สายเปย์! 8 หุ้นอสังหา ปี 67 กำไรไม่เด่น แต่ปันผลโหด และ เปิดผลประโยชน์ 3 ด้าน หลัง TTB ซื้อ บล.ธนชาต 3,000 ล้านบาท

KEY POINTS
โผหุ้นอสังหาฯสายเปย์ "LH - SPALI - SIRI - AP - QH - SC - PSH - LALIN"
กำไรปี 2567 เติบโตไม่หวือหวา แต่มือเติบจ่าย "ปันผลครึ่งปีหลัง"หนัก เอาใจผู้ถือหุ้น

"หุ้นอสังหาริมทรัพย์" หลายตัวยังคงมีจุดเด่นเรื่องการจ่ายปันผลสูง แม้ว่าในปี 2568 กำไรจากการขายอสังหาฯอาจจะไม่เติบโตอย่างรวดเร็วเฉกเช่นหลายปีที่ผ่านมา แต่ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนจากค่าเช่า ทั้ง อาคารสำนักงาน, คอนโดมิเนียม ฯลฯ ทำให้หลายบริษัทสามารถจ่ายปันผลที่มีอัตราผลตอบแทนสูง ซึ่งยังคงเป็นจุดดึงดูดสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล
ปี 2567 อาจไม่ใช่ปีทองของหุ้นอสังหาในแง่ของกำไร แต่ถ้าพูดถึง “ปันผล” บอกเลยว่ายังมีของดีซ่อนอยู่!นักลงทุนสายปันผลที่มองหาหุ้นปันผลฉ่ำ ต้องไม่พลาด 8 หุ้นอสังหาตัวเด็ดที่แม้กำไรจะไม่ได้หวือหวา แต่ยังแจกปันผลหนักๆให้ผู้ถือหุ้นได้ยิ้มออก พบ "8 หุ้นสายเปย์" มีรายละเอียดดังนี้
   
ขณะที่ อสังหาฯที่ประกาศ "งดจ่ายปันผล" คือ บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW และ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI 
 
หุ้นอสังหาปี 2568 ยังน่าสนใจหรือไม่ ?
ในปี 2568 หุ้นอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เพียงแต่มีปัจจัย หรือความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน รายละเอียดดังต่อไปนี้

"แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้น" แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจในปี 2568 จะยังคงมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอก เช่น สถานการณ์โลก และอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงเป็นปัจจัยบวกให้กับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อเริ่มกลับมาอีกครั้ง ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยทั้งในระดับราคาประหยัดและระดับพรีเมียมยังคงสูง

"การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน" ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า, มอเตอร์เวย์ หรือ สนามบินใหม่ ยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ในเขตขยายตัวของเมือง ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยในบางทำเลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น
"การปรับตัวของผู้ประกอบการ" บริษัทอสังหาฯจะต้องปรับตัวตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนหน้านี้ โดยเน้นไปที่โครงการที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคใหม่ ทั้งการออกแบบบ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสมกับการทำงานจากที่บ้าน(WFH) รวมถึงใช้เทคโนโลยีพัฒนาโครงการที่มีความยั่งยืนและประหยัดพลังงาน (Green Building) อาจสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท
 
"จ่ายปันผล" หุ้นอสังหาหลายตัวยังคงมีจุดเด่นที่การจ่ายปันผลสูง แม้ว่าในปีนี้กำไรจากการขายอสังหาฯอาจจะไม่เติบโตเหมือนในอดีต แต่ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนจากค่าเช่า เช่น อาคารสำนักงาน, คอนโดมิเนียม ทำให้หลายบริษัทสามารถจ่ายปันผลที่มีอัตราผลตอบแทนสูง ซึ่งยังคงเป็นจุดดึงดูดสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล

"ตลาดการเช่าที่เติบโต" ปีนี้ทำเลที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่หรือใกล้เคียงกับแหล่งงาน การเพิ่มขึ้นของผู้ที่ต้องการเช่าที่อยู่อาศัยทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ทำให้ตลาดเช่าคอนโดมิเนียมและบ้านยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

"ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ยืนระดับสูง" แม้ล่าสุดแบงก์ชาติจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลง เพียงแต่ดอกเบี้ยอาจทำให้การกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาฯหรือการลงทุนในอสังหาฯด้วยการใช้สินเชื่อลดลงส่งผลให้บางโครงการที่ใช้กลยุทธ์นี้ในการขายอาจเจออุปสรรคในการขายและทำกำไรได้ยากขึ้น
บทสรุป "หุ้นอสังหา" ปีนี้ยังมีความน่าสนใจทั้งในแง่ของความสามารถในการจ่ายปันผลและโอกาสในการเติบโตจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเติบโตของตลาดการเช่า แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความเสี่ยงการชะลอตัวของกำไรจากการขายอสังหาฯ ที่นักลงทุนควรนำไปพิจารณาก่อนเลือกหุ้นอสังหาที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอเพื่อให้การลงทุนในปี 2568 เป็นไปอย่างคุ้มค่า

สรุปปี 2568 จะเป็นปีที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทายสำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ การเติบโตของตลาดอาจไม่ได้รวดเร็วเหมือนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน การปรับตัวของผู้ประกอบการและนักลงทุน รวมถึงการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจะสามารถสร้างโอกาสในการทำกำไรในระยะยาวได้ เพียงแต่ "ต้องเลือก" เฉพาะผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว หรือผู้ที่มีกระแสเงินสดแน่น งานนี้ใครสายป่านยาวย่อมยืนอยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง!

Cr. https://www.posttoday.com/business/stockholder/720644



เปิดผลประโยชน์ 3 ด้าน หลัง TTB ซื้อ บล.ธนชาต มูลค่า 3,000 ล้านบาท

คุ้มค่าหรือไม่? ส่องผลประโยชน์ 3 ด้าน หลัง TTB ซื้อ บล.ธนชาต จาก TCAP จำนวน 2,698,959,721 หุ้น คิดเป็น 89.97% มูลค่า 3,000 ล้านบาท ดันถือหุ้น 99.97% รอลุ้นผู้ถือหุ้นไฟเขียว 21 เม.ย.นี้

เรียงลำดับเหตุการณ์ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เข้าซื้อหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน) จาก บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP จำนวน 2,698,959,721 หุ้น คิดเป็น 89.97% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท 
ทั้งนี้ บล.ธนชาต มีผู้ถือหุ้นหลัก ได้แก่ TCAP เป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 2,698,959,721 หุ้น หรือคิดเป็น 89.97% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว และ TTB เป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 300,000,000 หุ้น หรือคิดเป็น 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว

เริ่มจากเมื่อวันที่ 7 พ.ย.2567 TTB ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงแบบไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายกับ TCAP เพื่อซื้อขายหุ้น ทั้งหมดที่ TCAP ถืออยู่ใน บล.ธนชาต 

ต่อมาวันที่ 17 ธ.ค.2567 ที่ประชุมคณะกรรมการ TTB ได้มีมติเห็นชอบเข้าทำธุรกรรมซื้อ บล.ธนชาต ที่ TCAP ถืออยู่ทั้งหมด 2,698,959,721 หุ้น คิดเป็น 89.97% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว ราคาซื้อขายจะมีมูลค่ารวมเท่ากับมูลค่าทางบัญชีที่ปรับปรุงด้วยรายการตามที่ตกลงกัน ซึ่งมูลค่าทางบัญชีอ้างอิงจากบัญชีเพื่อการจัดการ (management account) ที่จะมีการจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับวันที่การซื้อขายแล้วเสร็จตามกระบวนการที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นฯ 
 
โดยในเบื้องต้นมูลค่าทางบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตปรับปรุงด้วยรายการที่ตกลงกัน จะอยู่ที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่คำนวณโดยอ้างอิงข้อมูลสินทรัพย์รวมและหนี้สินรวมในบัญชีเพื่อการจัดการ (management account) ณ วันที่ 30 ก.ย.2567
จากนั้นวันที่ 19 ก.พ.2568 ที่ประชุมคณะกรรมการ TTB ได้มีมติอนุมัติให้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ในวันที่ 21 เม.ย.2568 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเข้าทำธุรกรรมฯ ดังกล่าว 

ล่าสุด วันที่ 6 มี.ค.2568 TTB ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น บล.ธนชาต กับ TCAP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากการซื้อขายหุ้นเสร็จสิ้น คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3/2568 TTB เป็นผู้ถือหุ้นใน บล.ธนชาต จำนวน 2,998,959,721 หุ้น คิดเป็น 99.97% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้ว 
อย่างไรก็ตาม TCAP และบริษัทย่อย ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TTB จำนวน 24,325,519,032 หุ้น คิดเป็น 24.974% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
 
สำหรับการรับรู้ผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Synergy) ใน 3 ด้านหลัก ในการเข้าทำธุรกรรมฯ ในครั้งนี้ของ TTB ได้แก่
1. ผลประโยชน์ด้านรายได้ (Revenue Synergy) ที่จะเกิดจากการยกระดับการให้บริการผ่านจุดแข็งของ บล.ธนชาต ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำที่อยู่ในธุรกิจมาอย่างยาวนานและมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า หากเข้ามาเป็นบริษัทย่อยของ TTB ที่จะเข้ามาช่วยเสริมการให้บริการสำหรับลูกค้ารายย่อยกลุ่ม Wealth Ecosystem โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการลงทุนให้มีความครบครันในที่เดียว (One Stop Service) และช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการพอร์ตความมั่งคั่ง (Wealth Management) ได้ครบทุกแง่มุมการลงทุนแบบ 360 องศา นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนบริการวาณิชธนกิจ บริการด้านตลาดทุน และการนำเสนอเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ สำหรับลูกค้าธุรกิจให้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
2. ผลประโยชน์ด้านต้นทุนทางการเงิน (Funding Synergy) ที่จะเกิดจากการมีความยืดหยุ่นและทางเลือกในการจัดหาเงินทุน รวมไปถึงโอกาสในการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของ TTB เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับ บล.ธนชาต ในการให้บริการกับลูกค้า ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้การบริหารต้นทุนทางการเงินของทั้ง TTB และ บล.ธนชาต มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. การรับรู้ผลประโยชน์ด้านต้นทุน (Cost Synergy) จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และการใช้ Facility ร่วมกันในการให้บริการด้านการลงทุน วาณิชธนกิจ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องรอผลการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ในวันที่ 21 เม.ย.2568 ว่าผู้ถือหุ้นจะอนุมัติการเข้าทำธุรกรรมฯ ดังกล่าว หรือไม่ 

Cr. https://www.posttoday.com/business/stockholder/720649


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่