คิดว่า การได้ ฌาน นี้ความจำเป็นไหมครับ

วันนี้เล่นเฟสแล้วมีพี่ๆเอามาแชร์ ส่วนตัวผมชอบนะ มันดูเป็นหลักการคิดแบบที่ผมใช้ถือปฏิบัติ
หลายๆคนคงนั่งสมาธิกันอยู่เนื่องๆ ผมเองก็นั่ง แต่แค่ให้จิตสงบก่อนจะหลับแค่นั้นไม่ได้หวังอะไร
มีความต่างจากคนที่รู้จักหลายๆคนที่เรียนสมาธิมาว่าจะนั่งให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ มีนั้นนี่เกิดขึ้น
ของผมแค่เวลาทำงานหรือมีปัญหาขอให้ผมได้มีสติ มีสมาธิกับเรื่อนั้นๆตัดสิ่งรบกวนอื่นออกได้ ไม่ให้จิตฟุ้งกับสิ่งที่ต้องทำ
และมีสติรู้ว่าอะไรคือกิเลส และจักการกับกิเลสตัวเองยังไง ฝึกสติให้ทันความคิดและการกระทำ เพื่อได้ลดการเกิดทุกข์
ลองมาอ่านบทความดูกันเล่นๆ ดูกับอีกมุมความคิด มีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ อาจจะต่างจากเพื่อนๆพี่คนอื่นอยู่บ้าง

"เรื่อง “ฌาน” ไม่ใช่ธรรมจำเป็นในมรรคในผลที่จะถอดถอนกิเลสถึงชั้นภูมิแห่งความบริสุทธิ์ของใจ ฌานไม่จำเป็นสำหรับเจริญปัญญา"

หลวงตาอธิบายธรรมให้กับชาวอังกฤษ ณ ธัมมปทีปวิหาร กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันจันทร์ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔)

"ความชำนาญของจิตจะเป็นสมาธิก็ตาม จะเป็นปัญญาก็ตาม ก็มีลักษณะนั้น ดังที่ท่านว่า “ฌาน ฌานสี่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน” ที่เรียกว่า รูปฌาน และยังมี อรูปฌาน อีก ๔ รวมกันเป็น “สมาบัติ ๘“ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งดับสัญญาและเวทนา แต่สมาบัตินี้เป็นธรรมปลีกย่อย หรือเกี่ยวข้องกับนิสัยวาสนาของผู้จะควรเป็นไปก็เป็นไปเอง ไม่ใช่ธรรมจำเป็นในมรรคในผลที่จะถอดถอนกิเลสถึงชั้นภูมิแห่งความบริสุทธิ์ของใจ เช่นพระอรหันต์ เป็นต้น

ผู้ชำนาญในฌาน ก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกับผู้ชำนาญในการเขียนหนังสือนั่นเอง อย่างปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้น วิ่งถึงกันหมดเพราะความรวดเร็วของจิต อาการของจิตเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปโดยลำดับ ๆ ไม่ใช่จะก้าวขึ้นไปเหมือนเราก้าวขึ้นบันได จากขั้นนี้ก้าวขึ้นขั้นนั้น ก้าวจากขั้นนั้นถึงขั้นโน้น"

ชาวอังกฤษถาม : “ฌาน” ไม่ต้องการสำหรับเจริญปัญญา เป็นอย่างไร
หลวงตาตอบ : เรื่อง “ฌาน” นั้น ถ้าเราไม่มีนิสัยก็ไม่ต้องพยายามให้ได้ฌาน ถ้าปรากฏก็ทำไปได้ ใครไม่ควรขวนขวายจะมีฌานยิ่งกว่ามุ่งมรรคผลนิพพาน เพราะฌานเป็นธรรมปลีกย่อยจาก ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นเครื่องแก้กิเลสทั้งปวง เปรียบเหมือนภาษาประจำชาติ ใครๆ ก็ทราบด้วยกัน แม้จะไม่ได้เรียนสอบเอาปริญญา คนเราไม่ต้องเอาปริญญาเพราะการเรียนก็ได้ แต่ภาษาประจำชาติย่อมพูดได้ฟังได้ด้วยกัน

“ฌาน” นั้นแปลว่า “เพ่ง” ภาวนา พุทโธ ๆๆๆ ก็เป็นฌานแล้ว ฌานเป็นหลักธรรมชาติ ฌานไม่จำเป็นสำหรับเจริญปัญญา เพราะการพิจารณารูปก็มีวิตก ซึ่งคือการยกจิตขึ้น มีวิจารณ์ คือการคลี่คลายสิ่งที่เห็นนั้นออก ถ้าการทำอย่างนี้ตามหลักธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติก็มีฌานได้ตามนิสัยของตนแม้ไม่เด่น ดังที่ท่านอธิบายไว้ คำว่า “ฌาน” ชาวพุทธเราสนใจกันมาก แต่ไม่ค่อยได้รับผลตามความจริงของฌาน นอกจากพูดกันแบบหรู ๆ พอรำคาญเท่านั้น

(ครั้งที่ไปประเทศอังกฤษมีหลวงตา หลวงปู่ปัญญา หลวงปู่เชอรี่)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่