สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ผมเปรียบเทียบให้ฟัง ประเทศก็เหมือนบ้านนี่ล่ะครับ
บ้านกรีซเงินไม่ค่อยมี แต่อยู่กันหรูหรา คนในบ้านก็หาเงินไม่ค่อยได้แต่ใช้กันไม่ประหยัด
แต่จมไม่ลงยังไปกู้มากินเที่ยว ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซื้อรถ ซื้อไอโฟน
แถมชอบชอบจ้างโชว์มาแสดงอีก จัดโอลิมปิคก็เหมือนจัดโชว์ให้เพื่อนบ้านดูฟรี
ยิ่งกู้มากขึ้นๆ เครดิตก็แย่ลงๆ ดอกเบี้ยก็สูงเอาๆไปๆมาๆ 29%
ตอนนี้ทบต้นทบดอกยอดเงินกู้ไปเกือบ 180% ของรายได้ต่อปีของทั้งบ้าน
ถามว่าบ้านนี้เดือดร้อนไหม คำตอบคือเดือดร้อนมาก ต่อไปจะกินอะไรเข้าไป
ส่วนบ้านญี่ปุ่นนั้นต่างกัน บ้านนี้เขารวย ลุงป้าน้าอาเงินเก็บเต็มไปหมด แถมนิสัยประหยัดมัธยัสถ์
แต่พ่อบ้านเห็นว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปจะเฉื่อยชากันหมด ลูกหลานก็ไม่มีเงินไปต่อเงิน
พ่อบ้านก็เลยตัดสินใจกู้เงินลุงป้าน้าอาในบ้านมาให้เด็กๆเปิดร้านขนม ร้านไอติม หารายได้กัน
แถมเอาไปปล่อยกู้ให้บ้านใกล้เรือนเคียงด้วย แต่ลุงป้าน้าอาก็ไม่รู้จะเอาเงินไปลงที่ไหน ก็เลยคิดพ่อบ้านแบบดอกเบี้ยต่ำๆ 1-2%
ผลก็คือพ่อบ้านติดหนี้ลุงป้าน้าอา 270% ของรายได้ต่อปีของทั้งบ้าน
ถามว่าทำไมมันเยอะจังก็เพราะแรงงานในบ้านมีแต่คนแก่ ค่าแรงมันเลยแพง เทียบกับฐานเงินเดิมเลยดูเยอะ
แต่ถามว่าใครเดือดร้อน คำตอบคือไม่มี ลุงป้าน้าอาก็ไม่รู้จะเอาเงินไปทำไร กินดอก 1-2% ก็อิ่มแล้วก็อยู่กันไปสบายๆ
พ่อบ้านคนใหม่มาก็มีแนวคิดจะคืนเงินลุงป้าน้าอาให้เร็วขึ้น ก็เร่งลงทุนเพิ่มเข้าไปอีกหวังจะให้เด็กๆเร่งกันทำมาหากิน
ทั้งเปิดการท่องเที่ยว เปิดร้านอาหารครัวในบ้าน เปิดสวนสนุกในบ้านเก็บค่าผ่านประตูเสียอีก
ส่วนบ้านเรานั้น เคยเดินทางเดียวกับบ้านกรีซมาแล้ว จนใครๆเรียกว่าบ้านต้มยำกุ้ง
ก็ได้บทเรียนกันมาสบักสบอมจนหลังๆก็เริ่มรู้จักขยันหมั่นเพียร ประหยัดอดออมกันมากขึ้น
แต่ก็ไม่วายมีลูกหลานติดอู้ฟู่ ใช้เงินกันฟุ่มเฟือย เทรนด์อะไรมาต้องมีเหมือนเพื่อน
หลานชายก็ติดเกม ติดหญิง ติดคาร์บอนเฟรม บิ๊กไบค์ ฟลูเฟรม
หลานสาวก็ติดพราด้า คริสเตียนลูบูแตง ติดเซลฟี่ อินสตราแกรม
ผู้ใหญ่ก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน คอยแต่จ้องจะช่วงชิงมรดก
ฝ่ายขวาก็กลัวนั้นกลัวนี้ พอได้เป็นใหญ่ก็ไม่ทำไรมัวแต่คอยกันท่าฝ่ายซ้าย
ฝ่ายซ้ายพอได้ที ก็มาเป็นใหญ่ในบ้าน คอยให้ท้ายลูกๆหลานๆ
คอยเอาเงินกงสีมาถลุงมาแจก แจกเงินให้คนละแสนไปดาว์นรถเก๋งขับ
สุดท้ายฝ่ายกลางเข้ามาไล่ออกไปทั้งซ้ายขวา เริ่มกันใหม่
แต่ก็ไม่ใช้งานง่ายๆ จะดัดนิสัยทั้งลูกหลานและลุงป้าน้าอา มันอีรุงตุงนังไปหมด
บ้านกรีซเงินไม่ค่อยมี แต่อยู่กันหรูหรา คนในบ้านก็หาเงินไม่ค่อยได้แต่ใช้กันไม่ประหยัด
แต่จมไม่ลงยังไปกู้มากินเที่ยว ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ซื้อรถ ซื้อไอโฟน
แถมชอบชอบจ้างโชว์มาแสดงอีก จัดโอลิมปิคก็เหมือนจัดโชว์ให้เพื่อนบ้านดูฟรี
ยิ่งกู้มากขึ้นๆ เครดิตก็แย่ลงๆ ดอกเบี้ยก็สูงเอาๆไปๆมาๆ 29%
ตอนนี้ทบต้นทบดอกยอดเงินกู้ไปเกือบ 180% ของรายได้ต่อปีของทั้งบ้าน
ถามว่าบ้านนี้เดือดร้อนไหม คำตอบคือเดือดร้อนมาก ต่อไปจะกินอะไรเข้าไป
ส่วนบ้านญี่ปุ่นนั้นต่างกัน บ้านนี้เขารวย ลุงป้าน้าอาเงินเก็บเต็มไปหมด แถมนิสัยประหยัดมัธยัสถ์
แต่พ่อบ้านเห็นว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปจะเฉื่อยชากันหมด ลูกหลานก็ไม่มีเงินไปต่อเงิน
พ่อบ้านก็เลยตัดสินใจกู้เงินลุงป้าน้าอาในบ้านมาให้เด็กๆเปิดร้านขนม ร้านไอติม หารายได้กัน
แถมเอาไปปล่อยกู้ให้บ้านใกล้เรือนเคียงด้วย แต่ลุงป้าน้าอาก็ไม่รู้จะเอาเงินไปลงที่ไหน ก็เลยคิดพ่อบ้านแบบดอกเบี้ยต่ำๆ 1-2%
ผลก็คือพ่อบ้านติดหนี้ลุงป้าน้าอา 270% ของรายได้ต่อปีของทั้งบ้าน
ถามว่าทำไมมันเยอะจังก็เพราะแรงงานในบ้านมีแต่คนแก่ ค่าแรงมันเลยแพง เทียบกับฐานเงินเดิมเลยดูเยอะ
แต่ถามว่าใครเดือดร้อน คำตอบคือไม่มี ลุงป้าน้าอาก็ไม่รู้จะเอาเงินไปทำไร กินดอก 1-2% ก็อิ่มแล้วก็อยู่กันไปสบายๆ
พ่อบ้านคนใหม่มาก็มีแนวคิดจะคืนเงินลุงป้าน้าอาให้เร็วขึ้น ก็เร่งลงทุนเพิ่มเข้าไปอีกหวังจะให้เด็กๆเร่งกันทำมาหากิน
ทั้งเปิดการท่องเที่ยว เปิดร้านอาหารครัวในบ้าน เปิดสวนสนุกในบ้านเก็บค่าผ่านประตูเสียอีก
ส่วนบ้านเรานั้น เคยเดินทางเดียวกับบ้านกรีซมาแล้ว จนใครๆเรียกว่าบ้านต้มยำกุ้ง
ก็ได้บทเรียนกันมาสบักสบอมจนหลังๆก็เริ่มรู้จักขยันหมั่นเพียร ประหยัดอดออมกันมากขึ้น
แต่ก็ไม่วายมีลูกหลานติดอู้ฟู่ ใช้เงินกันฟุ่มเฟือย เทรนด์อะไรมาต้องมีเหมือนเพื่อน
หลานชายก็ติดเกม ติดหญิง ติดคาร์บอนเฟรม บิ๊กไบค์ ฟลูเฟรม
หลานสาวก็ติดพราด้า คริสเตียนลูบูแตง ติดเซลฟี่ อินสตราแกรม
ผู้ใหญ่ก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกัน คอยแต่จ้องจะช่วงชิงมรดก
ฝ่ายขวาก็กลัวนั้นกลัวนี้ พอได้เป็นใหญ่ก็ไม่ทำไรมัวแต่คอยกันท่าฝ่ายซ้าย
ฝ่ายซ้ายพอได้ที ก็มาเป็นใหญ่ในบ้าน คอยให้ท้ายลูกๆหลานๆ
คอยเอาเงินกงสีมาถลุงมาแจก แจกเงินให้คนละแสนไปดาว์นรถเก๋งขับ
สุดท้ายฝ่ายกลางเข้ามาไล่ออกไปทั้งซ้ายขวา เริ่มกันใหม่
แต่ก็ไม่ใช้งานง่ายๆ จะดัดนิสัยทั้งลูกหลานและลุงป้าน้าอา มันอีรุงตุงนังไปหมด
แสดงความคิดเห็น
ยุ่นปี่ คือ กรีซ รายต่อไป?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 มิถุนายน 2558 09:44 น.
ผู้นำญี่ปุ่นมั่นใจไม่ย่ำรอยกรีซ แม้หนี้สาธารณะพุ่งสูงถึง 230%
นายกรัฐมนตรีชินโสะ อะเบะ ประกาศว่าญี่ปุ่นจะไม่พบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนกับประเทศกรีซ ถึงแม้สัดส่วนหนี้สินต่อจีดีพีของญี่ปุ่นจะสูงกว่ากรีซที่กำลังใกล้จะล้มลายในขณะนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงมั่นใจว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า “อะเบะโนมิกส์” จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยที่ซบเซามากกว่า 10 ปีได้ ถึงแม้ว่าแผนดังกล่าวจะทำให้สัดส่วนหนี้สินสาธารณะของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ตลาด โดยญี่ปุ่นมีหนี้สินต่อจีดีพีในปี 2014 สูงถึง 230% ซึ่งมากกว่ากรีซที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะราว189%
นายอากิระ อะมาริ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ระบุว่า มาตรการรัดเข็มรัดและลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกรีซ ตามเงื่อนไขเงินกู้ของสหภาพยุโรป ทำให้เศรษฐกิจของกรีซทรุดหนักยิ่งกว่าเดิม และรัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ทำแบบเดียวกัน
รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตเพื่อลดหนี้สิน มากกว่าจะตัดลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ โดยตั้งเป้าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 3% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เคยทำได้มาก่อนในรอบ 15 ปี แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจ “อะเบะโนมิกส์” ทำให้ญี่ปุ่นมีชีวิตชีวามากขึ้น แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังล่าช้า และทำไม่ได้ตามเป้าหมาย