รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแถลงของบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนดังกล่าวที่รับผิดชอบสินทรัพย์ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 71.4 ล้านล้านบาท) ระบุว่า เศรษฐกิจกรีซได้กลายเป็น “ศูนย์รวมแห่งความวิตกกังวล” ของทั่วทั้งโลก นับตั้งแต่ที่มีการเปิดเผยยอดหนี้สินจำนวนมหาศาลของประเทศในปี 2009 และในขณะนี้ กรีซได้สูญเสียศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับของประเทศพัฒนาแล้วไปจนหมดสิ้น ทั้งในด้านของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ปริมาณการค้า ยอดรวมการลงทุน ความสามารถของรัฐในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฯลฯ นับเป็นครั้งแรกที่กรีซสูญเสียสถานะดังกล่าว นับตั้งแต่ถูกยกให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเต็มตัวเมื่อปี 2001
แม็ต ลีสทรา นักวิเคราะห์อาวุโสของ รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์สให้ความเห็นว่า ระดับหนี้สินที่สูงลิ่วของกรีซจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเปราะบางและไร้เสถียรภาพนั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้กรีซกลายเป็นประเทศแรกของโลก ที่ต้องสูญเสียสถานะการเป็นดินแดนที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ดี คำแถลงของรัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส ยืนยันว่า แม้สเปนและโปรตุเกสซึ่งต่างเป็นสมาชิกยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก จะประสบภาวะวิกฤตด้านหนี้สินที่ร้ายแรงไม่แพ้กับกรีซ แต่ศักยภาพโดยรวมของเศรษฐกิจสเปนและโปรตุเกสยังคงแข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงยังไม่ถูกถอดจากการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการปลดกรีซออกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีขึ้นในช่วงเดียวกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่งเดินทางกลับไปเยือนกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ (3) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของกรีซ ในการปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดอันเข้มงวด
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ผู้นำของกลุ่ม “ทรอยกา” หรือเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดพบหารือกับยานนิส สตูร์นาราส รัฐมนตรีคลังของกรีซเกี่ยวกับความคืบหน้าของรัฐบาลเอเธนส์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปภาษี การเพิ่มทุนของภาคธนาคาร และการลดจำนวนพนักงานของรัฐลงให้ได้ราว 150,000 คนภายในปี 2015 เพื่อลดค่าใช้จ่าย หลังจากที่เศรษฐกิจกรีซต้องประสบภาวะถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
ฮือฮา! “กรีซ” กลายเป็นชาติแรกของโลก สูญเสียสถานะ “ประเทศพัฒนาแล้ว” หลัง ศก.ทรุด-หนี้ท่วม
แม็ต ลีสทรา นักวิเคราะห์อาวุโสของ รัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์สให้ความเห็นว่า ระดับหนี้สินที่สูงลิ่วของกรีซจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเปราะบางและไร้เสถียรภาพนั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้กรีซกลายเป็นประเทศแรกของโลก ที่ต้องสูญเสียสถานะการเป็นดินแดนที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ดี คำแถลงของรัสเซลล์ อินเวสต์เมนต์ส ยืนยันว่า แม้สเปนและโปรตุเกสซึ่งต่างเป็นสมาชิกยูโรโซน หรือกลุ่ม 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลัก จะประสบภาวะวิกฤตด้านหนี้สินที่ร้ายแรงไม่แพ้กับกรีซ แต่ศักยภาพโดยรวมของเศรษฐกิจสเปนและโปรตุเกสยังคงแข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ทั้ง 2 ประเทศจึงยังไม่ถูกถอดจากการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการปลดกรีซออกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีขึ้นในช่วงเดียวกับที่ทางเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่งเดินทางกลับไปเยือนกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซเมื่อวันอาทิตย์ (3) เพื่อประเมินความก้าวหน้าของกรีซ ในการปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดอันเข้มงวด
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ผู้นำของกลุ่ม “ทรอยกา” หรือเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนจากอียู ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดพบหารือกับยานนิส สตูร์นาราส รัฐมนตรีคลังของกรีซเกี่ยวกับความคืบหน้าของรัฐบาลเอเธนส์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปภาษี การเพิ่มทุนของภาคธนาคาร และการลดจำนวนพนักงานของรัฐลงให้ได้ราว 150,000 คนภายในปี 2015 เพื่อลดค่าใช้จ่าย หลังจากที่เศรษฐกิจกรีซต้องประสบภาวะถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน