http://ppantip.com/topic/34868249 )
................................................................................................................................................................................................
ตอนที่ 2 : ' ระบบถ่วงดุล ' รากฐานชาติและประชาธิปไตยสหรัฐฯ ( ดูคลิปวีดีโอ ------>>> http://news.voicetv.co.th/global/43688.html )
สหรัฐอเมริกา หนึ่งในประเทศต้นแบบของระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงที่สุดในโลก โดยความมั่นคงนี้ มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ระบบการเมืองของสหรัฐฯ ที่เน้นการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างสถาบันหลัก ซึ่งทำให้การบริหารประเทศสามารถทำได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรากฐานความเป็นชาติของชาวอเมริกัน ก็คือระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ ตามหลักปรัชญาของชาร์ลส์ เดอ มองเตสกิเออร์ นักปราชญ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส โดยอำนาจของรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยทั้งสามฝ่ายต่างมีอำนาจในการตรวจสอบกันและกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการใช้อำนาจในทางมิชอบโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สำหรับสหรัฐฯ ประธานาธิบดีถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ เนื่องจากได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่อำนาจนี้ก็ถูกถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิภาพโดยสภาคองเกรส หรือรัฐสภาของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเพียงองค์กรเดียวที่สามารถถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ หากพบว่ามีความผิดที่สมควร เนื่องจากถือว่าเป็นองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเช่นกัน
โดยในอดีตที่ผ่านมา มีความพยายามถอดถอนผู้นำสหรัฐฯ เกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง ในจำนวนนี้รวมถึงความพยายามในการถอดถอนประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ในปี 2517 และประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในปี 2542
สำหรับบทบาทของฝ่ายตุลาการ ถึงแม้ว่าศาลสูงสุดของสหรัฐฯซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี จะไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะถอดถอนประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในระบบถ่วงดุลแห่งอำนาจอันสมบูรณ์นี้ ก็ให้อำนาจแก่ศาลในการพิจารณานโยบายและกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งหากศาลพิจารณาว่ากฎหมายเหล่านี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะสามารถยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยถึงแม้การใช้อำนาจในลักษณะนี้จะไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ประธานาธิบดีต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากทางการเมือง และถือเป็นการบรรลุเป้าหมายของระบบการถ่วงดุลอำนาจ ที่ต้องการให้อำนาจอธิปไตยแต่ละฝ่ายปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรมของผู้นำประเทศ
กรณีตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดของการที่ศาลพิจารณาให้กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ ได้แก่กรณีของ Patriot Act หรือกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่ออกโดยรัฐบาลของนายจอร์ช ดับเบิลยู บุช หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11
กฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษวิจารณ์อย่างหนักว่าให้อำนาจแก่รัฐบาลและสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ หรือ FBI มากเกินไปในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย จนมีการฟ้องร้องต่อศาลสูงสุด โดยศาลตัดสินให้ส่วนหลักของกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งระบุว่า FBI มีอำนาจในการเรียกดูข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เนตของประชาชนโดยไม่ต้องขอหมายศาล เป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยอ้างความมั่นคงแห่งรัฐ
ส่วนกรณีล่าสุดที่ศาลสูงสุดของสหรัฐฯมีบทบาทในการพิจารณากฎหมายที่เป็นนโยบายสำคัของรัฐบาล ก็คือคดี "โอบามาแคร์" หรือการพิจารณากฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบัน กฎหมายฉบับนี้ถูกฟ้องร้องว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากบังคับให้ชาวอเมริกันทุกคนซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งอาจถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ศาลตัดสินให้กฎหมายฉบับดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของนายโอบามา และประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงเป็นตัวอย่างของการตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้มุ่งแต่เพียงการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ด้วยระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพนี้ สหรัฐฯจึงสามารถมีทั้งระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งและถ่วงดุลรัฐบาลได้อย่างสร้างสรรค์ ระบบศาลที่ยุติธรรมและไม่ก้าวก่ายอำนาจรัฐเกินขอบเขต รวมถึงประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหารประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ไม่ปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยที่ยาวนานและมีระบบการเมืองภายในที่เข้มแข็งที่สุดประเทศหนึ่งของโลก