เรื่องกฎแห่งกรรมมักจะกล่าวถึงแต่ การทำดีได้บุญทำชั่วได้บาปผลกรรมจะตามสนอง ได้ตกนรกหรือขึ้นสวรรค์
ชาติหน้าจะเกิดเป็นอะไร เรามีโปรเจกต์ไปถึงชาติหน้าเชียวหรือนี่คิดแล้วน่าปวดหัวจัง
สำหรับผมถ้าแปลตรงๆ กฎแห่งกรรมคือ กฎแห่งการกระทำ หมายถึงว่าทำอย่างไรก็ควรจะได้ผลเช่นนั้น คล้ายๆ สำนวน "Garbage in garbage out"
ถ้าเปรียบเปรยว่าการกระทำที่จะทำให้เกิดผลไม่ดีเป็นเหมือนขยะ ไม่เกี่ยวกับดีหรือชั่วเสมอไป อย่างเช่น ขับรถโดยประมาทหรือมึนเมาก็อาจเกิดอุบัติเหตุ ต้นเดือนใช้เงินฟุ่มเฟือยก็ทำให้ปลายเดือนเงินไม่พอใช้ เด็กไม่ตั้งใจเรียนไม่อ่านหนังสือก็สอบตก เดินแล้วไม่มองทางตาจ้องจอไอโฟนเดินหกล้มตกท่อถูกรถชนไม่ใช่ซวยแต่ไม่ระวัง
เป็นต้น
ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องธรรมมะของพระพุทธเจ้ามากนัก รู้แต่ว่าท่านเคยกล่าวว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
ไม่แน่ใจว่าท่านกล่าวแต่เฉพาะเรื่องทำดีหรือทำชั่วแล้วจะได้รับผลกรรมตามสนอง หรือกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำด้วย
แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อความที่ขีดเส้นใต้ผมหมายถึงว่า การทำอะไรด้วยความตั้งใจรอบคอบระวังไม่ประมาทแล้วจะได้ผลดี ส่วนการทำอะไรโดยไม่ตั้งใจทำให้ดีๆ หรือไม่ระวัง
แล้วทำให้เกิดผลไม่ดี ไม่เกี่ยวกับการทำดีหรือทำชั่ว จัดอยู่ในเรื่องกฎแห่งกรรมด้วยหรือเปล่าครับ หรือไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ผมคิดว่าถ้าเป็น กฎแห่งการกระทำ จะออกไปในทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นสากลและยังอธิบายการเกิดสิ่งต่างๆ ได้กระจ่างมากกว่า
ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ความเชื่อเรื่องเวรกรรม ตกนรกขึ้นสวรรค์ ชาติก่อนชาติหน้า เป็นเรื่องที่ถือว่ายังไม่สามารถพิสูจน์ได้
ทำให้มีคำกล่าวประชดว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" อะไรทำนองนี้
แม้แต่การทำดีแล้วได้ผลไม่ดีและทำชั่วแล้วกลับได้ดีก็สามารถอธิบายได้ แต่ผมจะขอไม่กล่าวเพราะอาจดูคล้ายเป็นการสนับสนุนให้คนทำชั่ว
ถ้าเป็นเรื่องกรรมเก่าก็จะอธิบายว่า ชาติก่อนคนชั่วนั้นเคยทำดีมาก่อนกรรมชั่วในชาตินี้เลยยังตามไม่ทัน ส่วนคนที่ทำดีได้สิ่งไม่ดีก็จะอธิบายว่า
ชาติก่อนทำเวรกรรมกับคนอื่นเอาไว้ปัจจุบันจึงถูกผลกรรมตามสนอง กลายเป็นซะอย่างนั้นคิดแล้วก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าใดนัก
ผมไม่ได้อยากจะถกกันว่าจะเชื่อแบบไหนดีสักเท่าไร เพราะก็ดีทั้งสองแบบ ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่แต่ละคนจะแสดงความคิดเห็น
จริงๆ อยากทราบที่ขีดเส้นใต้มากกว่า ใครทราบก็ช่วยบอกด้วยครับ ขอบคุณ
กฎแห่งกรรมคือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว หรือ ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น
ชาติหน้าจะเกิดเป็นอะไร เรามีโปรเจกต์ไปถึงชาติหน้าเชียวหรือนี่คิดแล้วน่าปวดหัวจัง
สำหรับผมถ้าแปลตรงๆ กฎแห่งกรรมคือ กฎแห่งการกระทำ หมายถึงว่าทำอย่างไรก็ควรจะได้ผลเช่นนั้น คล้ายๆ สำนวน "Garbage in garbage out"
ถ้าเปรียบเปรยว่าการกระทำที่จะทำให้เกิดผลไม่ดีเป็นเหมือนขยะ ไม่เกี่ยวกับดีหรือชั่วเสมอไป อย่างเช่น ขับรถโดยประมาทหรือมึนเมาก็อาจเกิดอุบัติเหตุ ต้นเดือนใช้เงินฟุ่มเฟือยก็ทำให้ปลายเดือนเงินไม่พอใช้ เด็กไม่ตั้งใจเรียนไม่อ่านหนังสือก็สอบตก เดินแล้วไม่มองทางตาจ้องจอไอโฟนเดินหกล้มตกท่อถูกรถชนไม่ใช่ซวยแต่ไม่ระวัง
เป็นต้น
ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องธรรมมะของพระพุทธเจ้ามากนัก รู้แต่ว่าท่านเคยกล่าวว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
ไม่แน่ใจว่าท่านกล่าวแต่เฉพาะเรื่องทำดีหรือทำชั่วแล้วจะได้รับผลกรรมตามสนอง หรือกล่าวถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำด้วย
แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อความที่ขีดเส้นใต้ผมหมายถึงว่า การทำอะไรด้วยความตั้งใจรอบคอบระวังไม่ประมาทแล้วจะได้ผลดี ส่วนการทำอะไรโดยไม่ตั้งใจทำให้ดีๆ หรือไม่ระวัง
แล้วทำให้เกิดผลไม่ดี ไม่เกี่ยวกับการทำดีหรือทำชั่ว จัดอยู่ในเรื่องกฎแห่งกรรมด้วยหรือเปล่าครับ หรือไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ผมคิดว่าถ้าเป็น กฎแห่งการกระทำ จะออกไปในทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นสากลและยังอธิบายการเกิดสิ่งต่างๆ ได้กระจ่างมากกว่า
ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ความเชื่อเรื่องเวรกรรม ตกนรกขึ้นสวรรค์ ชาติก่อนชาติหน้า เป็นเรื่องที่ถือว่ายังไม่สามารถพิสูจน์ได้
ทำให้มีคำกล่าวประชดว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" อะไรทำนองนี้
แม้แต่การทำดีแล้วได้ผลไม่ดีและทำชั่วแล้วกลับได้ดีก็สามารถอธิบายได้ แต่ผมจะขอไม่กล่าวเพราะอาจดูคล้ายเป็นการสนับสนุนให้คนทำชั่ว
ถ้าเป็นเรื่องกรรมเก่าก็จะอธิบายว่า ชาติก่อนคนชั่วนั้นเคยทำดีมาก่อนกรรมชั่วในชาตินี้เลยยังตามไม่ทัน ส่วนคนที่ทำดีได้สิ่งไม่ดีก็จะอธิบายว่า
ชาติก่อนทำเวรกรรมกับคนอื่นเอาไว้ปัจจุบันจึงถูกผลกรรมตามสนอง กลายเป็นซะอย่างนั้นคิดแล้วก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าใดนัก
ผมไม่ได้อยากจะถกกันว่าจะเชื่อแบบไหนดีสักเท่าไร เพราะก็ดีทั้งสองแบบ ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่แต่ละคนจะแสดงความคิดเห็น
จริงๆ อยากทราบที่ขีดเส้นใต้มากกว่า ใครทราบก็ช่วยบอกด้วยครับ ขอบคุณ