Bible proof for the blood on the Mercy Seat.
การตรึงที่กางเขน (มก 15:24-32; ลก 23:27-43; ยน 19:16-27)
มธ27:33 เมื่อพวกเขามาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่ากลโกธา แปลว่า สถานที่กะโหลกศีรษะ
เกิดความมืดตั้งแต่เที่ยงจนถึงบ่ายสามโมง พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ (มก 15:33-41; ลก 23:44-49; ยน 19:30-37)
มธ27:45 แล้วก็บังเกิดความมืดทั่วทั้งแผ่นดิน ตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน จนถึงบ่ายสามโมง
ม่านกั้นสถานที่บริสุทธิ์ที่สุดในพระวิหารขาดออกจากกัน (ฮบ 9:3-8; 10:19-20)
มธ27:51 และ ดูเถิด ม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอดล่าง
แผ่นดินก็ไหว ศิลาก็แตกออกจากกัน
เมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนน์ที่กลโกธา ทหารโรมัน ก็ได้เอาหอกแทงที่สีข้างของพระองค์ ก็เห็นน้ำและเลือดไหลออกมา ตามคำพยากรณ์ใน อิสยาห์53
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 53:3 ท่านได้ถูกมนุษย์ดูหมิ่นและทอดทิ้ง เป็นคนที่รับความเศร้าโศกและคุ้นเคยกับความระทมทุกข์ และดังผู้หนึ่งซึ่งคนทนมองดูไม่ได้ ท่านถูกดูหมิ่น และเราทั้งหลายไม่ได้นับถือท่าน
53:4 แน่ทีเดียวท่านได้แบกความระทมทุกข์ของเราทั้งหลาย และหอบความเศร้าโศกของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ
53:5 แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความละเมิดของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความชั่วช้าของเรา การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายปลอดภัยนั้นตกแก่ท่าน ที่ต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี
53:6 เราทุกคนได้เจิ่นไปเหมือนแกะ เราทุกคนต่างได้หันไปตามทางของตนเอง และพระเยโฮวาห์ทรงวางลงบนท่านซึ่งความชั่วช้าของเราทุกคน
53:7 ท่านถูกบีบบังคับและท่านถูกข่มใจ ถึงกระนั้นท่านก็ไม่ปริปาก เหมือนลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่า และเหมือนแกะที่เป็นใบ้อยู่หน้าผู้ตัดขนของมันฉันใด ท่านก็ไม่ปริปากของท่านเลยฉันนั้น
กท3:13 พระคริสต์ทรงไถ่เราให้พ้นความสาปแช่งแห่งพระราชบัญญัติ โดยการที่พระองค์ทรงยอมถูกสาปแช่งเพื่อเรา เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘ทุกคนที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ก็ต้องถูกสาปแช่ง’
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความหมายที่แท้จริงของการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ ( The True Meaning of Christ’s Death)
ผู้พยากรณ์อิสยาห์ กล่าวถึงแก่นแท้ของความจริงนี้ว่า
“แต่ก็ยังเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าที่จะให้ท่านฟกช้ำด้วยความเจ็บไข้ เมื่อพระองค์ทรงกระทำให้วิญญาณของท่านเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป” (อิสยาห์ 53:10)
เราควรสังเกตบางประเด็น ก่อนที่จะสรุปคำนิยามของการลบบาป
ก. เป็นการทดแทน ( It is Vicarious )
พระคริสต์ไม่ได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของพระองค์เอง (ยน. 8:46; ฮบ. 4:15; 1 ปต. 2:22) พระคัมภีร์ทุกตอนกล่าวว่า พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของผู้อื่น
"การทนทุกข์ของพระคริสต์จึงไม่ใช่แค่ความทุกข์ของเพื่อนที่เห็นใจเรา แต่เป็นความทุกข์ที่พระเมษโปดกของพระเจ้ารับโทษบาปของมนุษย์ในโลก”
อิสยาห์กล่าวว่า
"แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความทรยศของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความบาปผิดของเราการตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้นตกแก่ท่าน ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี” (อิสยาห์ 53:5-6)
ให้สังเกตข้อพระคัมภีร์ตอนอื่นๆ
"แต่พระเจ้าทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เราทั้งหลาย คือขณะที่เรายังเป็นคนบาปอยู่นั้น พระคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเรา” (โรม 5:8)
"พระคริสต์ได้วายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลายตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์” (1โครินธ์ 15:3)
"เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำพระองค์ ผู้ทรงไม่มีบาปให้บาปเพราะเป็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” (2โครินธ์ 5:21)
"พระองค์เองได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ที่ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลายจะได้ตายจากบาปได้ และดำเนินชีวิตตามคลองธรรมด้วยบาดแผลของพระองค์ท่านทั้งหลายจึงได้รับการรักษาให้หาย” (1เปโตร 2:24)
"ด้วยพระคริสต์ก็ได้สิ้นพระชนม์ครั้งเดียวเท่านั้นเพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่ชอบธรรม เพื่อจะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า” (1เปโตร 3:18)
พระเยซูคริสต์ตรัสว่า
"เพราะว่าบุตรมนุษย์ไม่ได้มาเพื่อรับการปรนนิบัติ แต่ท่านมาเพื่อจะปรนนิบัติเขา และประทานชีวิตของท่านให้เป็นค่าไถ่คนเป็นอันมาก” (มาระโก 10:45)
"เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ” (ยอห์น 10:11)
พระคริสต์ทรงตายแทนเรา เป็นแกะปัสกาแท้ ( อพย. 12; 1 คร. 5:7) ทรงเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป (อสย. 53:10) ตามแบบที่พระคัมภีร์เดิมได้กำหนดไว้ (ลนต. 6:24-30; ฮบ. 10:1-4 ดู แพะรับบาป ใน ลนต. 16:20-22 ด้วย)
ข. เป็นการชดใช้บาป ( It is Satisfaction )
เนื่องจากพระลักษณะพื้นฐานของพระเจ้าคือความบริสุทธิ์จึงต้องมีการชดใช้บาปจนสามารถระงับพระพิโรธต่อความบาปได้ ความตายของพระคริสต์ดูเป็นสิ่งที่เหมาะสมเพราะเหตุผลดังนี้
1.เป็นการชดใช้ตามความยุติธรรมของพระเจ้า ( It is satisfies the justice of God )
มนุษย์ได้ทำบาปต่อพระเจ้า ทำให้พระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงจำเป็นต้องลงโทษผู้ที่ละเมิดกฎเกณฑ์ของพระองค์ คนบาปจะเป็นอิสระไม่ได้จนกว่าจะมีการจัดการอย่างยุติธรรม นั่นคือ พระเจ้าจะต้องลงโทษความบาป การยกโทษจะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการชดใช้ (อพย. 34:7; กดว. 14:18)
พระเจ้าจะยังทรงยุติธรรมและคนบาปถูกนับว่าชอบธรรมได้ มีทางออกทางเดียวเท่านั้นคือ ทางความตายของพระคริสต์ (รม. 3:25-26)
ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำล้วนยุติธรรม หนทางนี้เหมาะสมกับที่พระเจ้าทรงต้องการทั้งหมด
เช่นเดียวกับที่นักโทษของรัฐที่ได้รับโทษตามกฎหมายแล้วก็จะไม่ถูกลงโทษอีก ความตายของพระคริสต์เป็นการชดใช้บาปที่สมบูรณ์ เนื่องจากการชดใช้บาปนั้นเหมาะสมกับความยุติธรรม ฉะนั้นจึงไม่มีการลงโทษต่อผู้กระทำผิดอีก
2.เป็นการชดใช้ตามธรรมบัญญัติของพระเจ้า ( It is satisfies the law of God )
ความยุติธรรมของพระเจ้า ยังเป็นการสมควรตามธรรมบัญญัติของพระเจ้าด้วย
เหตุที่ธรรมบัญญัติของพระเจ้ามีรากฐานจากพระลักษณะของพระเจ้า การละเมิดธรรมบัญญัติจึงเป็นการกระทำผิดต่อพระองค์และมีโทษ
เบอร์คอฟกล่าวว่า “มนุษย์ไม่อาจละเมิดธรรมบัญญัติได้ เพราะสิ่งนี้มีรากฐานมาจากพระลักษณะของพระเจ้า ไม่ใช่…ผลิตผลของการที่ทรงเลือกตามพระทัยของพระองค์” (Berkhof, Systematic Theology p.370 )
แต่ในฐานะที่พระคริสต์ทรงเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ พระเจ้าได้ทรงประทานการชดใช้ที่ทรงพอพระทัย คือ ทางพระคริสต์ผู้ทรงยอมเชื่อฟังด้วยความสมัครใจ (รม. 8:3-4) พระคริสต์ทรงกระทำให้ธรรมบัญญัติสำเร็จโดยความเชื่อฟัง การทนทุกข์ และชีวิตที่ชอบธรรมครบถ้วนของพระองค์
อัครสาวกเปาโลพูดถึงพวกอิสราเอลใน โรม 10:3-4 ว่า
"เพราะว่าเขาไม่รู้จักความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ แต่อุตส่าห์ตั้งความชอบธรรมของตนขึ้น เขาจึงไม่ได้ยอมอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า เพราะว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของธรรมบัญญัติเพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อได้รับความชอบธรรม" (โรม 10:3-4)
3.เกี่ยวข้องกับการลบบาป ( It is involved in atonement )
แนวคิดในเรื่อง “การชดใช้โทษบาป” นั้นเกี่ยวข้องกับคำศัพท์อื่นๆ ในพระวจนะด้วย การตายของพระคริสต์เป็นการลบบาป และเป็นการะงับพระพิโรธ
ใน เลวีนิติ. 6:2-7 กล่าวถึงพิธีลบบาปส่วนบุคคลไว้ดังนี้
"ผู้ใดทำบาป และทำการไม่ซื่อตรงต่อพระเจ้า…ให้ผู้นั้นนำเครื่องบูชาไถ่กรรมบาปถวายแด่พระเจ้า…และให้ปุโรหิตทำการลบมลทินบาปของเขาต่อพระพักตร์พระเจ้า และเขาจะได้รับการอภัยในทุกสิ่งที่เขาได้ทำไปซึ่งให้รับกรรมบาป” (เลวีนิติ 6:2-7)
ส่วน เลวีนิติ 4:13-20 กล่าวถึงการลบบาปของชุมชนทั้งชาติไว้ว่า
"ถ้าชุมนุมชนอิสราเอลทั้งหมดกระทำผิด…จึงเป็นการกระทำกรรมบาป…ผู้ใหญ่ชุมนุมชนจะเอามือวางบนหัวของวัวนั้นต่อพระพักตร์พระเจ้า และให้ฆ่าวัวตัวนั้นเสียต่อพระพักตร์พระเจ้า…ดังนั้นปุโรหิตจะทำการลบมลทินบาปของชุมนุมชนแล้วเขาทั้งหลายจะได้รับการอภัย” (เลวีนิติ 4:13-20)
จากพระคัมภีร์ทั้งสองตอนนี้ ปรากฏชัดว่าทั้งวัวหรือแกะตัวผู้ต้องตาย เพราะการให้อภัยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความตายของตัวแทนคนบาปนั้น
คำฮีบรูที่มักใช้ในตอนเหล่านี้และตอนที่คล้ายๆ กัน แปลว่า “ลบบาป” คือ คาฟาร์ (kaphar) มีความหมายตรงตัวคือ “การปิดซ่อน” เพื่อไม่ให้มองเห็น
ฮอกซีมา (Hoeksema, Reformed Dogmatics. P.389) อธิบายลักษณะการชดใช้บาปโดยเครื่องบูชาแบบพระคัมภีร์เดิมว่า “เครื่องบูชานี้ถูกเรียกว่า เครื่องบูชาไถ่กรรมบาป หรือเครื่องบูชาไถ่บาป และกล่าวกันว่าสัตว์นั้นรับบาปของผู้กระทำผิด ชดใช้บาประงับพระพิโรธและปิดซ่อนบาปจากสายพระเนตรของพระเจ้า ผลที่ตามมาคือการอภัยโทษบาป”
ส่วนแนวคิดการซ่อนบาปให้พ้นสายพระเนตรของพระเจ้ามีนัยในพระคัมภีร์ตอนอื่นด้วย เช่น
*ขอทรงเบือนพระพักตร์พระองค์จากบาปทั้งหลายของข้าพระองค์เสียและทรงลบบรรดาความบาปผิดของข้าพระองค์ให้สิ้น* (สดุดี.51:9)
"พระองค์ทรงเหวี่ยงบาปทั้งสิ้นของข้าพระองค์ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์” (อิสยาห์ 31:17)
"พระองค์จะทรงเหวี่ยงบาปทั้งหลายของเราลงไปในที่ลึกของทะเล” (มีคาห์ 7:19)
4.เกี่ยวข้องกับการระงับพระพิโรธ ( It is involved in propiation )
พระคัมภีร์เซ็พทัวจินท์ แปลคำภาษาฮีบรู คาฟาร์ เป็น เอกซิลาซคอไม (exilaskomai) โดยเปลี่ยนจุดเน้นไปบ้างให้มีความหมายของ “การระงับพระพิโรธ” หรือ “การทำให้สงบ”
แนวคิดนี้คือ ถ้าบาปถูกปิดซ่อนไว้หรือถูกนำออกไปแล้ว จะทำให้พระพิโรธของพระเจ้าต่อบาปนั้นสงบลงหรือทำให้พระเจ้าทรงพอพระทัย ผู้แปลพระคัมภีร์เซ็พทัวจินท์ แปลคำนี้ได้เหมาะสมตามความจริงที่ปรากฏ
คำว่า เอกซิลาซคอไม ไม่มีในพระคัมภีร์ใหม่ แต่กิริยา ฮิลาซคอไม (hilaskomai) ปรากฏ 2 ครั้ง (ลก. 18:13, ฮบ. 2:17) คำนาม ฮิลาซมอซ (hilasmos) ปรากฏ 2 ครั้ง (1 ยน. 2:2, 4:10) คำคุณศัพท์ ฮิลาซเทริออน (hilasterion) ปรากฏ 2 ครั้ง (รม. 3:25; ฮบ. 9:5)
ส่วนเรื่องพระพิโรธของพระเจ้านั้นปรากฏหลายครั้งในพันธสัญญาใหม่ (ยน. 3:36; รม. 1:18; 5:9; อฟ. 5:6; 1 ธส. 1:10; ฮบ. 3:11; วว.19:15)
แนวคิดที่กล่าวมานี้ตรงกับพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวว่า ความตายของพระคริสต์เป็นเหตุระงับพระพิโรธของพระเจ้าได้
ท่านเปาโลกล่าวไว้ว่า พระเจ้าได้ทรงตั้งพระคริสต์ไว้
"ให้เป็นที่ระงับพระพิโรธ [ภาษาไทยแปลเป็น “ลบล้างพระอาชญา”] “ (โรม 3:25)
พระธรรมฮีบรูใช้คำนี้สำหรับ พระที่นั่งกรุณาในพลับพลา (ฮบ. 9:5)
ยอห์นประกาศว่าพระคริสต์
"ทรงเป็นผู้ระงับพระพิโรธ [ลบล้างพระอาชญา] ที่ตกกับเราทั้งหลายเพราะบาปของเรา และไม่ใช่แต่บาปของเราพวกเดียว แต่ของมนุษย์ทั้งปวงในโลกด้วย” (1ยอห์น 2:2)
พระคัมภีร์ฮีบรูกล่าวว่า พระคริสต์ทรงเป็นมหาปุโรหิตผู้ทรงพระกรุณาและสัตย์ซื่อ
“เพื่อระงับพระพิโรธ [ลบล้างบาป]ของ ประชาชน” (ฮีบรู 2:17)
คำอธิษฐานของคนเก็บภาษีในลูกาก็อาจแปลตามตัวอักษรได้ว่า
"ขอพระเจ้าระงับพระพิโรธต่อข้าพระองค์ผู้เป็นคนบาป” (ลูกา 18:13)
โดยทางความตายของพระคริสต์พระองค์ได้ทรงทำให้พระพิโรธอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าต่อบาปสงบลงได้
5.เกี่ยวข้องกับการกลับคืนดี ( It is involed in reconciliation )
ความคิดที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการระงับพระพิโรธนั้น คือการกลับคืนดี ทั้ง
สองเรื่องนี้ดูจะเกี่ยวข้องกันเหมือนเหตุและผล กล่าวคือ เหตุที่พระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ก็เพื่อ “ทรงระงับพระพิโรธ” ของพระเจ้าผลที่ตามมาคือ พระเจ้าทรงกลับคืนดี (รม. 5:10; 2 คร. 5:18-19; อฟ. 2:16)
มีคำกิริยา คาทาลัสโซ (katallasso) ปรากฏหกครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ (รม. 5.10; 1 คร. 7:11; 2 คร. 5:18-20) คำนาม คาทาลาเก (katallage) ปรากฏ 4 ครั้ง (รม. 5:11; 11:15; 2 คร. 5:18-19) ส่วน ดิดาลลัสซอไม (diallassomai) ปรากฏเพียงครั้งเดียว (มธ. 5:24)
ในทุกๆ ตอน แนวความคิด คือ การกลับคืนดีกัน
เบอร์คูเวอร์ กล่าวว่า ( Berkouwer, The Work of Christ, p.255 ) ท่านเปาโลใช้คำกรีกนี้เพื่ออ้างถึง “ความสัมพันธ์แบบสันติต่างจากเมื่อก่อนที่เป็นศัตรูกัน โดยการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ได้นำเอาสิ่งที่เป็นอุปสรรคออกไป เพื่อมนุษย์จะกลับคืนดีกับพระบิดาได้”
ที่กางเขน
Bible proof for the blood on the Mercy Seat.
การตรึงที่กางเขน (มก 15:24-32; ลก 23:27-43; ยน 19:16-27)
มธ27:33 เมื่อพวกเขามาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่ากลโกธา แปลว่า สถานที่กะโหลกศีรษะ
เกิดความมืดตั้งแต่เที่ยงจนถึงบ่ายสามโมง พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ (มก 15:33-41; ลก 23:44-49; ยน 19:30-37)
มธ27:45 แล้วก็บังเกิดความมืดทั่วทั้งแผ่นดิน ตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน จนถึงบ่ายสามโมง
ม่านกั้นสถานที่บริสุทธิ์ที่สุดในพระวิหารขาดออกจากกัน (ฮบ 9:3-8; 10:19-20)
มธ27:51 และ ดูเถิด ม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอดล่าง แผ่นดินก็ไหว ศิลาก็แตกออกจากกัน
เมื่อพระเยซูทรงสิ้นพระชนน์ที่กลโกธา ทหารโรมัน ก็ได้เอาหอกแทงที่สีข้างของพระองค์ ก็เห็นน้ำและเลือดไหลออกมา ตามคำพยากรณ์ใน อิสยาห์53
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กท3:13 พระคริสต์ทรงไถ่เราให้พ้นความสาปแช่งแห่งพระราชบัญญัติ โดยการที่พระองค์ทรงยอมถูกสาปแช่งเพื่อเรา เพราะมีคำเขียนไว้ว่า ‘ทุกคนที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ก็ต้องถูกสาปแช่ง’
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้