การสู้รบที่เนิน ๙๖๓๑ ทหารไทย vs ทหารพม่า + ทหารว้าแดงชายแดนไทย-พม่า
มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ง่าย อย่างที่ทราบกันดีว่า มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ากลุ่มต่างๆ เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทย-พม่าอยู่ ส่วนทางการไทยก็หนักใจกับปัญหาการค้ายาเสพติดที่มีโรงงานผลิตยาอยู่ใกล้ชาย แดนไทย-พม่า เช่นกัน นอกจากนั้นเวลารัฐบาลทหารพม่ายกกำลังเข้าปราบปรามกลุ่มชนส่วนน้อยที่ต่อต้าน รัฐบาล ก็จะมีปัญหาการอพยพหลบภัยสงครามข้ามเข้ามาสู่ชายแดนไทย เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นประจำ แต่ที่ลุกลามใหญ่โตจนเกิดการปะทะกันระหว่างกำลังทหารของสองประเทศนั้นเกิด ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ทหารรัฐบาลพม่า ได้รับคำสั่งให้สนับสนุนกองทหารว้า ของ United Wa State Army (UWSA) ในการสู้รบกับกลุ่มกบฏรัฐฉาน (Shan State Army, SSA) ปัญหาก็คือ การเข้าตีกองกำลังรัฐฉานตรงๆ นั้น ยากที่จะเข้าตีได้ เพราะกองทัพรัฐฉานมีฐานที่มั่นอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบ อีกทางหนึ่งที่ง่ายกว่าคือ ตีโอบหลัง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า กองทัพรัฐฉานมีกองกำลังอยู่ชิดชายแดนไทย การตีโอบหลังต้องผ่านชายแดนไทยเข้ามา จุดยุทธศาสตร์ตรงบริเวณนี้คือ ฐานทหารพรานบนเนิน ๙๖๓๑ ซึ่งอยู่บนยอดเขาบริเวณบ้านปางนุ่น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง ลึกเข้าไปในชายแดนไทย ๑ กม. ใกล้ๆ กันคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มั่นแห่งนี้มีทหารพรานประจำการอยู่ ๒๐ นาย ภารกิจหลักของฐานแห่งนี้คือ การสกัดการขนยาเสพติดข้ามแดน ฝ่ายพม่ามีกำลังอยู่บริเวณนั้น ๙๐๐ นาย เสริมด้วย ทหารว้าอีก ๖๐๐ นาย
เย็นวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ทหารพม่า ๒๐๐ นายเข้าโจมตีฐานทหารพรานแห่งนี้ ฝ่ายทหารพรานได้สังหารทหารพม่าได้ ๑๔ นาย บาดเจ็บอีกราว ๓๐ นาย หลังปะทะกันได้ ๔ ชั่วโมง ฝ่ายทหารพรานเสียชีวิต ๒ นาย(ภายหลังพบว่า หนึ่งในสองที่คาดว่าตายนั้นยังไม่ตาย) บาดเจ็บอีก ๑๑ นาย กระสุนเริ่มร่อยหรอลง จึงขออนุญาตถอนกำลังพร้อมกับนำผู้บาดเจ็บเสียชีวิตออกมาด้วย เนิน ๙๖๓๑ ตกอยู่ใต้การยึดครองของทหารพม่า ซึ่งยิงไล่หลังทหารพราน ฝ่ายไทยหลังได้รับรายงานได้ส่งกำลังจากกรมทหารม้าที่ ๓ กองพลทหารม้าที่ ๑ เข้าไปช่วยทันที ในชั้นแรกคือ ช่วยทหารพรานออกมาก่อน เพราะตอนนั้นมืดแล้ว ยังไม่ทราบกำลังที่แท้จริงของพม่าว่ามีเท่าไหร่ จึงได้แต่ตรึงกำลังไว้ก่อนไม่ให้มีการรุกล้ำเข้ามามากกว่านี้
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ กรมทหารม้าที่ ๓ ได้รับการเสริมกำลังจากรถสายพานลำเลียงพล M-113A-3 หนึ่งกองร้อย และรถถัง M-60A-3 อีกหนึ่งกองร้อย ทั้งหมดอยู่ภายใต้การบัญชาการของร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธุ์ นอกจากนี้ทางด้านอำเภอแม่สาย ได้มีการเสริมกำลังเช่นกัน ทหารไทยพร้อมด้วยกำลังเสริมได้เข้าตีชิงฐาน บนเนิน ๙๖๓๑ คืน อย่างไม่ยากเย็นนัก ทหารพม่าถอนกำลังกลับข้ามชายแดนไป ทิ้งศพพรรคพวกไว้ ๑๗ ศพ และผู้บาดเจ็บอีก ๖๐ คน ในขณะที่กำลังฝ่ายไทยบาดเจ็บ ๗ นาย
เช้าวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ทหารพม่า ๓ กรม สนับสนุนด้วยรถถัง T-69 ที่ได้รับมาจากจีน และปืนใหญ่ เข้าโจมตีอำเภอแม่สาย ฝ่ายไทยตอบโต้ด้วยรถถัง M-60A3 และเครื่องบินขับไล่ F-5 ที่บินมาจากสนามบินเชียงใหม่ ที่ใช้ลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ (LGB) นอกจากนั้นฝ่ายไทยยังมีปืนอัตตาจร ๑๕๕ มม. แบบ M-109 และปืนใหญ่กลางระยะยิงไกลมากอย่าง GCN-55 (ยิงได้ไกลถึง ๔๕ กม.) ทำให้ฝ่ายพม่าได้รับความเสียหายอย่างมาก เครื่องบินของไทยยังทำการโจมตีหน่วยส่งกำลังบำรุงของพม่าด้วย
ขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังสู้รบกันอยู่นั้น ฮ. UH-1H ของทอ. ถูกยิงจากภาคพื้นดินตกบริเวณเขตอำเภอแม่อาย ขณะกำลังบินสนับสนุนเสบียง นักบินนำเครื่องร่อนลงฉุกเฉินได้สำเร็จ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
เวลา ๑๙๓๐ ทั้งสองฝ่ายหยุดยิง (ไทยกับพม่า) แต่ยังมีเสียงการปะทะกันทางฝั่งพม่า เนื่องจากฝ่ายพม่านำกำลังเสริมจากเก็งตุง มายังท่าขี้เหล็ก และปะทะกับกองทัพรัฐฉานของเจ้ายอดศึก
ปืนใหญ่ทั้งสองฝ่ายดวลข้ามชายแดนกัน และมีการโจมตีทางอากาศโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศไทย ที่ใช้เชียงใหม่เป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้ และถือว่าเป็นปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ระหว่างวันที่ ๑๐ ถึง ๑๒ กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของไทยทำการบินรบกว่า ๗๐ เที่ยวบิน รวมทั้งการโจมตีด้วยลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ต่อฐานปืนใหญ่ของพม่าที่ตั้ง ฐานอยู่ในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในท่าขี้เหล็ก ปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-5F หนึ่งเครื่องและเครื่องบินขับไล่ F-5E อีก ๓ เครื่อง เครื่องบิน F-5F ติดกระเปาะ WSO ที่ผลิตในอิสราเอล ทำหน้าที่ชี้เป้า ส่วน F-5E อีก ๓ เครื่อง บินเข้าหาเป้าหมายจากทิศทางที่ต่างกัน เข้าโจมตีด้วยระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ ๖ ลูก ลูกระเบิดเข้าสู่เป้าหมายทุกลูก ปืนต่อสู้อากาศยานของพม่ายิงขึ้นมาสกัดกั้นอย่างเบาบาง และไม่มีเครื่องบินของไทยเครื่องใดได้รับความเสียหาย
ไม่มีเครื่องบินกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติการ
เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ของไทยได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยในต้นปี ๒๕๓๓ โดยติดตั้งระบบนำร่องของ Litton และเสริมความแข็งแรงของไพล่อนกลางลำตัว ให้สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง ๑,๕๐๐ กก., และไพล่อนใต้ปิดด้านในรับน้ำหนักได้ถึง ๑,๐๐๐ กก./ด้านนอกรับน้ำหนักได้ ๕๐๐ กก. ระหว่างปฏิบัติการ F-5E แต่ละเครื่องบรรทุกลูกระเบิด LGB ๒ ลูก
ไม่มีเครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติในช่วงที่มีการปะทะกันนี้ เพราะเครื่องบินขับไล่ F-7 ถูกส่งไปปรับปรุงที่อิสราเอล ในข้อเท็จจริงช่วงนั้น ผู้นำทหารพม่าได้สั่งการให้หน่วยบิน F-7 สามหน่วยกระจายกำลังออกไป ซึ่งจะทำให้มีเครื่องบินขับไล่ F-7 ๓๐ เครื่องที่พร้อมปะทะกับฝ่ายไทย อย่างไรก็ตาม มีเพียง ๖ เครื่องที่ประจำอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Kengtung ที่อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็กไปทางเหนือราว ๑๕๐ กม. ระยะทางบินขนาดนี้ ทำให้เครื่องบินขับไล่ F-7 ที่ติดอาวุธเต็มที่ หนักเกินกว่าที่จะทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงไม่มีวี่แววที่เครื่องบินขับไล่ F-7 จะมาสกัดกั้นเครื่องบิน F-5 ของไทย เครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าที่เหลือได้แก่ เครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ PC-7 ๑๗ เครื่อง, PC-9 ๔ เครื่อง และเครื่องบินฝึก G-4 Super Galeb อีก ๔ เครื่อง มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่บินได้ เครื่องบินโจมตี A-5M ยิ่งมีสภาพต่ำยิ่งกว่าเครื่องบิน F-7 เสียอีก
การป้องกันภัยทางอากาศของพม่ามีการซื้อจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-16 จากบุลกาเรีย, MiG-29 จากรัสเซีย ข่าวกรองรายงานว่า MiG-29 ที่พม่าซื้อไปเป็นเครื่องที่อิรัคสั่งซื้อแต่ยังไม่ส่งมอบ เมื่อพิจารณาจากข่าวที่รายงานว่า นักบินพม่าได้รับการฝึกบินที่อินเดีย ซึ่งคาดว่าการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ช่างเครื่อง คงจะต้องรับการฝึกจากอินเดียเช่นกัน
การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยการเจรจา โดยทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกำลัง ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ฝ่ายไทยมีกำลังของกองพลทหารม้าที่ ๑ และส่วนแยกของกองพลทหารม้าที่ ๒ ที่มีรถถัง M-41, รถถัง Stingray และยานเกราะ V-150 วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ทอ.ส่ง F-16 ไปเสริมกำลังที่ฐานบินเชียงใหม่ ทำหน้าที่บินลาดตระเวนรบตามแนวชายแดน วันที่ ๑๐ พฤษภาคม F-16 ของไทยโจมตีเป้าหมายที่ Kyauket ในเขตรัฐฉาน ทางการพม่าได้ประท้วงทางการไทยในกรณีดังกล่าว
บทสรุป – หลังเหตุการณ์ที่เนิน ๙๖๓๑ ทางฝ่ายไทยยังคงส่งทหารพรานไปประจำการเช่นเดิม ส่วนทางฝ่ายพม่าไม่มีการวางกำลังด้านนี้อีก ทหารพม่าเสียชีวิต ๘๐ นาย, ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๓๗ นาย พลเรือนเสียชีวิต ๓ คน บาดเจ็บ ๗ คน ทางการไทยระบุว่า มีผู้หญิง ๒ คนเสียชีวิตจากปืนใหญ่ของพม่าที่ยิงถล่มเข้ามาที่แม่สาย ร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธ์ กล่าวในเวลาต่อมาว่า ทหารพม่าเสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ นาย แต่ถูกนำกลับไประหว่างการถอนกำลัง แต่ทหารไทยยังพบศพทหารพม่า ๓ นาย บนเนิน ๙๖๓๑ ทางด้านพม่า, พันเอก Kyaw Thein นายทหารการข่าว ยืนยันว่า ทางฝ่ายพม่าเสียทหารไป ๑๒ นาย บาดเจ็บ ๑๕ นาย แต่ยอดนี้เป็นการปะทะกับทหารไทยใหญ่ ไม่ใช่จากการปะทะกับทหารไทย
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2009/09/X8315375/X8315375.html
เรือดำน้ำ สำคัญจริงหรือ ย้อนรอยประวัติศาสตร์ สงคราม สมัยท่านทักษิณ เป็นนายก จะเทียบกับเครื่องบินในสมัยนั้นได้เปล่า
มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ง่าย อย่างที่ทราบกันดีว่า มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ากลุ่มต่างๆ เคลื่อนไหวตามแนวชายแดนไทย-พม่าอยู่ ส่วนทางการไทยก็หนักใจกับปัญหาการค้ายาเสพติดที่มีโรงงานผลิตยาอยู่ใกล้ชาย แดนไทย-พม่า เช่นกัน นอกจากนั้นเวลารัฐบาลทหารพม่ายกกำลังเข้าปราบปรามกลุ่มชนส่วนน้อยที่ต่อต้าน รัฐบาล ก็จะมีปัญหาการอพยพหลบภัยสงครามข้ามเข้ามาสู่ชายแดนไทย เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นประจำ แต่ที่ลุกลามใหญ่โตจนเกิดการปะทะกันระหว่างกำลังทหารของสองประเทศนั้นเกิด ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ทหารรัฐบาลพม่า ได้รับคำสั่งให้สนับสนุนกองทหารว้า ของ United Wa State Army (UWSA) ในการสู้รบกับกลุ่มกบฏรัฐฉาน (Shan State Army, SSA) ปัญหาก็คือ การเข้าตีกองกำลังรัฐฉานตรงๆ นั้น ยากที่จะเข้าตีได้ เพราะกองทัพรัฐฉานมีฐานที่มั่นอยู่ในชัยภูมิที่ได้เปรียบ อีกทางหนึ่งที่ง่ายกว่าคือ ตีโอบหลัง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า กองทัพรัฐฉานมีกองกำลังอยู่ชิดชายแดนไทย การตีโอบหลังต้องผ่านชายแดนไทยเข้ามา จุดยุทธศาสตร์ตรงบริเวณนี้คือ ฐานทหารพรานบนเนิน ๙๖๓๑ ซึ่งอยู่บนยอดเขาบริเวณบ้านปางนุ่น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง ลึกเข้าไปในชายแดนไทย ๑ กม. ใกล้ๆ กันคือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มั่นแห่งนี้มีทหารพรานประจำการอยู่ ๒๐ นาย ภารกิจหลักของฐานแห่งนี้คือ การสกัดการขนยาเสพติดข้ามแดน ฝ่ายพม่ามีกำลังอยู่บริเวณนั้น ๙๐๐ นาย เสริมด้วย ทหารว้าอีก ๖๐๐ นาย
เย็นวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ทหารพม่า ๒๐๐ นายเข้าโจมตีฐานทหารพรานแห่งนี้ ฝ่ายทหารพรานได้สังหารทหารพม่าได้ ๑๔ นาย บาดเจ็บอีกราว ๓๐ นาย หลังปะทะกันได้ ๔ ชั่วโมง ฝ่ายทหารพรานเสียชีวิต ๒ นาย(ภายหลังพบว่า หนึ่งในสองที่คาดว่าตายนั้นยังไม่ตาย) บาดเจ็บอีก ๑๑ นาย กระสุนเริ่มร่อยหรอลง จึงขออนุญาตถอนกำลังพร้อมกับนำผู้บาดเจ็บเสียชีวิตออกมาด้วย เนิน ๙๖๓๑ ตกอยู่ใต้การยึดครองของทหารพม่า ซึ่งยิงไล่หลังทหารพราน ฝ่ายไทยหลังได้รับรายงานได้ส่งกำลังจากกรมทหารม้าที่ ๓ กองพลทหารม้าที่ ๑ เข้าไปช่วยทันที ในชั้นแรกคือ ช่วยทหารพรานออกมาก่อน เพราะตอนนั้นมืดแล้ว ยังไม่ทราบกำลังที่แท้จริงของพม่าว่ามีเท่าไหร่ จึงได้แต่ตรึงกำลังไว้ก่อนไม่ให้มีการรุกล้ำเข้ามามากกว่านี้
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ กรมทหารม้าที่ ๓ ได้รับการเสริมกำลังจากรถสายพานลำเลียงพล M-113A-3 หนึ่งกองร้อย และรถถัง M-60A-3 อีกหนึ่งกองร้อย ทั้งหมดอยู่ภายใต้การบัญชาการของร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธุ์ นอกจากนี้ทางด้านอำเภอแม่สาย ได้มีการเสริมกำลังเช่นกัน ทหารไทยพร้อมด้วยกำลังเสริมได้เข้าตีชิงฐาน บนเนิน ๙๖๓๑ คืน อย่างไม่ยากเย็นนัก ทหารพม่าถอนกำลังกลับข้ามชายแดนไป ทิ้งศพพรรคพวกไว้ ๑๗ ศพ และผู้บาดเจ็บอีก ๖๐ คน ในขณะที่กำลังฝ่ายไทยบาดเจ็บ ๗ นาย
เช้าวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ทหารพม่า ๓ กรม สนับสนุนด้วยรถถัง T-69 ที่ได้รับมาจากจีน และปืนใหญ่ เข้าโจมตีอำเภอแม่สาย ฝ่ายไทยตอบโต้ด้วยรถถัง M-60A3 และเครื่องบินขับไล่ F-5 ที่บินมาจากสนามบินเชียงใหม่ ที่ใช้ลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ (LGB) นอกจากนั้นฝ่ายไทยยังมีปืนอัตตาจร ๑๕๕ มม. แบบ M-109 และปืนใหญ่กลางระยะยิงไกลมากอย่าง GCN-55 (ยิงได้ไกลถึง ๔๕ กม.) ทำให้ฝ่ายพม่าได้รับความเสียหายอย่างมาก เครื่องบินของไทยยังทำการโจมตีหน่วยส่งกำลังบำรุงของพม่าด้วย
ขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังสู้รบกันอยู่นั้น ฮ. UH-1H ของทอ. ถูกยิงจากภาคพื้นดินตกบริเวณเขตอำเภอแม่อาย ขณะกำลังบินสนับสนุนเสบียง นักบินนำเครื่องร่อนลงฉุกเฉินได้สำเร็จ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
เวลา ๑๙๓๐ ทั้งสองฝ่ายหยุดยิง (ไทยกับพม่า) แต่ยังมีเสียงการปะทะกันทางฝั่งพม่า เนื่องจากฝ่ายพม่านำกำลังเสริมจากเก็งตุง มายังท่าขี้เหล็ก และปะทะกับกองทัพรัฐฉานของเจ้ายอดศึก
ปืนใหญ่ทั้งสองฝ่ายดวลข้ามชายแดนกัน และมีการโจมตีทางอากาศโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศไทย ที่ใช้เชียงใหม่เป็นฐานบินสำหรับปฏิบัติการครั้งนี้ และถือว่าเป็นปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ระหว่างวันที่ ๑๐ ถึง ๑๒ กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของไทยทำการบินรบกว่า ๗๐ เที่ยวบิน รวมทั้งการโจมตีด้วยลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ต่อฐานปืนใหญ่ของพม่าที่ตั้ง ฐานอยู่ในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในท่าขี้เหล็ก ปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ F-5F หนึ่งเครื่องและเครื่องบินขับไล่ F-5E อีก ๓ เครื่อง เครื่องบิน F-5F ติดกระเปาะ WSO ที่ผลิตในอิสราเอล ทำหน้าที่ชี้เป้า ส่วน F-5E อีก ๓ เครื่อง บินเข้าหาเป้าหมายจากทิศทางที่ต่างกัน เข้าโจมตีด้วยระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ ๖ ลูก ลูกระเบิดเข้าสู่เป้าหมายทุกลูก ปืนต่อสู้อากาศยานของพม่ายิงขึ้นมาสกัดกั้นอย่างเบาบาง และไม่มีเครื่องบินของไทยเครื่องใดได้รับความเสียหาย
ไม่มีเครื่องบินกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติการ
เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ของไทยได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยในต้นปี ๒๕๓๓ โดยติดตั้งระบบนำร่องของ Litton และเสริมความแข็งแรงของไพล่อนกลางลำตัว ให้สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง ๑,๕๐๐ กก., และไพล่อนใต้ปิดด้านในรับน้ำหนักได้ถึง ๑,๐๐๐ กก./ด้านนอกรับน้ำหนักได้ ๕๐๐ กก. ระหว่างปฏิบัติการ F-5E แต่ละเครื่องบรรทุกลูกระเบิด LGB ๒ ลูก
ไม่มีเครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าออกปฏิบัติในช่วงที่มีการปะทะกันนี้ เพราะเครื่องบินขับไล่ F-7 ถูกส่งไปปรับปรุงที่อิสราเอล ในข้อเท็จจริงช่วงนั้น ผู้นำทหารพม่าได้สั่งการให้หน่วยบิน F-7 สามหน่วยกระจายกำลังออกไป ซึ่งจะทำให้มีเครื่องบินขับไล่ F-7 ๓๐ เครื่องที่พร้อมปะทะกับฝ่ายไทย อย่างไรก็ตาม มีเพียง ๖ เครื่องที่ประจำอยู่ที่ฐานทัพอากาศ Kengtung ที่อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็กไปทางเหนือราว ๑๕๐ กม. ระยะทางบินขนาดนี้ ทำให้เครื่องบินขับไล่ F-7 ที่ติดอาวุธเต็มที่ หนักเกินกว่าที่จะทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงไม่มีวี่แววที่เครื่องบินขับไล่ F-7 จะมาสกัดกั้นเครื่องบิน F-5 ของไทย เครื่องบินของกองทัพอากาศพม่าที่เหลือได้แก่ เครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ PC-7 ๑๗ เครื่อง, PC-9 ๔ เครื่อง และเครื่องบินฝึก G-4 Super Galeb อีก ๔ เครื่อง มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่บินได้ เครื่องบินโจมตี A-5M ยิ่งมีสภาพต่ำยิ่งกว่าเครื่องบิน F-7 เสียอีก
การป้องกันภัยทางอากาศของพม่ามีการซื้อจรวดต่อสู้อากาศยาน SA-16 จากบุลกาเรีย, MiG-29 จากรัสเซีย ข่าวกรองรายงานว่า MiG-29 ที่พม่าซื้อไปเป็นเครื่องที่อิรัคสั่งซื้อแต่ยังไม่ส่งมอบ เมื่อพิจารณาจากข่าวที่รายงานว่า นักบินพม่าได้รับการฝึกบินที่อินเดีย ซึ่งคาดว่าการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ช่างเครื่อง คงจะต้องรับการฝึกจากอินเดียเช่นกัน
การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยการเจรจา โดยทั้งสองฝ่ายต่างเสริมกำลัง ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ฝ่ายไทยมีกำลังของกองพลทหารม้าที่ ๑ และส่วนแยกของกองพลทหารม้าที่ ๒ ที่มีรถถัง M-41, รถถัง Stingray และยานเกราะ V-150 วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ทอ.ส่ง F-16 ไปเสริมกำลังที่ฐานบินเชียงใหม่ ทำหน้าที่บินลาดตระเวนรบตามแนวชายแดน วันที่ ๑๐ พฤษภาคม F-16 ของไทยโจมตีเป้าหมายที่ Kyauket ในเขตรัฐฉาน ทางการพม่าได้ประท้วงทางการไทยในกรณีดังกล่าว
บทสรุป – หลังเหตุการณ์ที่เนิน ๙๖๓๑ ทางฝ่ายไทยยังคงส่งทหารพรานไปประจำการเช่นเดิม ส่วนทางฝ่ายพม่าไม่มีการวางกำลังด้านนี้อีก ทหารพม่าเสียชีวิต ๘๐ นาย, ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๓๗ นาย พลเรือนเสียชีวิต ๓ คน บาดเจ็บ ๗ คน ทางการไทยระบุว่า มีผู้หญิง ๒ คนเสียชีวิตจากปืนใหญ่ของพม่าที่ยิงถล่มเข้ามาที่แม่สาย ร้อยเอก สงกรานต์ นิลพันธ์ กล่าวในเวลาต่อมาว่า ทหารพม่าเสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ นาย แต่ถูกนำกลับไประหว่างการถอนกำลัง แต่ทหารไทยยังพบศพทหารพม่า ๓ นาย บนเนิน ๙๖๓๑ ทางด้านพม่า, พันเอก Kyaw Thein นายทหารการข่าว ยืนยันว่า ทางฝ่ายพม่าเสียทหารไป ๑๒ นาย บาดเจ็บ ๑๕ นาย แต่ยอดนี้เป็นการปะทะกับทหารไทยใหญ่ ไม่ใช่จากการปะทะกับทหารไทย
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2009/09/X8315375/X8315375.html