พระศาสดา ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
----------------
--ฯลฯ---
มหานาม ! ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น เราออกจากที่เร้นแล้วไปสู่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ อันพวกนิครนถ์ ประพฤติวัตรอยู่, ได้กล่าวกะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า “ท่าน ! เพราะอะไรหนอ พวกท่านทั้งหลายจึงประพฤติยืนไม่นั่งประกอบความเพียรได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าแข็งแสบเผ็ด ?” ดังนี้.
มหานาม ! นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่า “ท่าน ! ท่านนิครนถนาฏบุตร เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ได้ยืนยันญาณทัสสนะของตนเองโดยไม่มียกเว้น ว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่, ยืนอยู่, หลับอยู่, ตื่นอยู่ ก็ตาม ญาณทัสสนะของเราย่อมปรากฏติดต่อกัน
ไม่ขาดสาย’ ดังนี้. ท่านนิครนถนาฏบุตรนั้นกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้เจริญ ! บาปกรรมในกาลก่อนที่ได้ทำไว้ มีอยู่แล, พวกท่านจงทำลายกรรมนั้นให้สิ้นไป ด้วยทุกรกิริยาอันแสบเผ็ดนี้ ; อนึ่ง เพราะการสำรวม กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ ย่อมชื่อว่าไม่ได้
กระทำกรรมอันเป็นบาปอีกต่อไป. เพราะการเผาผลาญกรรมเก่าไม่มีเหลือ และเพราะการไม่กระทำกรรมใหม่ กรรมต่อไปก็ขาดสาย ; เพราะกรรมขาดสาย ก็สิ้นกรรม ; เพราะสิ้นกรรม, ก็สิ้นทุกข์ ; เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา ; เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็เหือดแห้งไป’, ดังนี้. คำสอนของท่านนาฏบุตรนั้น เป็นที่ชอบใจและควรแก่เรา, และพวกเราก็เป็นผู้พอใจต่อคำสอนนั้นด้วย” ดังนี้.
มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า “ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือว่า พวกเราทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน หรือว่ามิได้มี ?”
“ไม่ทราบเลยท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าพวกเราทั้งหลายได้ทำกรรมที่เป็นบาปแล้วในกาลก่อน หรือว่าพวกเราไม่ได้ทำแล้ว ?”
“ไม่ทราบได้เลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าเราทั้งหลายได้ทำกรรมที่เป็นบาป อย่างนี้ ๆ ในกาลก่อน ?”
“ไม่ทราบเลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่า (ตั้งแต่ทำตบะมา)
ทุกข์มีจำนวนเท่านี้ ๆ ได้สิ้นไปแล้ว และจำนวนเท่านี้ ๆ จะสิ้นไปอีก, หรือว่า
ถ้าทุกข์สิ้นไปอีกจำนวนเท่านี้ ทุกข์ก็จักไม่มีเหลือ ?”
“ไม่ทราบได้เลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าอะไรเป็นการละเสีย
ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล และทำสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพปัจจุบันนี้ ?”
“ไม่เข้าใจเลย, ท่าน !”
มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้ กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ดังได้ฟังแล้วว่า ท่านทั้งหลาย ไม่รู้อยู่ ว่าเราทั้งหลายได้มีแล้ว
ในกาลก่อน หรือไม่ได้มีแล้วในกาลก่อน, ...ฯลฯ. อะไรเป็นการละเสีย
ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล และทำสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพปัจจุบันนี้. ครั้นเมื่อ
ไม่รู้อย่างนี้แล้ว (น่าจะเห็นว่า) ชนทั้งหลายเหล่าใดในโลก ที่เป็นพวกพราน
มีฝ่ามือคร่ำไปด้วยโลหิต มีการงานอย่างกักขฬะ ภายหลังมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วย่อมบรรพชาในพวกนิครนถ์ทั้งหลาย ละกระมัง ?”
-----ฯลฯ------
ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้น ต่อไปว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. เข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อใดพวกท่าน มีความ
พากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อม ได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้า
แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ; แต่เมื่อใดพวกท่าน ไม่มีความพากเพียร
พยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อม ไม่ได้รับทุกขเวทนา อันแรงกล้า
แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ดังนี้มิใช่หรือ ?”
“ท่านโคตมะ ! เมื่อใดพวกเรา ท. มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า
เมื่อนั้นเรา ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ;
แต่เมื่อใด พวกเราไม่มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นเรา ท. ย่อมไม่ได้รับ
ทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น.”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้ว ดังนี้ว่า เมื่อใดพวกท่าน
มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนา
อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดขึ้นจากความเพียรนั้น แต่เมื่อใดพวกท่านไม่มีความ
พากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมไม่ได้รับทุกขเวทนา
อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ดังนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการสมควร
แก่ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ที่ จะกล่าวว่า “บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไร ๆ เป็นสุขก็ดี
เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำแล้วในกาลก่อน
และว่าเพราะการเผาผลาญเสียซึ่งกรรมในกาลก่อนจนหมดสิ้น และเพราะการไม่กระทำ
ซึ่งกรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี, เพราะกระแสแห่งกรรมต่อไปไม่มี ก็สิ้นกรรม,
เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์, เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา, เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้น” ดังนี้.
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ถ้าเมื่อใด แม้พวกท่านมีความพากเพียร
พยายามอันแรงกล้า เมื่อนั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจาก
ความเพียรนั้นก็ยังตั้งอยู่, และแม้เมื่อใดพวกท่านไม่มีความพากเพียรพยายาม
อันแรงกล้า เมื่อนั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น
ก็ยังตั้งอยู่, ดังนี้ไซร้ ; จะเป็นการสมควรแก่ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. หรือ ที่จะกล่าวว่า
“บุรุษบุคคลเรานี้เสวยเวทนาไรๆ ........ ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำ
แล้วในกาลก่อน...ฯลฯ...เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้นไป” ดังนี้.
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เพราะเหตุที่ว่า เมื่อใดความเพียรของท่าน
แก่กล้า ทุกขเวทนาของท่านก็แสบเผ็ด แต่เมื่อใดความเพียรของท่านไม่แก่กล้า
ทุกขเวทนาของท่านก็ไม่แสบเผ็ด ; เพราะเหตุนั้นจึงแสดงว่า เมื่อท่าน ท.
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ดอยู่ด้วยตนเองนั่นแหละ ท่าน ท. ได้ปรุงอวิชชา
ซึ่งเป็นอัญญาณและสัมโมหะ ขึ้นมาว่า “บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไรๆ ...ทั้งหมดนั้น
มีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำแล้วในกาลก่อน ...ฯลฯ... เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้นไป” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เราผู้มีวาทะอยู่อย่างนี้แหละ ย่อมไม่มองเห็นอะไรในหมู่นิครนถ์ ที่น่าจับใจและประกอบอยู่ด้วยธรรม.
---------------------
ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์ ท. เหล่านั้นสืบไปอีกว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่านจะพึงได้ตามใจชอบ
ของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญ อุปักกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)
(๑) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในทิฏฐธรรม ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่พึง
เสวยผลในสัมปรายภพเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๒) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในสัมปรายภพ ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลในทิฏฐธรรมเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามใจชอบของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะและปธานะ
(อันเป็นตบะของเรา) (๓) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นสุข ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเป็นทุกข์เถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๔) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นทุกข์ ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเป็นสุขเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๕) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเต็มขนาด
ขอให้กรรมนั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผลไม่เต็มขนาดเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๖) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลไม่เต็มขนาด ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเต็มขนาดเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๗) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลอย่างมาก
ขอให้กรรมนั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผลแต่น้อยเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๘) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลแต่น้อย ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลอย่างมากเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๙) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่ไม่ต้องเสวยผลเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๑๐) กรรมใดเป็นกรรมที่ไม่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรม
ที่ต้องเสวยผลเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้วดังนี้ว่า ไม่อาจเป็นไปได้
ไม่อาจเป็นไปได้ ดังนี้แล้ว อุปักกมะและปธานะ ของท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ก็ไม่มีผลอะไร.
ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ ; ภิกษุ ท. ! ดังนั้น
วาทานุวาทะ (วาทะน้อยใหญ่) ๑๐ ประการ ที่ประกอบด้วยธรรมตามแบบของ
พวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะที่ควรตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าว่าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำ
ในกาลก่อน แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องกระทำกรรมชั่วในกาลก่อน เป็นแน่
เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การชี้บ่งของอิศวร
(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้ถูกชี้บ่งแล้วโดยอิศวรชั่ว
เป็นแน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ภาวะทางสังคม
แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้มีสังคมชั่ว เป็นแน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวย
ทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การเกิดอันยิ่ง
(อภิชาต) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งอภิชาติแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ความบากบั่นในทิฏฐธรรม
แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งความบากบั่นในทิฏฐธรรมแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ ; ภิกษุ ท. ! ดังนั้นวาทานุวาทะ ที่ประกอบด้วยธรรมตามแบบของพวกนิครนถ์ผู้มี
วาทะอย่างนี้ ๑๐ ประการเหล่านี้ ย่อมถึงฐานะที่ควรตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! อุปักกมะและปธานะที่ไม่มีผลเป็นอย่างนี้แล.
-------------
ว่าด้วยเรื่อง หลักความเชื่อที่ผิด
----------------
--ฯลฯ---
มหานาม ! ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น เราออกจากที่เร้นแล้วไปสู่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ อันพวกนิครนถ์ ประพฤติวัตรอยู่, ได้กล่าวกะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า “ท่าน ! เพราะอะไรหนอ พวกท่านทั้งหลายจึงประพฤติยืนไม่นั่งประกอบความเพียรได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าแข็งแสบเผ็ด ?” ดังนี้.
มหานาม ! นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่า “ท่าน ! ท่านนิครนถนาฏบุตร เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ได้ยืนยันญาณทัสสนะของตนเองโดยไม่มียกเว้น ว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่, ยืนอยู่, หลับอยู่, ตื่นอยู่ ก็ตาม ญาณทัสสนะของเราย่อมปรากฏติดต่อกัน
ไม่ขาดสาย’ ดังนี้. ท่านนิครนถนาฏบุตรนั้นกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้เจริญ ! บาปกรรมในกาลก่อนที่ได้ทำไว้ มีอยู่แล, พวกท่านจงทำลายกรรมนั้นให้สิ้นไป ด้วยทุกรกิริยาอันแสบเผ็ดนี้ ; อนึ่ง เพราะการสำรวม กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ ย่อมชื่อว่าไม่ได้
กระทำกรรมอันเป็นบาปอีกต่อไป. เพราะการเผาผลาญกรรมเก่าไม่มีเหลือ และเพราะการไม่กระทำกรรมใหม่ กรรมต่อไปก็ขาดสาย ; เพราะกรรมขาดสาย ก็สิ้นกรรม ; เพราะสิ้นกรรม, ก็สิ้นทุกข์ ; เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา ; เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็เหือดแห้งไป’, ดังนี้. คำสอนของท่านนาฏบุตรนั้น เป็นที่ชอบใจและควรแก่เรา, และพวกเราก็เป็นผู้พอใจต่อคำสอนนั้นด้วย” ดังนี้.
มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า “ท่านผู้เป็น นิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือว่า พวกเราทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน หรือว่ามิได้มี ?”
“ไม่ทราบเลยท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าพวกเราทั้งหลายได้ทำกรรมที่เป็นบาปแล้วในกาลก่อน หรือว่าพวกเราไม่ได้ทำแล้ว ?”
“ไม่ทราบได้เลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าเราทั้งหลายได้ทำกรรมที่เป็นบาป อย่างนี้ ๆ ในกาลก่อน ?”
“ไม่ทราบเลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่า (ตั้งแต่ทำตบะมา)
ทุกข์มีจำนวนเท่านี้ ๆ ได้สิ้นไปแล้ว และจำนวนเท่านี้ ๆ จะสิ้นไปอีก, หรือว่า
ถ้าทุกข์สิ้นไปอีกจำนวนเท่านี้ ทุกข์ก็จักไม่มีเหลือ ?”
“ไม่ทราบได้เลย, ท่าน !”
“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่านทั้งหลายรู้อยู่หรือ ว่าอะไรเป็นการละเสีย
ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล และทำสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพปัจจุบันนี้ ?”
“ไม่เข้าใจเลย, ท่าน !”
มหานาม ! เราได้กล่าวคำนี้ กะนิครนถ์เหล่านั้นสืบไปว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ดังได้ฟังแล้วว่า ท่านทั้งหลาย ไม่รู้อยู่ ว่าเราทั้งหลายได้มีแล้ว
ในกาลก่อน หรือไม่ได้มีแล้วในกาลก่อน, ...ฯลฯ. อะไรเป็นการละเสีย
ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล และทำสิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในภพปัจจุบันนี้. ครั้นเมื่อ
ไม่รู้อย่างนี้แล้ว (น่าจะเห็นว่า) ชนทั้งหลายเหล่าใดในโลก ที่เป็นพวกพราน
มีฝ่ามือคร่ำไปด้วยโลหิต มีการงานอย่างกักขฬะ ภายหลังมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วย่อมบรรพชาในพวกนิครนถ์ทั้งหลาย ละกระมัง ?”
-----ฯลฯ------
ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้น ต่อไปว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. เข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อใดพวกท่าน มีความ
พากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อม ได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้า
แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ; แต่เมื่อใดพวกท่าน ไม่มีความพากเพียร
พยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อม ไม่ได้รับทุกขเวทนา อันแรงกล้า
แสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ดังนี้มิใช่หรือ ?”
“ท่านโคตมะ ! เมื่อใดพวกเรา ท. มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า
เมื่อนั้นเรา ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ;
แต่เมื่อใด พวกเราไม่มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นเรา ท. ย่อมไม่ได้รับ
ทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น.”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้ว ดังนี้ว่า เมื่อใดพวกท่าน
มีความพากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมได้รับทุกขเวทนา
อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดขึ้นจากความเพียรนั้น แต่เมื่อใดพวกท่านไม่มีความ
พากเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อนั้นท่าน ท. ย่อมไม่ได้รับทุกขเวทนา
อันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น ดังนี้แล้ว ก็ไม่เป็นการสมควร
แก่ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ที่ จะกล่าวว่า “บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไร ๆ เป็นสุขก็ดี
เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำแล้วในกาลก่อน
และว่าเพราะการเผาผลาญเสียซึ่งกรรมในกาลก่อนจนหมดสิ้น และเพราะการไม่กระทำ
ซึ่งกรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี, เพราะกระแสแห่งกรรมต่อไปไม่มี ก็สิ้นกรรม,
เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์, เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา, เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้น” ดังนี้.
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ถ้าเมื่อใด แม้พวกท่านมีความพากเพียร
พยายามอันแรงกล้า เมื่อนั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจาก
ความเพียรนั้นก็ยังตั้งอยู่, และแม้เมื่อใดพวกท่านไม่มีความพากเพียรพยายาม
อันแรงกล้า เมื่อนั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ด ซึ่งเกิดจากความเพียรนั้น
ก็ยังตั้งอยู่, ดังนี้ไซร้ ; จะเป็นการสมควรแก่ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. หรือ ที่จะกล่าวว่า
“บุรุษบุคคลเรานี้เสวยเวทนาไรๆ ........ ทั้งหมดนั้นมีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำ
แล้วในกาลก่อน...ฯลฯ...เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้นไป” ดังนี้.
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เพราะเหตุที่ว่า เมื่อใดความเพียรของท่าน
แก่กล้า ทุกขเวทนาของท่านก็แสบเผ็ด แต่เมื่อใดความเพียรของท่านไม่แก่กล้า
ทุกขเวทนาของท่านก็ไม่แสบเผ็ด ; เพราะเหตุนั้นจึงแสดงว่า เมื่อท่าน ท.
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าแสบเผ็ดอยู่ด้วยตนเองนั่นแหละ ท่าน ท. ได้ปรุงอวิชชา
ซึ่งเป็นอัญญาณและสัมโมหะ ขึ้นมาว่า “บุรุษบุคคลเรานี้ เสวยเวทนาไรๆ ...ทั้งหมดนั้น
มีเพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำแล้วในกาลก่อน ...ฯลฯ... เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็สูญสิ้นไป” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เราผู้มีวาทะอยู่อย่างนี้แหละ ย่อมไม่มองเห็นอะไรในหมู่นิครนถ์ ที่น่าจับใจและประกอบอยู่ด้วยธรรม.
---------------------
ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะนิครนถ์ ท. เหล่านั้นสืบไปอีกว่า “ท่านผู้เป็น
นิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือพวกท่านจะพึงได้ตามใจชอบ
ของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญ อุปักกมะและปธานะ (อันเป็นตบะของเรา)
(๑) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในทิฏฐธรรม ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรมที่พึง
เสวยผลในสัมปรายภพเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๒) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลในสัมปรายภพ ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลในทิฏฐธรรมเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามใจชอบของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะและปธานะ
(อันเป็นตบะของเรา) (๓) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นสุข ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเป็นทุกข์เถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๔) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเป็นทุกข์ ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเป็นสุขเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๕) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลเต็มขนาด
ขอให้กรรมนั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผลไม่เต็มขนาดเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๖) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลไม่เต็มขนาด ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลเต็มขนาดเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๗) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลอย่างมาก
ขอให้กรรมนั้นเป็นกรรมที่พึงเสวยผลแต่น้อยเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๘) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผลแต่น้อย ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่พึงเสวยผลอย่างมากเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! ท่าน ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ
พวกท่านจะพึงได้ตามความชอบใจของท่านว่า ด้วยอำนาจการบำเพ็ญอุปักกมะ
และปธานะ (อันเป็นตบะของเรา) (๙) กรรมใดเป็นกรรมที่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้น
เป็นกรรมที่ไม่ต้องเสวยผลเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
หรือว่า (๑๐) กรรมใดเป็นกรรมที่ไม่ต้องเสวยผล ขอให้กรรมนั้น เป็นกรรม
ที่ต้องเสวยผลเถิด, ดังนี้หรือ ?
“ไม่อาจเป็นไปได้, ท่าน !”
ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ! เมื่อได้ยินกันอยู่แล้วดังนี้ว่า ไม่อาจเป็นไปได้
ไม่อาจเป็นไปได้ ดังนี้แล้ว อุปักกมะและปธานะ ของท่านผู้เป็นนิครนถ์ ท. ก็ไม่มีผลอะไร.
ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ ; ภิกษุ ท. ! ดังนั้น
วาทานุวาทะ (วาทะน้อยใหญ่) ๑๐ ประการ ที่ประกอบด้วยธรรมตามแบบของ
พวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะที่ควรตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าว่าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมอันกระทำ
ในกาลก่อน แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องกระทำกรรมชั่วในกาลก่อน เป็นแน่
เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การชี้บ่งของอิศวร
(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้ถูกชี้บ่งแล้วโดยอิศวรชั่ว
เป็นแน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ภาวะทางสังคม
แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องเป็นผู้มีสังคมชั่ว เป็นแน่ เพราะในบัดนี้เป็นผู้เสวย
ทุกขเวทนาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดเห็นปานนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง การเกิดอันยิ่ง
(อภิชาต) แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งอภิชาติแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! ถ้าสัตว์ ท. เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง ความบากบั่นในทิฏฐธรรม
แล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ. ถ้าสัตว์ ท. ไม่เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งความบากบั่นในทิฏฐธรรมแล้วไซร้ นิครนถ์ ท. ก็ต้องถูกตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! นิครนถ์ ท. เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ ; ภิกษุ ท. ! ดังนั้นวาทานุวาทะ ที่ประกอบด้วยธรรมตามแบบของพวกนิครนถ์ผู้มี
วาทะอย่างนี้ ๑๐ ประการเหล่านี้ ย่อมถึงฐานะที่ควรตำหนิ.
ภิกษุ ท. ! อุปักกมะและปธานะที่ไม่มีผลเป็นอย่างนี้แล.
-------------