ไขข้อสงสัย! 'คาร์ดิโอ' หนักๆ ดีจริงหรือ ?

กระทู้สนทนา
สวัสดีค่า วันนี้จขกทเจอข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับคนที่คิดจะลดน้ำหนักแบบคาร์ดิโอ(วิ่ง,จักรยาน,,, ฯ)
อ่านแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่คาร์ดิโอแบบผิดๆหรือหักโหมเกินไป
ส่วนตัวจขกทเคยพลาดคาร์ดิโอผิดพลาดมาครั้งนึงคือออกหนักแต่กินน้อย
พึ่งมารู้ว่ามันแย่ต่อสุขภาพเราทั้งเรื่องระบบเผาผลาญและสุขภาพ
วันนี้จึงขอนำสาระมาเเชร์ คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นท์ได้นะคะ

ถามคนทั่วๆ ไปว่าออกกำลังกายอะไร? คนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า "วิ่ง, ปั่นจักรยาน, หรือ อีลิปติเคิล (eliptical)" เอาง่ายๆ ก็คือพวกการคาร์ดิโอหรือแอโรบิกนั่นเอง! แล้วมันดีหรือไม่ดียังไง ไทยรัฐออนไลน์นำคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญมาฝาก...

"นนท์ อัลภาชน์" หรือมิกกี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยโอเรกอน สเตท ของสหรัฐฯ สาขาฟิตเนส แอนด์ นิวทรีชั่น และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย ECU Edith Cowan University สาขา Strength and Conditioning จากประเทศออสเตรเลีย บอกว่า การเล่นคาร์ดิโอดี เพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก ทำง่าย และช่วยเผาผลาญแคลอรีได้ แต่การทำแต่คาร์ดิโอหรือแอโรบิก โดยเฉพาะถ้าทำในปริมาณเยอะๆนานๆ จะมีผลดังต่อไปนี้ 


1. เพิ่มฮอร์โมน cortisol หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนความเครียดนั่นเอง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนตัวนี้อยู่แล้ว ยิ่งออกกำลังนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหลั่งสูงขึ้น
2. ฮอร์โมน cortisol เยอะเกินก็จะทำให้ร่างกายเราเก็บไขมันมากขึ้น และไปบล็อกฮอร์โมน testosterone ที่เป็นตัวหลักในการสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้น จึงทำให้เกิดการย่อยสลายของกล้ามเนื้อ หรือ catabolic นั้นเอง จึงทำให้คนที่วิ่งนานๆ หรือนักกีฬามาราธอน มีรูปร่างค่อนข้างบาง
3. ด้วยความที่ออกกำลังประเภทแอโรบิกเป็นเวลานานๆ กล้ามเนื้อจึงหายไป โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ประเภท 2 (type II)

4. ทำให้ระบบเผาผลาญพื้นฐาน (RMR) เราต่ำลง จริงที่คาร์ดิโอทำให้เราลดน้ำหนักและไขมันได้ แต่อย่างที่บอกไปว่ากล้ามเนื้อสามารถถูกย่อยสลายได้จากการออกกำลัง แต่คาร์ดิโอนานๆ ยิ่งแคลอรีที่เราเผาผลาญโดยรวมต่อวันนั้น 60-75% ขึ้นอยู่กับ RMR พอตัวนี้ต่ำก็ทำให้เราเผาผลาญน้อยลงไปอีก

5. คาร์ดิโอหนักๆ ทำให้เป็นคนผอมที่อ้วนได้ (skinny fat)
6. เมื่อเวลาคนที่จะลดน้ำหนักหรือไขมัน สามารถทำได้สองอย่างคือ ลดแคลอรีที่ทาน กับออกกำลังกายเพิ่ม แต่ถ้าทำอย่างใดอย่างหนึ่งมากไป RMR จะลดลง และถึงน้ำหนักตัวเราจะลดลงจริง แต่กล้ามเนื้อและ RMR ก็ลงเช่นกัน จึงทำให้เราสามารถกลับมามีน้ำหนักที่เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมได้ เรียกว่า yoyo effect นั่นเอง
7. สรุปก็คือถ้ามัวแต่คาร์ดิโอหนักๆ กล้ามเนื้อหาย RMR ลดลง การเผาผลาญต่อวันน้อยลง เราก็จะทานเท่าเดิมไม่ได้ เพราะจะทำให้อ้วน เอาเป็นว่าถ้ากล้ามเนื้อเยอะ RMR ก็จะสูงขึ้นเผาผลาญมากขึ้น เราก็สามารถทานได้มากขึ้น
8. มีวิจัยชิ้นหนึ่ง เอาคนสองกลุ่มมาออกกำลัง กลุ่มหนึ่งทำแต่ คาร์ดิโอ กลุ่มหนึ่งเล่นแต่เวตเทรนนิ่ง ผลออกมาว่า น้ำหนักลดทั้งสองกลุ่ม แต่กลุ่มที่คาร์ดิโออย่างเดียว กล้ามเนื้อหายไปเยอะกว่ากลุ่มที่เล่นเวตอย่างเดียวมาก และกลุ่มที่เล่นเวตยังสามารถเพิ่มตัว RMR ได้อีก


"
การออกกำลังกายไม่ว่าจะแบบไหนถือว่าดีหมดจริง แต่ก็จะมีบางอันที่ดีกว่าอีกอัน หรือให้ประโยชน์ที่ต่างกัน และก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและจุดประสงค์ของเราด้วยว่าจะออกกำลังประเภทไหนที่ดีสำหรับเราที่สุด" ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา กล่าวทิ้งท้าย


ข้อมูล : fit.athletics
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่