ใบพัด - เจนนี่มาเมืองไทยได้ไง
ตอน ๑๕-๑๖ เดินทางทั่วยุโรป ชอบเดินทางคนเดียว เปิดโอกาสให้เผชิญหน้ากับ Magic เลย พออายุ ๑๗ ไปเรียนรัฐศาสตร์ที่ปารีส พอปี ๓ หลักสูตรรัฐศาสตร์ (Sciences Po Paris) บังคับให้ไปอยู่ต่างประเทศ ๑ ปี เจนนี่เลือกที่จะไป New Zealand ไปเรียน Sound Engineering ซึ่งคนละเรื่องกับสิ่งที่เราเรียนอยู่คือรัฐศาสตร์แต่ก็ไม่เป็นไร มหาวิทยาลัยที่ปารีสยอม พอเรียนจบจาก New Zealand เพื่อนที่นั่นก็แนะนำให้เดินทางคนเดียวไปทุกประเทศที่อยู่ระหว่างทางกลับฝรั่งเศส ไปFiji ไปศรีลังกา ประเทศไทย แล้วก็กลับยุโรป เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าเจนนี่ีน่าจะเหมาะกับประเทศไทย ลองไปอยู่เมืองไทยดู อย่างน้อยก็สักหนึ่งเดือน
ใบพัด - จากหนึ่งเดือนทำไมกลายเป็นเจ็ดปี ติดอกติดใจอะไรที่นี่
เจนนี่ - ตอนแรกไปตามแพลนของเพื่อน ไป full moon party ที่เกาะพงัน อยู่ราวหนึ่งเดือนแล้วก็กลับ แต่รู้สึกเหมือนยังไม่ได้เห็นเมืองไทย ตอนที่กำลังจะขึ้นเครื่องบินบอกตัวเองว่าจะกลับมาอีก อยากกลับมาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม อีกอย่าง ประเทศไทยมันสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนมา เพราะเราเรียนรัฐศาสตร์ มันมีเรื่องวิกฤติทางการเมือง สงครามภายใน การก่อการร้าย การขายอาวุธ ค้ามนุษย์ ยาเสพติด ประเทศไทยมีครบหมดเลย (หัวเราะ) ก็คิดว่า มาเมืองไทยไม่น่าจะตกงานนะ (หัวเราะ) คือสำหรับคนที่ทำวิทยานิพนธ์ ที่นี่มันน่าสนใจ เพราะการเมืองมันเปลี่ยนไปทุกๆ วัน ต้องติดตามความเคลื่อนไหวโดยตลอด
ใบพัด - เห็นบอกว่าเรียนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส
เจนนี่ - ค่ะ เรียนภาษาไทยด้วยวิธีแบบคนฝรั่งเศส คือ เรียนภาษาสุภาพ ภาษาทางการ เน้นการเขียน ตอนนั้นจำได้ว่า สงสัยว่าทำไมต้องเรียนคำว่า "ศิลาจารึก" จะมีโอกาสได้ใช้คำนี้ในบทสนทนาบ้างไหม สุดท้าย ต้องยอมรับว่าในชีวิตประจำวันใช้คำนี้บ่อยจริงๆ (หัวเราะ) หลังจากเรียน ๑ ปี ก็มาที่เมืองไทย แล้วรู้แค่ภาษาเขียนและภาษาสุภาพ คนไทยได้ฟังก็หัวเราะกันใหญ่ แต่ไม่มีใครบอกว่าเจนนี่พูดตลก เจนนี่ก็งง พอวันหลังเพื่อนร่วมงานบอกว่า เจนนี่ ไม่ต้อง 'ดิฉันรับประทานแล้วค่ะ' ให้พูด 'กินข้าวแล้ว' ก็พอ
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาเจนนี่ struggle มากกับการใช้สรรพนามแทนตัวเอง ตามที่เรียนมาว่าผู้ชายใช้ "ผม" ผู้หญิงใช้ "ดิฉัน" แต่สุดท้าย คำว่า "ดิฉัน" กลายเป็นคำที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน คนฟังแล้วแปลกๆ แต่พอผู้ชายนี่ ใช้ "ผม" ได้ตลอดเวลา ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้หญิงเลย (หัวเราะ) แล้วใครเรียกเจนนี่ว่า "หนู" เราจะรู้สึกถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาก ใครเรียก "คุณ" ก็รู้สึกตลกมาก มันไม่ค่อยสนิท ใครเรียก "อาจารย์" ก็รู้สึกไม่ยุติธรรมต่อเขา ก็เลยต้องให้คนอื่นเรียกชื่อ "เจนนี่" แล้วเจนนี่ก็เรียกตนเองว่า "เจนนี่" ซึ่งตลกมาก
ใบพัด - คิดว่าภาษาไทยมีคำเฉพาะที่มันฝังลงในทัศนคติคนไทยไหม คำแบบนี้แหล่ะที่ทำให้คนไทยคิดแบบนี้ เชื่อแบบนี้ เป็นคนแบบนี้ ซึ่งคำแบบนี้ฝรั่งไม่มีเลย
เจนนี่ - อาจจะมีคำเกี่ยวกับศาสนา อย่าง บุญ บาป บารมี หรือ สิ่งที่เรียกว่า การพึ่งบารมี ซึ่งเป็นวิธีการใช้อำนาจที่อาจจะเป็น signature ของประเทศไทยเลย
ใบพัด - เจนนี่อยู่เมืองไทยมา ๗ ปี ระยะเวลาขนาดนี้สิ่งที่เห็นในฐานะชาวต่างชาติย่อมไปไกลว่าวัดพระแก้ว ต้มยำกุ้ง ตุ๊กตุ๊ก หรือฟูลมูนพาร์ตี้แห่งเกาะพะงันแน่นอน เจนนี่มองเห็นอะไรที่ฝรั่งคนอื่นมองไม่เห็นบ้าง
เจนนี่ - คิดว่าแม้แต่นักท่องเที่ยวก็มองเห็นด้วยว่า ประเทศนี้เป็นประเทศที่ไม่ได้เน้นเรื่องการสนทนา ไม่ได้เน้นเรื่องความจริง ไม่ได้เน้นเรื่องการอภิปราย เป็นสังคมของการรักษาหน้า อันนี้ทุกคนน่าจะเห็นตั้งแต่มาประเทศไทยครั้งแรก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็น สิ่งที่นักวิชาการศึกษาอยู่เหมือนกัน ก็คือความจริงที่อยู่เบื้องหลังภาพที่เราเห็น แต่นักท่องเที่ยวทุกคนก็รู้ว่ามันเป็นแค่ภาพ เบื้องหลังนี่ก็เป็นอีกเรื่อง
สังคมไทยเป็นสังคมที่มี contradiction เหมือนมีหลายอย่างที่ขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งสังคมอื่นก็เป็น ฝรั่งเศสก็เป็น อเมริกาก็เป็น แต่สังคมไทยนั้นแปลกและน่าสนใจ ก็จะเป็นเรื่อง contradiction นั้นมันก็ยังอยู่เรื่อยๆ ไม่มีการสนทนากันถึงความขัดแย้งนั้น เช่นเน้นเรื่องศาสนาพุทธ แต่ในขณะเดียวกันก็บ้าทุนนิยม หรือว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบความขัดแย้ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสูงมาก หรือเรื่องศีลธรรมคุณธรรม แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เกี่ยวกับโสเภณี มันมี hypocrisy สูงมาก ประเทศไทยไม่มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เสร็จแล้วมันก็เหมือนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็รักษาไว้
ใบพัด - คิดว่ามันจะเป็นเหมือนลูกโป่งมั้ย พอรักษาไว้ เลี้ยงไปเรื่อยๆ มันค่อยๆ อัดแน่นจนวันหนึ่งลูกโป่งอาจจะระเบิดขึ้นมา
เจนนี่ - หลายคนอาจจะรู้สึกอย่างนั้นและรอมานาน แต่มันก็ไม่เห็นระเบิด มันก็ไปเรื่อยๆ ของมันได้ เพราะว่าคนที่มีผลประโยชน์ในการรักษาสภาพแบบนี้ฉลาด อันนี้มันเกี่ยวข้องกับศาสนา เกี่ยวข้องกับภาษา เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของเมืองไทย สิ่งที่ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียก "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยถูกฉีก
ประเด็นหลักคือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นสังคมแห่งความจริง มีหลายอย่างที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สังคมแห่งความจริงไม่ได้ ความจริงจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการสนทนา มีการพูดคุย มีการอภิปราย
ถ้ามีไอเดียหลายไอเดียที่ขัดแย้งกัน สุดท้ายไอเดียที่ชนะน่าจะเป็นไอเดียที่จริงกว่าไอเดียอื่น
แต่สังคมนี้ไม่มีการ debate ไม่มีการการปะทะของความคิด ดังนั้นจึงมีความคิดเดียวที่ยังคงอยู่ไปเรื่อยๆ และความจริงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ปัญหานี้มันเป็นปัญหาในเชิงการเมืองไปด้วย ตอนนี้มองวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นเป็นวิกฤตเกี่ยวกับว่าใครจะมีสิทธิสร้างความจริงได้ และความจริงที่ออกมาจะมีหน้าตาอย่างไร เราขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในการอภิปราย การขาดเสรีภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความจริงมันเกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่ขัดแย้งกับความจริงทางการแห่งรัฐ จะไม่มีสิทธ์ปรากฎขึ้นได้บนเวทีสาธารณะ แล้วประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการอภิปรายอย่างเสรี เพราะสังคมประชาธิปไตยมันเป็นสังคมที่เน้นการอภิปรายเป็นหลัก
การรักษาความจริงแห่งรัฐ ทำอย่างไรบ้างเพื่อรักษาไว้ให้ได้ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส Michel Foucault (L'ordre du discours, ๑๙๗๑) เคยอธิบายว่า วีธี control วาทกรรมในสังคมใด สังคมหนึ่งเพื่อรักษาความจริงเดิม มี ๓ วิธี
วิธีแรกคือ การห้ามคนในสังคมแสดงความคิดที่เป็นภัยต่อวาทกรรมเดิมหรือความจริงที่อยากจะรักษาไว้ ในเมืองไทยมี มีกฎหมาย ๑๑๒ ที่มีอำนาจมากกว่ากฎหมายคือ social norm กฎแห่งสังคม ซึ่งประกอบด้วย social sanction การลงโทษทางสังคม มีความกดดันจากผู้อื่นถ้าแสดงความคิดเห็นไม่ตรงกับสังคมคนส่วนใหญ่ วิธีที่สองคือ การ discredit ความคิดที่ ไม่ตรงกับความจริงที่อยากจะรักษาไว้นั้น โดยการบอกว่าความคิดนี้ไม่จริง และสร้างความคิดโต้กลับมันที่ดูจริงกว่า โดยหลายวิธี เช่น ในการต่อสู้เรื่องความจริงด้านประวัติศาสตร์ถ้าเมื่อไรมีนักประวัติศาสตร์ที่ออกงานวิจัยที่เป็นภัยต่อความจริงต่อรัฐ รัฐก็จะสู้กลับ จ้างนักประวัติศาสตร์มาช่วยสู้กับความคิดนั้น และสร้าง school โต้กลับ แล้วให้งบ สนับสนุนอย่างเป็นทางการ พิมพ์ตำราและประกาศความคิดของรัฐทั่วๆ ไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เสร็จแล้วนักประวัติศาสตร์คนที่สู้กับความจริงของรัฐจะสู้กลับไม่ไหวเพราะงบและทรัพยากรไม่พอ งานวิจัยเขาก็จะค่อยๆ ตายไป ส่วนวิธีที่ ๓ คือการ discredit คนที่สร้างความจริงใหม่ที่เป็นภัยต่อความจริงที่อยากจะรักษาไว้นั้น ถ้าอยู่กับตัวอย่างที่ใช้มาเมื่อกี้นี้ นักประวัติศาสตร์คนนั้นจะต้องถูก discredit โดยตรง เลยว่า เขาเอง ไม่มีสิทธิพูด เขาเป็นคนไม่ดี เขาไม่มีความเป็นไทย เป็นคนบ้า ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำร้ายชาติ ทำลายความสามัคคี ดังนั้นสิ่งที่เขาพูดหรือเขียนมานั้น ไม่ต้องไปฟัง ไม่ต้องไปอ่าน เพราะว่ามาจากคนที่ไร้ค่าไม่น่าเชื่อถือและปราศจากความหวังดีต่อบ้านเมือง คราวนี้รัฐไทยก็จะเอาสามกลไกนี้มาใช้โดยตลอด เพื่อรักษาความจริงทางประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยดีงามมาตลอดเวลาจนถึงปัจจุบัน
มันน่าสนใจตรงที่ว่าประเทศไทยอยู่กับสิ่งที่ไม่จริงมาตลอดเวลา ประวัติศาสตร์ หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทย ซึ่งประกอบด้วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มันถูกรักษาไว้ตลอดเวลา แต่ตอนนี้มีนักประวัติศาสตร์ ประชาชนทั่วไปเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้ว่ามันจริงมั้ย เรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง ซึ่งมันก็ตรงกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกก็จะเห็นชัดเจนว่ามีภาพที่นิ่งๆ มีความเป็นไทย มีศีลธรรมที่มันไม่ตรงกับสิ่งที่เห็นอยู่เบื้องหลัง แล้วทุกคนก็จะเห็นว่าตรงนี้มันมีอะไรที่น่าจับตามอง
ใบพัด - จับตามองแล้วเห็นอะไรบ้าง
เจนนี่ - เราก็จะเห็นว่า ลึกๆ มันมีความขัดแย้งอยู่ภายใต้ความนิ่งสงบนั้น ซึ่งความขัดแย้ง ก็มี ๓ ระดับ ๑. ความขัดแย้งภายในของชนชั้นนำ ซึ่งอันนี้มันอยู่ในหมู่ของคนจำนวนน้อย ๒. มีวิกฤตเกี่ยวกับความขัดแย้งของประชาชน ชนชั้นนำกับชนชั้นล่าง อันนี้มันเป็นความขัดแย้งที่ปกติมากสำหรับรัฐศาสตร์ในประเทศที่กำลังพัฒนา ๓. ยังมีความขัดแย้งอันสุดท้ายซึ่งน่าสนใจที่สุดคือความขัดแย้งเกี่ยวกับความจริงที่ได้พูดมาเมื่อสักครู่ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ก็คือคนที่ยึดอำนาจมา อยากรักษา status quo เอาไว้ โดยการจัดการทั้งสามความขัดแย้งพร้อมกัน จะสำเร็จหรือไม่เดี๋ยวก็รู้กัน
ใบพัด - ท่ามกลางความแตกร้าวเราจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม ที่ยุโรปเขาจัดการเรื่องนี้กันยังไง
เจนนี่ - ก็นี่ไง ประชาธิปไตยมันมีค่าก็ตรงนี้ ความขัดแย้งมันมีค่า มันต้องมีความขัดแย้ง มันทำให้เดินหน้าต่อไปได้ สมมติอาจารย์คนนึงพูดอะไรที่มันผิด แล้วไม่มีใครแย้ง ไม่มีใครสู้กับความคิดของอาจารย์ มันก็จะถูกสืบทอดไปตลอด แต่ถ้าเป็นประชาธิปไตย คนเห็นว่ามันไม่จริงก็จะโต้แย้ง เสร็จแล้วเขาอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้ หรือไม่เปลี่ยน ก็เอาทฤษฏีมาสู้กัน ความขัดแย้งเนี่ย ประเด็นแรกคือ ต้องแลกเปลี่ยนกันได้ ประชาธิปไตยมันเป็นช่องทางเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นการเดินไปได้ร่วมกัน มันไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งหายไป แต่ทำให้เห็นทางไปได้ร่วมกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดมากๆ เมืองไทยการdebate ที่มีก็ใช้อารมณ์เป็นหลัก ไม่ใช่เหตุผล
ส่วนวัฒนธรรมของคนฝรั่งเศส คนเยอรมัน คนอเมริกัน เป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่ดีถ้าใครพูดอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ไปแก้ไขโดยใช้เหตุผลสู้ ประเทศไทยเป็นแบบใครพูดผิดอะไรก็เงียบ แต่กลับเอาไปพูดนินทาทีหลัง มันเดินหน้าไม่ได้ แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือเรื่องปรัชญา พอมีคำถามที่ลึกซึ้งก็จะไปเปิดดูคำสอนของพระพุทธเจ้า ปรัชญาแบบตะวันตกจะมีคนรู้น้อยมาก นักปราชญ์ในสังคมไทยก็มีน้อยด้วย เพราะไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นสังคมในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน ฝรั่งเศส นักปราชญ์จะมีส่วนร่วมกับสาธารณะและตั้งคำถามกับเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เมืองไทยมันยังขาดการสนทนาในเชิงลึก
เมืองไทยเท่าที่เห็น : Eugénie Mérieau
นิตยสาร สารคดี ฉบับล่าสุด
https://www.facebook.com/editormoremag/posts/948383475224193
บทสัมภาษณ์ยาวหน่อยแต่น่าสนใจดี
อ่านแล้วทำให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองในไทยไม่มีทางจบ ถ้าไม่เอาความจริงออกมาพูด
เมืองไทยเท่าที่เห็น : Eugénie Mérieau
ตอน ๑๕-๑๖ เดินทางทั่วยุโรป ชอบเดินทางคนเดียว เปิดโอกาสให้เผชิญหน้ากับ Magic เลย พออายุ ๑๗ ไปเรียนรัฐศาสตร์ที่ปารีส พอปี ๓ หลักสูตรรัฐศาสตร์ (Sciences Po Paris) บังคับให้ไปอยู่ต่างประเทศ ๑ ปี เจนนี่เลือกที่จะไป New Zealand ไปเรียน Sound Engineering ซึ่งคนละเรื่องกับสิ่งที่เราเรียนอยู่คือรัฐศาสตร์แต่ก็ไม่เป็นไร มหาวิทยาลัยที่ปารีสยอม พอเรียนจบจาก New Zealand เพื่อนที่นั่นก็แนะนำให้เดินทางคนเดียวไปทุกประเทศที่อยู่ระหว่างทางกลับฝรั่งเศส ไปFiji ไปศรีลังกา ประเทศไทย แล้วก็กลับยุโรป เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าเจนนี่ีน่าจะเหมาะกับประเทศไทย ลองไปอยู่เมืองไทยดู อย่างน้อยก็สักหนึ่งเดือน
ใบพัด - จากหนึ่งเดือนทำไมกลายเป็นเจ็ดปี ติดอกติดใจอะไรที่นี่
เจนนี่ - ตอนแรกไปตามแพลนของเพื่อน ไป full moon party ที่เกาะพงัน อยู่ราวหนึ่งเดือนแล้วก็กลับ แต่รู้สึกเหมือนยังไม่ได้เห็นเมืองไทย ตอนที่กำลังจะขึ้นเครื่องบินบอกตัวเองว่าจะกลับมาอีก อยากกลับมาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม อีกอย่าง ประเทศไทยมันสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนมา เพราะเราเรียนรัฐศาสตร์ มันมีเรื่องวิกฤติทางการเมือง สงครามภายใน การก่อการร้าย การขายอาวุธ ค้ามนุษย์ ยาเสพติด ประเทศไทยมีครบหมดเลย (หัวเราะ) ก็คิดว่า มาเมืองไทยไม่น่าจะตกงานนะ (หัวเราะ) คือสำหรับคนที่ทำวิทยานิพนธ์ ที่นี่มันน่าสนใจ เพราะการเมืองมันเปลี่ยนไปทุกๆ วัน ต้องติดตามความเคลื่อนไหวโดยตลอด
ใบพัด - เห็นบอกว่าเรียนภาษาไทยที่ฝรั่งเศส
เจนนี่ - ค่ะ เรียนภาษาไทยด้วยวิธีแบบคนฝรั่งเศส คือ เรียนภาษาสุภาพ ภาษาทางการ เน้นการเขียน ตอนนั้นจำได้ว่า สงสัยว่าทำไมต้องเรียนคำว่า "ศิลาจารึก" จะมีโอกาสได้ใช้คำนี้ในบทสนทนาบ้างไหม สุดท้าย ต้องยอมรับว่าในชีวิตประจำวันใช้คำนี้บ่อยจริงๆ (หัวเราะ) หลังจากเรียน ๑ ปี ก็มาที่เมืองไทย แล้วรู้แค่ภาษาเขียนและภาษาสุภาพ คนไทยได้ฟังก็หัวเราะกันใหญ่ แต่ไม่มีใครบอกว่าเจนนี่พูดตลก เจนนี่ก็งง พอวันหลังเพื่อนร่วมงานบอกว่า เจนนี่ ไม่ต้อง 'ดิฉันรับประทานแล้วค่ะ' ให้พูด 'กินข้าวแล้ว' ก็พอ
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาเจนนี่ struggle มากกับการใช้สรรพนามแทนตัวเอง ตามที่เรียนมาว่าผู้ชายใช้ "ผม" ผู้หญิงใช้ "ดิฉัน" แต่สุดท้าย คำว่า "ดิฉัน" กลายเป็นคำที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน คนฟังแล้วแปลกๆ แต่พอผู้ชายนี่ ใช้ "ผม" ได้ตลอดเวลา ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้หญิงเลย (หัวเราะ) แล้วใครเรียกเจนนี่ว่า "หนู" เราจะรู้สึกถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาก ใครเรียก "คุณ" ก็รู้สึกตลกมาก มันไม่ค่อยสนิท ใครเรียก "อาจารย์" ก็รู้สึกไม่ยุติธรรมต่อเขา ก็เลยต้องให้คนอื่นเรียกชื่อ "เจนนี่" แล้วเจนนี่ก็เรียกตนเองว่า "เจนนี่" ซึ่งตลกมาก
ใบพัด - คิดว่าภาษาไทยมีคำเฉพาะที่มันฝังลงในทัศนคติคนไทยไหม คำแบบนี้แหล่ะที่ทำให้คนไทยคิดแบบนี้ เชื่อแบบนี้ เป็นคนแบบนี้ ซึ่งคำแบบนี้ฝรั่งไม่มีเลย
เจนนี่ - อาจจะมีคำเกี่ยวกับศาสนา อย่าง บุญ บาป บารมี หรือ สิ่งที่เรียกว่า การพึ่งบารมี ซึ่งเป็นวิธีการใช้อำนาจที่อาจจะเป็น signature ของประเทศไทยเลย
ใบพัด - เจนนี่อยู่เมืองไทยมา ๗ ปี ระยะเวลาขนาดนี้สิ่งที่เห็นในฐานะชาวต่างชาติย่อมไปไกลว่าวัดพระแก้ว ต้มยำกุ้ง ตุ๊กตุ๊ก หรือฟูลมูนพาร์ตี้แห่งเกาะพะงันแน่นอน เจนนี่มองเห็นอะไรที่ฝรั่งคนอื่นมองไม่เห็นบ้าง
เจนนี่ - คิดว่าแม้แต่นักท่องเที่ยวก็มองเห็นด้วยว่า ประเทศนี้เป็นประเทศที่ไม่ได้เน้นเรื่องการสนทนา ไม่ได้เน้นเรื่องความจริง ไม่ได้เน้นเรื่องการอภิปราย เป็นสังคมของการรักษาหน้า อันนี้ทุกคนน่าจะเห็นตั้งแต่มาประเทศไทยครั้งแรก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็น สิ่งที่นักวิชาการศึกษาอยู่เหมือนกัน ก็คือความจริงที่อยู่เบื้องหลังภาพที่เราเห็น แต่นักท่องเที่ยวทุกคนก็รู้ว่ามันเป็นแค่ภาพ เบื้องหลังนี่ก็เป็นอีกเรื่อง
สังคมไทยเป็นสังคมที่มี contradiction เหมือนมีหลายอย่างที่ขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งสังคมอื่นก็เป็น ฝรั่งเศสก็เป็น อเมริกาก็เป็น แต่สังคมไทยนั้นแปลกและน่าสนใจ ก็จะเป็นเรื่อง contradiction นั้นมันก็ยังอยู่เรื่อยๆ ไม่มีการสนทนากันถึงความขัดแย้งนั้น เช่นเน้นเรื่องศาสนาพุทธ แต่ในขณะเดียวกันก็บ้าทุนนิยม หรือว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบความขัดแย้ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสูงมาก หรือเรื่องศีลธรรมคุณธรรม แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เกี่ยวกับโสเภณี มันมี hypocrisy สูงมาก ประเทศไทยไม่มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เสร็จแล้วมันก็เหมือนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็รักษาไว้
ใบพัด - คิดว่ามันจะเป็นเหมือนลูกโป่งมั้ย พอรักษาไว้ เลี้ยงไปเรื่อยๆ มันค่อยๆ อัดแน่นจนวันหนึ่งลูกโป่งอาจจะระเบิดขึ้นมา
เจนนี่ - หลายคนอาจจะรู้สึกอย่างนั้นและรอมานาน แต่มันก็ไม่เห็นระเบิด มันก็ไปเรื่อยๆ ของมันได้ เพราะว่าคนที่มีผลประโยชน์ในการรักษาสภาพแบบนี้ฉลาด อันนี้มันเกี่ยวข้องกับศาสนา เกี่ยวข้องกับภาษา เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของเมืองไทย สิ่งที่ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียก "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม" เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยถูกฉีก
ประเด็นหลักคือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นสังคมแห่งความจริง มีหลายอย่างที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สังคมแห่งความจริงไม่ได้ ความจริงจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการสนทนา มีการพูดคุย มีการอภิปราย
ถ้ามีไอเดียหลายไอเดียที่ขัดแย้งกัน สุดท้ายไอเดียที่ชนะน่าจะเป็นไอเดียที่จริงกว่าไอเดียอื่น
แต่สังคมนี้ไม่มีการ debate ไม่มีการการปะทะของความคิด ดังนั้นจึงมีความคิดเดียวที่ยังคงอยู่ไปเรื่อยๆ และความจริงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ปัญหานี้มันเป็นปัญหาในเชิงการเมืองไปด้วย ตอนนี้มองวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นเป็นวิกฤตเกี่ยวกับว่าใครจะมีสิทธิสร้างความจริงได้ และความจริงที่ออกมาจะมีหน้าตาอย่างไร เราขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในการอภิปราย การขาดเสรีภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความจริงมันเกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่ขัดแย้งกับความจริงทางการแห่งรัฐ จะไม่มีสิทธ์ปรากฎขึ้นได้บนเวทีสาธารณะ แล้วประชาธิปไตยมันเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการอภิปรายอย่างเสรี เพราะสังคมประชาธิปไตยมันเป็นสังคมที่เน้นการอภิปรายเป็นหลัก
การรักษาความจริงแห่งรัฐ ทำอย่างไรบ้างเพื่อรักษาไว้ให้ได้ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส Michel Foucault (L'ordre du discours, ๑๙๗๑) เคยอธิบายว่า วีธี control วาทกรรมในสังคมใด สังคมหนึ่งเพื่อรักษาความจริงเดิม มี ๓ วิธี
วิธีแรกคือ การห้ามคนในสังคมแสดงความคิดที่เป็นภัยต่อวาทกรรมเดิมหรือความจริงที่อยากจะรักษาไว้ ในเมืองไทยมี มีกฎหมาย ๑๑๒ ที่มีอำนาจมากกว่ากฎหมายคือ social norm กฎแห่งสังคม ซึ่งประกอบด้วย social sanction การลงโทษทางสังคม มีความกดดันจากผู้อื่นถ้าแสดงความคิดเห็นไม่ตรงกับสังคมคนส่วนใหญ่ วิธีที่สองคือ การ discredit ความคิดที่ ไม่ตรงกับความจริงที่อยากจะรักษาไว้นั้น โดยการบอกว่าความคิดนี้ไม่จริง และสร้างความคิดโต้กลับมันที่ดูจริงกว่า โดยหลายวิธี เช่น ในการต่อสู้เรื่องความจริงด้านประวัติศาสตร์ถ้าเมื่อไรมีนักประวัติศาสตร์ที่ออกงานวิจัยที่เป็นภัยต่อความจริงต่อรัฐ รัฐก็จะสู้กลับ จ้างนักประวัติศาสตร์มาช่วยสู้กับความคิดนั้น และสร้าง school โต้กลับ แล้วให้งบ สนับสนุนอย่างเป็นทางการ พิมพ์ตำราและประกาศความคิดของรัฐทั่วๆ ไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เสร็จแล้วนักประวัติศาสตร์คนที่สู้กับความจริงของรัฐจะสู้กลับไม่ไหวเพราะงบและทรัพยากรไม่พอ งานวิจัยเขาก็จะค่อยๆ ตายไป ส่วนวิธีที่ ๓ คือการ discredit คนที่สร้างความจริงใหม่ที่เป็นภัยต่อความจริงที่อยากจะรักษาไว้นั้น ถ้าอยู่กับตัวอย่างที่ใช้มาเมื่อกี้นี้ นักประวัติศาสตร์คนนั้นจะต้องถูก discredit โดยตรง เลยว่า เขาเอง ไม่มีสิทธิพูด เขาเป็นคนไม่ดี เขาไม่มีความเป็นไทย เป็นคนบ้า ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำร้ายชาติ ทำลายความสามัคคี ดังนั้นสิ่งที่เขาพูดหรือเขียนมานั้น ไม่ต้องไปฟัง ไม่ต้องไปอ่าน เพราะว่ามาจากคนที่ไร้ค่าไม่น่าเชื่อถือและปราศจากความหวังดีต่อบ้านเมือง คราวนี้รัฐไทยก็จะเอาสามกลไกนี้มาใช้โดยตลอด เพื่อรักษาความจริงทางประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยดีงามมาตลอดเวลาจนถึงปัจจุบัน
มันน่าสนใจตรงที่ว่าประเทศไทยอยู่กับสิ่งที่ไม่จริงมาตลอดเวลา ประวัติศาสตร์ หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทย ซึ่งประกอบด้วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มันถูกรักษาไว้ตลอดเวลา แต่ตอนนี้มีนักประวัติศาสตร์ ประชาชนทั่วไปเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้ว่ามันจริงมั้ย เรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง ซึ่งมันก็ตรงกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกก็จะเห็นชัดเจนว่ามีภาพที่นิ่งๆ มีความเป็นไทย มีศีลธรรมที่มันไม่ตรงกับสิ่งที่เห็นอยู่เบื้องหลัง แล้วทุกคนก็จะเห็นว่าตรงนี้มันมีอะไรที่น่าจับตามอง
ใบพัด - จับตามองแล้วเห็นอะไรบ้าง
เจนนี่ - เราก็จะเห็นว่า ลึกๆ มันมีความขัดแย้งอยู่ภายใต้ความนิ่งสงบนั้น ซึ่งความขัดแย้ง ก็มี ๓ ระดับ ๑. ความขัดแย้งภายในของชนชั้นนำ ซึ่งอันนี้มันอยู่ในหมู่ของคนจำนวนน้อย ๒. มีวิกฤตเกี่ยวกับความขัดแย้งของประชาชน ชนชั้นนำกับชนชั้นล่าง อันนี้มันเป็นความขัดแย้งที่ปกติมากสำหรับรัฐศาสตร์ในประเทศที่กำลังพัฒนา ๓. ยังมีความขัดแย้งอันสุดท้ายซึ่งน่าสนใจที่สุดคือความขัดแย้งเกี่ยวกับความจริงที่ได้พูดมาเมื่อสักครู่ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ก็คือคนที่ยึดอำนาจมา อยากรักษา status quo เอาไว้ โดยการจัดการทั้งสามความขัดแย้งพร้อมกัน จะสำเร็จหรือไม่เดี๋ยวก็รู้กัน
ใบพัด - ท่ามกลางความแตกร้าวเราจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม ที่ยุโรปเขาจัดการเรื่องนี้กันยังไง
เจนนี่ - ก็นี่ไง ประชาธิปไตยมันมีค่าก็ตรงนี้ ความขัดแย้งมันมีค่า มันต้องมีความขัดแย้ง มันทำให้เดินหน้าต่อไปได้ สมมติอาจารย์คนนึงพูดอะไรที่มันผิด แล้วไม่มีใครแย้ง ไม่มีใครสู้กับความคิดของอาจารย์ มันก็จะถูกสืบทอดไปตลอด แต่ถ้าเป็นประชาธิปไตย คนเห็นว่ามันไม่จริงก็จะโต้แย้ง เสร็จแล้วเขาอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้ หรือไม่เปลี่ยน ก็เอาทฤษฏีมาสู้กัน ความขัดแย้งเนี่ย ประเด็นแรกคือ ต้องแลกเปลี่ยนกันได้ ประชาธิปไตยมันเป็นช่องทางเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นการเดินไปได้ร่วมกัน มันไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งหายไป แต่ทำให้เห็นทางไปได้ร่วมกัน นี่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดมากๆ เมืองไทยการdebate ที่มีก็ใช้อารมณ์เป็นหลัก ไม่ใช่เหตุผล
ส่วนวัฒนธรรมของคนฝรั่งเศส คนเยอรมัน คนอเมริกัน เป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่ดีถ้าใครพูดอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ไปแก้ไขโดยใช้เหตุผลสู้ ประเทศไทยเป็นแบบใครพูดผิดอะไรก็เงียบ แต่กลับเอาไปพูดนินทาทีหลัง มันเดินหน้าไม่ได้ แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือเรื่องปรัชญา พอมีคำถามที่ลึกซึ้งก็จะไปเปิดดูคำสอนของพระพุทธเจ้า ปรัชญาแบบตะวันตกจะมีคนรู้น้อยมาก นักปราชญ์ในสังคมไทยก็มีน้อยด้วย เพราะไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นสังคมในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน ฝรั่งเศส นักปราชญ์จะมีส่วนร่วมกับสาธารณะและตั้งคำถามกับเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เมืองไทยมันยังขาดการสนทนาในเชิงลึก
เมืองไทยเท่าที่เห็น : Eugénie Mérieau
นิตยสาร สารคดี ฉบับล่าสุด
https://www.facebook.com/editormoremag/posts/948383475224193
บทสัมภาษณ์ยาวหน่อยแต่น่าสนใจดี
อ่านแล้วทำให้เห็นว่า วิกฤตการเมืองในไทยไม่มีทางจบ ถ้าไม่เอาความจริงออกมาพูด