มีโอกาสได้อ่านหนังสือ The Business of the 21st Century (ธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21) จากคำแนะนำของคุณพอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ เมื่อโค้ชแนะนำมาแบบนั้นก็ไม่พลาดที่จะมีไว้ครอบครองทันที เล่มนี้เป็นหนึ่งใน Series ของ Rich Dad เขียนโดย Robert T. Kiyosaki ยังไม่มีตีพิมพ์เป็นภาษาไทย เล่มนี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับทุกคนที่กำลังมองหาการลงทุน ธุรกิจที่ใช่ รายได้ที่มั่งคั่งและมั่นคง รวมถึงการไปสู่อิสรภาพทางการเงิน เพื่อหลุดพ้นจากความไม่ปลอดภัยรอบตัว เศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องยากจะฟื้นตัว ปลาใหญ่เท่านั้นที่รอดขณะที่ปลาเล็กลอยคอตายที่ละเป็นฝูง เมื่อ SME ไม่รอด พนักงานกินเงินเดือนก็ถูกมองเป็นแค่ค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ต้องรีบกำจัดออกเพื่อรักษาชีวิต ในยุคข้าวยากหมากแพงแบบนี้ หากไม่คิดจะปรับตัว เห็นตรงกันได้ว่าอยู่ยากขึ้นทุกที
แค่คำนำจากผู้เขียน Robert T. Kiyosaki มหาเศรษฐีระดับโลก ด้วยวลีที่ว่า “The Economy is not the issue. The Issue is you. (ปัญหาไม่ใช่ที่เศรษฐกิจ ปัญญาคือตัวคุณนั่นแหละ)” แค่นี้ก็ทำให้เราร้อนก้นต้องหันมาตระหนักและคิดทำบางสิ่งบางอย่างกันเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เดี๋ยวก่อน ผู้เขียนเตือนสติพวกเราว่า นานแค่ไหนแล้วที่เราพร่ำบ่นกับการคอรัปชั่นโกงกิน โกรธเคืองกับการบริหารประเทศที่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเฟื่องฟูได้ ร้องเรียกสิทธิจากบริษัทชั้นนำที่ปลดพนักงานแบบไม่มีจริยธรรม...เคยหันกลับมามองแล้วโมโหตัวเองบ้างมั้ยที่เราไม่สามารถควบคุมอนาคตทางการเงินของเราได้เลย ชีวิตคนเราก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายขนาดที่เราจะไม่ลุกขึ้นมารับผิดชอบอะไรเลย ถ้าเราอยากเป็นคนมั่งคั่ง ถึงเวลาแล้วที่เราจะกำหนดชะตาชีวิตทางการเงินด้วยการเข้าควบคุมแหล่งที่มาของรายได้ของตัวเอง ซึ่งนั้นหมายความว่าเราจำเป็นต้องมีธุรกิจของเราเอง...ถึงตรงนี้ทุกคนอาจหงายหลัง จะไปทำอะไรได้? ในยุคที่แค่หายใจก็เครียดแล้ว ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า หลายต่อหลายบริษัทยักษ์ใหญ่sizeกว่าหมื่นล้านบาทอย่าง Microsoft และ Disney ทั้งคู่ต่างก็ก่อต่อขึ้นระหว่างยุคเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นให้เข้าใจเลยว่าหากเราจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่มีช่วงเวลาใดที่จะเหมาะไปกว่าตอนนี้อีกแล้ว แค่เราต้องล่วงรู้คำตอบที่สำคัญที่สุดคือ อะไรคือธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21?
ถ้าเรายังต้องอยู่ให้รุ่งไม่ใช่แค่รอดในศตวรรษนี้ หนังสือเล่มนี้นับว่าสำคัญมากที่จะมีไว้เป็นที่ปรึกษาชี้ทางสว่าง แต่หนังสือค่อนข้างหายาก หากต้องการซื้อในไทยสามารถหาได้ที่ Kinokuniya หรือติดตามจาก
www.money-journey.com ที่จะมารีวิวหนังสือให้เพื่อนๆได้ความรู้ไปพร้อมๆกัน ติดตามได้จากบทความตอนต่อไปนะคะ
ลงทุนอะไรดีในศตวรรษที่ 21 ตอนที่1-ผ่าประวัติศาสตร์ระบบเงินเดือน ยังรุ่งเรืองในยุคนี้หรือไม่?
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมามีแต่ข่าวร้ายของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ไม่มีทีท่าจะฟื้นตัว บางคนถึงกับกล่าวว่า นับเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเลวร้ายที่สุดแล้วในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ผู้คนมากมายมีการใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน เงินเก็บพร่องลงทุกที ต้องยอมรับว่าไม่มีอีกแล้วสำหรับคำว่า “งานประจำที่มั่นคง” สมัยรุ่นปู่ย่า พวกเราต่างถูกพร่ำสอนมาด้วยสูตรสำเร็จเดียวกันคือ ตั้งใจเรียนให้เก่ง สอบได้คะแนนดีๆ เรียนจบสูงๆ ได้งานดีๆทำ แล้วงานที่มั่นคงจะดูแลชีวิตเราเอง ประโยคนี้เคยเป็นจริงในวันที่โลกอยู่ในยุคอุตสาหกรรมซึ่งหมายถึงตั้งแต่ปี 1760 จนถึงช่วงปลาย ของศตวรรษที่ 20....ก่อนจะฝากชีวิตไว้กับการทำงานประจำ หรือเชื่อมั่นว่าการหางานทำเป็นเส้นทางปกติที่จะพาไปสู่ความมั่งคั่งทางการเงิน หรือความสำเร็จในชีวิต มารู้กันซักหน่อยดีกว่าว่าระบบเงินเดือนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วยังคงรุ่งเรืองในยุคนี้หรือไม่?
ย้อนกลับไปยุคเกษตรกรรม สมัยนั้นทุกคนเป็นนายตัวเอง ทำมาหากินอยู่บนที่ดินของกษัตริย์และตอบแทนด้วยการเสียภาษีสำหรับการใช้สิทธิ์บนพื้นที่นั้น มีทั้งชาวนา ช่างไม้ ช่างทำขนม ช่างเสื้อ ช่างรองเท้า ทุกคนล้วนมีกิจการเล็กๆของตัวเอง จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการของแรงงานเฉพาะทางขึ้น รัฐบาลจึงได้พัฒนาระบบการศึกษาขึ้นมารองรับ เกิดเป็นสาขาวิศวกรรม แพทย์ พยาบาล บัญชีการเงิน การบริหารบุคคลากร อาจารย์ เป็นต้น ทั้งหมดเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดให้ลูกหลานชาวนา ช่างไม้ ช่างทำขนมทั้งหลาย ย้ายถิ่นฐานจากบ้านจากเมืองมาอยู่ในเขตอุตสาหกรรม โดยมีผลตอบแทนที่มั่นคง มีสวัสดิการคุ้มครอง และเขาเหล่านั้นสามารถส่งเงินกลับภูมิลำเนาตัวเองทุกเดือนๆ ยกตัวอย่างเช่น ข้อกำหนดเรื่องอายุการเกษียณ เริ่มมีขึ้นในปี 1889 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Otto von Bismarck นับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอายุการเกษียณ โดยตั้งไว้ที่ 65ปี เป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากอายุไขเฉลี่ยประชากร ณ ขณะนั้นที่อยู่ที่ 45ปี รวมถึงกฎหมายภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่คิดภาษีเป็นขั้นบันไดตามฐานรายได้ต่อปี
ทั้งหมดที่พูดมาคือผ่านมา 100กว่าปีแล้ว!!! ปัจจุบันปี 2015 หรืออยู่ในศตวรรษที่21 โลกก้าวเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารแบบเต็มตัว แต่เรายังคงระบบเดิม การศึกษาเดิม ข้อกำหนดเดิม กฎหมายเดิม ที่เคยเวิร์คในยุคอุตสาหกรรม มาใช้กับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อำนาจทางการเงินเปลี่ยนมือจากเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมสู่เจ้าของช่องทางจัดจำหน่าย ยอดการซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดจริงลดลงแทนที่ด้วยการเติบโตมากมายในโลกออนไลน์ มหาเศรษฐีหน้าใหม่ล้วนมาจากการเป็นเจ้าของเครือข่ายที่มีระบบ ได้แก่ Facebook McDonald KFC Amazon Alibaba
โดยสรุปความต้องการแรงงานลดลงถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ แต่การศึกษาและกรอบความเชื่อเดิมยังคงส่งเสริมและป้อนแรงงานทะลักเข้าสู่ตลาดทุกปีทุกปี การฝากชีวิตไว้กับระบบเงินเดือนอย่างเดียวไม่มั่นคงอีกต่อไป ความมั่นคงในชีวิตเริ่มต้นจากการมีความรู้จริงเรื่องการเงิน การวางแผนการเงินในชีวิตอย่างรอบคอบ การสร้างรายได้ การสร้างสินทรัพย์ การบริหารหนี้สิน การออมเงิน รวมถึงการลงทุน ถึงเวลาที่ต้องเข้าควบคุมอนาคตทางการเงินของเราด้วยตัวเราเอง ติดตามเนื้อหาเข้มข้นของหนังสือ The Business of the 21st Century ที่จะพาเราเปิดโลกของธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทความตอนต่อๆไปหรือเข้าไปดูได้ที่
www.money-journey.com กับความรู้สู่อิสรภาพทางการเงินมากมาย
ลงทุนอะไรดีในศตวรรษที่ 21 ตอนที่2-การเงินสะท้อนตัวตนที่แท้จริง
หลายคนพร้อมเริ่มต้นกำหนดอนาคตทางการเงินของตนเอง ก่อนจะออกเดินทางไปสร้างความมั่งคั่ง สิ่งสำคัญไปกว่านั้นคือรู้ว่า "ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน แล้วอะไรพาเรามายืนอยู่ตรงจุดนี้"... จากหนังสือขายดียอดนิยมตลอดกาล Cash 4 Quadrant เงิน4ด้าน ของผู้เขียน Robert T. Kiyosaki ได้นิยามแหล่งรายได้ของคนบนโลกนี้ออกเป็น 4 ด้าน และที่แต่ละคนเลือกที่อยู่ในแต่ละด้านที่ต่างกันไม่ได้มาจากการจับสลาก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด แต่มาจากวิธีคิด สิ่งที่ให้คุณค่า จุดอ่อน จุดแข็ง และ สิ่งที่ให้ความสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราที่แตกต่างกัน มาดูกันนะคะว่าใครอยู่ด้านไหนของเงิน 4 ด้าน สังเกตง่ายๆจากสิ่งที่เขาเป็นและสิ่งที่เขาสื่อสาร
E (Employee) : พนักงานรับเงินเดือน กลุ่มนี้ทำงานให้คนอื่น หรือบริษัทที่ไม่ใช่ของตัวเอง จะได้ยินคำว่า "อยากมีชีวิตที่มั่งคง" “ฉันอยากได้งานดีๆ ในบริษัทใหญ่ๆ” "ทำแบบนั้นมันเสี่ยงเกินไปรึป่าว” สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ถือความมั่นคงเป็นหลัก ไม่ชอบความเสี่ยง
S (Self-Employed) : เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึง ฟรีแลนซ์ นักร้อง นักแสดง นักกีฬา กลุ่มนี้ทำงานให้กับตัวเอง โดยการใช้ศักยภาพส่วนตัว จะได้ยินคำว่า "ฉันไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร" "ไม่มีใครทำอะไรถูกใจ ฉันต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน" "ลูกน้องที่ไว้ใจได้ เดี๋ยวนี้หายาก" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ชอบอิสระ ไม่ค่อยไว้วางใจใคร เป็นลักษณะ one man show
B (Business owner) : เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่มีระบบดำเนินงาน กลุ่มนี้สร้างระบบแล้วให้ระบบทำเงินแทนเรา จะได้ยินคำว่า "ฉันต้องหาคนเก่งๆมาร่วมทีม" "เราไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แต่เราแค่มีทีมที่เก่งที่สุดก็พอ" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้โฟกัสสร้างระบบเพื่อทำงานแทน หรือหาคนเก่งๆในแต่ละด้านมาทำงานแทนเขา
I (Investor) : นักลงทุน กลุ่มนี้ใช้เงินมหาศาลทำงานแทนตัวเอง จะได้ยินคำว่า "ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่" "ปันผลกี่%" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้มุ่งเน้นการมีอิสรภาพทางการเงิน มองหาโอกาสให้เงินต่อยอดทำเงิน
บางคนอยู่ในหลายสถานะ แต่ด้านที่สร้างรายได้หลักนั้นหล่ะสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของเรา ที่นี่จากความเข้าใจเรื่องเงิน 4 ด้านเราสามารถตอบคำถามได้ 2ข้อคือ หนึ่งคือ เราเป็นคนกลุ่มไหนของเงิน 4ด้าน และสองคือ แล้วจริงๆเราอยากเป็นคนกลุ่มไหนกันแน่
Robert กล่าวว่า ไม่ว่าจะอยู่ในด้านใดเราก็สามารถสร้างเงินเป็นคนร่ำรวยได้ แต่ถ้าเราเลือกเป็นคนมั่งคั่ง มีแค่ด้าน B และ I เท่านั้นที่ให้ได้ จริงๆแล้วเศรษฐีทั่วโลกเขาไม่ได้วัดกันที่จำนวนเงิน (quantity) อย่างเดียว แต่วัดกันที่คุณภาพของเงิน (quality) ด้วยว่าเป็นเงิน Active (มีมูลค่าในปัจจุบัน) หรือเงิน Passive (มีมูลค่าในอนาคต) หากยังไม่คุ้นเคยกับ 2คำนี้ สามารถอ่านได้ที่บทความ "เงินแบบไหนคือสเปกของเรา" นะคะ
จากคำนิยามของนิตยสาร Forbe
เศรษฐี คือ คนที่มีรายได้ 1ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปีโดยไม่ต้องทำงาน
มหาเศรษฐี คือคนที่มีรายได้ 1ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือนโดยไม่ต้องทำงาน
จะเห็นได้ว่าความมั่งคั่งแท้จริงแล้ววัดกันที่เวลา หรือพูดง่ายๆว่าใครสามารถอยู่แบบมีคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยมได้นานกว่ากันโดยไม่ต้องทำงาน เพราะความมั่งคั่งไม่ได้ดูว่าเรามีเงินเท่าไหร่ แต่ดูว่าเรามีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้เท่าไหร่ต่างหาก ถ้าคำตอบของเราคืออยากเป็นคนด้าน B และ I เพื่อสร้างความมั่งคั่ง เราต้องย้ายจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง หรือย้ายจากคนฝั่งซ้ายของเงิน 4ด้านไปยังฝั่งขวา แล้วมันย้ายยังไง? แน่นอน! ไม่เหมือนย้ายที่อยู่จากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งนะคะ แต่ฟังดีๆ มันคือการยกเครื่องวิธีคิด สิ่งที่ให้คุณค่า จุดอ่อน จุดแข็ง และ สิ่งที่ให้ความสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราทั้งหมดในตอนนี้ให้ระนาบและสอดคล้องกับคนสำเร็จที่อยู่ในด้านที่เราต้องการจะไป...สนุกสนานในการพาตัวเราย้ายที่อยู่ทางการเงินให้ได้ดังใจปรารถนาไปกับเนื้อหาเข้มข้นของหนังสือ The Business of the 21st Century ที่จะพาเราเปิดโลกของธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทความตอนต่อๆไปนะคะ หรือเข้าไปดูได้ที่
www.money-journey.com กับความรู้สู่อิสรภาพทางการเงินมากมาย
[CR] ลงทุนอะไรดีในศตวรรษที่ 21? อยากเป็นเศรษฐียุคนี้ กูรูเขาแนะนำอะไรกัน
แค่คำนำจากผู้เขียน Robert T. Kiyosaki มหาเศรษฐีระดับโลก ด้วยวลีที่ว่า “The Economy is not the issue. The Issue is you. (ปัญหาไม่ใช่ที่เศรษฐกิจ ปัญญาคือตัวคุณนั่นแหละ)” แค่นี้ก็ทำให้เราร้อนก้นต้องหันมาตระหนักและคิดทำบางสิ่งบางอย่างกันเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เดี๋ยวก่อน ผู้เขียนเตือนสติพวกเราว่า นานแค่ไหนแล้วที่เราพร่ำบ่นกับการคอรัปชั่นโกงกิน โกรธเคืองกับการบริหารประเทศที่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเฟื่องฟูได้ ร้องเรียกสิทธิจากบริษัทชั้นนำที่ปลดพนักงานแบบไม่มีจริยธรรม...เคยหันกลับมามองแล้วโมโหตัวเองบ้างมั้ยที่เราไม่สามารถควบคุมอนาคตทางการเงินของเราได้เลย ชีวิตคนเราก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายขนาดที่เราจะไม่ลุกขึ้นมารับผิดชอบอะไรเลย ถ้าเราอยากเป็นคนมั่งคั่ง ถึงเวลาแล้วที่เราจะกำหนดชะตาชีวิตทางการเงินด้วยการเข้าควบคุมแหล่งที่มาของรายได้ของตัวเอง ซึ่งนั้นหมายความว่าเราจำเป็นต้องมีธุรกิจของเราเอง...ถึงตรงนี้ทุกคนอาจหงายหลัง จะไปทำอะไรได้? ในยุคที่แค่หายใจก็เครียดแล้ว ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า หลายต่อหลายบริษัทยักษ์ใหญ่sizeกว่าหมื่นล้านบาทอย่าง Microsoft และ Disney ทั้งคู่ต่างก็ก่อต่อขึ้นระหว่างยุคเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นให้เข้าใจเลยว่าหากเราจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่มีช่วงเวลาใดที่จะเหมาะไปกว่าตอนนี้อีกแล้ว แค่เราต้องล่วงรู้คำตอบที่สำคัญที่สุดคือ อะไรคือธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21?
ถ้าเรายังต้องอยู่ให้รุ่งไม่ใช่แค่รอดในศตวรรษนี้ หนังสือเล่มนี้นับว่าสำคัญมากที่จะมีไว้เป็นที่ปรึกษาชี้ทางสว่าง แต่หนังสือค่อนข้างหายาก หากต้องการซื้อในไทยสามารถหาได้ที่ Kinokuniya หรือติดตามจาก www.money-journey.com ที่จะมารีวิวหนังสือให้เพื่อนๆได้ความรู้ไปพร้อมๆกัน ติดตามได้จากบทความตอนต่อไปนะคะ
ลงทุนอะไรดีในศตวรรษที่ 21 ตอนที่1-ผ่าประวัติศาสตร์ระบบเงินเดือน ยังรุ่งเรืองในยุคนี้หรือไม่?
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมามีแต่ข่าวร้ายของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ไม่มีทีท่าจะฟื้นตัว บางคนถึงกับกล่าวว่า นับเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเลวร้ายที่สุดแล้วในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ผู้คนมากมายมีการใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน เงินเก็บพร่องลงทุกที ต้องยอมรับว่าไม่มีอีกแล้วสำหรับคำว่า “งานประจำที่มั่นคง” สมัยรุ่นปู่ย่า พวกเราต่างถูกพร่ำสอนมาด้วยสูตรสำเร็จเดียวกันคือ ตั้งใจเรียนให้เก่ง สอบได้คะแนนดีๆ เรียนจบสูงๆ ได้งานดีๆทำ แล้วงานที่มั่นคงจะดูแลชีวิตเราเอง ประโยคนี้เคยเป็นจริงในวันที่โลกอยู่ในยุคอุตสาหกรรมซึ่งหมายถึงตั้งแต่ปี 1760 จนถึงช่วงปลาย ของศตวรรษที่ 20....ก่อนจะฝากชีวิตไว้กับการทำงานประจำ หรือเชื่อมั่นว่าการหางานทำเป็นเส้นทางปกติที่จะพาไปสู่ความมั่งคั่งทางการเงิน หรือความสำเร็จในชีวิต มารู้กันซักหน่อยดีกว่าว่าระบบเงินเดือนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วยังคงรุ่งเรืองในยุคนี้หรือไม่?
ย้อนกลับไปยุคเกษตรกรรม สมัยนั้นทุกคนเป็นนายตัวเอง ทำมาหากินอยู่บนที่ดินของกษัตริย์และตอบแทนด้วยการเสียภาษีสำหรับการใช้สิทธิ์บนพื้นที่นั้น มีทั้งชาวนา ช่างไม้ ช่างทำขนม ช่างเสื้อ ช่างรองเท้า ทุกคนล้วนมีกิจการเล็กๆของตัวเอง จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการของแรงงานเฉพาะทางขึ้น รัฐบาลจึงได้พัฒนาระบบการศึกษาขึ้นมารองรับ เกิดเป็นสาขาวิศวกรรม แพทย์ พยาบาล บัญชีการเงิน การบริหารบุคคลากร อาจารย์ เป็นต้น ทั้งหมดเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดให้ลูกหลานชาวนา ช่างไม้ ช่างทำขนมทั้งหลาย ย้ายถิ่นฐานจากบ้านจากเมืองมาอยู่ในเขตอุตสาหกรรม โดยมีผลตอบแทนที่มั่นคง มีสวัสดิการคุ้มครอง และเขาเหล่านั้นสามารถส่งเงินกลับภูมิลำเนาตัวเองทุกเดือนๆ ยกตัวอย่างเช่น ข้อกำหนดเรื่องอายุการเกษียณ เริ่มมีขึ้นในปี 1889 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Otto von Bismarck นับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศอายุการเกษียณ โดยตั้งไว้ที่ 65ปี เป็นตัวเลขที่คำนวณมาจากอายุไขเฉลี่ยประชากร ณ ขณะนั้นที่อยู่ที่ 45ปี รวมถึงกฎหมายภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่คิดภาษีเป็นขั้นบันไดตามฐานรายได้ต่อปี
ทั้งหมดที่พูดมาคือผ่านมา 100กว่าปีแล้ว!!! ปัจจุบันปี 2015 หรืออยู่ในศตวรรษที่21 โลกก้าวเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารแบบเต็มตัว แต่เรายังคงระบบเดิม การศึกษาเดิม ข้อกำหนดเดิม กฎหมายเดิม ที่เคยเวิร์คในยุคอุตสาหกรรม มาใช้กับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง อำนาจทางการเงินเปลี่ยนมือจากเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมสู่เจ้าของช่องทางจัดจำหน่าย ยอดการซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดจริงลดลงแทนที่ด้วยการเติบโตมากมายในโลกออนไลน์ มหาเศรษฐีหน้าใหม่ล้วนมาจากการเป็นเจ้าของเครือข่ายที่มีระบบ ได้แก่ Facebook McDonald KFC Amazon Alibaba
โดยสรุปความต้องการแรงงานลดลงถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ แต่การศึกษาและกรอบความเชื่อเดิมยังคงส่งเสริมและป้อนแรงงานทะลักเข้าสู่ตลาดทุกปีทุกปี การฝากชีวิตไว้กับระบบเงินเดือนอย่างเดียวไม่มั่นคงอีกต่อไป ความมั่นคงในชีวิตเริ่มต้นจากการมีความรู้จริงเรื่องการเงิน การวางแผนการเงินในชีวิตอย่างรอบคอบ การสร้างรายได้ การสร้างสินทรัพย์ การบริหารหนี้สิน การออมเงิน รวมถึงการลงทุน ถึงเวลาที่ต้องเข้าควบคุมอนาคตทางการเงินของเราด้วยตัวเราเอง ติดตามเนื้อหาเข้มข้นของหนังสือ The Business of the 21st Century ที่จะพาเราเปิดโลกของธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทความตอนต่อๆไปหรือเข้าไปดูได้ที่ www.money-journey.com กับความรู้สู่อิสรภาพทางการเงินมากมาย
ลงทุนอะไรดีในศตวรรษที่ 21 ตอนที่2-การเงินสะท้อนตัวตนที่แท้จริง
หลายคนพร้อมเริ่มต้นกำหนดอนาคตทางการเงินของตนเอง ก่อนจะออกเดินทางไปสร้างความมั่งคั่ง สิ่งสำคัญไปกว่านั้นคือรู้ว่า "ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน แล้วอะไรพาเรามายืนอยู่ตรงจุดนี้"... จากหนังสือขายดียอดนิยมตลอดกาล Cash 4 Quadrant เงิน4ด้าน ของผู้เขียน Robert T. Kiyosaki ได้นิยามแหล่งรายได้ของคนบนโลกนี้ออกเป็น 4 ด้าน และที่แต่ละคนเลือกที่อยู่ในแต่ละด้านที่ต่างกันไม่ได้มาจากการจับสลาก ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด แต่มาจากวิธีคิด สิ่งที่ให้คุณค่า จุดอ่อน จุดแข็ง และ สิ่งที่ให้ความสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราที่แตกต่างกัน มาดูกันนะคะว่าใครอยู่ด้านไหนของเงิน 4 ด้าน สังเกตง่ายๆจากสิ่งที่เขาเป็นและสิ่งที่เขาสื่อสาร
E (Employee) : พนักงานรับเงินเดือน กลุ่มนี้ทำงานให้คนอื่น หรือบริษัทที่ไม่ใช่ของตัวเอง จะได้ยินคำว่า "อยากมีชีวิตที่มั่งคง" “ฉันอยากได้งานดีๆ ในบริษัทใหญ่ๆ” "ทำแบบนั้นมันเสี่ยงเกินไปรึป่าว” สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ถือความมั่นคงเป็นหลัก ไม่ชอบความเสี่ยง
S (Self-Employed) : เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึง ฟรีแลนซ์ นักร้อง นักแสดง นักกีฬา กลุ่มนี้ทำงานให้กับตัวเอง โดยการใช้ศักยภาพส่วนตัว จะได้ยินคำว่า "ฉันไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร" "ไม่มีใครทำอะไรถูกใจ ฉันต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน" "ลูกน้องที่ไว้ใจได้ เดี๋ยวนี้หายาก" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ชอบอิสระ ไม่ค่อยไว้วางใจใคร เป็นลักษณะ one man show
B (Business owner) : เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่มีระบบดำเนินงาน กลุ่มนี้สร้างระบบแล้วให้ระบบทำเงินแทนเรา จะได้ยินคำว่า "ฉันต้องหาคนเก่งๆมาร่วมทีม" "เราไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แต่เราแค่มีทีมที่เก่งที่สุดก็พอ" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้โฟกัสสร้างระบบเพื่อทำงานแทน หรือหาคนเก่งๆในแต่ละด้านมาทำงานแทนเขา
I (Investor) : นักลงทุน กลุ่มนี้ใช้เงินมหาศาลทำงานแทนตัวเอง จะได้ยินคำว่า "ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่" "ปันผลกี่%" สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้มุ่งเน้นการมีอิสรภาพทางการเงิน มองหาโอกาสให้เงินต่อยอดทำเงิน
บางคนอยู่ในหลายสถานะ แต่ด้านที่สร้างรายได้หลักนั้นหล่ะสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของเรา ที่นี่จากความเข้าใจเรื่องเงิน 4 ด้านเราสามารถตอบคำถามได้ 2ข้อคือ หนึ่งคือ เราเป็นคนกลุ่มไหนของเงิน 4ด้าน และสองคือ แล้วจริงๆเราอยากเป็นคนกลุ่มไหนกันแน่
Robert กล่าวว่า ไม่ว่าจะอยู่ในด้านใดเราก็สามารถสร้างเงินเป็นคนร่ำรวยได้ แต่ถ้าเราเลือกเป็นคนมั่งคั่ง มีแค่ด้าน B และ I เท่านั้นที่ให้ได้ จริงๆแล้วเศรษฐีทั่วโลกเขาไม่ได้วัดกันที่จำนวนเงิน (quantity) อย่างเดียว แต่วัดกันที่คุณภาพของเงิน (quality) ด้วยว่าเป็นเงิน Active (มีมูลค่าในปัจจุบัน) หรือเงิน Passive (มีมูลค่าในอนาคต) หากยังไม่คุ้นเคยกับ 2คำนี้ สามารถอ่านได้ที่บทความ "เงินแบบไหนคือสเปกของเรา" นะคะ
จากคำนิยามของนิตยสาร Forbe
เศรษฐี คือ คนที่มีรายได้ 1ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปีโดยไม่ต้องทำงาน
มหาเศรษฐี คือคนที่มีรายได้ 1ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อเดือนโดยไม่ต้องทำงาน
จะเห็นได้ว่าความมั่งคั่งแท้จริงแล้ววัดกันที่เวลา หรือพูดง่ายๆว่าใครสามารถอยู่แบบมีคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยมได้นานกว่ากันโดยไม่ต้องทำงาน เพราะความมั่งคั่งไม่ได้ดูว่าเรามีเงินเท่าไหร่ แต่ดูว่าเรามีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้เท่าไหร่ต่างหาก ถ้าคำตอบของเราคืออยากเป็นคนด้าน B และ I เพื่อสร้างความมั่งคั่ง เราต้องย้ายจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง หรือย้ายจากคนฝั่งซ้ายของเงิน 4ด้านไปยังฝั่งขวา แล้วมันย้ายยังไง? แน่นอน! ไม่เหมือนย้ายที่อยู่จากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งนะคะ แต่ฟังดีๆ มันคือการยกเครื่องวิธีคิด สิ่งที่ให้คุณค่า จุดอ่อน จุดแข็ง และ สิ่งที่ให้ความสนใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราทั้งหมดในตอนนี้ให้ระนาบและสอดคล้องกับคนสำเร็จที่อยู่ในด้านที่เราต้องการจะไป...สนุกสนานในการพาตัวเราย้ายที่อยู่ทางการเงินให้ได้ดังใจปรารถนาไปกับเนื้อหาเข้มข้นของหนังสือ The Business of the 21st Century ที่จะพาเราเปิดโลกของธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทความตอนต่อๆไปนะคะ หรือเข้าไปดูได้ที่ www.money-journey.com กับความรู้สู่อิสรภาพทางการเงินมากมาย