เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 13:33 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดบรรยายสรุปเรื่อง
"การบินไทยออกมาตรการป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส" เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ
พร้อมนำสื่อมวลชนถ่ายภาพขั้นตอนการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยาน
โดยมีเรืออากาศเอกปรารถนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคงและมาตรฐานการบิน
นายเกรียงศักดิ์ ศักดิ์เรืองงาม รักษาการกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการอุปกรณ์ภาคพื้น และ
นายมนตรี จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการซ่อมบำรุงอากาศยานลานจอด
ร่วมกันบรรยายสรุป ณ ฝ่ายช่าง การบินไทย
เรืออากาศเอกปรารถนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคงและมาตรฐานการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ตามที่มีข่าวการแพร่ระบาดของโรคไวรัสเมอร์ส
(MERS : Middle East Respiratory Syndrome)
(โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012)
และการบินไทยได้ทำการบินไปยังบางประเทศที่มีความเสี่ยง
เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร บริษัทฯ ได้ออกมาตรการในการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว
โดยคำนึงถึงการให้บริการผู้โดยสาร การให้บริการในอากาศยาน รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน
โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการป้องกันต่างๆ ดังนี้
① มาตรการคัดกรองในการตรวจรับผู้โดยสารและการบริการลูกค้าภาคพื้น
อาทิ การสังเกตอาการ ผู้โดยสารก่อนการเช็คอิน หากจำเป็นผู้โดยสารต้องมีใบรับรองแพทย์
② มาตรการในการให้บริการบนเครื่องบิน อาทิ การเฝ้าระวัง สังเกตอาการของผู้โดยสารในระหว่างการเดินทาง
③ มาตรการในการจัดเตรียมอากาศยานและฆ่าเชื้อโรค อาทิ
การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยานในระหว่างจอดที่สนามบิน
④ มาตรการในการทำความสะอาดภายในอากาศยาน อาทิ
การทำ Deep Cleaning และเพิ่มการทำความสะอาด 36 จุดสัมผัสภายในห้องโดยสาร
⑤ มาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังสุขอนามัยของพนักงาน อาทิ
การมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประจำเครื่องบิน และการให้ความรู้ในการป้องกันสุขภาพแก่พนักงาน
⑥ มาตรการด้านการรับขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ อาทิ
เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าที่มีความเสี่ยง
⑦ มาตรการด้านโภชนาการ อาทิ การคัดเลือกวัตถุดิบและ
วิธีการปรุงอาหารที่สะอาดได้มาตรฐานและไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของโรค
อนึ่ง ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการออกมาตรการต่างๆ ในกรณีที่มีการระบาดของโรค ได้แก่
โรคระบาดซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546
โรคระบาดไข้หวัดนก ในปี พ.ศ. 2547 และ
การแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลา ในปี พ.ศ. 2557
ซึ่งมาตรการต่างๆ ได้ผลดีและได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
อย่างไรก็ตาม การบินไทยได้ประสานงานกับกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อติดตามสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
ข้อมูลเพิ่มเติม :
๛ มีการแยกพนักงานทำความสะอาดเป็นกลุ่มๆ และแยกผ้า,ถุงขยะเป็นแต่ละพื้นที่ทำความสะอาด
เช่น ถุงมือสีส้ม ถุงแดง สำหรับทีมทำความสะอาดห้องสุขา เป็นต้น
๛ น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดมีดังต่อไปนี้
1) Calla 301A Lemon เพื่อทำความสะอาด ห้องโดยสาร,ครัว
2) Plastic Glass Cleaner Stoff เพื่อทำความสะอาด หน้าต่างห้องโดยสาร
3) Johnson Wax Forward เพื่อทำความสะอาด ครัว
4) Johnson Wax Spectrum เพื่อทำความสะอาด ห้องสุขา
5) Windex เพื่อทำความสะอาด กระจก
6) Fresh & Clean Air เพื่อพ่นดับกลิ่นห้องโดยสาร
๛ 36 จุดสัมผัสผู้โดยสารที่ต้องผ่านการทำความสะอาด แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
1. กระเป๋าหน้าที่นั่งผู้โดยสาร (passenger seat pocket)
- คู่มือความปลอดภัย (safety phamlet)
- แฟ้มเอกสาร (flight wallet set)
- นิตยสารรายเดือน สวัสดี (Sawasdee magazine)
2. บริเวณภายในเครื่องบินทั่วไป (aircraft interior cabin)
- ที่เก็บสัมภาระผู้โดยสาร (overhead bin)
- แผงกั้นระหว่างพื้นที่ (zone partition)
- ผนังข้างลำตัวห้องผู้โดยสาร
- ราวบันได
- หน้าต่าง
- จอฉายวิดีทัศน์
- ที่เก็บของหลังที่นั่งผู้โดยสาร (dog house and stowage)
- บริเวณประตูเครื่องบินภายใน
- มือจับเปิด-ปิด ประตูเครื่องบิน
- ก้านล็อคประตูเครื่องบิน
- ลูกบิดประตูห้องนักบิน
- เข็มขัดนิรภัย (seat belt)
3. ที่นั่งผู้โดยสาร (passenger seat)
- โต๊ะวางถาดอาหาร
- มือที่วางแขน (armrest)
- เบาะนั่งและพนักเก้าอี้
- ดูดฝุ่นพื้นพรมทางเดินกับซอกเก้าอี้ผู้โดยสาร
4. ครัว (galley)
- ตู้ใส่อาหารทั้งภายในและภายนอก
- sink และ bar
- ช่องเก็บตู้อาหาร
- มือจับบานประตูเปิด-ปิด ช่องเก็บตู้อาหาร
- ช่องเก็บขยะ
- พื้นครัว
5. ห้องน้ำ (lavatory)
- ก็อกน้ำ (tab)
- ลูกบิดประตู (door knob)
- counter และ sink
- ปุ่มกดชำระ (flushing button)
- กระจก (mirror)
- ที่รองนั่ง (toilet seat)
- ฝาปิดถังขยะ (waste bin lid)
- ฝาครอบสุขภัณฑ์ (toilet seat cover)
- กลอนประตู (latch)
- โถส้วมบริเวณรอบๆ ทั้งภายนอกและภายใน
- พื้นห้องน้ำ
Source : Thai Airways International , กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (DDC MOPH : Department of Disease Control - Ministry of Public Health)
Photo : กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (DDC MOPH : Department of Disease Control - Ministry of Public Health) , Philips IntelliVue MP70 patient monitor
http://www.airlinesweek.com/
การบินไทยเน้นมาตรการป้องกันโรคไวรัส MERS เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้โดยสาร
"การบินไทยออกมาตรการป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส" เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ
พร้อมนำสื่อมวลชนถ่ายภาพขั้นตอนการทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยาน
โดยมีเรืออากาศเอกปรารถนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคงและมาตรฐานการบิน
นายเกรียงศักดิ์ ศักดิ์เรืองงาม รักษาการกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริการอุปกรณ์ภาคพื้น และ
นายมนตรี จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการซ่อมบำรุงอากาศยานลานจอด
ร่วมกันบรรยายสรุป ณ ฝ่ายช่าง การบินไทย
เรืออากาศเอกปรารถนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายความปลอดภัย ความมั่นคงและมาตรฐานการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ตามที่มีข่าวการแพร่ระบาดของโรคไวรัสเมอร์ส
(MERS : Middle East Respiratory Syndrome)
(โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012)
และการบินไทยได้ทำการบินไปยังบางประเทศที่มีความเสี่ยง
เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้โดยสาร บริษัทฯ ได้ออกมาตรการในการป้องกันโรคระบาดดังกล่าว
โดยคำนึงถึงการให้บริการผู้โดยสาร การให้บริการในอากาศยาน รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน
โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการป้องกันต่างๆ ดังนี้
① มาตรการคัดกรองในการตรวจรับผู้โดยสารและการบริการลูกค้าภาคพื้น
อาทิ การสังเกตอาการ ผู้โดยสารก่อนการเช็คอิน หากจำเป็นผู้โดยสารต้องมีใบรับรองแพทย์
② มาตรการในการให้บริการบนเครื่องบิน อาทิ การเฝ้าระวัง สังเกตอาการของผู้โดยสารในระหว่างการเดินทาง
③ มาตรการในการจัดเตรียมอากาศยานและฆ่าเชื้อโรค อาทิ
การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยานในระหว่างจอดที่สนามบิน
④ มาตรการในการทำความสะอาดภายในอากาศยาน อาทิ
การทำ Deep Cleaning และเพิ่มการทำความสะอาด 36 จุดสัมผัสภายในห้องโดยสาร
⑤ มาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังสุขอนามัยของพนักงาน อาทิ
การมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลประจำเครื่องบิน และการให้ความรู้ในการป้องกันสุขภาพแก่พนักงาน
⑥ มาตรการด้านการรับขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ อาทิ
เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าที่มีความเสี่ยง
⑦ มาตรการด้านโภชนาการ อาทิ การคัดเลือกวัตถุดิบและ
วิธีการปรุงอาหารที่สะอาดได้มาตรฐานและไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของโรค
อนึ่ง ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการออกมาตรการต่างๆ ในกรณีที่มีการระบาดของโรค ได้แก่
โรคระบาดซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546
โรคระบาดไข้หวัดนก ในปี พ.ศ. 2547 และ
การแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลา ในปี พ.ศ. 2557
ซึ่งมาตรการต่างๆ ได้ผลดีและได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
อย่างไรก็ตาม การบินไทยได้ประสานงานกับกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อติดตามสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด
ข้อมูลเพิ่มเติม :
๛ มีการแยกพนักงานทำความสะอาดเป็นกลุ่มๆ และแยกผ้า,ถุงขยะเป็นแต่ละพื้นที่ทำความสะอาด
เช่น ถุงมือสีส้ม ถุงแดง สำหรับทีมทำความสะอาดห้องสุขา เป็นต้น
๛ น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาดมีดังต่อไปนี้
1) Calla 301A Lemon เพื่อทำความสะอาด ห้องโดยสาร,ครัว
2) Plastic Glass Cleaner Stoff เพื่อทำความสะอาด หน้าต่างห้องโดยสาร
3) Johnson Wax Forward เพื่อทำความสะอาด ครัว
4) Johnson Wax Spectrum เพื่อทำความสะอาด ห้องสุขา
5) Windex เพื่อทำความสะอาด กระจก
6) Fresh & Clean Air เพื่อพ่นดับกลิ่นห้องโดยสาร
๛ 36 จุดสัมผัสผู้โดยสารที่ต้องผ่านการทำความสะอาด แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
1. กระเป๋าหน้าที่นั่งผู้โดยสาร (passenger seat pocket)
- คู่มือความปลอดภัย (safety phamlet)
- แฟ้มเอกสาร (flight wallet set)
- นิตยสารรายเดือน สวัสดี (Sawasdee magazine)
2. บริเวณภายในเครื่องบินทั่วไป (aircraft interior cabin)
- ที่เก็บสัมภาระผู้โดยสาร (overhead bin)
- แผงกั้นระหว่างพื้นที่ (zone partition)
- ผนังข้างลำตัวห้องผู้โดยสาร
- ราวบันได
- หน้าต่าง
- จอฉายวิดีทัศน์
- ที่เก็บของหลังที่นั่งผู้โดยสาร (dog house and stowage)
- บริเวณประตูเครื่องบินภายใน
- มือจับเปิด-ปิด ประตูเครื่องบิน
- ก้านล็อคประตูเครื่องบิน
- ลูกบิดประตูห้องนักบิน
- เข็มขัดนิรภัย (seat belt)
3. ที่นั่งผู้โดยสาร (passenger seat)
- โต๊ะวางถาดอาหาร
- มือที่วางแขน (armrest)
- เบาะนั่งและพนักเก้าอี้
- ดูดฝุ่นพื้นพรมทางเดินกับซอกเก้าอี้ผู้โดยสาร
4. ครัว (galley)
- ตู้ใส่อาหารทั้งภายในและภายนอก
- sink และ bar
- ช่องเก็บตู้อาหาร
- มือจับบานประตูเปิด-ปิด ช่องเก็บตู้อาหาร
- ช่องเก็บขยะ
- พื้นครัว
5. ห้องน้ำ (lavatory)
- ก็อกน้ำ (tab)
- ลูกบิดประตู (door knob)
- counter และ sink
- ปุ่มกดชำระ (flushing button)
- กระจก (mirror)
- ที่รองนั่ง (toilet seat)
- ฝาปิดถังขยะ (waste bin lid)
- ฝาครอบสุขภัณฑ์ (toilet seat cover)
- กลอนประตู (latch)
- โถส้วมบริเวณรอบๆ ทั้งภายนอกและภายใน
- พื้นห้องน้ำ
Source : Thai Airways International , กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (DDC MOPH : Department of Disease Control - Ministry of Public Health)
Photo : กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (DDC MOPH : Department of Disease Control - Ministry of Public Health) , Philips IntelliVue MP70 patient monitor
http://www.airlinesweek.com/