กสทช.ยื่นหนังสือถึงหม่อมอุ๋ย ขอใช้มาตรา 44 เยียวยา อสมท กรณีขอคืนคลื่น 2600 MHz มาใช้งาน พร้อมเปิดแอพพลิเคชั่น รับข้อร้องเรียน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้วว่า จะทำหนังสือสอบถามไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อขอใช้มาตรการ 44 ในการจ่ายเงินเยียวยาสำหรับการขอคืนคลื่นย่าน 2600 MHz ให้กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นการนำเงินที่รัฐควรจะได้จากการประมูลแบ่งมาเยียวยาให้กับ 2 หน่วยงาน ดังนั้นจึงต้องการความชัดเจนว่าสามารถทำได้จริง ในระหว่างที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) ฉบับใหม่ที่กำหนดให้เยียวยาได้ จะผ่านและประกาศใช้ เพื่อจะไม่มีความผิดหรือมีคนมาฟ้องร้องภายหลัง
ทั้งนี้ ก่อนที่ตนเองจะตัดสินใจเลือกใช้มาตรา 44 เนื่อง จากได้สอบถามไปยังกรรมการ กสทช.หลายท่านแล้วมีความเห็นตรงกันว่า หากสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เกรงว่าความเห็นอาจจะไม่ตรงกับหน่วยงานอื่น อย่างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และจะกลายเป็นช่องให้มีคนออกมาคัดค้านได้ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้น มาแล้วกับกรณีการขอเลื่อนชำระค่าประมูลทีวีดิจิตอลรอบ 2 ที่ก็มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน เป็นต้น
"เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก อสมท ได้เดินทางมาพบกับผมเพื่อถามความชัดเจนว่าจะใช้มาตรการไหนในการจ่ายค่าเยียวยา เพื่อจะได้นำข้อสรุปที่ได้นำเข้าบอร์ด อสมท ผมจึงให้คำตอบไปว่าเราจะถามไปยังรองนายกฯ เพื่อใช้มาตรา 44 ในการเยียวยา ซึ่งผมจะรีบทำหนังสือไปสอบถามเร็วๆ นี้"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ อสมท เคยแจ้งเงินในการขอเยียวยาในเบื้องต้นว่าต้องไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าเยียวยาที่ อสมท ต้องนำไปชดเชยให้กับเอกชนที่ได้จ่ายค่าสัญญาสัมปทานที่ อสมท ได้ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2553
ด้าน พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่าย เจริญ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า ในปี 2557 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 มีสถิติในการสอบถามข้อมูลถึง 2.46 แสนครั้ง หรือคิดเป็น 675 ครั้งต่อวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่เพียง 16 คนไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ล่าสุดได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Mobile NBTC 1200 บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ระบบแอนดรอยด์ และ iOS ในอนาคต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการร้องเรียน สอบถาม ติดต่อกับคอลเซ็นเตอร์ 1200 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างง่าย ด้วยการเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก Play Store โดยค้นหา call center nbtc 1200 เพื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่น.
แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2558
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
งัด ม.44 เยียวยา 'อสมท' กสทช. เคลียร์ทางขอคืนคลื่น 2600MHz
กสทช.ยื่นหนังสือถึงหม่อมอุ๋ย ขอใช้มาตรา 44 เยียวยา อสมท กรณีขอคืนคลื่น 2600 MHz มาใช้งาน พร้อมเปิดแอพพลิเคชั่น รับข้อร้องเรียน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้วว่า จะทำหนังสือสอบถามไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อขอใช้มาตรการ 44 ในการจ่ายเงินเยียวยาสำหรับการขอคืนคลื่นย่าน 2600 MHz ให้กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นการนำเงินที่รัฐควรจะได้จากการประมูลแบ่งมาเยียวยาให้กับ 2 หน่วยงาน ดังนั้นจึงต้องการความชัดเจนว่าสามารถทำได้จริง ในระหว่างที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) ฉบับใหม่ที่กำหนดให้เยียวยาได้ จะผ่านและประกาศใช้ เพื่อจะไม่มีความผิดหรือมีคนมาฟ้องร้องภายหลัง
ทั้งนี้ ก่อนที่ตนเองจะตัดสินใจเลือกใช้มาตรา 44 เนื่อง จากได้สอบถามไปยังกรรมการ กสทช.หลายท่านแล้วมีความเห็นตรงกันว่า หากสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เกรงว่าความเห็นอาจจะไม่ตรงกับหน่วยงานอื่น อย่างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และจะกลายเป็นช่องให้มีคนออกมาคัดค้านได้ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้น มาแล้วกับกรณีการขอเลื่อนชำระค่าประมูลทีวีดิจิตอลรอบ 2 ที่ก็มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน เป็นต้น
"เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก อสมท ได้เดินทางมาพบกับผมเพื่อถามความชัดเจนว่าจะใช้มาตรการไหนในการจ่ายค่าเยียวยา เพื่อจะได้นำข้อสรุปที่ได้นำเข้าบอร์ด อสมท ผมจึงให้คำตอบไปว่าเราจะถามไปยังรองนายกฯ เพื่อใช้มาตรา 44 ในการเยียวยา ซึ่งผมจะรีบทำหนังสือไปสอบถามเร็วๆ นี้"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ อสมท เคยแจ้งเงินในการขอเยียวยาในเบื้องต้นว่าต้องไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าเยียวยาที่ อสมท ต้องนำไปชดเชยให้กับเอกชนที่ได้จ่ายค่าสัญญาสัมปทานที่ อสมท ได้ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2553
ด้าน พล.อ.ต.ธนพันธุ์ หร่าย เจริญ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค เปิดเผยว่า ในปี 2557 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 มีสถิติในการสอบถามข้อมูลถึง 2.46 แสนครั้ง หรือคิดเป็น 675 ครั้งต่อวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่เพียง 16 คนไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ล่าสุดได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Mobile NBTC 1200 บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ระบบแอนดรอยด์ และ iOS ในอนาคต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการร้องเรียน สอบถาม ติดต่อกับคอลเซ็นเตอร์ 1200 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างง่าย ด้วยการเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก Play Store โดยค้นหา call center nbtc 1200 เพื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่น.
แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 30 พฤษภาคม 2558
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้