เป็นอีกเรื่องที่เห็นทีไรก็ไม่สบายใจครับ
ส่วนตัวคิดว่าเป็นความเชื่อสมัยล่าอาณานิคม ที่ขัดต่อคำสอนของพระเยซู
เพราะมันขัดต่อคำสอนเรื่องชาวสะมาเรียครับ
ใจความคือ ต่อให้เป็นคนต่างศาสนาแต่รักและเอื้ออาทรผู้อื่น
ก็จะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า
มากว่าชาวคริสต์ที่อ้างตัวว่าเคร่งครัด แต่ตั้งแง่รังเกียจคนอื่นด้วยซ้ำ
ถ้าทำให้รำคาญต้องขออภัยด้วยนะครับ
อยากหาพื้นที่ชี้แจงเรื่องนี้
หรือถ้าท่านอื่นมีความเชื่อที่แตกต่างโต้แย้งได้เลยนะครับ
ที่ผ่านมาการแลกเปลี่ยนความเห็นในห้องนี้
ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรเยอะเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พระเยซูตอบว่า “มีชายคนหนึ่งเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็ม จะไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรลอกคราบ ทำร้ายร่างกาย แล้วทิ้งเขาไว้นอนบาดเจ็บปางตาย”[13]
การเดินทางไปยังเยรีโคต้องลงเขาไปประมาณ 27 กิโลเมตร จากเยรูซาเล็มที่ความสูงประมาณ 800 เมตร ลงไปเยรีโคซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 240 เมตร บนเส้นทางที่ขึ้นชื่อว่าอันตราย เพราะมีโจร เข้าใจกันว่าโจรในตะวันออกกลางจะทำร้ายเหยื่อ ก็ต่อเมื่อขัดขืน ชายคนนี้คงทำเช่นนั้น เพราะเขาถูกลอกคราบ โดนทำร้ายร่างกาย และถูกทิ้งไว้บนถนน ในสภาพที่หมดสติปางตาย คือว่าเขาจวนสิ้นใจ ถึงแม้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะบ่งบอกว่าชายผู้นี้มีสัญชาติอะไร จากสภาพการณ์และผลลัพธ์จากเรื่องเล่า ผู้ฟังคงสันนิษฐานว่าชายผู้ที่จวนสิ้นใจคนนี้เป็นชาวยิว[14]
เผอิญปุโรหิตคนหนึ่งเดินไปทางนั้น เมื่อเห็นชายผู้นั้นก็เดินเลยไปเสียอีกฟากหนึ่ง[15]
เป็นไปได้ว่าปุโรหิตคงกลับจากการปรนนิบัติรับใช้ในวิหารหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากเขามีฐานะดี เขาคงขี่ลา เขาน่าจะพาชายผู้บาดเจ็บไปเยรีโคได้ ปัญหาก็คือเขาไม่อาจบ่งบอกได้ว่าชายผู้นี้เป็นใคร มีสัญชาติอะไร เนื่องจากเขาหมดสติและถูกลอกคราบ ปุโรหิตมีหน้าที่ภายใต้บัญญัติโมเสสที่จะช่วยเหลือชาวยิวด้วยกัน ไม่ใช่ชาวต่างชาติ แต่ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าว เขาบอกไม่ได้ว่าชายผู้บาดเจ็บเป็นใคร
นอกจากนี้ปุโรหิตไม่ทราบด้วยว่าชายคนนี้ตายแล้วหรือยัง ตามบัญญัติการเข้าใกล้หรือสัมผัสคนตาย จะทำให้เขามีมลทิน ตามพิธีกรรม ถ้าเข้าไปใกล้กว่าสองเมตร หากชายคนนั้นตายแล้ว ปุโรหิตก็จะมีมลทิน เขาต้องทำพิธีกรรมทางศาสนาหนึ่งสัปดาห์ รวมไปถึงการซื้อหาสัตว์มาสังเวย เพื่อการชำล้างให้บริสุทธิ์ ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาไม่อาจรับเงินถวายหรือทานจากหนึ่งส่วนสิบ ครอบครัวและคนรับใช้ของเขาก็เช่นกัน[16]
ถ้าชายผู้หมดสติมีชีวิต และปุโรหิตสัมผัสเขา แต่ชายผู้นั้นสิ้นใจหลังจากนั้นไม่นานนัก ปุโรหิตต้องทึ้งเสื้อผ้าของเขาให้ฉีกขาด ซึ่งหมายความว่าเขาต้องซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ ดังนั้นการช่วยชายผู้ที่ระบุตัวไม่ได้คนนี้ ปุโรหิตต้องยอมเสียค่าแลกเปลี่ยนสูงมาก ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ห่างพอ
เนื้อเรื่องในคำอุปมาอุปไมยดำเนินต่อไป ว่า
คนหนึ่งในพวกเลวีก็ทำเหมือนกัน เมื่อมาถึงที่นั่น เห็นแล้วก็เลยไปเสียอีกฟากหนึ่ง[17]
ชาวเลวีคงกลับบ้านหลังจากปรนนิบัติรับใช้ในวิหารหนึ่งสัปดาห์ เขาทำเช่นเดียวกันกับปุโรหิต เขาตัดสินใจไม่ช่วย
ชาวเลวีคงตระหนักว่าปุโรหิตเดินผ่านชายผู้บาดเจ็บไป ผู้ประพันธ์หลายคนบ่งบอกว่าเส้นทางจากเยรูซาเล็มไปเยรีโคนั้นเป็นไปได้ที่จะมองเห็นข้างหน้าในระยะไกล ผู้ประพันธ์คนหนึ่งเขียนไว้ว่า
เรายังคงเห็นร่องรอยเส้นทางเก่าของชาวโรมัน ผู้เขียนในปัจจุบันลองเดินดูเองเกือบตลอดเส้นทาง ส่วนใหญ่แล้วเราสามารถมองเห็นทางข้างหน้าได้ไกลพอสมควร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าเมื่อเขา [ชาวเลวี] มาพบชายผู้นั้นตามทาง เขาตระหนักว่าปุโรหิตเห็นชายคนนี้แล้ว และเดินผ่านไป[18]
ชาวเลวีมีฐานะทางสังคมต่ำกว่าปุโรหิต เขาคงเดินเท้า ถึงแม้ว่าเขาไม่สามารถพาชายคนนั้นไปกับเขา เขาก็น่าจะช่วยปฐมพยาบาล เพราะเขาไม่ได้อยู่ภายใต้บัญญัติเรื่องความบริสุทธิ์ เหมือนปุโรหิต ถึงแม้ว่าเขาต้องทำตัวให้บริสุทธิ์ระหว่างสัปดาห์ที่ปรนนิบัติรับใช้ในวิหาร แต่เขาไม่มีพันธะหน้าที่เช่นนั้นตอนนี้ จากถ้อยคำในอุปอุปไมย เป็นไปได้ว่าเขาคงเข้าไปใกล้ชายผู้นั้น ขณะที่ปุโรหิตเห็นแล้วก็ผ่านไป ส่วนชาวเลวี “เดินมาถึงที่นั่น” เห็นแล้วก็ผ่านไป
ไม่ได้บ่งบอกว่าเขาเจตนาเดินผ่านไป แต่เป็นไปได้ที่เมื่อเขาเห็นว่าปุโรหิตผู้ซึ่งรอบรู้บัญญัติทางศาสนาและพันธะหน้าที่มากกว่า แต่ไม่ได้ทำอะไร เขาจึงทึกทักว่าเป็นการดีที่สุดที่จะไม่ทำอะไรเช่นกัน การลงมือทำอะไรอาจถูกตีความหมายว่าเขาสงสัยความเข้าใจในกฎบัญญัติของปุโรหิต และอาจถือว่าเป็นการดูหมิ่นปุโรหิต[19]
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เขาไม่ช่วย คงเป็นเพราะเขาเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย พวกโจรอาจยังอยู่แถวนั้น ถ้าเขาใช้เวลาช่วยเหลือชายผู้ที่บาดเจ็บปางตาย เขาคงลงเอยในสภาพเดียวกัน ไม่ว่าชาวเลวีจะมีเหตุผลอะไร เขาเป็นบุคคลที่สองที่มาจากวิหาร เขามาถึง เห็นเข้า แล้วก็ผ่านไป โดยไม่ทำอะไร
พอเล่าเรื่องถึงตอนนี้ ผู้ฟังชุดแรกคงคาดหมายว่าคนต่อไปที่จะมาพบชายผู้นี้ จะเป็นฆราวาสชาวยิว ซึ่งฟังดูสมเหตุสมผลที่สุด เมื่อพิจารณาฐานะตามลำดับในเรื่อง ได้แก่ ปุโรหิต ชาวเลวี ฆราวาส[20] อย่างไรก็ตาม พระเยซูเล่าเรื่องที่ผิดความคาดหมาย บุคคลที่สามในเรื่องคือชาวสะมาเรียที่น่าชิงชัง ผู้เป็นศัตรู เรื่องแย่ลงไปอีก เมื่อพระเยซูเล่าให้ฟังถึงทุกอย่างที่ชาวสะมาเรียได้ทำเพื่อชายผู้ที่จวนสิ้นใจ สิ่งที่ปุโรหิตและชาวเลวีผู้ปรนนิบัติรับใช้ในวิหารทั้งสองคนน่าจะทำ[21]
แต่ชาวสะมาเรียคนหนึ่งเมื่อเดินมาถึง ครั้นเห็นแล้วก็มีใจเมตตา เข้าไปหาเขา เอาผ้าพันบาดแผลให้ พลางเอาน้ำมันกับน้ำองุ่นเทใส่บาดแผล แล้วให้เขาขึ้นขี่สัตว์ของตนเอง พามาถึงโรงแรมแห่งหนึ่ง และรักษาพยาบาลเขา[22]
ชาวสะมาเรียคงเป็นพ่อค้า มีน้ำองุ่นและน้ำมันติดตัว พร้อมสัตว์อย่างน้อยหนึ่งตัว คงจะเป็นลา เขามีใจเมตตาต่อชายผู้บาดเจ็บ ตอนแรกเขาเอาผ้าพันแผลให้ เขาใช้อะไรล่ะ เขาไม่ใช่รถพยาบาลในท้องถิ่น เขาไม่มีชุดปฐมพยาบาล ในฐานะที่เป็นพ่อค้า เขาคงมีผ้าติดตัว เขาอาจใช้ชุดลินินชั้นในหรือพ้าโพกหัวเพื่อพันแผล แล้วเทน้ำองุ่นและน้ำมันเพื่อล้างแผล ฆ่าเชื้อ และสมานแผล
จากนั้นเขาอุ้มชายคนนั้นขึ้นขี่สัตว์ของเขา พาไปโรงแรม คงจะเป็นที่เยรีโค ปุโรหิตน่าจะพาชายคนนั้นไปเยรีโคเพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนชาวเลวีก็น่าจะช่วยปฐมพยาบาลเป็นอย่างน้อย ทว่าชาวสะมาเรียเป็นผู้ที่ช่วยทำสิ่งที่ปุโรหิตหรือชาวเลวีไม่ยอมทำ
ชาวสะมาเรียพาชายผู้บาดเจ็บไปยังโรงแรม และดูแลเอาใจใส่เขา ถ้าเป็นดังที่เราสมมุติฐานไว้ว่าชายผู้บาดเจ็บเป็นชาวยิว ชาวสะมาเรียคงเสี่ยงอย่างมากที่พาชาวยิวผู้จวนสิ้นใจขี่ลาเข้าไปในเมือง เพราะญาติพี่น้องของชายผู้ที่ถูกทำร้ายอาจกล่าวโทษชาวสะมาเรีย และแก้แค้น เพื่อความปลอดภัยของเขาเอง คงเป็นการมีปัญญามากกว่าที่จะพาชายผู้นั้นไปทิ้งไว้ใกล้ตัวเมืองหรือที่ประตูเมือง แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น เขาพาไปที่โรงแรม และช่วยดูแลเขาคืนนั้น แล้วก็ทำมากกว่านั้นอีก
วันรุ่งขึ้นเมื่อจะจากไป เขาเอาเงินสองเดนาริอันมอบให้เจ้าของโรงแรม บอกเขาว่า ‘ดูแลเขาเถิด เงินค่าใช้จ่ายเกินนี้ เมื่อกลับมา ฉันจะใช้ให้’[23]
เงินสองเดนาริอันเทียบเท่ากับค่าจ้างแรงงานสองวัน การฝากเงินไว้กับเจ้าของโรงแรมเป็นหลักประกันว่าชายผู้นั้นจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ ขณะที่ฟื้นตัว ถ้าเจ้าของโรงแรมต้องใช้เงินมากกว่านั้น กว่าเขาจะฟื้นตัวเป็นปกติ ชาวสะมาเรียสัญญาว่าจะใช้ให้เมื่อกลับมาคราวหน้า ถ้าเขาไม่ทำเช่นนั้น ชายที่บาดเจ็บก็ต้องเสียค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล และค่าอาหาร สมัยนั้นถ้าใครไม่มีเงินชำระหนี้ เขาอาจถูกจับกุม ชาวสะมาเรียสัญญาว่าจะกลับมาออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าชายที่ผู้ทำร้ายจะปลอดภัย และได้รับการดูแลเอาใจใส่จนหายเป็นปกติ
เป็นไปได้ว่าชาวสะมาเรียคนนั้นไปทำธุรกิจที่เยรูซาเล็มเป็นประจำ และเดินทางผ่านเยรีโคบ่อย ๆ ในฐานะลูกค้าประจำที่โรงแรม ก็สมเหตุสมผลที่เจ้าของโรงแรมจะเชื่อคำสัญญาว่าเขาจะกลับมาชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้
เมื่อเล่าเรื่องจบ พระเยซูถามนักกฎหมายว่า
“ในสามคนนั้น ท่านคิดเห็นว่าคนไหนเป็นเพื่อนบ้านของชายที่ถูกโจรปล้น” เขาตอบว่า “คือคนที่เมตตาเขา” พระเยซูจึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงไปทำเหมือนอย่างนั้นเถิด”[24] Source ปีเตอร์ อัมสเตอร์ดัม
ไม่ใช่ชาวคริสต์ทุกคนที่เชื่อว่า คนศาสนาอื่นจะต้องตกนรก
ส่วนตัวคิดว่าเป็นความเชื่อสมัยล่าอาณานิคม ที่ขัดต่อคำสอนของพระเยซู
เพราะมันขัดต่อคำสอนเรื่องชาวสะมาเรียครับ
ใจความคือ ต่อให้เป็นคนต่างศาสนาแต่รักและเอื้ออาทรผู้อื่น
ก็จะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า
มากว่าชาวคริสต์ที่อ้างตัวว่าเคร่งครัด แต่ตั้งแง่รังเกียจคนอื่นด้วยซ้ำ
ถ้าทำให้รำคาญต้องขออภัยด้วยนะครับ
อยากหาพื้นที่ชี้แจงเรื่องนี้
หรือถ้าท่านอื่นมีความเชื่อที่แตกต่างโต้แย้งได้เลยนะครับ
ที่ผ่านมาการแลกเปลี่ยนความเห็นในห้องนี้
ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรเยอะเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้