เมื่อปีก่อนเคยบอกไว้ว่าอยากให้คุณติ๊กได้รางวัลทางการแสดงติดไม้ติดมือซักรางวัลสำหรับบท "เขมชาติ" เนื่องจากมีความรู้สึกว่า "เกินคาด" ในความเป็น "เขมชาติ" ที่คุณติ๊กถ่ายทอดไว้อย่างที่เขมชาติควรเป็น เหมือนเดินออกมาจากหนังสือยังไงยังงั้น และ เราว่าการถ่ายทอดตัวละครตัวนี้เรียกว่าเป็นอันดับต้น ๆ ในบทและงานละครที่คุณติ๊กเคยรับมาเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีความรู้สึกแบบว่าแรงกล้ามาก ๆ ที่อยากให้คุณติ๊กกล่องได้อะไรอันแสดงถึงความมีฝีมือของคุณติ๊กในบทบาทของผู้ชายคนนี้ คนที่ทำลายได้แม้แต่ตัวเองอย่าง "เขมชาติ"
ตัวละครแต่ละตัว บทบาทแต่ละบทบาท เราว่ามันมีดีกรีความยากในตัวของมัน ดราม่า ตลก แอ็คชั่น โรแมนติค การถ่ายทอดตัวละครก็ออกจะมีความยากง่ายในเนื้องานเป็นไปตามบริบท กรณีงานดราม่าส่วนที่ยากก็น่าจะเป็นส่วนของอารมณ์ เล่นมากไปก็โอเว่อร์ เล่นน้อยไปคนดูก็ไม่รู้สึก เล่นไม่มีมิติตัวละครก็จะแบน อะไรทำนองนั้น ตัวบท "เขมชาติ" เอง เป็นตัวละครที่มีมิติความตื้นลึกอยู่ในตัว ไม่ใช่ตัวละครที่ดูออกง่าย ๆ หากเทียบกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องเดียวกันแล้ว ความซับซ้อนดูจะมากกว่าใครทั้งหมด แม้กระทั่งตัวสุริยาวดีก็ยังซับซ้อนไม่สู้ แต่แม้ไม่ซับซ้อนเท่า บทสุริยาวดีก็เป็นบทที่เล่นยากสุด ๆ เช่นกัน เพราะ มาทั้งสุริยาวดี(นักศึกษา) สุริยง (ตอนโดนโขกสับ) และ สุริยง (ภาคเจ้าแม่กาลีเหยียบอกองค์อิศวร) โดยเฉพาะตอนที่เป็นสุริยง(โดนโขกสับ)แล้ว ในความนิ่ง เงียบ และ ยอมรับโชคชะตา ใบหน้าที่ "เหมือนไม่มีอะไร" แต่เมื่อมองในแววตากลับ "มี" และ ยอมรับกับตัวเองว่าอะไรเกิดขึ้น ... ต้องเล่นน้อยแต่ได้เยอะ
ส่วนเขมชาติ ... เป็นส่วนที่ตรงกันข้าม เห็นหน้ารู้ว่ามีอะไร แต่ต้องบอกตัวเองบอกคนดูให้ได้ว่า "ไม่มี" ย้ำกับตัวเอง ย้ำกับคนอื่นจนเชื่อว่า "ไม่มีอะไร" ทั้ง ๆ ที่ "มี" และมีมากด้วย แต่ตัวเองไม่ยอมรับความจริงแม้กระทั่งเวลาที่อยู่คนเดียว ผู้ที่รับบทเขมชาติมีหน้าที่พาคนดูขึ้น "รถไฟเหาะ" นะ เพราะอาการซับซ้อนในความมีไม่มีอารมณ์ต่อสุริยาวดีหรือสุริยงนี่แหละเป็นเหตุ โดยตัวละครเองถ้าให้เป็นสี เขมชาติจะออกไปทางเทาดำ คำว่า "ร้าย" และ "เลว" แปะหัว หากในการดีไซน์บทและคาแร็คเตอร์ ดูแล้วคนต้องมีใจสงสารเขาด้วยในบางโอกาส ดังนั้นก็ตกหนักอยู่ที่คนเล่น เพราะต้องทำอารมณ์ให้ถึงทั้งพาร์ทน่าชัง และ พาร์ทน่าเห็นใจ ถ้าพังที่พาร์ทน่าชังเนื้อเรื่องก็คลายความเข้มข้นไปต่อไม่ถูก ถ้าพังที่พาร์ทน่าเห็นใจพื้นเพและเหตุผลในการกระทำที่บทปูมาทั้งหมดก็ไร้ซึ่งความหมายให้คนดูอิน
ความขึ้นลงของเขมชาตินั่นมาบ่อยและมาถี่ เรียกว่าจะหงายไพ่หน้าไหนนักแสดงต้องสื่อให้รู้ หน้าจริง หน้าหลอก หรือ หน้าสับสน บางทีมันมาแวบเดียวแต่เราดูออกนะว่า อ้อ มาล่ะ นั่นตัวจริงเขา ซึ่งพัฒนาการตัวละครตัวนี้หน้าจริงมันจะค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแม้แต่ตอนที่อยู่คนเดียวก็ยังไม่ปล่อยหน้าจริงให้ออกมา เป็นไปตามความคลุ้มคลั่งในใจที่เพิ่มขึ้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความลำบาก เพราะ ตัวละครตัวนี้ไม่มีใคร คลั่งอยู่กับความคิดตัวเอง ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ใจที่แท้จริงเป็นอย่างไร และ บางทีตัวเองก็ยังไม่รู้เลยว่าสรุปแล้วนี่กำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นส่วนใหญ่ก็ต้องบิ้วกันเอง
แล้วพอความคลั่งถึงขีดสุดตัวละครตัวนี้ไม่เพียงแค่แผนที่ตั้งใจทำลายคน ๆ เดียว … จริง ๆ น่าจะเรียกว่าแผนที่พยายามทำเรียกร้องความสนใจให้เขาหันมองมากกว่า ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล มันจึงหนักข้อไปถึงขั้นทำลายตัวเอง นาทีที่ไม่ว่าจะหน้าไหนยังไงก็ไม่สน สนแต่เพียงว่าจะทำยังไงให้สุริยาวดีสนใจ ทุกขั้นตอนกว่าจะไปถึงตรงนั้น เขมชาติทำร้าย และ ทำลายสุริยาวดี ซึ่งมันกลายเป็นการทำร้ายและทำลายตัวเขมชาติเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำหนึ่งครั้งสะใจหนึ่งครั้ง กลับมาเจ็บกลับมาเสียใจอีกหนึ่งครั้ง และ บิ้วตัวเองใหม่ให้ไปทำร้ายเขาอีกครั้ง เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นในหนึ่งฉากสั้น ๆ สิ่งที่นักแสดงต้องทำให้ได้คือไปให้ถึงทั้ง 3 อารมณ์ในคราวเดียว
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรามองเห็นในตัวละครเขมชาติผ่านตัวคุณติ๊ก เห็นผู้ชายที่พยายามจะก้าวข้ามผ่านอดีตแต่สุดท้ายยังติดอยู่ที่เดิม ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็วางไม่ได้ ทำร้ายคนอื่นก็แล้ว ทำลายตัวเองก็แล้ว ไม่เกิดผลอะไรนอกจากความเสียใจ และพังพินาศไปเองในที่สุด เห็นทุกมิติทั้งความสว่างใสของหนุ่มน้อยสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ความมืดดำที่ครอบคลุมจิตใจ ความเจ็บปวดเจียนกระอัก จากการที่ต้องหายไปจากความทรงจำของใครบางคน ที่สัญญาว่าจะไม่ลืมกัน
เชื่อว่า “เขมชาติ” จะต้องเป็น masterpiece ในใจคนดูยาว ๆ อย่างแน่นอน ต่อให้ไม่มีรางวัลอะไรติดไม้ติดมือก็ตาม
ควันหลงนาฏราช : แด่เขมชาติ (อีกซักครั้ง) ... ขอเขียนถึงผู้ชายที่ทำลายได้แม้แต่ตัวเอง
ตัวละครแต่ละตัว บทบาทแต่ละบทบาท เราว่ามันมีดีกรีความยากในตัวของมัน ดราม่า ตลก แอ็คชั่น โรแมนติค การถ่ายทอดตัวละครก็ออกจะมีความยากง่ายในเนื้องานเป็นไปตามบริบท กรณีงานดราม่าส่วนที่ยากก็น่าจะเป็นส่วนของอารมณ์ เล่นมากไปก็โอเว่อร์ เล่นน้อยไปคนดูก็ไม่รู้สึก เล่นไม่มีมิติตัวละครก็จะแบน อะไรทำนองนั้น ตัวบท "เขมชาติ" เอง เป็นตัวละครที่มีมิติความตื้นลึกอยู่ในตัว ไม่ใช่ตัวละครที่ดูออกง่าย ๆ หากเทียบกับตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องเดียวกันแล้ว ความซับซ้อนดูจะมากกว่าใครทั้งหมด แม้กระทั่งตัวสุริยาวดีก็ยังซับซ้อนไม่สู้ แต่แม้ไม่ซับซ้อนเท่า บทสุริยาวดีก็เป็นบทที่เล่นยากสุด ๆ เช่นกัน เพราะ มาทั้งสุริยาวดี(นักศึกษา) สุริยง (ตอนโดนโขกสับ) และ สุริยง (ภาคเจ้าแม่กาลีเหยียบอกองค์อิศวร) โดยเฉพาะตอนที่เป็นสุริยง(โดนโขกสับ)แล้ว ในความนิ่ง เงียบ และ ยอมรับโชคชะตา ใบหน้าที่ "เหมือนไม่มีอะไร" แต่เมื่อมองในแววตากลับ "มี" และ ยอมรับกับตัวเองว่าอะไรเกิดขึ้น ... ต้องเล่นน้อยแต่ได้เยอะ
ส่วนเขมชาติ ... เป็นส่วนที่ตรงกันข้าม เห็นหน้ารู้ว่ามีอะไร แต่ต้องบอกตัวเองบอกคนดูให้ได้ว่า "ไม่มี" ย้ำกับตัวเอง ย้ำกับคนอื่นจนเชื่อว่า "ไม่มีอะไร" ทั้ง ๆ ที่ "มี" และมีมากด้วย แต่ตัวเองไม่ยอมรับความจริงแม้กระทั่งเวลาที่อยู่คนเดียว ผู้ที่รับบทเขมชาติมีหน้าที่พาคนดูขึ้น "รถไฟเหาะ" นะ เพราะอาการซับซ้อนในความมีไม่มีอารมณ์ต่อสุริยาวดีหรือสุริยงนี่แหละเป็นเหตุ โดยตัวละครเองถ้าให้เป็นสี เขมชาติจะออกไปทางเทาดำ คำว่า "ร้าย" และ "เลว" แปะหัว หากในการดีไซน์บทและคาแร็คเตอร์ ดูแล้วคนต้องมีใจสงสารเขาด้วยในบางโอกาส ดังนั้นก็ตกหนักอยู่ที่คนเล่น เพราะต้องทำอารมณ์ให้ถึงทั้งพาร์ทน่าชัง และ พาร์ทน่าเห็นใจ ถ้าพังที่พาร์ทน่าชังเนื้อเรื่องก็คลายความเข้มข้นไปต่อไม่ถูก ถ้าพังที่พาร์ทน่าเห็นใจพื้นเพและเหตุผลในการกระทำที่บทปูมาทั้งหมดก็ไร้ซึ่งความหมายให้คนดูอิน
ความขึ้นลงของเขมชาตินั่นมาบ่อยและมาถี่ เรียกว่าจะหงายไพ่หน้าไหนนักแสดงต้องสื่อให้รู้ หน้าจริง หน้าหลอก หรือ หน้าสับสน บางทีมันมาแวบเดียวแต่เราดูออกนะว่า อ้อ มาล่ะ นั่นตัวจริงเขา ซึ่งพัฒนาการตัวละครตัวนี้หน้าจริงมันจะค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแม้แต่ตอนที่อยู่คนเดียวก็ยังไม่ปล่อยหน้าจริงให้ออกมา เป็นไปตามความคลุ้มคลั่งในใจที่เพิ่มขึ้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความลำบาก เพราะ ตัวละครตัวนี้ไม่มีใคร คลั่งอยู่กับความคิดตัวเอง ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ใจที่แท้จริงเป็นอย่างไร และ บางทีตัวเองก็ยังไม่รู้เลยว่าสรุปแล้วนี่กำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นส่วนใหญ่ก็ต้องบิ้วกันเอง
แล้วพอความคลั่งถึงขีดสุดตัวละครตัวนี้ไม่เพียงแค่แผนที่ตั้งใจทำลายคน ๆ เดียว … จริง ๆ น่าจะเรียกว่าแผนที่พยายามทำเรียกร้องความสนใจให้เขาหันมองมากกว่า ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล มันจึงหนักข้อไปถึงขั้นทำลายตัวเอง นาทีที่ไม่ว่าจะหน้าไหนยังไงก็ไม่สน สนแต่เพียงว่าจะทำยังไงให้สุริยาวดีสนใจ ทุกขั้นตอนกว่าจะไปถึงตรงนั้น เขมชาติทำร้าย และ ทำลายสุริยาวดี ซึ่งมันกลายเป็นการทำร้ายและทำลายตัวเขมชาติเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำหนึ่งครั้งสะใจหนึ่งครั้ง กลับมาเจ็บกลับมาเสียใจอีกหนึ่งครั้ง และ บิ้วตัวเองใหม่ให้ไปทำร้ายเขาอีกครั้ง เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดังนั้นในหนึ่งฉากสั้น ๆ สิ่งที่นักแสดงต้องทำให้ได้คือไปให้ถึงทั้ง 3 อารมณ์ในคราวเดียว
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรามองเห็นในตัวละครเขมชาติผ่านตัวคุณติ๊ก เห็นผู้ชายที่พยายามจะก้าวข้ามผ่านอดีตแต่สุดท้ายยังติดอยู่ที่เดิม ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็วางไม่ได้ ทำร้ายคนอื่นก็แล้ว ทำลายตัวเองก็แล้ว ไม่เกิดผลอะไรนอกจากความเสียใจ และพังพินาศไปเองในที่สุด เห็นทุกมิติทั้งความสว่างใสของหนุ่มน้อยสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ความมืดดำที่ครอบคลุมจิตใจ ความเจ็บปวดเจียนกระอัก จากการที่ต้องหายไปจากความทรงจำของใครบางคน ที่สัญญาว่าจะไม่ลืมกัน