เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร)
ที่ จ.เชียงใหม่ ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามที่สำนักเลขา
ธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ โดยมีหลักการประกอบด้วย 1.เห็นชอบให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติระยะ 20 ปี โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
2.มอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี 3.มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี คือนายวิษณุ เครืองาม นำกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี ไปหารือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้แนวทางปฏิรูปดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน 4.มอบหมาย
ให้ สลค. และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) จัดทำแนวทางการปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนนโยบาย
ของรัฐบาลในรูปของคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลในภาพรวม เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
ส่วนอำนาจหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น คือ
1.จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
โดยนำนโยบายรัฐบาล 11 ข้อ ประเด็นปฏิรูปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 11 ด้าน และประเด็นปฏิรูปของสภา
ปฏิรูปแห่งชาติ 36 กิจกรรม มาใช้เป็นกรอบในการจัดทำ และให้เสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในระยะที่ 2 ของรัฐบาล และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ 3 ต่อไป
2.เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามความจำเป็นหรือตาม
ที่คณะกรรมการเห็นสมควร
3.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
4.ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ด้านนายวิษณุให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุม ครม.จะให้นำแนวทางของรัฐบาลไปพูดคุยกับทาง สปช. ก่อนที่ สปช.จะมีการร่าง
แนวทางการปฏิรูปมายังรัฐบาลเพื่อนำไปปรับปรุง เพราะเวลาที่ สปช.ส่งมา รัฐบาลก็ต้องนำมาปรับให้เข้ากับแนวทางของ
รัฐบาลอยู่ดี ทางที่ดีส่งของเราไปให้ สปช.ก่อน โดยจะทยอยส่งแนวทางเป็นชุด สปช.จะเป็นคนเสนอแนวทางปฏิรูปด้าน
ต่างๆ ให้รัฐบาลดำเนินการ โดยมีการกำหนดช่วงระยะเวลาการปฏิรูป จะมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์รัฐบาลเข้ามาดู
ในเรื่องนี้ ในการพิจารณากำหนดระยะเวลาการปฏิรูป จะกำหนดเป็นระยะๆ ไม่ใช่จะกำหนดว่าจะทำอะไรบ้างใน 20 ปี แต่
ต้องแบ่งเป็นระยะเวลา 3-4 ช่วง เพราะฉะนั้นบางเรื่อง จะไม่เสร็จภายใน 2-3 ปีแรก ต้องส่งไปในช่วงที่ 2 และ 3 และต้อง
ทำบางเรื่องให้เสร็จในช่วงแรก และเรื่องอะไรต้องเสร็จในช่วงต่อไป ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์จะเป็นคนไปคิด
ทั้งนี้กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เลขาธิการครม. และเลขาธิการคณะ
กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นรองประธาน
กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.อ.ณัฐวุฒิ ภาสุวณิชยพงศ์ พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 6 คน
ภาคเอกชน 3 คน และอื่น ๆ 3 คน โดยมีรองเลขาธิการครม. ที่ได้รับมอบหมาย และรองเลขาธิการ สศช. ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นเลขานุการร่วม และมีพล.อ.สกล ชื่นตระกูล พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
เป็นที่ปรึกษา
โดยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เขียนไว้อยู่มาตราหนึ่งว่าคณะรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นใครจะต้องบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตาม
กฎหมายตามแนวทางนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และตามยุทธศาสตร์ชาติ เลยต้องมาตั้งยุทธศาสตร์ชาติ แต่ทั้งหมดก็จะเปิดช่องให้
กับรัฐบาลหน้าที่จะเข้ามา ได้คิดยุทธศาสตร์ชาติบางส่วนของเขาเองบ้างเหมือนกับรัฐบาลที่ผ่านๆ มา เมื่อมาเจอแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ไม่ว่าจะฉบับไหนก็ตาม ถ้าไม่พอใจก็ต้องแก้แผน คราวนี้ก็จะมีอีกแผนหนึ่งควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ก็คือแผนยุทธศาสตร์ชาติ
นายวิษณุกล่าวว่า อะไรที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ อาจจะต้องทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาด้วย
เพื่อกำหนดให้ทำตามว่า ถ้าใครเป็นรัฐบาล ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ก็ให้แก้ยุทธศาสตร์ชาติ เหมือนแก้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ จะไม่ใช่เป็น
การที่ว่ารัฐบาลชุดนี้ไปเขียนบังคับให้รัฐบาลชุดหน้าทำ มันไม่เป็นธรรม โดยการเลือกตั้งเขาก็ต้องมีสิทธิของเขา แต่รัฐบาลก็ต้องทำ
เป็นกรอบไว้ให้ก่อน เพื่อการดำเนินการ ตรงนี้เป็นกรอบที่นายกรัฐมนตรีอยากให้ความชัดเจนว่า แผนยุทธศาสตร์ 20 ปีนั้น 5 ปีแรก
จะทำอะไร และ 5 ปีต่อไปจะทำอะไร คือแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะละ 5 ปี ต้องการเห็นประเทศเดินไปในทิศทางใดบ้าง โดยแผนยุทธ
ศาสตร์ชาติจะแบ่งเป็น 5 ด้านใหญ่ๆ คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และด้านกฎหมาย ตรงกับงานของรองนายก
รัฐมนตรีทั้ง 5 ด้าน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435715613
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน ทหาร ตบเท้านั่งคณะกรรมการ
ที่ จ.เชียงใหม่ ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ตามที่สำนักเลขา
ธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ โดยมีหลักการประกอบด้วย 1.เห็นชอบให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติระยะ 20 ปี โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
2.มอบหมายให้ทุกหน่วยงานจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี 3.มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี คือนายวิษณุ เครืองาม นำกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี ไปหารือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้แนวทางปฏิรูปดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน 4.มอบหมาย
ให้ สลค. และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) จัดทำแนวทางการปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนนโยบาย
ของรัฐบาลในรูปของคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลในภาพรวม เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
ส่วนอำนาจหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น คือ
1.จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
โดยนำนโยบายรัฐบาล 11 ข้อ ประเด็นปฏิรูปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 11 ด้าน และประเด็นปฏิรูปของสภา
ปฏิรูปแห่งชาติ 36 กิจกรรม มาใช้เป็นกรอบในการจัดทำ และให้เสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในระยะที่ 2 ของรัฐบาล และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ 3 ต่อไป
2.เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามความจำเป็นหรือตาม
ที่คณะกรรมการเห็นสมควร
3.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
4.ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ด้านนายวิษณุให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุม ครม.จะให้นำแนวทางของรัฐบาลไปพูดคุยกับทาง สปช. ก่อนที่ สปช.จะมีการร่าง
แนวทางการปฏิรูปมายังรัฐบาลเพื่อนำไปปรับปรุง เพราะเวลาที่ สปช.ส่งมา รัฐบาลก็ต้องนำมาปรับให้เข้ากับแนวทางของ
รัฐบาลอยู่ดี ทางที่ดีส่งของเราไปให้ สปช.ก่อน โดยจะทยอยส่งแนวทางเป็นชุด สปช.จะเป็นคนเสนอแนวทางปฏิรูปด้าน
ต่างๆ ให้รัฐบาลดำเนินการ โดยมีการกำหนดช่วงระยะเวลาการปฏิรูป จะมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์รัฐบาลเข้ามาดู
ในเรื่องนี้ ในการพิจารณากำหนดระยะเวลาการปฏิรูป จะกำหนดเป็นระยะๆ ไม่ใช่จะกำหนดว่าจะทำอะไรบ้างใน 20 ปี แต่
ต้องแบ่งเป็นระยะเวลา 3-4 ช่วง เพราะฉะนั้นบางเรื่อง จะไม่เสร็จภายใน 2-3 ปีแรก ต้องส่งไปในช่วงที่ 2 และ 3 และต้อง
ทำบางเรื่องให้เสร็จในช่วงแรก และเรื่องอะไรต้องเสร็จในช่วงต่อไป ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์จะเป็นคนไปคิด
ทั้งนี้กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เลขาธิการครม. และเลขาธิการคณะ
กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นรองประธาน
กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.อ.ณัฐวุฒิ ภาสุวณิชยพงศ์ พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 6 คน
ภาคเอกชน 3 คน และอื่น ๆ 3 คน โดยมีรองเลขาธิการครม. ที่ได้รับมอบหมาย และรองเลขาธิการ สศช. ที่ได้รับมอบหมาย
เป็นเลขานุการร่วม และมีพล.อ.สกล ชื่นตระกูล พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
เป็นที่ปรึกษา
โดยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เขียนไว้อยู่มาตราหนึ่งว่าคณะรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็นใครจะต้องบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตาม
กฎหมายตามแนวทางนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และตามยุทธศาสตร์ชาติ เลยต้องมาตั้งยุทธศาสตร์ชาติ แต่ทั้งหมดก็จะเปิดช่องให้
กับรัฐบาลหน้าที่จะเข้ามา ได้คิดยุทธศาสตร์ชาติบางส่วนของเขาเองบ้างเหมือนกับรัฐบาลที่ผ่านๆ มา เมื่อมาเจอแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ไม่ว่าจะฉบับไหนก็ตาม ถ้าไม่พอใจก็ต้องแก้แผน คราวนี้ก็จะมีอีกแผนหนึ่งควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ก็คือแผนยุทธศาสตร์ชาติ
นายวิษณุกล่าวว่า อะไรที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ อาจจะต้องทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาด้วย
เพื่อกำหนดให้ทำตามว่า ถ้าใครเป็นรัฐบาล ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ก็ให้แก้ยุทธศาสตร์ชาติ เหมือนแก้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ จะไม่ใช่เป็น
การที่ว่ารัฐบาลชุดนี้ไปเขียนบังคับให้รัฐบาลชุดหน้าทำ มันไม่เป็นธรรม โดยการเลือกตั้งเขาก็ต้องมีสิทธิของเขา แต่รัฐบาลก็ต้องทำ
เป็นกรอบไว้ให้ก่อน เพื่อการดำเนินการ ตรงนี้เป็นกรอบที่นายกรัฐมนตรีอยากให้ความชัดเจนว่า แผนยุทธศาสตร์ 20 ปีนั้น 5 ปีแรก
จะทำอะไร และ 5 ปีต่อไปจะทำอะไร คือแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะละ 5 ปี ต้องการเห็นประเทศเดินไปในทิศทางใดบ้าง โดยแผนยุทธ
ศาสตร์ชาติจะแบ่งเป็น 5 ด้านใหญ่ๆ คือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และด้านกฎหมาย ตรงกับงานของรองนายก
รัฐมนตรีทั้ง 5 ด้าน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435715613