ถ้าเราเอาแค่เหาะเหินเดินอากาศ เดินนํ้า ดําดิน แค่ฌานสมาบัติแล้ว ก็ไม่ต้องมีพระพุทธศาสนา

กระทู้สนทนา
คนไทยก็สนใจเรื่องสมาธิในแง่พลังจิตกันมาก เพราะชอบเรื่องฤทธิ์ เรื่องปาฏิหาริย์ ถ้าสมาธิมีประโยชน์เพียงเพื่อพลังจิตให้มีฤทธิ์เก่งกล้าแล้ว พุทธศาสนาไม่ต้องเกิดขึ้นเพราะในอินเดียเขามีความชํานาญในเรื่องนี้กันมานานแล้ว การปฏิบัติโยคะก็เกิดมีก่อน พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ก็ไปเข้าสํานักโยคะด้วยไปหาอาจารย์สํานักต่างๆเช่นเสด็จไปที่อาฬารดาบส กาลามโคตร ท่านที่เรียนพุทธประวัติคงจะเคยได้ยินพระพุทธเจ้าเสด็จไปเรียนการบําเพ็ญสมาธิจนกระทั่งจบขั้นที่เขาเรียกว่าฌานสมาบัติทั้งหมด ฌานสมาบัตินี้มี ๘ ขั้น เป็นรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ท่านอาฬารดาบสกาลามโคตรได้สมาธิถึงอรูปฌานขั้นที่ ๓ เรียกว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ พระพุทธเจ้าเข้าไปปฏิบัติในสํานักของท่านนี้ก็ได้ฌานสมาบัติขั้นนี้ด้วยจบสมาบัติ ๗ พระพุทธเจ้าไม่ทรงพอพระทัยจึงเสด็จออกจากสํานักนี้แล้วไปยังสํานักของอุททกดาบสรามบุตร ท่านนี้ได้ฌานสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งครบสมาบัติ ๘ คือจบเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พระพุทธเจ้าก็จบด้วยพระอาจารย์ก็นิมนต์ว่าท่านจบความรู้ของสํานักนี้ ขอให้อยู่ช่วยสอนลูกศิษย์ต่อไป พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่านี่ยังไม่ใช่จุดหมาย พระองค์จึงได้ขอลาออกไปแสวงธรรมด้วยพระองค์เอง พวกโยคี ฤาษี ดาบส สมัยก่อนพุทธกาลมีฤทธิ์ทรงฌานได้อิทธิปาฏิหาริย์กันเยอะแยะ พระพุทธเจ้าไม่ทรงพอพระทัย ถ้าเราเอาแค่ฤทธิ์แค่ฌานสมาบัติแล้ว ก็ไม่ต้องมีพระพุทธศาสนาเพราะเขาได้กันมามีอยู่ก่อนแล้ว แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพอพระทัยจึงเสด็จต่อไปเรื่องนี้เป็นจุดที่จะต้องระวังขอให้สังเกตว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญการใช้สมาธิในทางของฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ โยมคงจําได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าปาฏิหาริย์ มี ๓ อย่าง

๑.อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ มากมายเช่นเหาะเหินเดินอากาศ เดินนํ้า ดําดิน
๒.อาเทศนาปาฏิหาริ ย์ปาฏิหาริย์คือการทายใจได้สามารถทายใจคนว่า เขาคิดอะไร คิดอย่างไร คิดจะทําอะไรหรือจิตใจมีสภาพเป็นอย่างไร
๓.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการสั่งสอนให้เกิดปัญญารู้ความจริงด้วยตัวของเขาเอง

ปาฏิหาริย์ข้อที่ ๓ เท่านั้น ที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญส่วนปาฏิหาริย์ที่ ๑ และ ๒ พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ทรงรังเกียจ เพราะว่าปาฏิหาริย์ที่ ๑ และ ๒ นั้น ใครทําได้ก็เป็นเรื่องของคนนั้น คนอื่นก็ได้แต่ทึ่งเห็นว่าน่ามหัศจรรย์แล้วก็มาหวังพึ่ง เมื่อหวังพึ่งแล้ว ก็พึ่งตัวเองไม่ได้ ไม่เป็นตัวของตัวแต่ปาฏิหาริย์ข้อ ๓ สอนให้ เขาเกิดปัญญา เป็นอัศจรรย์ เพราะเมื่อเขาเกิดปัญญาแล้ว เขาก็เห็นด้วยตัวเอง พระองค์เห็นความจริงอย่างไร เขาก็เห็นความจริงอย่างเดียวกันกับที่พระองค์เห็นพอเขาเกิดปัญญาเห็นเหมือนที่พระองค์เห็น เขาก็เป็นอิสระไม่ต้องขึ้นต่อพระองค์ต่อไป แต่ถ้าเป็นปาฏิหาริย์ ๑ และ ๒ เขาก็ต้องขึ้นต่อพระองค์ต้องหวังพึ่งพระองค์ตลอดต่อไป พระพุทธเจ้าต้องการให้ทุกคนเป็นอิสระ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงไม่สรรเสริญปาฏิหาริย์ที่ ๑ และ ๒ ซึ่งใช้ได้เฉพาะเรื่องเฉพาะราวและต้องระวังในระยะยาว เพราะมันทําให้เกิดความประมาท ถ้ามีผู้มีฤทธิ์ เราเคารพนับถือเราก็ไปหวังพึ่งท่าน อยากจะได้อะไรก็ต้องให้ท่านบันดาล ตัวเราเองก็ไม่รู้จักเผชิญปัญหา ไม่รู้จักแก้ปัญหา ไม่รู้จักทําอะไรให้เป็นอยู่เท่าไหนก็เท่านั้น เพราะฉะนั้นก็ไม่พัฒนา พระพุทธศาสนาไม่ต้องการให้คนเป็นอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นยอดของผู้มีฤทธิ์แต่พระองค์สรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสอนให้เกิดปัญญาข้อเดียว พระองค์เองนั้นทรงมีทั้งอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ด้วยมีครบหมด มีฤทธิ์มาก แต่ขอให้สังเกตดูตลอดพุทธประวัติ ๔๕ ปี เคยมีปรากฏครั้งใดไหมที่พระพุทธเจ้าเอาฤทธิ์ของพระองค์บันดาล ผลที่ต้องการให้แก่ใครผู้ใดผู้หนึ่ง นี่เป็นจุดสังเกตที่สําคัญหลายคนไม่เคยคิด พระพุทธเจ้าเป็นยอดของผู้มีฤทธิ์ ไม่มีใครมีฤทธิ์เท่าพระองค์ แต่พระองค์ไม่เคยใช้ฤทธิ์บันดาลผลที่ต้องการให้แก่ใคร เลยตลอด ๔๕ พรรษาทําไม? เพราะพระองค์ไม่ต้องการให้ใครมาขึ้นต่อพระองค์มาหวังพึ่งพระองค์ ถ้าเขามาหวังพึ่งพระองค์ต่อไปเขาจะประมาทไม่คิดพึ่งตนเอง ไม่คิดพัฒนาตนเอง ไม่คิดแก้ปัญหา คนเราลองไม่สู้ปัญหาไม่ทําอะไรด้วยตนเองก็ไม่พัฒนาอยู่เท่าไรก็เท่านั้น พวกเรานี่ชอบเรื่องฤทธิ์ต้องระวังให้มากอย่าให้ขัดหลักพุทธศาสนาเป็นอันขาด ถ้าจะชอบบ้างก็อย่าให้ผิดหลักพึ่งตนอย่าให้ผิดหลักฝึกฝนพัฒนาตน และต้องเพียรพยายามทําการต่างๆ ให้สําเร็จตามเหตุตามผล อันนี้เป็นหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงพ้นจากลัทธิฤาษีชีไพร ไม่เฉพาะในสมัยโบราณที่เขานิยมเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์โยคีฤาษีดาบสในอินเดียจนกระทั่งปัจจุบันเดี๋ยวนี้ก็ยังแข่งฤทธิ์กันตามเดิม พระพุทธศาสนาไม่เอาด้วย บอกว่าถ้าขืนยุ่งกับฤทธิ์อยู่อย่างนี้คนก็ไม่พัฒนา พระพุทธเจ้าใช้ฤทธิ์ทําอะไรบ้าง? พระพุทธเจ้าทรงใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ เพราะสมัยนั้นเขาถือกันว่าเรื่องฤทธิ์นี้สําคัญ เขาถือว่า ถ้าใครไม่มีฤทธิ์ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ เขามีค่านิยมอย่างนี้ พระพุทธเจ้าถือว่าฤทธิ์ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของความเป็นพระอรหันต์ แต่พระองค์อยู่ท่ามกลางค่านิยมของสังคมที่มีความเชื่ออย่างนั้น พระองค์เป็นพระศาสดาเป็นผู้ประกาศพระศาสนา พระองค์ก็ต้องทําได้เพื่อจะได้ให้เขายอมรับเชื่อถือไว้ก่อน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมีฤทธิ์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกาศพระศาสนาให้เหนือกว่าพวกมีฤทธิ์กันเหล่านั้นเพราะพอไปเจอกันแล้ว เขาทดลองฤทธิ์ ถ้าพระองค์ไม่มีฤทธิ์เขาก็ไม่ยอมฟัง ไม่ยอมเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น พวกชฎิลเป็นที่นับถือของประชาชน พวกชฎิลนี้ถือตัวว่ามีฤทธิ์มากและถือว่าใครเป็นพระอรหันต์ต้อง มีฤทธิ์พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าถ้าไม่ไปปราบพวกนี้ก่อนประชาชน ไม่ฟังพระองค์ เพราะเขาถือว่าถึงอย่างไรก็สู้อาจารย์ชฎิลของเขาไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปหาชฎิลก่อน พอไปถึง ชฎิลก็ลองดีเอาฤทธิ์มาแกล้งหลายคืนพระพุทธเจ้าก็ผ่านทุกคืน จนกระทั่งในที่สุดชฎิลยอมรับรู้ว่าสู้ไม่ได้ พอชฎิลสู้ไม่ได้ยอมรับ เขาก็ยอมฟังก่อนนั้นเขาไม่ยอมฟัง จะพูดอะไรเขาก็ว่าสู้เราไม่ได้อย่างนั้นอย่างนี้ พอเขายอมรับในเรื่องฤทธิ์แล้ว ก็ยอมฟัง พระองค์ก็เลิกใช้ฤทธิ์หันมาใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือสอนให้เกิดปัญญา ให้เขารู้ความจริงเข้าถึงสัจธรรมพอไปเจอรายใหม่ถ้าเป็นพวกที่เมาฤทธิ์ พระองค์ก็ใช้ฤทธิ์ปราบใหม่ พอเขายอมรับ พระองค์ก็เลิกใช้ฤทธิ์ แต่พระองค์ไม่ใช้ฤทธิ์บันดาลผลที่ต้องการให้แก่ผู้ใดทั้งสิ้น

การใช้สมาธิเพื่อให้มีฤทธิ์มีพลังปาฏิหาริย์ นอกจากมักทําให้คนเสียนิสัย ทําให้คนคอยหวังพึ่งแล้วสําหรับตัวเอง ฤทธิ์ทําให้หมดกิเลสไม่ได้ฤทธิ์ไม่สามารถกําจัดกิเลสได้ ฤทธิ์ทําให้หมดทุกข์ไม่ได้ การใช้สมาธิในแง่นี้ไม่เป็นหลักประกันอะไร อย่างดีจิตสงบแล้ว กิเลสก็สงบไปชั่วคราวด้วยกําลังสมาธิ ท่านเรียกว่าวิกขัมภนวิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นด้วยข่มไว้ชั่วคราว แต่ถ้ามีอะไรมาล่อหรือกระทบกิเลสก็ฟูขึ้นได้อีก เพราะฉะนั้นจึงไม่มั่นคง มีพระเถระองค์หนึ่งเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในยุคหลังพุทธกาล ตัวเองได้สมาธิชั้นสูง ได้ฌานสมาบัติ ชํานาญมากและเพราะการที่บําเพ็ญสมาธิอยู่ตลอดเวลาจิตสงบอยู่เสมอกิเลสก็ไม่มีโอกาสฟูขึ้นมาเลยหลงผิดคิดว่าตัวเองสําเร็จเป็นพระอรหันต์ อาจารย์ที่ไม่สําเร็จอรหันต์สามารถสอนลูกศิษย์ให้เป็นอรหันต์ได้เพราะการเป็นอรหันต์ขึ้นต่อตัวของคนนั้นเองลูกศิษย์บางท่าน ได้มารู้หลักจากท่านแล้วไปปฏิบัติด้วยตนเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์รู้ว่าพระอาจารย์ยังไม่สําเร็จ ก็จะเตือนแต่ถ้าจะไปบอกตรงๆท่านถือตัวเป็นอาจารย์ก็จะไม่ดีกิเลสขึ้นมาเกิดแรงต้านจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติ ลูกศิษย์ก็เลยใช้อุบายวิธีทําให้เกิดนิมิตเป็นรูปช้างวันหนึ่งขณะนั่งอยู่เพลินๆ ก็ทําให้เห็นเป็นช้างวิ่งเข้ามาพระอาจารย์ตกใจตั้งสติไม่ทันลุกขึ้น จะกระโจนหนี ลูกศิษย์ซึ่งเป็นพระอรหันต์ก็จับชายจีวรดึงกระตุกไว้พระอาจารย์ก็ได้สติที่พระอาจารย์ได้สติ ก็เพราะท่านเจริญธรรมปฏิบัติมานานเรียกว่าสติไม่ทันนิดเดียว พอลูกศิษย์กระตุกปฺุบก็ได้สติ รู้ตัวว่าเรานี่ ยังไม่สําเร็จเพราะพระอรหันต์ไม่ตกใจคือไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว คนที่จะเกิดความกลัวก็เพราะมี โลภะ โทสะ โมหะ ยังมีตัณหาอยู่ ถ้าไม่มีกิเลส ก็ไม่มีความกลัว ท่านรู้หลักการอันนี้อยู่ ท่านก็รู้ว่ากิเลสของท่านยังไม่หมดก็เลยหันมาบอกให้ลูกศิษย์เป็นที่พึ่ง ช่วยเป็นหลักให้แล้วปฏิบัติต่อพระอาจารย์ก็สําเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วย

ที่อาตมาพูดนี้ ต้องการให้เข้าใจว่าการมีฤทธิ์ การได้ฌานสมาบัติหรือการใช้สมาธิฝุายพลังจิตไม่ได้ช่วยให้สําเร็จเป็น พระอรหันต์ ไม่หมดกิเลส ไม่หมดความทุกข์ แต่สามารถทําให้จิตสงบแล้วเหมือนกับหมดกิเลสไปได้ชั่วคราวเป็นสิ่งที่ดีมากมีประโยชน์แต่บางท่านเพราะเหตุที่ได้สมาธิระดับต่างๆแล้วกิเลสยังไม่หมดเกิดความลําพองใจตัวเองกลับไปหนุนมานะขึ้นมาเลยยิ่งหนักเข้าไปอีก คราวนี้กิเลสกลับฟูเพราะคนเรานี้ถ้าไม่มีกําลังไม่มีอํานาจกิเลสถึงมีอยู่ก็จะไม่มีกําลัง แต่พอรู้ว่าเรามีอํานาจมีพลังมากก็จะรู้สึกคึกฮึกเหิมใจคนที่มีฤทธิ์ก็เช่นเดียวกันถ้ายังมีกิเลสอยู่ก็เกิดความฮึกเหิมใจเลยทําการร้ายได้ยิ่งใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นพระเทวทัตได้ฌานสมาบัติได้อภิญญาที่เป็นโลกีย์มีฤทธิ์มากแต่เพราะยังไม่หมดกิเลสเลยเกิดไปลําพองใจ ในฤทธิ์ของตัวเองแล้วไปนึกถึงการมีอํานาจ การที่จะได้ลาภสักการะอะไรใหญ่โตก็เลยเอาฤทธิ์เข้ามาหนุนการอยากได้อํานาจ และลาภสักการะนั้นเลยไปกันใหญ่พระเทวทัตก็เสียไปเลยจะเห็นว่า การใช้สมาธิเพื่อวัตถุประสงค์ด้านฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์นี้อาจจะกลายเป็นเครื่องกีดขวางกางกั้นตัวเองไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในการที่จะบรรลุธรรมก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังโดยไม่ประมาท

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สมาธิแบบพุทธ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่