จากเว็บไซต์ Siam Intelligence
http://www.siamintelligence.com/thai-reform-institute/
วันที่ 26 ตุลาคม 2557 (เมื่อวานนี้) ที่มหาวิทยาลัยรังสิต
มีการเปิดตัวสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) Thai Reform Institute (TRI) นำโดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นประธานสถาบัน และนายสุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้อำนวยการสถาบัน เพื่อเป็นสภาคู่ขนานในการปฏิรูปประเทศ
สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อการเป็นสถาบันทางสังคม และศูนย์ประสานงานทางด้านวิชาการ และเป็นองค์กรเข้าร่วมและประสานการเคลื่อนไหวกับกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาประชาธิปไตย สู่สังคมธรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง
วิสัยทัศน์ “เป็นสถาบันทางสังคมที่มุ่งพัฒนาการเมืองภาคประชาชนและนวัตกรรมทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศสู่สังคมธรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง”
Siam Intelligence Unit (SIU) ขอแนะนำกลุ่ม”สถาบันปฏิรูปประเทศไทย” (สปท.) ให้ดูว่ามีใครดำรงตำแหน่งอะไรบ้าง
(เป็นแบบย่อ หากเข้าไปดูตามลิงค์ด้านบน จะมีรายละเอียดครบ พร้อมรูปของแต่ละท่าน)
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)
อดีตเลขาธิการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ และเลขาธิการของพรรคการเมืองใหม่ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.)
1.รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ - ประธานกรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.)รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และตำแหน่งในหน่วยงานอื่นๆ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนที่จะได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เข้าร่วมการชุมนุมกับ กปปส. และเคยได้ปราศรัยเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นบนเวทีผู้ชุมนุม
2.นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ - กรรมการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2543 – 2549) เคยเป็นนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2519
3.บรรเจิด สิงคะเนติ - กรรมการ
กรรมการปฎิรูปกฎหมาย อดีตผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อดีต กรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คตส. ตามประกาศ คมช. ช่วงเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส. ได้เคยเปิดเผยสูตรหนทางสู่นายกมาตรา 7
4.นายศิริชัย ไม้งาม - กรรมการ
อดีตประธานสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(สร.กฟผ. รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สฟท.) รองเลขาธิการปฏิบัติการสมาพันธ์แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) รวมทั้งกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และเคยเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
5.นายชาลี ลอยสูง - กรรมการ
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคประเทศไทย
6.บรรจง นะแส - กรรมการ
นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งล่าสุดคือการเข้าร่วมชุมนุมกับ กปปส.
7.วสันต์ ภัยหลีกลี้ - กรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท และรอง ผอ.ด้านปฏิบัติการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดปี 56 (สมัยนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์) และคณะรัฐมนตรีชุดปี 59 (สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
8.ปรีดา เตียสุวรรณ์ - กรรมการ
ประธานกรรมการบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด มีความสนิทสนมกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และนายประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส นายปรีดาได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ และให้การสนับสนุนในเรื่องทุนในการเคลื่อนไหว
9.อาทิตย์ อุไรรัตน์ - ประธานที่ปรึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาอาวุโส พรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 และคณะที่ปรึกษาพรรคการเมืองใหม่
10 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ - ที่ปรึกษา
อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) เคยร่วมกับพอ.มนูญ รูปขจร และ พอ.สนั่น ขจรประศาสตร์ ทำรัฐประหารรัฐบาลที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ไม่สำเร็จจนกลายเป็นกบฎต้องหลบหนี และสามารถกลับเข้ามาเมื่อมีการอภัยโทษ
หลังการรัฐประหาร 2549 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคมช.) เคยอยุ่ในกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นอดีตอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการในการชุมนุมของ กปปส.ที่ผ่านมา
11.วิชัย โชควิวัฒน - ที่ปรึกษา
อดีตคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
รองประธานคนที่สอง สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ
12.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - ที่ปรึกษา
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ( สปช.) อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
13.วิทยากร เชียงกูล - ที่ปรึกษา
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตนักเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายวิจัยและวางแผน ที่ธนาคารกรุงเทพ, อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ, ผู้ชำนาญการคณะกรรมาธิการ การคลังฯ ประจำรัฐสภา
14.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ - ที่ปรึกษา
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาและรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว, เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
15. รสนา โตสิตระกูล - กรรมการ
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติประธาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
16.พลเดช ปิ่นประทีป - กรรมการ
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
17. เกียรติชัย พงษ์พานิช - กรรมการ
บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ข่าวสด อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 50
18.อนุสรณ์ ศรีแก้ว - กรรมการ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
19.นายบุญส่ง ชเลธร - กรรมการ
อดีต “13 ขบถรัฐธรรมนูญ” ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และสมาชิกพรรคการเมืองใหม่
20.อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ - กรรมการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
21.กสิณ จันทร์เรือง - กรรมการ
ผู้อำนวยการ สำนักงานบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต
22.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ - กรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.)คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตนักวิชาการและนักการเมือง หัวหน้าพรรคมหาชน และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23.บำรุง คะโยธา - กรรมการ
นายก อบต.สายนาวัง จ.กาฬสินธุ์ และแกนนำ “สมัชชาคนจน”
ขอบคุณ Siam Intelligence ที่ทำการสรุปรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์เอาไว้ให้ดู
หวังว่ารายชื่อและประวัติที่คัดลอกมาลงในพันทิป จะทำให้สามารถดูได้ว่าแต่ละคนมีจุดยืนและเบื้องหลังอย่างไรบ้าง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการติดตามการเมืองในอนาคต
ใครเป็นใครใน”สถาบันปฏิรูปประเทศไทย” (สปท.) [พึ่งก่อตั้งเป็นทางการเมื่อวานนี้ ที่ ม.รังสิต]
http://www.siamintelligence.com/thai-reform-institute/
วันที่ 26 ตุลาคม 2557 (เมื่อวานนี้) ที่มหาวิทยาลัยรังสิต
มีการเปิดตัวสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) Thai Reform Institute (TRI) นำโดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นประธานสถาบัน และนายสุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้อำนวยการสถาบัน เพื่อเป็นสภาคู่ขนานในการปฏิรูปประเทศ
สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อการเป็นสถาบันทางสังคม และศูนย์ประสานงานทางด้านวิชาการ และเป็นองค์กรเข้าร่วมและประสานการเคลื่อนไหวกับกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาประชาธิปไตย สู่สังคมธรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง
วิสัยทัศน์ “เป็นสถาบันทางสังคมที่มุ่งพัฒนาการเมืองภาคประชาชนและนวัตกรรมทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศสู่สังคมธรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง”
Siam Intelligence Unit (SIU) ขอแนะนำกลุ่ม”สถาบันปฏิรูปประเทศไทย” (สปท.) ให้ดูว่ามีใครดำรงตำแหน่งอะไรบ้าง
(เป็นแบบย่อ หากเข้าไปดูตามลิงค์ด้านบน จะมีรายละเอียดครบ พร้อมรูปของแต่ละท่าน)
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)
อดีตเลขาธิการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ และเลขาธิการของพรรคการเมืองใหม่ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.)
1.รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ - ประธานกรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.)รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และตำแหน่งในหน่วยงานอื่นๆ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนที่จะได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เข้าร่วมการชุมนุมกับ กปปส. และเคยได้ปราศรัยเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นบนเวทีผู้ชุมนุม
2.นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ - กรรมการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2543 – 2549) เคยเป็นนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2519
3.บรรเจิด สิงคะเนติ - กรรมการ
กรรมการปฎิรูปกฎหมาย อดีตผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อดีต กรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คตส. ตามประกาศ คมช. ช่วงเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส. ได้เคยเปิดเผยสูตรหนทางสู่นายกมาตรา 7
4.นายศิริชัย ไม้งาม - กรรมการ
อดีตประธานสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(สร.กฟผ. รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สฟท.) รองเลขาธิการปฏิบัติการสมาพันธ์แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) รวมทั้งกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และเคยเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
5.นายชาลี ลอยสูง - กรรมการ
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) และ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคประเทศไทย
6.บรรจง นะแส - กรรมการ
นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งล่าสุดคือการเข้าร่วมชุมนุมกับ กปปส.
7.วสันต์ ภัยหลีกลี้ - กรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท และรอง ผอ.ด้านปฏิบัติการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดปี 56 (สมัยนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์) และคณะรัฐมนตรีชุดปี 59 (สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
8.ปรีดา เตียสุวรรณ์ - กรรมการ
ประธานกรรมการบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด มีความสนิทสนมกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และนายประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส นายปรีดาได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ และให้การสนับสนุนในเรื่องทุนในการเคลื่อนไหว
9.อาทิตย์ อุไรรัตน์ - ประธานที่ปรึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาอาวุโส พรรคประชาธิปัตย์ เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 และคณะที่ปรึกษาพรรคการเมืองใหม่
10 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ - ที่ปรึกษา
อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) เคยร่วมกับพอ.มนูญ รูปขจร และ พอ.สนั่น ขจรประศาสตร์ ทำรัฐประหารรัฐบาลที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ไม่สำเร็จจนกลายเป็นกบฎต้องหลบหนี และสามารถกลับเข้ามาเมื่อมีการอภัยโทษ
หลังการรัฐประหาร 2549 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคมช.) เคยอยุ่ในกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นอดีตอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการในการชุมนุมของ กปปส.ที่ผ่านมา
11.วิชัย โชควิวัฒน - ที่ปรึกษา
อดีตคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
รองประธานคนที่สอง สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ
12.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง - ที่ปรึกษา
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ( สปช.) อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
13.วิทยากร เชียงกูล - ที่ปรึกษา
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตนักเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายวิจัยและวางแผน ที่ธนาคารกรุงเทพ, อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ, ผู้ชำนาญการคณะกรรมาธิการ การคลังฯ ประจำรัฐสภา
14.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ - ที่ปรึกษา
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาและรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว, เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
15. รสนา โตสิตระกูล - กรรมการ
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติประธาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส.
16.พลเดช ปิ่นประทีป - กรรมการ
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
17. เกียรติชัย พงษ์พานิช - กรรมการ
บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ข่าวสด อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 50
18.อนุสรณ์ ศรีแก้ว - กรรมการ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
19.นายบุญส่ง ชเลธร - กรรมการ
อดีต “13 ขบถรัฐธรรมนูญ” ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และสมาชิกพรรคการเมืองใหม่
20.อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ - กรรมการ
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
21.กสิณ จันทร์เรือง - กรรมการ
ผู้อำนวยการ สำนักงานบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต
22.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ - กรรมการ
สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.)คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตนักวิชาการและนักการเมือง หัวหน้าพรรคมหาชน และคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23.บำรุง คะโยธา - กรรมการ
นายก อบต.สายนาวัง จ.กาฬสินธุ์ และแกนนำ “สมัชชาคนจน”
ขอบคุณ Siam Intelligence ที่ทำการสรุปรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์เอาไว้ให้ดู
หวังว่ารายชื่อและประวัติที่คัดลอกมาลงในพันทิป จะทำให้สามารถดูได้ว่าแต่ละคนมีจุดยืนและเบื้องหลังอย่างไรบ้าง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการติดตามการเมืองในอนาคต