** ไอร์แลนด์ และ สเปน เป็นสองชาติแรกที่ออกจาก โปรแกรมช่วยเหลือทางการเงินเรียบร้อยแล้ว **

ไอร์แลนด์ และ สเปน  ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือทางการเงินเรียบร้อยแล้ว

เหลืออีก 3 ประเทศ ได้แก่ กรีซ โปรตุเกส และไซปรัส ซึ่งยังต้องรับความช่วยเหลืออยู่

***************************************************************************************************

ไอร์แลนด์ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือทางการเงินของอียูกับไอเอ็มเอฟเรียบร้อยแล้วเมื่อกลางเดือน ธันวาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นประเทศแรกจาก 5 ประเทศ ที่ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงิน

ไอร์แลนด์เดินหน้าปฏิรูปประเทศ

ไอร์แลนด์เป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศใช้เงินสกุลยูโร(ยูโรโซน) ที่หลุดพ้นจากโครงการความช่วยเหลือเงินกู้จากสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา(15 ธ.ค.) หลังจากรับความช่วยเหลือมูลค่า 85,000 ล้านยูโร เมื่อเดือนพ.ย. 2553 เนื่องจากภาคการธนาคารและตลาดอสังหาริมทรัพย์ล่มสลาย

แต่การเฉลิมฉลองเป็นไปแบบเงียบเชียบ เนื่องจากประชาชนทราบดีว่ายังต้องอยู่ภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดต่อไป

หนังสือพิมพ์หลายฉบับในไอร์แลนด์ ประสานเสียงว่าปัญหาของประเทศยังไม่สิ้นสุด หลังจากออกจากโครงการเงินกู้ อาทิ ซันเดย์ ไทมส์ ระบุในบทบรรณาธิการว่า ไอร์แลนด์เหมือนคนไข้ที่เพ่งออกจากห้องไอซียู กว่าจะพักฟื้นหายสนิทต้องใช้เวลา ส่วนซันเดย์ อินดิเพนเดนท์ เน้นว่ารัฐบาลสัญญาจะยุติมาตรรัดเข็มขัดภายในปี 2559 ก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า

ด้านความน่าเชื่อถือนั้น ไอร์แลนด์สามารถเรียกความเชื่อมั่นจากตลาดพันธบัตรนานาชาติกลับมาได้อีกครั้ง และส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรของไอร์แลนด์ได้กลับคืนสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติที่ 3%

ในการถอนตัวออกจากโครงการเงินกู้ข้างต้นนั้น รัฐบาลไอร์แลนด์ยังปฏิเสธวงเงินสินเชื่อ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการในรูปแบบการเฝ้าระวังไว้เมื่อมีการถอนตัวออกจากโครงการ ซึ่งเป็นการกระทำที่บางคนกล่าวว่าทำตามความคิดเห็นสาธารณะชนมากกว่าสภาวะทางเศรษฐกิจ

นายคอนสแตนทิน เกิร์ดกีฟ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ไอร์แลนด์มีเงินกองทุนพร้อมใช้ประมาณ 19,000 ล้านยูโร ซึ่งเพียงพอสำหรับการรองรับความเสี่ยงได้อย่างน้อย 1 ปี และจะใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการเฝ้าระวังได้เป็นเวลามากกว่า 2 ปี

"ในความคิดของผม การปรับลดดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ใดๆ สินเชื่อเพื่อการช่วยเหลือมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.5-4% และวงเงินสินเชื่อจะมีดอกเบี้ยประจำปี 0.15-0.25% ซึ่งถือว่าเป็นสินเชื่อราคาถูก"

หลายฝ่ายยังคาดการณ์ว่า รัฐบาลไอร์แลนด์ปฏิเสธสินเชื่อเพื่อการเฝ้าระวัง เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของสาธารณะชนที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้

ทั้งนี้ นายเอนดา เคนนี นายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ แถลงทางโทรทัศน์ต่อประชาชนว่า การออกจากโครงการช่วยเหลือ เป็นก้าวสำคัญแต่ยังไม่ใช่เส้นชัย และชีวิตของชาวไอร์แลนด์ จะยังไม่เปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน

นายเคนนี ยกความดีแก่ประชาชนในประเทศ ที่ร่วมกันเสียสละ และประกาศว่า รัฐบาลจะเผยแผนเศรษฐกิจระยะยาวถึงปี 2563 ภายในสัปดาห์นี้ พร้อมสัญญาว่าแผนเศรษฐกิจที่ว่านี้ ซึ่งสาระหลักคือการลดหนี้สาธารณะลงหนึ่งในสี่ และเพิ่มการจ้างงาน 2 ล้านตำแหน่ง จะเป็นหลักประกันว่าเสถียรภาพของไอร์แลนด์ จะไม่มีวันถูกคุกคามจากความโลภและการเก็งกำไรอีกต่อไป

หลังจากไอร์แลนด์ออกจากโปรแกรมของไอเอ็มเอฟแล้ว ชาติที่ยังเหลืออยู่ได้แก่ กรีซ โปรตุเกส และไซปรัส ซึ่งยังต้องรับความช่วยเหลืออยู่

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20131217/550160/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.html

****************************************************************************************************

สเปน  ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือทางการเงินของอียูเรียบร้อยแล้วเมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา นับเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากไอร์แลนด์ ที่ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงิน

สเปนพ้นจากความช่วยเหลือทางการเงิน

สเปนออกจากโปรแกรมช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงินเรียบร้อยแล้ว หลังเงินจำนวน 55,000 ล้านดอลลาร์ ที่ได้รับในระหว่างเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ระบบธนาคารของประเทศรอดพ้นจากการล้มละลาย

ผู้อำนวยการกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรปหรืออีเอสเอ็ม "นายเคลาส์ เรกลิ่ง" แถลงว่า เงินสนับสนุนจากภายนอกสามารถนำไปสู่การเพิ่มทุนและปรับโครงสร้างธนาคารที่มีปัญหาของสเปน จนมีฐานะดีขึ้น

เขาชี้ว่าการที่สเปนสามารถออกจากโปรแกรมช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยเวลาแค่เพียงปีเดียวเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก พร้อมกับแสดงความมั่นใจว่า ด้วยการสนับสนุนและช่วยเหลือจากอีเอสเอ็ม ที่รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะส่งผลให้เศรษฐกิจของสเปนมีเสถียรภาพและขยายตัวได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

เมื่อปี 2555 สเปน ประสบปัญหาจากภาคธนาคาร จนดูเหมือนกับต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเต็มรูปแบบจากนานาชาติ เช่นเดียวกับที่กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส แต่ทางการกรุงมาดริดปฏิเสธที่จะเดินตามรอยเส้นทางดังกล่าว และเลือกที่จะเจรจากับกลุ่มประเทศพันธมิตรในกลุ่มยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศที่ใช้ค่าเงินยูโรเป็นค่าเงินหลัก เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 137,000 ล้านดอลลาร์ นำไปแก้ไขภาคธนาคารโดยตรง ซึ่งในท้ายที่สุด สเปนใช้เงินเพียง 55,000 ล้านดอลลาร์ จากวงเงินที่ได้รับ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีและธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี ต่างพร้อมใจกันเตือนว่า สเปนยังต้องเฝ้าระวังภาคธุรกิจธนาคารต่อไป  เนื่องจากยังมีภาระหนี้สินในระบบอยู่ค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ สเปนนับเป็นประเทศที่ 2 จาก 5 ประเทศ ที่ออกจากโปรแกรมช่วยเหลือฉุกเฉินทางการเงิน หลังเมื่อ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ไอร์แลนด์ออกมาประกาศการพ้นจากความช่วยเหลือทางการเงินเช่นกัน ทั้งไอร์แลนด์และสเปน ต่างคาดการณ์ว่าจะไม่ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม ในระยะเวลาอันใกล้นี้

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20140101/553228/%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99.html

****************************************************************************************************
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่