๛ สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ ๛

.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า


เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน


ภิกษุผู้ปฏิบัติควรเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้น สำรวมท้อง

ควรเป็นผู้มีจิตไม่ท้อแท้ และไม่ควรครุ่นคิดกังวลมาก เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย

มีพรหมจรรย์เป็นจุดหมาย พึงฝึกฝนเพื่อการนั่งสงบผู้เดียว และเพื่อบำเพ็ญจิตภาวนาของสมณะ

ความเป็นมุนีที่เราบอกไว้แล้วโดยส่วนเดียว หากเธอจักยินดีอยู่ผู้เดียว เธอก็จักปรากฏเกียรติคุณไปทั่ว ๑๐ ทิศ

เธอได้ฟังเสียงสรรเสริญของนักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้เพ่งพินิจอยู่ ตัดขาดจากกามแล้ว

ต่อจากนั้น ควรทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้น จึงนับว่าเป็นสาวกของเราได้

เธอจะเข้าใจคำที่เรากล่าวแล้วนั้นได้แจ่มแจ้ง ด้วยการเปรียบเทียบแม่น้ำกับลำคลอง และหนองบึง คือ


แม่น้ำน้อยไหลดังสนั่น แม่น้ำสายใหญ่ไหลเงียบสงบ

สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นเงียบ

คนพาลเปรียบได้กับหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงครึ่งเดียว

บัณฑิตเปรียบได้กับห้วงน้ำที่เต็มเปี่ยม


พระสมณพุทธเจ้าทรงรู้จักถ้อยคำที่จะตรัสให้มากว่า มีสาระประกอบด้วยประโยชน์ จึงทรงแสดงธรรม

พระองค์ทรงรู้อยู่จึงตรัสได้มาก อนึ่ง สมณะใดรู้แจ้งธรรม สำรวมจิตของตนได้ ไม่กล่าวมากทั้งที่รู้

สมณะนั้นชื่อว่าเป็นมุนี ย่อมควรแก่ปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นเป็นมุนีได้บรรลุปฏิปทาของมุนีแล้ว




บางส่วนจาก นาลกสูตรที่ ๑๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต








ฉบับสยามรัฐฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของ
                          มุนี พึงเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วย
                          ลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่
                          พึงคิดมาก เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
                          มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียว
                          และเพื่อประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม ท่านผู้เดียวแล
                          จักอภิรมย์ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้วโดยส่วนเดียว ทีนั้นจง
                          ประกาศไปตลอดทั้งสิบทิศ ท่านได้ฟังเสียงสรรเสริญ ของ
                          นักปราชญ์ทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว แต่นั้นพึง
                          กระทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นสาวก
                          ของเราได้ ท่านจะรู้แจ่มแจ้งซึ่งคำที่เรากล่าวนั้นได้ ด้วยการ
                          แสดงแม่น้ำทั้งหลาย ทั้งในเหมืองและหนอง แม่น้ำห้วย
                          ย่อมไหลดังโดยรอบ แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง สิ่งใดพร่อง
                          สิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ คนพาลเปรียบด้วย
                          หม้อน้ำที่มีน้ำครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม
                          สมณะกล่าวถ้อยคำใดมากที่เข้าถึงประโยชน์ประกอบด้วย
                          ประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่ ย่อมแสดงธรรม สมณะผู้นั้นรู้
                          อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำมาก สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน สมณะ
                          นั้นรู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้แก่สัตว์
                          ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควร
                          ซึ่งปฏิปทาของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนีแล้ว ฯ
จบนาลกสูตรที่ ๑๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๙๕๕๖ - ๙๖๙๕.  หน้าที่  ๔๑๕ - ๔๒๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9556&Z=9695&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=388
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[388-389] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=25&A=388&Z=389





                                      พรุ่งนี้วันพระ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่