แม้ละคร “ข้าบดินทร์” จะลาจอไปหนึ่งสัปดาห์แล้ว แต่กระแสก็ยังแรง โดยเฉพาะผู้รับบทพระเอกอย่างเจมส์ มา ซึ่งดูจะติดลมบน ทำอะไรๆ ในช่วงนี้ก็เป็นที่ติดตามและน่าชื่นชมไปหมด ผิดกับตอนแรกที่มีเสียงปรามาสไว้ว่าไม่เหมาะจะรับบทคุณเหม เพราะเครื่องหน้าเป็นตี๋อินเตอร์เกินไป เช่นเดียวกับนางเอกของเรื่อง น้องแมท ภีรนีย์ รายนี้ก็เป็นสาวร่างสูงหน้าตาลูกครึ่งแท้ๆ ข้อนี้ขอสารภาพตามตรงว่าลูกคุณป๋าก็ตะขิดตะขวงใจตั้งแต่ละครยังไม่ออกอากาศเหมือนกัน
แต่ทีมงานข้าบดินทร์ก็พิสูจน์แล้วว่าหน้าตาไม่ใช่เรื่องสำคัญเลย ถ้าเทียบกับความมุ่งมั่นตั้งใจ และแก่นสาระที่อัดแน่นเต็มเรื่อง ทุกฉากทุกตอนของละครจึงละเมียดละไม ทรงคุณค่าน่ายกย่องไปหมดทีเดียว
“ข้าบดินทร์” เป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่สาม ที่คุณวรรณวรรธน์ เจ้าของบทประพันธ์ได้หยิบยกเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นขึ้นมาร้อยเรียงเป็นฉากหลังให้กับตัวละครพระ-นาง คุณเหมและเจ้าลำดวนผู้สื่อแสดงให้เห็นถึงหัวใจของเรื่อง คือความรู้รักและสำนึกในหน้าที่ของคนในชาติ ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์หรือเป็นไพร่สามัญชน ชนชั้นทาสก็ล้วนแต่เป็นดั่งเม็ดดินเล็กๆ ที่ผนึกรวมกันเป็นผืนแผ่นดินได้ทั้งสิ้น
สำหรับใครที่ไม่ใช่แฟนละคร แต่อยากทราบเรื่องย่อ ขออนุญาตแปะลิงก์ของวิกิพีเดียให้ตามกันต่อเองนะคะ
https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าบดินทร์ เพราะเรื่องยาวและรายละเอียดยิบย่อย ตัวละครน่าติดตามทุกตัว ในนี้ขอกล่าวที่อยากจะกล่าวถึงดีกว่า นั่นก็คือ…
คำชื่นชมล้วนๆ
ไล่ตั้งแต่เจ้าของบทประพันธ์ วรรณวรรธน์ ที่กล้าขุดประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นขึ้นมาสังเคราะห์ การสร้างตัวละครสมมติให้มีบทบาทเกี่ยวโยงกับบุคคลจริง เหตุการณ์จริงเป็นเรื่องที่เหนื่อยหนักมาก หากไม่แนบเนียนก็มีแต่เสีย แต่เท่าที่ดูละครเรื่องนี้ เชื่อว่าฉบับนิยายก็คงสร้างสรรค์ออกมาได้แยบยลกลมกลืนไม่น้อย ที่สำคัญคือฉีกออกมาจากแนวย้อนยุคที่เคยๆ ทำมา มักล้อกับสมัยเสียกรุง ไม่ก็รัชกาลที่ห้าเสียเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้จึงสร้างความแปลกใหม่ให้คนดูตื่นตาตื่นใจ
ได้ยินว่ามีกรณีดราม่าเรื่องการนำมาสร้างเป็นละครอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ติดตามว่าถูกต่อต้านหรืออย่างไร
แต่ผลตอบรับของผู้ชมก็แสดงชัดแล้วว่า ละครถ่ายทอดออกมาได้น่าประทับใจ ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้ เพจ TV3 ครอบครัวละคร 3 และเพจข้าบดินทร์ใน facebook ด้วย เพราะขยันยิงเกร็ดความรู้ คำคม วลีเด็ด มาแบบไม่ขาดสาย เข้าใจว่าพอกระแสละครไปเข้าหูเข้าตาผู้รู้ในแวดวงต่างๆ ก็ยิ่งมีการลงลึกในรายละเอียดเผยแพร่ตามสื่ออื่นๆ อีกมากมาย คนเสพสื่อก็ได้ประโยชน์จากทุกทิศรอบทางกันไป
ในฐานะเด็กฝั่งธนฯ อาศัยและเติบโตอยู่บนพื้นที่เดิมของท่านเจ้าคุณตระกูลบุนนาค พอได้ยินได้ฟังเรื่องเล่ามาบ้างแต่ก็ไม่ลึกซึ้งแม่นยำ พอได้ดูเรื่องนี้ก็ทำให้กระตือรือร้นอยากติดตามต่อ และแอบนึกเล่นๆ ว่า ถ้ายังเรียนอยู่ที่ศึกษานารีคงได้จัดกิจกรรมอะไรเกี่ยวกับประวัติของท่านดิศและท่านช่วงแน่เลย
ต่อมาก็ต้องปรบมือให้กับเอกลิขิต ผู้เขียนบทโทรทัศน์ ที่ทำให้ตัวละครมีสีสันจนคนตั้งทีมพ่อเหม แม่ลำดวน แม่บัว รวมไปถึงตัวละครอื่นๆ ที่น่าจดจำมากมาย
แฟนนวนิยายหลายคนอาจขัดเคืองเรื่องบทของแม่บัวดูกลายเป็นผู้หญิงเลวร้ายเสียเหลือเกิน เพราะในหนังสือแม่บัวไม่ได้น่าหมั่นไส้ ชวนให้ชิงชังขนาดนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าบทที่เพิ่มขึ้นมาแบบนี้จึงทำให้คนดูติดหนึบได้ขนาดนี้ และเมื่อดูจนถึงตอนจบก็จะเห็นบทสรุปที่ให้ทางลงกับตัวละครตัวนี้ได้อย่างสวยงาม ไม่มีใครเกลียดแม่บัวเลย
โดยส่วนตัวไม่ได้รู้สึกว่าการเพิ่มระดับความร้ายให้ตัวละครเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดอะไร ยิ่งกับเรื่องนี้แล้ว ปรับเพิ่มมาในปริมาณที่พอเหมาะพอดี คือไม่ได้มากล้นจนน่าเกลียด ถ้าน้อยกว่านี้ก็จะไม่ได้เห็นมุมความรักที่ต้องฝ่าฟันของพระเอกนางเอกนัก และเพราะฉากยื้อรั้งสุดกำลังของแม่บัวนี่เองช่วยขับเน้นให้คุณเหมเป็น “พ่อเหมเนื้อทอง” ที่หนุ่มๆ อยากเอาเยี่ยงอย่างจริงๆ
คนดูมักจะถามหาต้นแบบพฤติกรรมจากละคร “พ่อเหม” นี่แหละคือต้นแบบพฤติกรรมของชายไทย ไม่ใช่แค่ในแง่รักชาติ ยอมสละความสุขส่วนตัว แต่เราจะเห็นถึงคุณลักษณะดีๆ ของผู้ชายที่พึงประสงค์ อย่างการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความเพียร ความอดทน ความอ่อนโยนเป็นสุภาพบุรุษ (พ่อเหมร้อยมาลัยเก่งเสียด้วย) ความชัดเจนในความรู้สึก และความมีสติ ฉลาดเฉลียว จึงไม่แปลกที่จะได้ยินเสียงชมว่าพระเอกในเรื่องนี้น่ารักช่างอ้อน รักเมีย เปิดเผยตรงประเด็น ไม่งี่เง่าดี ไม่ต้องลุ้นให้เหนื่อยนาน พิสูจน์ได้จากภาพตัดต่อหน้าแม่ลำดวนเป็นคำว่า “กู” เต็มฟีดไปหมด หญิงไทยอยากได้ผู้ชายอย่างคุณพี่เหมจริงๆ
มาถึงผู้กำกับ เพิ่งมารู้ตอนละครออกมาได้สักพักว่าคือพี่หนุ่ม อรรถพร ประหลาดใจและทึ่งมากๆ ไม่คิดว่าจะจับงานแนวย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์แบบนี้ด้วย ซึ่งถึงไม่ตามข่าวก็รู้ได้เลยว่าผู้กำกับต้องรู้สึกกดดันมากแน่ๆ แต่ออกมาได้ขนาดนี้ กำกับคนก็ดี กำกับช้างก็ได้ เห็นฉากช้างตกมัน วิ่งอาละวาดกลางฝูงชน รู้เลยว่าต้องหินแน่ บอกได้คำเดียวว่าเยี่ยมสุดๆ เลยพี่
ยิ่งได้ทีมงานระดับทีวีซีน ผู้สร้างความประทับใจมาตั้งแต่ครั้งเรื่อง “ขุนศึก” ก็ยิ่งไม่ต้องห่วงเรื่องภาพมุมสวย งดงามทุกรายละเอียด เสื้อผ้าหน้าผม องค์ประกอบเรื่องประเพณีโบราณ คนดูอิ่มหนำทั้งตาทั้งใจ
ละครน้ำดี “ข้าบดินทร์” กระแสฟินระบาดทั่วเมืองสยาม
แม้ละคร “ข้าบดินทร์” จะลาจอไปหนึ่งสัปดาห์แล้ว แต่กระแสก็ยังแรง โดยเฉพาะผู้รับบทพระเอกอย่างเจมส์ มา ซึ่งดูจะติดลมบน ทำอะไรๆ ในช่วงนี้ก็เป็นที่ติดตามและน่าชื่นชมไปหมด ผิดกับตอนแรกที่มีเสียงปรามาสไว้ว่าไม่เหมาะจะรับบทคุณเหม เพราะเครื่องหน้าเป็นตี๋อินเตอร์เกินไป เช่นเดียวกับนางเอกของเรื่อง น้องแมท ภีรนีย์ รายนี้ก็เป็นสาวร่างสูงหน้าตาลูกครึ่งแท้ๆ ข้อนี้ขอสารภาพตามตรงว่าลูกคุณป๋าก็ตะขิดตะขวงใจตั้งแต่ละครยังไม่ออกอากาศเหมือนกัน
แต่ทีมงานข้าบดินทร์ก็พิสูจน์แล้วว่าหน้าตาไม่ใช่เรื่องสำคัญเลย ถ้าเทียบกับความมุ่งมั่นตั้งใจ และแก่นสาระที่อัดแน่นเต็มเรื่อง ทุกฉากทุกตอนของละครจึงละเมียดละไม ทรงคุณค่าน่ายกย่องไปหมดทีเดียว
“ข้าบดินทร์” เป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่สาม ที่คุณวรรณวรรธน์ เจ้าของบทประพันธ์ได้หยิบยกเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นขึ้นมาร้อยเรียงเป็นฉากหลังให้กับตัวละครพระ-นาง คุณเหมและเจ้าลำดวนผู้สื่อแสดงให้เห็นถึงหัวใจของเรื่อง คือความรู้รักและสำนึกในหน้าที่ของคนในชาติ ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์หรือเป็นไพร่สามัญชน ชนชั้นทาสก็ล้วนแต่เป็นดั่งเม็ดดินเล็กๆ ที่ผนึกรวมกันเป็นผืนแผ่นดินได้ทั้งสิ้น
สำหรับใครที่ไม่ใช่แฟนละคร แต่อยากทราบเรื่องย่อ ขออนุญาตแปะลิงก์ของวิกิพีเดียให้ตามกันต่อเองนะคะ https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าบดินทร์ เพราะเรื่องยาวและรายละเอียดยิบย่อย ตัวละครน่าติดตามทุกตัว ในนี้ขอกล่าวที่อยากจะกล่าวถึงดีกว่า นั่นก็คือ…
คำชื่นชมล้วนๆ
ไล่ตั้งแต่เจ้าของบทประพันธ์ วรรณวรรธน์ ที่กล้าขุดประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นขึ้นมาสังเคราะห์ การสร้างตัวละครสมมติให้มีบทบาทเกี่ยวโยงกับบุคคลจริง เหตุการณ์จริงเป็นเรื่องที่เหนื่อยหนักมาก หากไม่แนบเนียนก็มีแต่เสีย แต่เท่าที่ดูละครเรื่องนี้ เชื่อว่าฉบับนิยายก็คงสร้างสรรค์ออกมาได้แยบยลกลมกลืนไม่น้อย ที่สำคัญคือฉีกออกมาจากแนวย้อนยุคที่เคยๆ ทำมา มักล้อกับสมัยเสียกรุง ไม่ก็รัชกาลที่ห้าเสียเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้จึงสร้างความแปลกใหม่ให้คนดูตื่นตาตื่นใจ
ได้ยินว่ามีกรณีดราม่าเรื่องการนำมาสร้างเป็นละครอยู่บ้าง แต่ไม่ได้ติดตามว่าถูกต่อต้านหรืออย่างไร
แต่ผลตอบรับของผู้ชมก็แสดงชัดแล้วว่า ละครถ่ายทอดออกมาได้น่าประทับใจ ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้ เพจ TV3 ครอบครัวละคร 3 และเพจข้าบดินทร์ใน facebook ด้วย เพราะขยันยิงเกร็ดความรู้ คำคม วลีเด็ด มาแบบไม่ขาดสาย เข้าใจว่าพอกระแสละครไปเข้าหูเข้าตาผู้รู้ในแวดวงต่างๆ ก็ยิ่งมีการลงลึกในรายละเอียดเผยแพร่ตามสื่ออื่นๆ อีกมากมาย คนเสพสื่อก็ได้ประโยชน์จากทุกทิศรอบทางกันไป
ในฐานะเด็กฝั่งธนฯ อาศัยและเติบโตอยู่บนพื้นที่เดิมของท่านเจ้าคุณตระกูลบุนนาค พอได้ยินได้ฟังเรื่องเล่ามาบ้างแต่ก็ไม่ลึกซึ้งแม่นยำ พอได้ดูเรื่องนี้ก็ทำให้กระตือรือร้นอยากติดตามต่อ และแอบนึกเล่นๆ ว่า ถ้ายังเรียนอยู่ที่ศึกษานารีคงได้จัดกิจกรรมอะไรเกี่ยวกับประวัติของท่านดิศและท่านช่วงแน่เลย
ต่อมาก็ต้องปรบมือให้กับเอกลิขิต ผู้เขียนบทโทรทัศน์ ที่ทำให้ตัวละครมีสีสันจนคนตั้งทีมพ่อเหม แม่ลำดวน แม่บัว รวมไปถึงตัวละครอื่นๆ ที่น่าจดจำมากมาย
แฟนนวนิยายหลายคนอาจขัดเคืองเรื่องบทของแม่บัวดูกลายเป็นผู้หญิงเลวร้ายเสียเหลือเกิน เพราะในหนังสือแม่บัวไม่ได้น่าหมั่นไส้ ชวนให้ชิงชังขนาดนั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าบทที่เพิ่มขึ้นมาแบบนี้จึงทำให้คนดูติดหนึบได้ขนาดนี้ และเมื่อดูจนถึงตอนจบก็จะเห็นบทสรุปที่ให้ทางลงกับตัวละครตัวนี้ได้อย่างสวยงาม ไม่มีใครเกลียดแม่บัวเลย
โดยส่วนตัวไม่ได้รู้สึกว่าการเพิ่มระดับความร้ายให้ตัวละครเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดอะไร ยิ่งกับเรื่องนี้แล้ว ปรับเพิ่มมาในปริมาณที่พอเหมาะพอดี คือไม่ได้มากล้นจนน่าเกลียด ถ้าน้อยกว่านี้ก็จะไม่ได้เห็นมุมความรักที่ต้องฝ่าฟันของพระเอกนางเอกนัก และเพราะฉากยื้อรั้งสุดกำลังของแม่บัวนี่เองช่วยขับเน้นให้คุณเหมเป็น “พ่อเหมเนื้อทอง” ที่หนุ่มๆ อยากเอาเยี่ยงอย่างจริงๆ
คนดูมักจะถามหาต้นแบบพฤติกรรมจากละคร “พ่อเหม” นี่แหละคือต้นแบบพฤติกรรมของชายไทย ไม่ใช่แค่ในแง่รักชาติ ยอมสละความสุขส่วนตัว แต่เราจะเห็นถึงคุณลักษณะดีๆ ของผู้ชายที่พึงประสงค์ อย่างการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความเพียร ความอดทน ความอ่อนโยนเป็นสุภาพบุรุษ (พ่อเหมร้อยมาลัยเก่งเสียด้วย) ความชัดเจนในความรู้สึก และความมีสติ ฉลาดเฉลียว จึงไม่แปลกที่จะได้ยินเสียงชมว่าพระเอกในเรื่องนี้น่ารักช่างอ้อน รักเมีย เปิดเผยตรงประเด็น ไม่งี่เง่าดี ไม่ต้องลุ้นให้เหนื่อยนาน พิสูจน์ได้จากภาพตัดต่อหน้าแม่ลำดวนเป็นคำว่า “กู” เต็มฟีดไปหมด หญิงไทยอยากได้ผู้ชายอย่างคุณพี่เหมจริงๆ
มาถึงผู้กำกับ เพิ่งมารู้ตอนละครออกมาได้สักพักว่าคือพี่หนุ่ม อรรถพร ประหลาดใจและทึ่งมากๆ ไม่คิดว่าจะจับงานแนวย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์แบบนี้ด้วย ซึ่งถึงไม่ตามข่าวก็รู้ได้เลยว่าผู้กำกับต้องรู้สึกกดดันมากแน่ๆ แต่ออกมาได้ขนาดนี้ กำกับคนก็ดี กำกับช้างก็ได้ เห็นฉากช้างตกมัน วิ่งอาละวาดกลางฝูงชน รู้เลยว่าต้องหินแน่ บอกได้คำเดียวว่าเยี่ยมสุดๆ เลยพี่
ยิ่งได้ทีมงานระดับทีวีซีน ผู้สร้างความประทับใจมาตั้งแต่ครั้งเรื่อง “ขุนศึก” ก็ยิ่งไม่ต้องห่วงเรื่องภาพมุมสวย งดงามทุกรายละเอียด เสื้อผ้าหน้าผม องค์ประกอบเรื่องประเพณีโบราณ คนดูอิ่มหนำทั้งตาทั้งใจ