ไก่เนื้อล้นตลาดต่อเนื่อง 2 ล้านตัว/สัปดาห์ เหตุปี 2557 ทุกบริษัทโหมเพิ่มกำลังผลิต 10%-"สหฟาร์ม" กลับเข้าตลาด ลุ้นครึ่งปีหลังสถานการณ์กระเตื้อง วงการส่งออกไก่ชี้ราคาปริ่มระดับขาดทุน
นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ไก่เนื้อล้นตลาดซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปีนั้นยังไม่ดีขึ้น และประมาณการทั้งปี 2558 กำลังผลิตไก่เนื้อเข้าสู่โรงเชือดอยู่ที่ประมาณ 28 ล้านตัว/สัปดาห์ ถือว่าล้นตลาดประมาณ 1-2 ล้านตัว/สัปดาห์ โดยสถานการณ์ดังกล่าวส่อเค้ามาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2557 เนื่องจากทุกบริษัทต่างขยายกำลังผลิตของตนเอง ตอบสนองราคาที่สูงขึ้น รวมถึงบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ได้ฟื้นฟูกิจการและกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง
ถึงแม้ปี 2558 คาดว่าการส่งออกไก่เนื้อจะขยายตัว แต่ไม่สามารถครอบคลุมปริมาณไก่ที่ล้นได้ทั้งหมด รวมถึงมีปัญหาเนื้อไก่ส่งออกเป็นชิ้นส่วนเนื้อหน้าอกและเนื้อน่องเท่านั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (บายโปรดักต์) เช่น ซี่โครงไก่ เครื่องในไก่ ที่จำหน่ายภายในประเทศขยายตลาดไม่ทัน จนขณะนี้ซี่โครงไก่ราคาตกเหลือเพียง 8-10 บาท/กก. ส่วนราคาไก่เป็นภายในประเทศ ราคากระเตื้องขึ้นเป็น 39 บาท/กก. จากช่วงต้นปีที่ราคา 35-37 บาท/กก.
อย่างไรก็ตาม นายคึกฤทธิ์กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเพราะเป็นช่วงที่มีการส่งออกไก่มาก ซึ่งจะช่วยระบายไก่เพิ่มได้ ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเล็กน้อยน่าจะช่วยจูงใจตลาดต่างประเทศ ส่วนปัญหาบายโปรดักต์น่าจะระบายเพิ่มได้ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารปลาน้ำจืดที่จะมีการเลี้ยงมากขึ้นเมื่อเข้าหน้าฝน
ด้านแหล่งข่าวจากวงการธุรกิจไก่รายหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้กำลังผลิตลูกไก่เนื้อมีประมาณ 30 ล้านตัว/สัปดาห์
ซึ่งเพิ่มกำลังผลิตต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 สาเหตุจากบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ประสบภาวะขาดทุนจนต้องหยุดผลิตเมื่อปี 2555 ทำให้แต่ละบริษัทเร่งเพิ่มกำลังผลิตประมาณ 10% เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดที่สหฟาร์มเคยมีอยู่ถึง 20% และเมื่อสหฟาร์มกลับมาผลิตได้ 3-4 แสนตัว/วัน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ทำให้ไก่เนื้อล้นตลาดมากขึ้น เชื่อว่าปีนี้ไก่จะล้นตลาดไปจนถึงสิ้นปี ภาคการเลี้ยงไก่ต้องแบกรับภาระขาดทุนในบางพื้นที่ เพราะราคาขายไก่เป็นตกเหลือ 32 บาท/กก. จากต้นทุนเลี้ยงเฉลี่ยที่ 36 บาท/กก.
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า บริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรและมีสายป่านทางการเงิน จะทำให้แบกรับภาระขาดทุนจนถึงช่วงไก่ขาดตลาดที่น่าจะเกิดขึ้นช่วงกลางปีཷ จากปัญหาขาดแคลนไก่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) ได้ สำหรับประมาณการกำลังผลิตไก่เนื้อของแต่ละบริษัทขณะนี้ ได้แก่ เครือซีพี 8-9 แสนตัว/วัน เครือเบทาโกร 3 แสนตัว/วัน คาร์กิลล์ 3 แสนตัว/วัน สหฟาร์ม 3-4 แสนตัว/วัน ไทยฟู้ด 3 แสนตัว/วัน จีเอฟพีที 2.5 แสนตัว/วัน แหลมทอง 2 แสนตัว/วัน นอกจากนั้นเป็นบริษัทขนาดกำลังผลิต 1 แสนตัว/วัน
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกไก่อีกรายหนึ่งเปิดเผยว่า บางบริษัทที่เคยผลิตอยู่ 2 แสนตัว/วันเมื่อปลายปีཱུ ได้เพิ่มกำลังผลิตเป็น 4 แสนตัว/วัน และใช้กลยุทธ์ดัมพ์ราคาเพื่อระบายไก่สู่ตลาด บางลอตดัมพ์ลงต่ำกว่าต้นทุน 10 บาท/กก. ทำให้กระเทือนราคาไก่ทั้งวงการ
"บางทีเรามักคิดว่าการเติบโตคือการเพิ่มกำลังผลิต แทนที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้า กลายเป็นใช้วิธีดัมพ์ราคาแข่งกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง บริษัทที่เขาไม่มีจุดแข็งหรือไม่มีความไว้วางใจของคู่ค้า วิธีแรกที่จะได้ลูกค้ามาจึงเป็นการลดราคา เพื่อแก้ปัญหาผลิตมาแล้วขายไม่หมด" แหล่งข่าวกล่าว
JJNY : ผู้เลี้ยงกุมขมับไก่ล้น30ล้านตัว ยักษ์ใหญ่ดั๊มพ์ราคาแย่งตลาด
นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ไก่เนื้อล้นตลาดซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปีนั้นยังไม่ดีขึ้น และประมาณการทั้งปี 2558 กำลังผลิตไก่เนื้อเข้าสู่โรงเชือดอยู่ที่ประมาณ 28 ล้านตัว/สัปดาห์ ถือว่าล้นตลาดประมาณ 1-2 ล้านตัว/สัปดาห์ โดยสถานการณ์ดังกล่าวส่อเค้ามาตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2557 เนื่องจากทุกบริษัทต่างขยายกำลังผลิตของตนเอง ตอบสนองราคาที่สูงขึ้น รวมถึงบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ได้ฟื้นฟูกิจการและกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง
ถึงแม้ปี 2558 คาดว่าการส่งออกไก่เนื้อจะขยายตัว แต่ไม่สามารถครอบคลุมปริมาณไก่ที่ล้นได้ทั้งหมด รวมถึงมีปัญหาเนื้อไก่ส่งออกเป็นชิ้นส่วนเนื้อหน้าอกและเนื้อน่องเท่านั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ (บายโปรดักต์) เช่น ซี่โครงไก่ เครื่องในไก่ ที่จำหน่ายภายในประเทศขยายตลาดไม่ทัน จนขณะนี้ซี่โครงไก่ราคาตกเหลือเพียง 8-10 บาท/กก. ส่วนราคาไก่เป็นภายในประเทศ ราคากระเตื้องขึ้นเป็น 39 บาท/กก. จากช่วงต้นปีที่ราคา 35-37 บาท/กก.
อย่างไรก็ตาม นายคึกฤทธิ์กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเพราะเป็นช่วงที่มีการส่งออกไก่มาก ซึ่งจะช่วยระบายไก่เพิ่มได้ ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเล็กน้อยน่าจะช่วยจูงใจตลาดต่างประเทศ ส่วนปัญหาบายโปรดักต์น่าจะระบายเพิ่มได้ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารปลาน้ำจืดที่จะมีการเลี้ยงมากขึ้นเมื่อเข้าหน้าฝน
ด้านแหล่งข่าวจากวงการธุรกิจไก่รายหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้กำลังผลิตลูกไก่เนื้อมีประมาณ 30 ล้านตัว/สัปดาห์
ซึ่งเพิ่มกำลังผลิตต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 สาเหตุจากบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ประสบภาวะขาดทุนจนต้องหยุดผลิตเมื่อปี 2555 ทำให้แต่ละบริษัทเร่งเพิ่มกำลังผลิตประมาณ 10% เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดที่สหฟาร์มเคยมีอยู่ถึง 20% และเมื่อสหฟาร์มกลับมาผลิตได้ 3-4 แสนตัว/วัน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ทำให้ไก่เนื้อล้นตลาดมากขึ้น เชื่อว่าปีนี้ไก่จะล้นตลาดไปจนถึงสิ้นปี ภาคการเลี้ยงไก่ต้องแบกรับภาระขาดทุนในบางพื้นที่ เพราะราคาขายไก่เป็นตกเหลือ 32 บาท/กก. จากต้นทุนเลี้ยงเฉลี่ยที่ 36 บาท/กก.
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า บริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรและมีสายป่านทางการเงิน จะทำให้แบกรับภาระขาดทุนจนถึงช่วงไก่ขาดตลาดที่น่าจะเกิดขึ้นช่วงกลางปีཷ จากปัญหาขาดแคลนไก่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) ได้ สำหรับประมาณการกำลังผลิตไก่เนื้อของแต่ละบริษัทขณะนี้ ได้แก่ เครือซีพี 8-9 แสนตัว/วัน เครือเบทาโกร 3 แสนตัว/วัน คาร์กิลล์ 3 แสนตัว/วัน สหฟาร์ม 3-4 แสนตัว/วัน ไทยฟู้ด 3 แสนตัว/วัน จีเอฟพีที 2.5 แสนตัว/วัน แหลมทอง 2 แสนตัว/วัน นอกจากนั้นเป็นบริษัทขนาดกำลังผลิต 1 แสนตัว/วัน
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกไก่อีกรายหนึ่งเปิดเผยว่า บางบริษัทที่เคยผลิตอยู่ 2 แสนตัว/วันเมื่อปลายปีཱུ ได้เพิ่มกำลังผลิตเป็น 4 แสนตัว/วัน และใช้กลยุทธ์ดัมพ์ราคาเพื่อระบายไก่สู่ตลาด บางลอตดัมพ์ลงต่ำกว่าต้นทุน 10 บาท/กก. ทำให้กระเทือนราคาไก่ทั้งวงการ
"บางทีเรามักคิดว่าการเติบโตคือการเพิ่มกำลังผลิต แทนที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้า กลายเป็นใช้วิธีดัมพ์ราคาแข่งกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง บริษัทที่เขาไม่มีจุดแข็งหรือไม่มีความไว้วางใจของคู่ค้า วิธีแรกที่จะได้ลูกค้ามาจึงเป็นการลดราคา เพื่อแก้ปัญหาผลิตมาแล้วขายไม่หมด" แหล่งข่าวกล่าว