Tempy Movies Review รีวิวหนัง: L'Eclisse {Michelangelo Antonioni}, 1966


ห้องคู่มั่นของนางเอกตกแต่งด้วยภาพ Abstract (ศิลปะยุคโพสต์โมเดิร์น) ซึ่งจู่ๆ เธอก็เบื่อหน่ายคู่มั่น ทั้งคู่ทำงานร่วมกันเกี่ยวการแปลภาษา (ตรงนี้อาจมองว่าแนวคิดโพสต์โมนเดิร์นจะมอง ความจริงเป็นแค่สิ่ง ที่เราสร้างขึ้นโดยระบบของภาษา มองความจริงให้ลึกขึ้น) ในขณะที่บ้านแฟนใหม่ ชายหนุ่ม วัตถุนิยม ทำงานเป็นโบรคเกอร์ในตลาดหุ้น (ดูเหมือน Antonioni อยากเปรียบเทียบบรรยากาศในตลาดหุ่นไม่ต่างจากในสนามโคอสเซียม) ตกแต่งด้วยภาพยุคโมเดิร์นหรือเก่ากว่านั้น รูปปั้นหินแกะสลักสมัยโรมัน เพียงเท่านี้เราคงพอจับทางได้ว่า Antonioni ต้องการแสดงให้เห็นภาพที่ขัดแย้งระหว่างยุคสมัย

หนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกขัดแย้งกับ L’Avventura (1960) ที่พยายามเรียกร้องสิทธิสตรีและมองเพศชายมีอำนาจเหนือกว่า ใช้เรื่อง male gaze (เช่นเดียวกันใน Blowup) เพราะหนังนำเสนอภาพผู้หญิงในสังคมชั้นสูง (พวกเธอพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล้ว เหมือนใน La Grande Illusion) ที่เหลาะแหละหรือแม้กระทั่งไร้สาระ อนึ่งหนังต้องการพูดถึง “สิ่งที่เรามองเห็นอาจไม่ใช่ความจริงแท้แน่นอน” (แนวคิดโพสต์โมเดิร์น) Antonioni แทรกแนวคิดนี้ลงในหนังแทบตลอดเวลา เราบรรยาไม่หมด เช่น

นางเอกเต้นล้อเลียนชาวนิโกรที่ชีวิตยากลำบาก เพื่อนเธอไม่ชอบและบอกให้หยุด แต่ในขณะเดียวเพื่อคนนั้นก็ล่าฮิปโปและช้างในแอฟริกาเป็นงานอดิเรก (ซึ่งนางก็เลี้ยงหมาพุดเดิ้ล สัตว์เลี้ยงของสังคมชั้นสูง)

การที่นางเอกไปนั่งเครื่องบินสั่งให้ผู้ชายขับไปทางด้านโน้นนี้อย่างสนุกสนานเพื่อความบันเทิงของเธอที่ไร้สาระ

นางเอกหักไม้ที่กั้นเขตก่อสร้างอาคารโมเดิร์นในละแวกบ้านเธอแล้วแช่ในน้ำ (ไร้สาระสิ้นดี เธอจะทำไปทำไม?) ขัดแย้งกับภาพต้นไม้สีเขียว (โพสต์โมเดิร์นเป็นยุคที่คนกลับมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ)

ชอบฉากที่เปรียบเทียบการไว้อาลัยคนในตลาดหุ้น ทุกคนเงียบมาก มีแต่เสียงโทรศัพท์ (ให้ความรู้สึก lost in communication มากๆ ซึ่งแนวคิดนี้ก็ถูกนำเอาไปพัฒนาต่อใน Blowup) พอไว้อาศัยเสร็จสิ้น บรรยากาศก็กลับมาวุ่นวายอีกครั้ง นั่นแปลว่าเพวกเขาไม่ได้เรียนรู้เลยว่า งานโบรคเกอร์ที่เครียดนั้น อาจพาเขาไปสู่ความตายเช่นเดียวกับเพื่อคนนั้น เช่นเดียวกับหลังจากที่นายโบรคเกอร์พานางเอกมามีสัมพันธ์ในห้องของเขา เขาก็ปล่อยให้โทรศัพท์ดัง มันเป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวย (ขัดแย้งด้วยภาพเด็ก หรือสัญลักษณ์ที่ปรากฎทั้งเรื่อง อย่างลูกโป่งของเด็กน้อย นาเอกก็ไปเอามาให้เพื่อนสาวเอาปืนมายิงเล่นอย่างไร้สาระ)

ยุคโมเดิร์นเป็นสมัยที่จิตใจผู้คนขาดการขัดเกลาจากศาสนา หนังขัดแย้งโดยใช้ภาพนักบวชหรือแม่ชีเดินตัดหน้า เดินสวนตัวละครหลักอยู่เรื่อยๆ
ช่วงนี้หนังนี้สร้างผู้คนต่างหวาดกลัวกับสงครามโลกที่อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สาม ช่วยเจ็ดแปดนาทีสุดท้ายของหนัง สร้างบรรยากาศได้อย่างน่าขนลุกขนพอง ถังใส่น้ำที่จู่ๆก็รั่วออกมา ก็ชวนให้นึกถึงน้ำมันที่รั่ว เครื่องฉีดรดน้ำ บริเวณเด้กเล่น ก็ชวนให้นึกถึงปืนใหญ่ หรือแม้กระทั่งเปลวไฟจากไสข้างทางก็ยังทำให้นึกถึงระเบิดนิวเคลียร์ การทดลองด้านภาพ Antonioni ในครั้งนี้มันแสดงถึงความหวาดหวั่นได้อย่างน่าอัศจรรย์

ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ https://www.facebook.com/survival.king
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่