สูตรแนวคิดนำเข้าแสนตัน ต่อการซื้อผลผลิตกุ้งภายในประเทศล่ม เหตุผู้ส่งออกเสียงแตก หลังสถานการณ์ EMS เริ่มดีขึ้น คาดปี"58 ผลผลิตกุ้งเฉียด 3 แสนตัน หลังอินเดีย-เวียดนาม สินค้าถูกตีกลับ พบสารตกค้างอื้อ แถมเจอโรคกุ้งเล่นงาน
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกกุ้ง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้แนวคิดที่ผู้ส่งออกเสนอกรมประมงขอนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศหลายแสนตัน มาแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยจะเสนอสูตรการนำเข้า ต่อการซื้อผลผลิตกุ้งภายในประเทศนั้น จนถึงขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากผู้ส่งออกแต่ละรายมีแนวคิดไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบางรายเกรงจะพบสารตกค้างจากกุ้งที่นำเข้ามา จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของไทยด้วย จึงถือเป็นกลยุทธ์ของแต่ละบริษัทตัดสินใจเองว่าจะนำเข้าหรือไม่
ขณะที่สถานการณ์ปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่องของผู้ส่งออกกุ้ง เท่าที่ทราบตอนนี้หลายรายอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน หลังจากสถาบันการเงินช่วยประคับประคองตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พอวันนี้ผลผลิตกุ้งเริ่มมีมากขึ้น หลายรายเริ่มกลับมาผลิต โดยลดไลน์การผลิตกุ้งลงเหลือประมาณ 40% ลดเวลาเดินเครื่อง บางรายปรับไลน์ไปผลิตโดยใช้วัตถุดิบอื่น เช่น ปลา หอย ทดแทน ส่วนผู้ประกอบการที่สถานการณ์การเงินน่าเป็นห่วงยังมีอยู่บ้าง แต่ไม่มีใครปิดกิจการเพิ่ม ส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้
นายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ กรรมการบริหารสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ฟื้นฟูการผลิตเพื่อแก้วิกฤต EMS" ซึ่งจัดโดยกรมประมงว่า ขณะนี้กุ้งที่ส่งออกจากอินเดียและเวียดนาม มีปัญหาตรวจพบสารตกค้าง ทำให้สินค้าถูกตีกลับจำนวนมาก รวมถึงอินเดียมีปัญหาเรื่องโรคกุ้งเห็นได้จากการสั่งซื้อเวชภัณฑ์เข้าเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรอินเดียลงกุ้งน้อยลง จึงเป็นโอกาสของไทย ซึ่งมีความน่าเชื่อถือว่าผลิตกุ้งปลอดสารตกค้างมายาวนาน ตอนนี้เหลือเพียงอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่ง
ช่วง ม.ค.-เม.ย. 58 ไทยส่งออกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำทั้งแบบสดและแปรรูปได้ 5.3 หมื่นตัน เทียบกับช่วงเดียวกันปี"57 เติบโตขึ้น 3% แม้ในแง่มูลค่าลดลง 15.8% แต่เป็นสัญญาณว่า ตลาดส่งออกกุ้งไทยเริ่มผงกหัวขึ้น และอาจทำให้ไทยเพิ่มอันดับการส่งออกกุ้งในตลาดโลกจากอันดับ 5 ขึ้นเป็นอันดับ 4
นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า คาดว่าปีนี้ผลผลิตกุ้งทั้งประเทศอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 2.8-3.1 แสนตัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ปรับตัว ลงทุนปรับโครงสร้างฟาร์ม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและภาคกลางมีการลงเลี้ยงกุ้งเกิน 50% ของจำนวนบ่อ และมีอัตราเลี้ยงรอดที่ดี ขณะนี้ จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีอัตราเลี้ยงรอดกว่า 90% แล้ว โดยเดือน พ.ค. 58 ได้ผลผลิตกุ้ง 2,500 ตันรองลงมาเป็น จ.นครศรีธรรมราช ผลิตได้ 1,700 ตัน
ส่วนสถานการณ์ภาคตะวันออกยังมีปัญหา หลังจากทดลองเลี้ยงหลายรูปแบบยังไม่ดีขึ้น และช่วงต้นปีพบโรคตัวแดงดวงขาวระบาดซ้ำเติม ส่วนภาคใต้ตอนล่าง เกษตรกรยังไม่กล้าลงเลี้ยง ทำให้การพัฒนาแก้ไขโรค EMS ยังไม่ดีเท่าที่ควร
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
Desktop View
Ref :
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434344408
สูตรนำเข้ากุ้งอินเดียแสนตันล่ม EMS เอาอยู่ผลผลิตกุ้งภาคใต้พุ่ง
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกกุ้ง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้แนวคิดที่ผู้ส่งออกเสนอกรมประมงขอนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศหลายแสนตัน มาแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยจะเสนอสูตรการนำเข้า ต่อการซื้อผลผลิตกุ้งภายในประเทศนั้น จนถึงขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากผู้ส่งออกแต่ละรายมีแนวคิดไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบางรายเกรงจะพบสารตกค้างจากกุ้งที่นำเข้ามา จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของไทยด้วย จึงถือเป็นกลยุทธ์ของแต่ละบริษัทตัดสินใจเองว่าจะนำเข้าหรือไม่
ขณะที่สถานการณ์ปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่องของผู้ส่งออกกุ้ง เท่าที่ทราบตอนนี้หลายรายอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน หลังจากสถาบันการเงินช่วยประคับประคองตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พอวันนี้ผลผลิตกุ้งเริ่มมีมากขึ้น หลายรายเริ่มกลับมาผลิต โดยลดไลน์การผลิตกุ้งลงเหลือประมาณ 40% ลดเวลาเดินเครื่อง บางรายปรับไลน์ไปผลิตโดยใช้วัตถุดิบอื่น เช่น ปลา หอย ทดแทน ส่วนผู้ประกอบการที่สถานการณ์การเงินน่าเป็นห่วงยังมีอยู่บ้าง แต่ไม่มีใครปิดกิจการเพิ่ม ส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้
นายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ กรรมการบริหารสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ฟื้นฟูการผลิตเพื่อแก้วิกฤต EMS" ซึ่งจัดโดยกรมประมงว่า ขณะนี้กุ้งที่ส่งออกจากอินเดียและเวียดนาม มีปัญหาตรวจพบสารตกค้าง ทำให้สินค้าถูกตีกลับจำนวนมาก รวมถึงอินเดียมีปัญหาเรื่องโรคกุ้งเห็นได้จากการสั่งซื้อเวชภัณฑ์เข้าเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรอินเดียลงกุ้งน้อยลง จึงเป็นโอกาสของไทย ซึ่งมีความน่าเชื่อถือว่าผลิตกุ้งปลอดสารตกค้างมายาวนาน ตอนนี้เหลือเพียงอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่ง
ช่วง ม.ค.-เม.ย. 58 ไทยส่งออกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำทั้งแบบสดและแปรรูปได้ 5.3 หมื่นตัน เทียบกับช่วงเดียวกันปี"57 เติบโตขึ้น 3% แม้ในแง่มูลค่าลดลง 15.8% แต่เป็นสัญญาณว่า ตลาดส่งออกกุ้งไทยเริ่มผงกหัวขึ้น และอาจทำให้ไทยเพิ่มอันดับการส่งออกกุ้งในตลาดโลกจากอันดับ 5 ขึ้นเป็นอันดับ 4
นายสมชาย ฤกษ์โภคี ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า คาดว่าปีนี้ผลผลิตกุ้งทั้งประเทศอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 2.8-3.1 แสนตัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ปรับตัว ลงทุนปรับโครงสร้างฟาร์ม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและภาคกลางมีการลงเลี้ยงกุ้งเกิน 50% ของจำนวนบ่อ และมีอัตราเลี้ยงรอดที่ดี ขณะนี้ จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีอัตราเลี้ยงรอดกว่า 90% แล้ว โดยเดือน พ.ค. 58 ได้ผลผลิตกุ้ง 2,500 ตันรองลงมาเป็น จ.นครศรีธรรมราช ผลิตได้ 1,700 ตัน
ส่วนสถานการณ์ภาคตะวันออกยังมีปัญหา หลังจากทดลองเลี้ยงหลายรูปแบบยังไม่ดีขึ้น และช่วงต้นปีพบโรคตัวแดงดวงขาวระบาดซ้ำเติม ส่วนภาคใต้ตอนล่าง เกษตรกรยังไม่กล้าลงเลี้ยง ทำให้การพัฒนาแก้ไขโรค EMS ยังไม่ดีเท่าที่ควร
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
Desktop View
Ref : http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1434344408