💗มาลาริน/“ซีพีเอฟ”ขอบคุณรัฐบาล รับข่าวดีซาอุฯไฟเขียวประเดิมนำเข้าไก่ไทย 5 โรงงาน/13 มีนา ไทยส่งออกไก่ไปซาอุฯได้แล้ว


ซีพีเอฟขอบคุณนายกฯ “ประยุทธ์” รับข่าวดี ซาอุฯ ประเดิมนำเข้าไก่ไทย โรงงาน 5 แห่งผ่านรับรอง จาก อย.ของซาอุฯแล้ว ระบุเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทย จากแต่ละปีซาอุฯมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่สูงถึงปีละ 5.9 แสนตัน
  
รายงานข่าวจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เผยว่า ได้รับข่าวดี โรงงานแปรรูปไก่เนื้อของซีพีเอฟจำนวน 5 แห่ง จากโรงงานไก่เนื้อของไทย 11 แห่งที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของซาอุดิอาระเบีย  (Saudi Food & Drug Authority :SFDA)  สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วโลก โดยผลิตภัณฑ์ไก่ซีพีเอฟได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ผลิตตามมาตรฐานฮาลาล และหลักสากล พร้อมส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่คุณภาพปลอดภัย สู่ตลาดซาอุดิอาระเบียภายในเดือนนี้
 
 
นายประสิทธิ์  บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ประกาศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อไก่ ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์ไก่แบบสด  แช่เย็น และแช่แข็งจากประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2547 ล่าสุด องค์การอาหารและยา ซาอุฯ ได้ออกประกาศทางเว็บไซต์อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของไทยจากโรงงาน 11 แห่ง โดยมีโรงงานผลิตเนื้อไก่ของซีพีเอฟ 5 แห่งได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของซาอุฯ  ช่วยตอกย้ำความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจให้กับประเทศผู้นำเข้ารายอื่นต่อผลิตภัณฑ์ไก่ของซีพีเอฟที่มาจากกระบวนการผลิตได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ตามหลักศาสนาอิสลาม (ฮาลาล) มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทาง
 

  
ทางซีพีเอฟขอขอบคุณรัฐบาลไทย ทั้งนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยผลักดัน ดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐบาลซาอุฯอย่างเต็มที่ รวมทั้งติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถส่งออกไก่ไทยไปยังซาอุฯ ได้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย โดยตลาดซาอุฯ มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่สูงสุดถึงปีละ 5.9 แสนตัน จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยอีกด้วย
 
สำหรับโรงงานชำแหละไก่ และโรงงานแปรรูปไก่เนื้อของซีพีเอฟ 5 แห่งผ่านการรับรองให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อไปที่ซาอุฯ ได้ ประกอบด้วย  โรงงานชำแหละไก่มีนบุรี  โรงงานแปรรูปไก่เนื้อมีนบุรี 1 โรงงานแปรรูปไก่เนื้อมีนบุรี 2  โรงงานชำแหละไก่สระบุรี และโรงงานแปรรูปไก่เนื้อสระบุรี หลังจากที่หน่วยงานองค์การอาหารและยาได้เดินทางมาตรวจสอบมาตรฐานกระบวนการผลิตของโรงงานของซีพีเอฟล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา
 

  
ในส่วนของตลาดซาอุดิอาระเบีย ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงเพราะมีประชากรมากถึง 35.6 ล้านคน และภายในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Corporation Council) ซาอุฯ ยังเป็นประเทศที่มีสัดส่วนนำเข้าอาหารสูงที่สุดถึง 52.7% โดยมีอัตราการบริโภคเนื้อไก่มากถึง 45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือทั้งประเทศที่ 1.5 ล้านตันต่อปี ในอดีตซีพีเอฟเองเคยเป็นผู้ส่งออกไก่แปรรูปไปยังซาอุฯ เป็นอันดับ 1 ของไทย ก่อนที่มีมาตรการห้ามนำเข้าจากประเทศไทย  และด้วยความพร้อมและศักยภาพของทาง ซีพีเอฟทำให้ทางบริษัทฯ มีความสามารถในการผลิตและส่งออกไก่แปรรูปได้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายนนี้
 
ทั้งนี้ซีพีเอฟได้มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตเนื้อไก่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล โรงงานชำแหละและแปรรูปเนื้อไก่ทุกแห่งของซีพีเอฟ ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตในระดับสากล อาทิ GMP, HACCP, ISO 9001, IFS, BRC Global Standard-Food, HALAL, ISO 14001-Environment Management System, Social Accountability (SA 8000), รวมถึง Thai Labor Standard (มาตรฐานแรงงานไทย-มรท 8001), OHSAS 18001 (Occupational Health and Safety System) หรือ ACC (Aquaculture Facility Certification) ที่สำคัญ มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานตามหลักศาสนาอิสลาม ตั้งแต่การเชือดไก่โดยพนักงานที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือการแปรรูปเนื้อไก่โดยใช้วัตถุดิบที่ไม่มีของต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อของซีพีเอฟได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าทั่วโลก โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ที่นำเข้าไก่จากซีพีเอฟมาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี

https://www.thansettakij.com/economy/517427

นานาเยี่ยมข่าวดี 13 มีนา ไทยส่งออกไก่ไปซาอุฯได้แล้ว



ข่าวดี 13 มีนา ไทยส่งออกไก่ไปซาอุฯได้แล้ว ทั้งไก่แช่เย็น ไก่แช่แข็ง และไก่แปรรูป ใน11 โรง ยันไม่กระทบการบริโภคภายในประเทศ
 
นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์    เปิดเผยว่าซาอุดิอาระเบียได้พิจารณานำเข้าไก่จากไทย  ทั้งไก่แช่เย็น ไก่แช่แข็ง และไก่แปรรูป ใน11 โรง และล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มี.ค. ทูตพาณิชย์ของไทย พร้อมด้วยอุปทูตไทยประจำซาอุดิอาระเบีย ก็เดินทางไปพบกับ อย. ของซาอุดิอาระเบียอีกครั้ง
 
  นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ซาอุดิอาระเบียยินดีเปิดไฟเขียวให้ไก่จากประเทศไทย สามารถส่งออกไปซาอุดิอาระเบียได้ และในภาพรวมทางการก็จะมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. ถือว่าเป็นข่าวดี โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้นตอนกระบวนการ ทั้งเรื่องฮาลาล และอื่นๆ
 

 
สำหรับยอดส่งออกไก่ของไทยไปต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 9.12 แสนตัน มูลค่า 1 แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้นตลาดซาอุดิอาระเบียก็จะเป็นตลาดที่เพิ่มการนำเงินเข้าประเทศอีกตลาดให้กับการส่งออกของเรา
  
 
 
“จะส่งผลกระทบการผลิตในประเทศหรือไม่อย่างไรนั้น เรื่องนี้ได้ทำเป็นเงื่อนไขแล้วว่าให้กระทรวงพาณิชย์เชิญผู้ประกอบการและทั้งหมดมาพูดคุยกันว่า การส่งออกเป็นเรื่องดี นำเงินเข้าประเทศ แต่ต้องไม่กระทบปริมาณการบริโภคของคนไทย โดยได้ทำเป็นเงื่อนไขไว้แล้ว และเรื่องราคาด้วยว่าให้เป็นไปตามราคาที่กระทรวงพาณิชย์ได้กำกับไว้ ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ ทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก และประเทศไทยที่จะมีรายได้จากการส่งออกมากขึ้น”

https://www.thansettakij.com/economy/517434

เพี้ยนเย้...ไก่ย่างถูกเผา มันจะโดนไม้เสียบ

เสียบตู๊ดซ้าย  เสียบตู๊ดขวา ร้อนจริงๆร้อนจริงๆ!

เพลงนี้มอบให้ฝั่งโทนีที่เอาแต่โม้ ไม่มีผลงานที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยและคนไทย

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อก่อนเราก็คิดว่าโรงงานเลี้ยงไก่ครบวงจรจะมีแต่ของเจ้าสัว ที่ไหนได้มีหลายเจ้า
แล้วยังมีรายเล็กรายย่อยอีกเยอะเลย  เพียงแต่เจ้าสัวมีชื่อเสียงที่สุด  แล้วก็มีโรงงานเยอะกว่าเพื่อนเท่านั้น

ถ้ามีที่ขายเยอะขึ้น โอกาสที่คนอื่นจะเพิ่มยอดขาย เพิ่มกำลังการผลิตก็เยอะขึ้นทั้งนั้นนะคะ อยู่ที่คุณภาพ มาตรฐานสินค้า
เมื่อก่อนเราก็ไม่เข้าใจ ทำไมบริษัทใหญ่ๆเค้าถึงต้องเคร่งครัดเรื่องฮาลาล  ทั้งๆที่ก็ไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของเค้า
แต่ต่อมาเราก็เข้าใจ  โรงงานระดับโลกแบบนี้ มาตรฐานอะไรที่พอจะทำได้ เค้าก็จะพยายามทำให้ผ่านทั้งหมดหล่ะค่ะ

ยังนึกถึงปีที่ไข้หวัดนกระบาดไม่หาย  ปีนั้นทำให้เห็นได้ชัดเลยว่า การเลี้ยงในระบบปิดที่มีกฎระเบียบเคร่งครัด มีข้อดียังไงบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่