ทาง eu ไม่ช่วยเหลือทางการเงินกับ greece แน่นอนแล้ว
ทาง eu ก็จะตัดสินใจต่อไปว่า ควรจะให้อยู่ใน eu ต่อไปไหม
ทำใจเรื่อง ตัดปัญหาเรื่องเงิน
ทาง greece บอก ขอถามประชาชนก่อน
ไว้ได้ผลเป็นทางการจะมาบอก
ถ้า ประชาชนอยากอยู่ต่อ จะยอมรับข้อเสนอจากทาง eu
Eu ก็จะยอมให้เงินช่วยเหลือต่อ
สรุป อยากได้อะไรก็ทำให้ clear นะ
6 เหตุผลที่โลกจะไม่วิบัติเมื่อกรีซพ้นยูโรโซน
9/6/58 ข่าวหุ้น
กรีซใกล้ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะออกจากยูโรโซนหลังจากที่ได้เลือกที่จะเลื่อนชำระเงินกู้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) 300 ล้านยูโร อย่างไรก็ดี แนวโน้มที่กรีซจะออกจากยูโรโซน ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ตลาดกังวลเหมือนที่เคยเป็น
ในขณะที่อาจจะมีความเจ็บปวดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นี่คือเหตุผลว่าทำไมการออกจากยูโรโซนของกรีซอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนปี 2555 หรือปี 2553 เมื่อยูโรโซนใกล้จะล้ม
1.เจ้าหนี้แข็งแรงขึ้น: โครงสร้างหนี้ของกรีซได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ในปี 2553 หนี้กรีซ 85% เป็นของนักลงทุนเอกชนซึ่งทำให้พวกเขาขาดทุนมาก แต่นับตั้งแต่นั้นมา สัดส่วนดังกล่าวได้เปลี่ยนไป ข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้จากโอเพน ยุโรปชี้ว่า ในขณะนี้ หนี้ของรัฐบาลกรีซ 80% เป็นของรัฐบาลต่างๆ และสถาบันอื่นๆ เช่น ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งในขณะนี้มีความพร้อมที่จะจัดการกับแนวโน้มที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ได้ดีขึ้น
2.ความเสี่ยงกระจายออก: ไม่มีธนาคารรายเดียวที่ถือหนี้กรีซเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีเจ้าหนี้รายใดที่จะได้รับผลกระทบมากเกินไป ประกอบกับธนาคารต่างชาติถือหนี้กรีซอยู่เพียง 46,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปลายปี 2557 เทียบกับที่มีจำนวนถึง 300,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2553 เมื่อดูจากข้อมูลของเวลส์ ฟาร์โก และธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ
ธนาคารทั่วโลกไม่ได้รับผลกระทบแม้ว่าการคุมเชิงเรื่องหนี้กำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นในระบบการเงินของกรีซ หุ้นธนาคารปิราอุส และอัลฟ่า แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่สุดของกรีซ ได้ปรับตัวลงประมาณ 51% และ 32% ตามลำดับ นับตั้งแต่ต้นปี
3.ไม่มีความวิตกถึงผลกระทบแบบโดมิโน่: กรีซดูมืดมน แต่โปรตุเกส อิตาลีและสเปนซึ่งเป็นประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนที่มีปัญหาเช่นกัน กำลังดีขึ้นมากหลังจากที่สามารถบริหารโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันเจ็บปวดด้วยตนเองได้
ผลตอบแทนพันธบัตรสามารถบอกสตอรี่ในเรื่องนี้ได้ นักลงทุนเต็มใจมากขึ้นที่จะปล่อยกู้ให้กับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มมากขึ้นเพราะมีความวิตกน้อยลงว่าประเทศเหล่านี้จะออกจากยูโรโซนตามกรีซ โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปีของสเปนในขณะนี้ยืนที่ 2.2% เมื่อเทียบกับ 7% ในปี 2553 และความจริงแล้วในขณะนี้ ทั้งสเปนและอิตาลีกู้เงินได้ถูกกว่าสหรัฐฯ
4.มาตรการกระตุ้นของอีซีบี : ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเดือนมกราคม ซึ่งทำให้นักลงทุนพอใจมาก มีการคาดการณ์ว่า โครงการซื้อพันธบัตรจำนวน 1.3 ล้านล้านดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของยูโรโซน และเงินราคาถูกสามารถช่วยชดเชยแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤติใดๆ จากกรีซได้
5.เศรษฐกิจกำลังเติบโต: แม้ว่าต้องต่อสู้กับผลกระทบของภาวะถดถอยเป็นเวลานาน ในเวลานี้เศรษฐกิจยุโรปกำลังจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งสุดท้ายที่กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซนเมื่อปี 2555 โดยเศรษฐกิจยูโรโซนโตประมาณ 0.4% ในช่วงไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 อัตราการเติบโตต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 1%
6.แผนการใหม่เพื่อรัฐสมาชิก : เมื่อวิกฤติยูโรโซนโจมตีครั้งแรกในปี 2553 ผู้นำกลุ่มยูโรโซนไม่มีกรอบการทำงานใดๆ หากประเทศสมาชิกประสบปัญหา และนับตั้งแต่นั้นมา ประเทศในยูโรโซนได้ตั้งกองทุนเงินกู้ฉุกเฉินเป็นเงิน 800,000 ล้านดอลลาร์และยังได้ตกลงเกี่ยวกับระเบียบที่ประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงเงินนี้ได้
เรื่องราวต่อของ greece กับ eu
ทาง eu ก็จะตัดสินใจต่อไปว่า ควรจะให้อยู่ใน eu ต่อไปไหม
ทำใจเรื่อง ตัดปัญหาเรื่องเงิน
ทาง greece บอก ขอถามประชาชนก่อน
ไว้ได้ผลเป็นทางการจะมาบอก
ถ้า ประชาชนอยากอยู่ต่อ จะยอมรับข้อเสนอจากทาง eu
Eu ก็จะยอมให้เงินช่วยเหลือต่อ
สรุป อยากได้อะไรก็ทำให้ clear นะ
6 เหตุผลที่โลกจะไม่วิบัติเมื่อกรีซพ้นยูโรโซน
9/6/58 ข่าวหุ้น
กรีซใกล้ผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะออกจากยูโรโซนหลังจากที่ได้เลือกที่จะเลื่อนชำระเงินกู้คืนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) 300 ล้านยูโร อย่างไรก็ดี แนวโน้มที่กรีซจะออกจากยูโรโซน ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ตลาดกังวลเหมือนที่เคยเป็น
ในขณะที่อาจจะมีความเจ็บปวดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นี่คือเหตุผลว่าทำไมการออกจากยูโรโซนของกรีซอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนปี 2555 หรือปี 2553 เมื่อยูโรโซนใกล้จะล้ม
1.เจ้าหนี้แข็งแรงขึ้น: โครงสร้างหนี้ของกรีซได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ในปี 2553 หนี้กรีซ 85% เป็นของนักลงทุนเอกชนซึ่งทำให้พวกเขาขาดทุนมาก แต่นับตั้งแต่นั้นมา สัดส่วนดังกล่าวได้เปลี่ยนไป ข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้จากโอเพน ยุโรปชี้ว่า ในขณะนี้ หนี้ของรัฐบาลกรีซ 80% เป็นของรัฐบาลต่างๆ และสถาบันอื่นๆ เช่น ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งในขณะนี้มีความพร้อมที่จะจัดการกับแนวโน้มที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ได้ดีขึ้น
2.ความเสี่ยงกระจายออก: ไม่มีธนาคารรายเดียวที่ถือหนี้กรีซเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่มีเจ้าหนี้รายใดที่จะได้รับผลกระทบมากเกินไป ประกอบกับธนาคารต่างชาติถือหนี้กรีซอยู่เพียง 46,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปลายปี 2557 เทียบกับที่มีจำนวนถึง 300,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2553 เมื่อดูจากข้อมูลของเวลส์ ฟาร์โก และธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ
ธนาคารทั่วโลกไม่ได้รับผลกระทบแม้ว่าการคุมเชิงเรื่องหนี้กำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นในระบบการเงินของกรีซ หุ้นธนาคารปิราอุส และอัลฟ่า แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่สุดของกรีซ ได้ปรับตัวลงประมาณ 51% และ 32% ตามลำดับ นับตั้งแต่ต้นปี
3.ไม่มีความวิตกถึงผลกระทบแบบโดมิโน่: กรีซดูมืดมน แต่โปรตุเกส อิตาลีและสเปนซึ่งเป็นประเทศอื่นๆ ในยูโรโซนที่มีปัญหาเช่นกัน กำลังดีขึ้นมากหลังจากที่สามารถบริหารโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันเจ็บปวดด้วยตนเองได้
ผลตอบแทนพันธบัตรสามารถบอกสตอรี่ในเรื่องนี้ได้ นักลงทุนเต็มใจมากขึ้นที่จะปล่อยกู้ให้กับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มมากขึ้นเพราะมีความวิตกน้อยลงว่าประเทศเหล่านี้จะออกจากยูโรโซนตามกรีซ โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปีของสเปนในขณะนี้ยืนที่ 2.2% เมื่อเทียบกับ 7% ในปี 2553 และความจริงแล้วในขณะนี้ ทั้งสเปนและอิตาลีกู้เงินได้ถูกกว่าสหรัฐฯ
4.มาตรการกระตุ้นของอีซีบี : ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเดือนมกราคม ซึ่งทำให้นักลงทุนพอใจมาก มีการคาดการณ์ว่า โครงการซื้อพันธบัตรจำนวน 1.3 ล้านล้านดอลลาร์จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของยูโรโซน และเงินราคาถูกสามารถช่วยชดเชยแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤติใดๆ จากกรีซได้
5.เศรษฐกิจกำลังเติบโต: แม้ว่าต้องต่อสู้กับผลกระทบของภาวะถดถอยเป็นเวลานาน ในเวลานี้เศรษฐกิจยุโรปกำลังจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งสุดท้ายที่กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซนเมื่อปี 2555 โดยเศรษฐกิจยูโรโซนโตประมาณ 0.4% ในช่วงไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 อัตราการเติบโตต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 1%
6.แผนการใหม่เพื่อรัฐสมาชิก : เมื่อวิกฤติยูโรโซนโจมตีครั้งแรกในปี 2553 ผู้นำกลุ่มยูโรโซนไม่มีกรอบการทำงานใดๆ หากประเทศสมาชิกประสบปัญหา และนับตั้งแต่นั้นมา ประเทศในยูโรโซนได้ตั้งกองทุนเงินกู้ฉุกเฉินเป็นเงิน 800,000 ล้านดอลลาร์และยังได้ตกลงเกี่ยวกับระเบียบที่ประเทศต่างๆ สามารถเข้าถึงเงินนี้ได้