กรีซตกเป็นเป้าสายตาของโลกว่าจะอยู่หรือไป จากการเป็นสมาชิก สหภาพยุโรป (อียู) หลังการเจรจา กับเจ้าหนี้ใหญ่ อย่าง อียู กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (อีซีบี) เพื่อแลกกับเงินกู้สำหรับชำระหนี้เงินกู้ ไอเอ็มเอฟ วงเงิน 1.6 พันล้านยูโร (ครบกำหนดชำระวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา) ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และกรีซยังมีภาระต้องคืนหนี้อีซีบีอีก 6.7 พันล้านยูโรระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ที่จะถึงนี้
*เจรจาล้มเหลว
ความล้มเหลวในการเจรจาส่อแววตั้งแต่การประชุมจะเริ่มขึ้น เมื่อเจ้าหนี้รายใหญ่เรียกร้องให้กรีซ เพิ่มความเข้มข้นในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา ขณะที่กรีซเองก็มองว่าเจ้าหนี้บีบคั้นกันมากเกินไปแล้ว ก่อน อเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ตัดสินใจผละออกจากที่ประชุมร่วมผู้นำอียู กลางคัน แล้วกลับมาผลักดันให้ ประชาชนทั่วประเทศลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับต่อแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้เสนอหรือไม่ ในวันที่ 5 กรกฎาคม นี้
ขณะที่เจ้าหนี้ยังไม่ทันหาย ประหลาดใจ จากแผนลงประชามติของ นายกฯซีปราส สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกฯกรีซวัย 40 ปี ได้เพิ่มความประหลาดใจให้กลุ่มเจ้าหนี้โดยถ้วนหน้า เมื่อเขาประกาศการควบคุมเงินทุนด้วยการปิดธนาคาร ตลาดหุ้น 6 วัน (เริ่ม 29 มิ.ย.) และจำกัดการถอนเงินของประชาชนเหลือ 60 ยูโรต่อคนต่อวัน ซีปราสให้เหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนั้นว่า เพราะเจ้าหนี้บีบจนไม่เหลือทางเลือกอื่นอีกแล้ว
เวลานี้โลกกำลังลุ้นว่า กรีซจะมีทางออกอื่นหรือไม่ที่จะคงสถานะชาติสมาชิกอียู หากผิดนัดชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ และ ถ้ากรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรจริงๆผลที่จะตามมาคืออะไร " ความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้นหลักทั่วที่ดัชนีปิดตลาดย่อลง คือ ดัชนีบ่งชี้ถึงความตึงเครียดในระบบเศรษฐกิจโลกต่อ วิกฤติหนี้กรีซที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังสงบอยู่หลายปี
ย้อนรอย
วิกฤติหนี้กรีซวันนี้เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องของประเทศที่เป็นต้นกำเนิดประชาธิปไตย มานานนับทศวรรษ การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2517 และขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจแบบประชานิยม เช่นให้เงินอุดหนุนภาคธุรกิจ สร้างอาชีพ เพิ่มค่าแรง 3 % ลดภาษีคนซื้อรถคันแรก เพิ่มบำนาญ รวมทั้งมาตรการทางสังคมอื่นๆ กล่าวกันว่าระบบบำนาญของกรีซใหญ่โตจนกลายเป็นภาระของประเทศ (ราว 16 % ของจีดีพี) และตั้งแต่ปี 2536 สัดส่วนหนี้สาธารณะของกรีซเพิ่มขึ้นถึง 100 % ต่อจีดีพี นอกจากจัดทำงบประมาณขาดดุล ต่อเนื่องจนหนี้สาธารณะพอกพูนแล้วการที่กรีซเป็นเจ้าภาพ กีฬาโอลิมปิกในปี 2547 Athens Games 2004 ที่ใช้เงินสูงถึง 1.2 หมื่นล้านยูโรเป็นอีกจุดที่ทำให้กรีซกลายเป็นลูกหนี้มีปัญหาของโลกในวันนี้
ในปี 2551 กรีซเป็นตัวแสดงหลักในวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป หรือที่รู้จักกันในชื่อ PIGS (โปรตุเกส –อิตาลี-กรีซ-สเปน) ในปี 2553 รัฐบาลกรีซ ออกมาประกาศว่ากรีซมีหนี้สาธารณะ 300 ล้านยูโร สูงสุดในกลุ่มยูโรโซน หรือประมาณ 135 % ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันนั้น กรีซบรรลุข้อตกลงกับ กลุ่มประเทศยูโรโซน และ ไอเอ็มเอฟ ในการกู้เงิน 1.1 แสนล้านยูโร ดอกเบี้ย 5 % ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าแพงเมื่อเทียบกับมาตรฐานทั่วไป โดยแลกกับมาตรการรัดเข็มขัด แต่เพียงปีเศษหลังจากนั้น กรีซตกที่นั่งลำบากเพราะไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไข ไอเอ็มเอฟ และกลุ่มยูโรโซน ในฐานะผู้ให้กู้ได้ เช่นการจัดทำงบประมาณขาดดุล ผู้ให้กู้กำหนดว่า ต้องลดเหลือ 7.6 %ในปีนี้ แต่กรีซทำได้แค่ 8.5 % จนมีกระแสข่าวว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นและตลาดเงินทั่วโลกปั่นป่วนเช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้
*เงื่อนไขที่ปฏิบัติไม่ได้
ทั้งนี้แรงกดดันจากเจ้าหนี้ที่อยากเห็นแผนปฏิรูปที่รัดเข็มขัดมากกว่านี้ หรือนัยหนึ่งคือ หลักประกันว่ากรีซจะสามารถใช้คืนเจ้าหนี้รายใหญ่ (ไอเอ็มเอฟ อีซีบี และธนาคารใหญ่อีกหลายแห่งในยุโรป) ได้อย่างครบถ้วน แรงกดดันจากเจ้าหนี้นำไปสู่การประท้วงของชาวกรีซที่คุ้นเคยกับมาตรการอุดหนุนจากรัฐบาลหลายคณะมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้การเมืองในประเทศพลิกผันรัฐบาลเวลานั้นลาออกเปิดทางไปสู่การตั้งรัฐบาลผสม ในปี 2556 และการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ที่ชาวกรีซตัดสินใจเทคะแนนเลือก อเล็กซิส ซีปราส หัวหน้าพรรคซิริชาซึ่งชูนโยบาย"ไม่เอามาตรการรัดเข็มขัด"ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของเขาคือเจรจาปรับปรุงแผนปฏิรูปฉบับเจ้าหนี้
หากมองปฏิกิริยาของ ประชาชนและรัฐบาลกรีซ ชัดเจนว่าพวกเขาไม่อาจยอมรับ เพราะมองว่าเป็นเงื่อนไขที่ปฏิบัติไม่ได้ โดยเฉพาะการจำกัดการจ่ายเงินบำนาญที่คนกรีซคุ้นเคย และลดจำนวนข้าราชการ ในแผนปฏิรูปใหม่ที่นายกฯซีปราสเสนอให้ชาติเจ้าหนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญๆดังนี้ ปราบปรามการเลี่ยงภาษี จำกัดคอร์รัปชัน แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ขึ้นงบประมาณสาธารณ ปรับโครงสร้างบริหารราชการลดกระทรวงจาก 16 กระทรวง เหลือ 10 กระทรวง ขึ้นภาษีนิติบุคคลและสินค้าฟุ่มเฟือย ขึ้นภาษีผู้มีรายได้มากกว่า 5 แสนยูโรต่อปี ตั้งเป้างบประมาณต้องเกินดุล 1 % ในปีนี้ (2 % ในปีถัดไป ) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ระดับ 23 % 13 % และ 6 % แต่ชาติเจ้าหนี้กลับบอกทำนองว่า "ไปทำมาใหม่" ซึ่งเป็นจุดให้ นายกฯซีปราส หันมาใช้การเมืองหนุนการกำหนดท่าทีของเขา ด้วยการให้เปิดลงประชามติพร้อมกันทั่วประเทศว่าจะรับ หรือ ไม่รับ แผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้เสนอมา ในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ตามที่กล่าวข้างต้น
นักวิเคราะห์เชื่อว่าแม้กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ แต่คงไม่ใช่เหตุให้ต้องออกจากการเป็นชาติสมาชิกยูโร แต่ถ้าคนกรีซส่วนใหญ่ลงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ว่า ไม่รับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ว่ากรีซคงต้องออกจากการเป็นสมาชิกอียู เมื่อถึงเวลานั้นโลกย่อมมีผลกระทบแน่นอนแม้ขนาดเศรษฐกิจของกรีซไม่ใหญ่นักก็ตาม
บทเรียนจากวิกฤติหนี้กรีซที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2517 ผ่านนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่า ให้ความสำเร็จทางการเมืองเฉพาะหน้า แต่ทิ้งมรดกหนี้ก้อนมหึมาไว้เป็นภาระเบื้องหลัง ดังที่ลูกหลานของชาวกรีซเผชิญอยู่เวลานี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,066 วันที่ 2 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=284039:2015-07-01-02-59-57&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=629#.VZfBmBvtmko
ถอดบทเรียนวิกฤติหนี้กรีซ พังเพราะนโยบายประชานิยม
กรีซตกเป็นเป้าสายตาของโลกว่าจะอยู่หรือไป จากการเป็นสมาชิก สหภาพยุโรป (อียู) หลังการเจรจา กับเจ้าหนี้ใหญ่ อย่าง อียู กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (อีซีบี) เพื่อแลกกับเงินกู้สำหรับชำระหนี้เงินกู้ ไอเอ็มเอฟ วงเงิน 1.6 พันล้านยูโร (ครบกำหนดชำระวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา) ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และกรีซยังมีภาระต้องคืนหนี้อีซีบีอีก 6.7 พันล้านยูโรระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ที่จะถึงนี้
*เจรจาล้มเหลว
ความล้มเหลวในการเจรจาส่อแววตั้งแต่การประชุมจะเริ่มขึ้น เมื่อเจ้าหนี้รายใหญ่เรียกร้องให้กรีซ เพิ่มความเข้มข้นในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา ขณะที่กรีซเองก็มองว่าเจ้าหนี้บีบคั้นกันมากเกินไปแล้ว ก่อน อเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ตัดสินใจผละออกจากที่ประชุมร่วมผู้นำอียู กลางคัน แล้วกลับมาผลักดันให้ ประชาชนทั่วประเทศลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับต่อแผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้เสนอหรือไม่ ในวันที่ 5 กรกฎาคม นี้
ขณะที่เจ้าหนี้ยังไม่ทันหาย ประหลาดใจ จากแผนลงประชามติของ นายกฯซีปราส สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกฯกรีซวัย 40 ปี ได้เพิ่มความประหลาดใจให้กลุ่มเจ้าหนี้โดยถ้วนหน้า เมื่อเขาประกาศการควบคุมเงินทุนด้วยการปิดธนาคาร ตลาดหุ้น 6 วัน (เริ่ม 29 มิ.ย.) และจำกัดการถอนเงินของประชาชนเหลือ 60 ยูโรต่อคนต่อวัน ซีปราสให้เหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนั้นว่า เพราะเจ้าหนี้บีบจนไม่เหลือทางเลือกอื่นอีกแล้ว
เวลานี้โลกกำลังลุ้นว่า กรีซจะมีทางออกอื่นหรือไม่ที่จะคงสถานะชาติสมาชิกอียู หากผิดนัดชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ และ ถ้ากรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรจริงๆผลที่จะตามมาคืออะไร " ความผันผวนของดัชนีตลาดหุ้นหลักทั่วที่ดัชนีปิดตลาดย่อลง คือ ดัชนีบ่งชี้ถึงความตึงเครียดในระบบเศรษฐกิจโลกต่อ วิกฤติหนี้กรีซที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังสงบอยู่หลายปี
ย้อนรอย
วิกฤติหนี้กรีซวันนี้เป็นปัญหาสะสมต่อเนื่องของประเทศที่เป็นต้นกำเนิดประชาธิปไตย มานานนับทศวรรษ การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2517 และขับเคลื่อนมาตรการเศรษฐกิจแบบประชานิยม เช่นให้เงินอุดหนุนภาคธุรกิจ สร้างอาชีพ เพิ่มค่าแรง 3 % ลดภาษีคนซื้อรถคันแรก เพิ่มบำนาญ รวมทั้งมาตรการทางสังคมอื่นๆ กล่าวกันว่าระบบบำนาญของกรีซใหญ่โตจนกลายเป็นภาระของประเทศ (ราว 16 % ของจีดีพี) และตั้งแต่ปี 2536 สัดส่วนหนี้สาธารณะของกรีซเพิ่มขึ้นถึง 100 % ต่อจีดีพี นอกจากจัดทำงบประมาณขาดดุล ต่อเนื่องจนหนี้สาธารณะพอกพูนแล้วการที่กรีซเป็นเจ้าภาพ กีฬาโอลิมปิกในปี 2547 Athens Games 2004 ที่ใช้เงินสูงถึง 1.2 หมื่นล้านยูโรเป็นอีกจุดที่ทำให้กรีซกลายเป็นลูกหนี้มีปัญหาของโลกในวันนี้
ในปี 2551 กรีซเป็นตัวแสดงหลักในวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป หรือที่รู้จักกันในชื่อ PIGS (โปรตุเกส –อิตาลี-กรีซ-สเปน) ในปี 2553 รัฐบาลกรีซ ออกมาประกาศว่ากรีซมีหนี้สาธารณะ 300 ล้านยูโร สูงสุดในกลุ่มยูโรโซน หรือประมาณ 135 % ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันนั้น กรีซบรรลุข้อตกลงกับ กลุ่มประเทศยูโรโซน และ ไอเอ็มเอฟ ในการกู้เงิน 1.1 แสนล้านยูโร ดอกเบี้ย 5 % ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าแพงเมื่อเทียบกับมาตรฐานทั่วไป โดยแลกกับมาตรการรัดเข็มขัด แต่เพียงปีเศษหลังจากนั้น กรีซตกที่นั่งลำบากเพราะไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไข ไอเอ็มเอฟ และกลุ่มยูโรโซน ในฐานะผู้ให้กู้ได้ เช่นการจัดทำงบประมาณขาดดุล ผู้ให้กู้กำหนดว่า ต้องลดเหลือ 7.6 %ในปีนี้ แต่กรีซทำได้แค่ 8.5 % จนมีกระแสข่าวว่ากรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นและตลาดเงินทั่วโลกปั่นป่วนเช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้
*เงื่อนไขที่ปฏิบัติไม่ได้
ทั้งนี้แรงกดดันจากเจ้าหนี้ที่อยากเห็นแผนปฏิรูปที่รัดเข็มขัดมากกว่านี้ หรือนัยหนึ่งคือ หลักประกันว่ากรีซจะสามารถใช้คืนเจ้าหนี้รายใหญ่ (ไอเอ็มเอฟ อีซีบี และธนาคารใหญ่อีกหลายแห่งในยุโรป) ได้อย่างครบถ้วน แรงกดดันจากเจ้าหนี้นำไปสู่การประท้วงของชาวกรีซที่คุ้นเคยกับมาตรการอุดหนุนจากรัฐบาลหลายคณะมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้การเมืองในประเทศพลิกผันรัฐบาลเวลานั้นลาออกเปิดทางไปสู่การตั้งรัฐบาลผสม ในปี 2556 และการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ที่ชาวกรีซตัดสินใจเทคะแนนเลือก อเล็กซิส ซีปราส หัวหน้าพรรคซิริชาซึ่งชูนโยบาย"ไม่เอามาตรการรัดเข็มขัด"ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของเขาคือเจรจาปรับปรุงแผนปฏิรูปฉบับเจ้าหนี้
หากมองปฏิกิริยาของ ประชาชนและรัฐบาลกรีซ ชัดเจนว่าพวกเขาไม่อาจยอมรับ เพราะมองว่าเป็นเงื่อนไขที่ปฏิบัติไม่ได้ โดยเฉพาะการจำกัดการจ่ายเงินบำนาญที่คนกรีซคุ้นเคย และลดจำนวนข้าราชการ ในแผนปฏิรูปใหม่ที่นายกฯซีปราสเสนอให้ชาติเจ้าหนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญๆดังนี้ ปราบปรามการเลี่ยงภาษี จำกัดคอร์รัปชัน แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ไม่ขึ้นงบประมาณสาธารณ ปรับโครงสร้างบริหารราชการลดกระทรวงจาก 16 กระทรวง เหลือ 10 กระทรวง ขึ้นภาษีนิติบุคคลและสินค้าฟุ่มเฟือย ขึ้นภาษีผู้มีรายได้มากกว่า 5 แสนยูโรต่อปี ตั้งเป้างบประมาณต้องเกินดุล 1 % ในปีนี้ (2 % ในปีถัดไป ) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ระดับ 23 % 13 % และ 6 % แต่ชาติเจ้าหนี้กลับบอกทำนองว่า "ไปทำมาใหม่" ซึ่งเป็นจุดให้ นายกฯซีปราส หันมาใช้การเมืองหนุนการกำหนดท่าทีของเขา ด้วยการให้เปิดลงประชามติพร้อมกันทั่วประเทศว่าจะรับ หรือ ไม่รับ แผนปฏิรูปเศรษฐกิจที่เจ้าหนี้เสนอมา ในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ตามที่กล่าวข้างต้น
นักวิเคราะห์เชื่อว่าแม้กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ ไอเอ็มเอฟ แต่คงไม่ใช่เหตุให้ต้องออกจากการเป็นชาติสมาชิกยูโร แต่ถ้าคนกรีซส่วนใหญ่ลงประชามติในวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ว่า ไม่รับแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ว่ากรีซคงต้องออกจากการเป็นสมาชิกอียู เมื่อถึงเวลานั้นโลกย่อมมีผลกระทบแน่นอนแม้ขนาดเศรษฐกิจของกรีซไม่ใหญ่นักก็ตาม
บทเรียนจากวิกฤติหนี้กรีซที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2517 ผ่านนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่า ให้ความสำเร็จทางการเมืองเฉพาะหน้า แต่ทิ้งมรดกหนี้ก้อนมหึมาไว้เป็นภาระเบื้องหลัง ดังที่ลูกหลานของชาวกรีซเผชิญอยู่เวลานี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,066 วันที่ 2 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=284039:2015-07-01-02-59-57&catid=94:2009-02-08-11-26-28&Itemid=629#.VZfBmBvtmko