Authoritarianism and Democracy in Southeast Asia
คำถามสำคัญสำหรับนักรัฐศาสตร์สายการเมืองเปรียบเทียบเอเชียอาคเนย์ คงหนีมิพ้นเรื่องทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตยที่มีลักษณะกระท่อนกระแท่นและสะดุดติดขัดอยู่เป็นระยะ อันเป็นผลจากพลังตกค้างและการฟื้นคืนชีพขึ้นมาของระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
ฉะนั้น
คำถามหลักสำหรับการวิเคราะห์การเมือง จึงอยู่ที่ว่า ทำไมระบอบอำนาจนิยมถึงได้ทนทานยืนยงเป็นอย่างมากในภูมิภาคอุษาคเนย์ และแท้ที่จริงแล้ว ประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเป็นแบบไหนกันแน่
ต่อกรณีดังกล่าว มีงานวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่ช่วยไขความกระจ่างและพอบรรเทาความกระหายใคร่รู้ได้บ้าง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เฝ้าติดตามกระแสการเมืองเอเชียอาคเนย์ร่วมสมัย
Dan Slater (2010) ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเปรียบเทียบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ในงานเขียนเรื่อง 'Ordering Power:
Contentious Politics and Authoritarian Leviathans in Southeast Asia’ ได้หยิบยืมแนวคิดองค์อธิปัตย์ของ Thomas Hobbes นักปรัชญาการเมืองชื่อดัง โดยมองว่า การเมืองที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการทะเลาะเบาะแว้งของขั้วพลังทางสังคม ได้เปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำสามารถสร้างความเหนียวแน่นจนแปลงสภาพเป็นคณะบุคคลที่กุมอำนาจปกครองได้เด็ดขาดสูงสุดเหนือประชาชน ฉะนั้น การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยจึงมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ลักษณะการต่อรองกระชับอำนาจในกลุ่มชนชั้นนำ
ส่วนผลงานของ
Jacques Bertrand นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต เรื่อง
‘Political Change in Southeast Asia’ (2013) ได้จัดประเภทรัฐอุษาคเนย์ยุคสงครามเย็นออกเป็นสองส่วนหลัก คือ รัฐที่มีรากฐานมาจากพลังทุนนิยม เช่น ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กับรัฐที่มีรากฐานมาจากพลังสังคมนิยม เช่น ลาว เวียดนาม และพม่าสมัยนายพลเนวิน โดยพยายามอธิบายว่า ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐในทางเศรษฐกิจ คือ ตัวแปรหลักที่มีผลกระทบต่อทั้งการพัฒนาประชาธิปไตยและความคงทนของระบอบเผด็จการในเอเชียอาคเนย์
William Case (2002) นักรัฐศาสตร์ด้านไทย มาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จากมหาวิทยาลัยซิตี้อ๊อฟฮ่องกง ในหนังสือคลาสสิกเรื่อง
‘Politics in Southeast Asia: Democracy or Less’ ได้เคยอภิปรายว่า การพัฒนาประชาธิปไตยในไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ล้วนขาดความสมบูรณ์ตามแบบตะวันตก พร้อมเต็มไปด้วยวัฒนธรรมการเมืองที่มีแบบอย่างเฉพาะ รวมถึงขึ้นอยู่กับยุทธวิธีประสานผลประโยชน์ของบรรดาชนชั้นนำ ทั้งกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง ชนชั้นนำทหาร และชนชั้นนำทางธุรกิจ
ขณะที่ งานบรรณาธิการเรื่อง
‘The Political Resurgence of the Military in Southeast Asia: Conflict and Leadership’ (2013) ของ
Marcus Mietzner นักวิชาการจากวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นถึงการฟื้นคืนชีพของระบอบทหารในทางการเมือง จนทำให้กองทัพก้าวขึ้นมาปกครองรัฐเอเชียอาคเนย์พร้อมแทรกแซงการทำงานของรัฐบาลพลเรือนได้มากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ สาเหตุหลัก อาจมิใช่เรื่องมรดกทางประวัติศาสตร์หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม หากแต่เป็นเรื่องความแตกแยกภายในของบรรดานักการเมืองรวมถึงภาวะผู้นำของรัฐบาลพลเรือนที่มักอ่อนแอเปราะบางในช่วงวิกฤติการเมืองสำคัญ
จากงานวิชาการที่กล่าวมา
รัฐเอเชียอาคเนย์ คือ ห้องทดลองปฏิบัติการของระบอบการเมือง (Political Regime) ที่เต็มไปด้วยการแกว่งสลับไปมาระหว่างโลกประชาธิปไตยกับโลกอำนาจนิยม รวมถึงมีสถานะเป็นกลุ่มภูมิภาคที่ช่วยผลิตคำถามอันแหลมคมให้กับการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในรัฐโลกที่สาม โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับความแข็งแกร่งทนทานของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมและการฟื้นคืนชีพขององค์อธิปัตย์กองทัพในทางการเมือง
ดุลยภาค ปรีชารัชช
Credit :
ดุลยภาค ปรีชารัชช , อำนาจนิยมกับประชาธิปไตยในเอเชียอาคเนย์ ,5 June, 2017 - 14:44 :
https://blogazine.pub/blogs/dulyapak/post/6016
เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนังสือครับรายละเอียดข้อมูลจริงๆอยู่ในหนังสือนั่นล่ะใครว่างๆก็ลองไปอ่านกันได้ แวะไปอ่านบทความในบล็อกเห็นว่าน่าสนใจคอการเมืองในนี้อาจสนใจเลยเอามาฝากกัน
อำนาจนิยมกับประชาธิปไตยในเอเชียอาคเนย์
คำถามสำคัญสำหรับนักรัฐศาสตร์สายการเมืองเปรียบเทียบเอเชียอาคเนย์ คงหนีมิพ้นเรื่องทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตยที่มีลักษณะกระท่อนกระแท่นและสะดุดติดขัดอยู่เป็นระยะ อันเป็นผลจากพลังตกค้างและการฟื้นคืนชีพขึ้นมาของระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
ฉะนั้น คำถามหลักสำหรับการวิเคราะห์การเมือง จึงอยู่ที่ว่า ทำไมระบอบอำนาจนิยมถึงได้ทนทานยืนยงเป็นอย่างมากในภูมิภาคอุษาคเนย์ และแท้ที่จริงแล้ว ประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเป็นแบบไหนกันแน่
ต่อกรณีดังกล่าว มีงานวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่ช่วยไขความกระจ่างและพอบรรเทาความกระหายใคร่รู้ได้บ้าง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เฝ้าติดตามกระแสการเมืองเอเชียอาคเนย์ร่วมสมัย
Dan Slater (2010) ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเปรียบเทียบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ในงานเขียนเรื่อง 'Ordering Power: Contentious Politics and Authoritarian Leviathans in Southeast Asia’ ได้หยิบยืมแนวคิดองค์อธิปัตย์ของ Thomas Hobbes นักปรัชญาการเมืองชื่อดัง โดยมองว่า การเมืองที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการทะเลาะเบาะแว้งของขั้วพลังทางสังคม ได้เปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำสามารถสร้างความเหนียวแน่นจนแปลงสภาพเป็นคณะบุคคลที่กุมอำนาจปกครองได้เด็ดขาดสูงสุดเหนือประชาชน ฉะนั้น การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยจึงมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ลักษณะการต่อรองกระชับอำนาจในกลุ่มชนชั้นนำ
ส่วนผลงานของ Jacques Bertrand นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต เรื่อง ‘Political Change in Southeast Asia’ (2013) ได้จัดประเภทรัฐอุษาคเนย์ยุคสงครามเย็นออกเป็นสองส่วนหลัก คือ รัฐที่มีรากฐานมาจากพลังทุนนิยม เช่น ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กับรัฐที่มีรากฐานมาจากพลังสังคมนิยม เช่น ลาว เวียดนาม และพม่าสมัยนายพลเนวิน โดยพยายามอธิบายว่า ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐในทางเศรษฐกิจ คือ ตัวแปรหลักที่มีผลกระทบต่อทั้งการพัฒนาประชาธิปไตยและความคงทนของระบอบเผด็จการในเอเชียอาคเนย์
William Case (2002) นักรัฐศาสตร์ด้านไทย มาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จากมหาวิทยาลัยซิตี้อ๊อฟฮ่องกง ในหนังสือคลาสสิกเรื่อง ‘Politics in Southeast Asia: Democracy or Less’ ได้เคยอภิปรายว่า การพัฒนาประชาธิปไตยในไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ล้วนขาดความสมบูรณ์ตามแบบตะวันตก พร้อมเต็มไปด้วยวัฒนธรรมการเมืองที่มีแบบอย่างเฉพาะ รวมถึงขึ้นอยู่กับยุทธวิธีประสานผลประโยชน์ของบรรดาชนชั้นนำ ทั้งกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง ชนชั้นนำทหาร และชนชั้นนำทางธุรกิจ
ขณะที่ งานบรรณาธิการเรื่อง ‘The Political Resurgence of the Military in Southeast Asia: Conflict and Leadership’ (2013) ของ Marcus Mietzner นักวิชาการจากวิทยาลัยเอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นถึงการฟื้นคืนชีพของระบอบทหารในทางการเมือง จนทำให้กองทัพก้าวขึ้นมาปกครองรัฐเอเชียอาคเนย์พร้อมแทรกแซงการทำงานของรัฐบาลพลเรือนได้มากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ สาเหตุหลัก อาจมิใช่เรื่องมรดกทางประวัติศาสตร์หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม หากแต่เป็นเรื่องความแตกแยกภายในของบรรดานักการเมืองรวมถึงภาวะผู้นำของรัฐบาลพลเรือนที่มักอ่อนแอเปราะบางในช่วงวิกฤติการเมืองสำคัญ
จากงานวิชาการที่กล่าวมา รัฐเอเชียอาคเนย์ คือ ห้องทดลองปฏิบัติการของระบอบการเมือง (Political Regime) ที่เต็มไปด้วยการแกว่งสลับไปมาระหว่างโลกประชาธิปไตยกับโลกอำนาจนิยม รวมถึงมีสถานะเป็นกลุ่มภูมิภาคที่ช่วยผลิตคำถามอันแหลมคมให้กับการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบในรัฐโลกที่สาม โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับความแข็งแกร่งทนทานของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมและการฟื้นคืนชีพขององค์อธิปัตย์กองทัพในทางการเมือง
Credit :
ดุลยภาค ปรีชารัชช , อำนาจนิยมกับประชาธิปไตยในเอเชียอาคเนย์ ,5 June, 2017 - 14:44 :https://blogazine.pub/blogs/dulyapak/post/6016
เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนังสือครับรายละเอียดข้อมูลจริงๆอยู่ในหนังสือนั่นล่ะใครว่างๆก็ลองไปอ่านกันได้ แวะไปอ่านบทความในบล็อกเห็นว่าน่าสนใจคอการเมืองในนี้อาจสนใจเลยเอามาฝากกัน