กสทช. สั่ง MCOT และ กรมประชาฯ คืนคลื่น 2500-26000 MHz ชี้(เป็นคลื่นที่จะพัฒนาโทรคมนาคม) และสั่ง TRUEVISIONS ทำแผนเยียวยา

03 กุมภาพันธ์ 2557 กสทช. สั่ง MCOT และ กรมประชาฯ คืนคลื่น 2500-26000 MHz ชี้(เป็นคลื่นที่จะพัฒนาโทรคมนาคม) และ สั่ง TRUEVISIONS ทำแผนเยียวยาลูกค้าก่อนหมดสัมปทาน

ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 57 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการตรวจสอบสัญญาสัมปทาน และความจำเป็นของการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผลปรากฏว่า สัญญาระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไอซีที เพื่อให้บริการทีวีบนมือถือย่านความถี่ 2500-2600 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนั้น อสมท จะต้องคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. ภายใน 5 ปี

นอกจากนี้ ยังไม่อนุมัติให้ อสมท นำเข้าอุปกรณ์มาทดลองการออกอากาศทีวีบนมือถือ ในคลื่นย่าน 2500-2600 MHz หรือช่องยูเอชเอฟ 58 เนื่องจากคลื่นย่านดังกล่าว ตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคม ฉะนั้น บอร์ด กสท. จึงไม่สามารถอนุมัติได้ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายไปพิจารณารายละเอียดของสัญญาการออกอากาศแบบบอกรับสมาชิก ระหว่าง อสมท. กับ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด ในประเด็นการแก้ไขสัญญา เพื่อให้ทรูสามารถโฆษณาได้ 6 นาทีต่อชั่วโมง ว่าส่วนแบ่งรายได้จากการแก้ไขสัญญานั้น จะเป็นรายได้ของ อสมท. หรือหน่วยงานใด รวมถึงขัดกับกฎหมายหรือไม่

ขณะเดียวกัน ได้แจ้งให้ทรูจัดทำรายละเอียดการเยียวยาลูกค้าผู้ใช้บริการ เนื่องจากสัญญาสัมปทานจะสี้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 57 นี้ ส่วนการตรวจสอบสัญญาระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับบริษัท เวิลด์สตาร์ จำกัด เพื่อประกอบการเคเบิลนั้น คณะทำงานตรวจสอบสัญญาได้รายงานว่า สัญญาดังกล่าว ถือว่าสิ้นสุดและไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.กสทช. เนื่องจากสิทธิ์ในคลื่นความถี่นั้น เป็นของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์ไม่ได้ใช้งานคลื่นย่าน 2500-26000 MHz ฉะนั้น ก็ต้องคืนความถี่ดังกล่าวให้ กสทช. นับตั้งแต่ กสทช. มีคำสั่ง






http://m.thairath.co.th/content/tech/401048


______________________________________






บอร์ด กสท.ลงดาบ'อสมท' สัญญา ICT เอื้อบริการทีวีบนมือถือ


"อสมท" พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรก บอร์ด กสท. ลงดาบสัญญาไออีซี เพื่อบริการทีวีบนมือถือ ขัด พ.ร.บ.กสทช. ห้ามนำเข้าอุปกรณ์ทดลองบริการบนคลื่น 2500-2600 MHz และให้คืนคลื่น กสทช. ภายใน 5 ปี...

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 57 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการตรวจสอบสัญญาสัมปทาน และความจำเป็นของการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผลปรากฏว่า สัญญาระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับบริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไอซีที เพื่อให้บริการทีวีบนมือถือย่านความถี่ 2500-2600 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังนั้น อสมท จะต้องคืนคลื่นความถี่ให้ กสทช. ภายใน 5 ปี

นอกจากนี้ ยังไม่อนุมัติให้ อสมท นำเข้าอุปกรณ์มาทดลองการออกอากาศทีวีบนมือถือ ในคลื่นย่าน 2500-2600 MHz หรือช่องยูเอชเอฟ 58 เนื่องจากคลื่นย่านดังกล่าว ตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคม ฉะนั้น บอร์ด กสท. จึงไม่สามารถอนุมัติได้ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายไปพิจารณารายละเอียดของสัญญาการออกอากาศแบบบอกรับสมาชิก ระหว่าง อสมท. กับ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด ในประเด็นการแก้ไขสัญญา เพื่อให้ทรูสามารถโฆษณาได้ 6 นาทีต่อชั่วโมง ว่าส่วนแบ่งรายได้จากการแก้ไขสัญญานั้น จะเป็นรายได้ของ อสมท. หรือหน่วยงานใด รวมถึงขัดกับกฎหมายหรือไม่

ขณะเดียวกัน ได้แจ้งให้ทรูจัดทำรายละเอียดการเยียวยาลูกค้าผู้ใช้บริการ เนื่องจากสัญญาสัมปทานจะสี้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 57 นี้ ส่วนการตรวจสอบสัญญาระหว่างกรมประชาสัมพันธ์ กับบริษัท เวิลด์สตาร์ จำกัด เพื่อประกอบการเคเบิลนั้น คณะทำงานตรวจสอบสัญญาได้รายงานว่า สัญญาดังกล่าว ถือว่าสิ้นสุดและไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.กสทช. เนื่องจากสิทธิ์ในคลื่นความถี่นั้น เป็นของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์ไม่ได้ใช้งานคลื่นย่าน 2500-26000 MHz ฉะนั้น ก็ต้องคืนความถี่ดังกล่าวให้ กสทช. นับตั้งแต่ กสทช. มีคำสั่ง

พ.อ.นที กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปเกี่ยวกับการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก บนโคงข่ายทีวีดิจิตอลในช่องออกอากาศคู่ขนาน โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ไทยพีบีเอส และช่อง 5 จะออกอากาศแบบคู่ขนาน ระหว่างระบบอะนาล็อกกับดิจิตอล ไปจนกว่าจะปิดบริการระบบอะนาล็อก ซึ่งตามกรอบภายใน 5 ปีข้างหน้า ส่วนช่อง 3, 7, 9 ซึ่งเป็นช่องธุรกิจก็สามาถที่จะออกอากาศคู่ขนาดได้ ไปจนกว่าสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุด ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 3 ช่อง จะต้องทำเรื่องเสนอการออกคู่ขนานมายัง กสท.อีกครั้ง

ทั้งนี้ เมื่อ กสทช.ได้ประกาศผลเลขช่องรายการเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น มีผลให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดิม 3 ราย คือ 3, 7, 9 พ้นจากการปฏิบัติตามประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไป (มัสต์แครี่) ซึ่งจะทำให้ช่องดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องออกอากาศผ่านเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมก็ได้ จากเดิม กสทช. จะบังคับฟรีทีวีต้องออกอากาศทุกรูปแบบ และหลังจากออกอากาศทีวีดิจิตอล 30 วันแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติประกาศมัสต์แครี่ อย่างไรก็ตาม สำหรับการรับชมรายการของประชาชนทั่วไปจะไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ที่ต้องการรับชมทีวีดิจิตอล ก็ต้องรับชมผ่านกล่องรับส่งสัญญาณ (เซต ท็อป บ็อกซ์ ) ขณะเดียวกัน ประชาชนก็ยังรับชมทีวีระบบอะนาล็อกได้ ผ่านเสาก้างปลา หรือโทรทัศน์แบบเดิมในปัจจุบันเท่านั้น.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/401048






ผมขอเปลื่ยนชื่อจาก So Magawn เป็น Magawn19 (มันมีความหมายว่าเริ่มเล่นพันทิปอายุ19ครับ) มีผลทุกช่องทางนะครับ รวมถึงคลังความรู้โทรคมนาคมและการสือสาร http://magawn19.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่