ทฤษฏีผลประโยชน์ของคุณพิชัย สมมุติฐานที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ทฤษฏี

ผมว่าคุณพิชัย เค้าไม่เข้าใจคำว่าทฤษฏีกับสมมุติฐาน

ที่จะเรียกทฤษฏีได้ต้องมีหลักการที่ตรวจสอบได้ว่าเป็นไปตามสมมุติฐานอย่างสม่ำเสมอจึงจะยกเป็นทฤษฏีได้

จะลองยกตัวอย่างขึ้นมาอีกตัวอย่างนึง  สมมุติว่ามีหุ้น  EO  (อีโอ) เข้าตลาดมาในราคาหนึ่งบาท
ครึ่งปีผ่านไปอีโอยอดขายโตห้าเปอร์เซ็นต์ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปหน่อย สมมุติว่า เป็น ๑.๐๕ บาท
หากมีใครขายออกมาก็กำไรห้าเปอร์เซ็นต์  ต่อมาพอครบปี ยอดขายเติบโตอีก ห้าเปอร์เซ็นต์
แถมมีปันผลอีกหุ้นละสิบสตางค์  สมมุติว่าราคาตลาดเป็น ๑.๑๐ บาท ใครที่ขายออกมาก็กำไร
แถมยังรับปันผลอีก  ถ้าหุ้น อีโอ ตัวนี้โตสม่ำเสมอและมีปันผลสม่ำเสมอ ผู้ที่ถือหุ้นทุกๆคนจะไม่
มีคำว่าขาดทุนเลยครับ  หรือหากขาดทุนก็มีเป็นส่วนน้อยมากอาจจะเป็นไปได้ช่วงที่ซื้อในราคาสูงๆ
แต่หากถือต่อไปเรื่อยๆและหุ้นเติบโตไปเรื่อยๆ ทุกๆคนที่ถือหุ้นตัวนี้จะได้ผลประโยชน์ทั้งหมด

ผมขอยกตัวอย่างหุ้นของจริงในตลาดฯตัวนึงซึ่งในช่วงหลายๆปีมานี่มีปันผลสม่ำเสมอและส่วนใหญ่ผถห
ตัวนี้ทำกำไรคือหุ้น SENA เหตุที่หุ้นตัวนี้ทำกำไรให้กับแทบทุกคนที่ถือก็เพราะหุ้นตัวนี้มีปันผลเกินกว่า
สี่ห้าเปอร์เซ็นต์ต่อปีและเติบโตต่อเนื่อง  ดังนั้นสมมุติฐานของคุณพิชัยไม่น่าจะตั้งเป็นทฤษฏีผลประโยชน์ได้  
เพราะเห็นได้ชัดEว่าใช้ไม่ได้กับหุ้นที่ลักษณะแบบนี้

ดังนั้นสมมุติฐานของคุณพิชัย จาวลา ไม่ใช่ทฤษฏี และใช้ไม่ได้แน่ๆกับหุ้นที่มีการเติบโตสม่ำเสมอและมีปันผล
สม่ำเสมอนะครับ

QED

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่