ขอบคุณหรั่งที่ มาช่วยช้อนซื้อ นึกว่าดอยซะแล้ว
ผมขอ good bye ก่อนครับ
http://www.thansettakij.com/2016/07/07/68139
ผวาเบอร์1ไก่บราซิลปักฐานไทย ทำซัพพลายล้นราคาดิ่ง/เป้าส่งออก 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ผวาเบอร์1ไก่บราซิลปักฐานไทย ทำซัพพลายล้นราคาดิ่ง/เป้าส่งออก 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
วงการสั่งจับตา “บี อาร์ เอฟ” เบอร์ 1 ไก่บราซิล ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านเทกโอเวอร์ “โกลเด้น ฟู้ดส์ สยาม” บริษัทแปรรูปธุรกิจไก่ครบวงจรชั้นนำในไทย ผวาอนาคตขยายกำลังผลิตยิ่งทำล้นตลาด ราคาดิ่งเหว ชี้เหตุลงทุนใช้เป็นฐานผลิตส่งออกตลาดญี่ปุ่น อาเซียน ใช้โควตาไทยส่งออกอียู อุบเงียบแผนลงทุน ขณะอุตสาหกรรมไก่ไทยโอดปีนี้ไม่สดใสสารพัดปัญหารุม ตลาดส่งออกราคารูดหนัก เป้า 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
กรณีที่บริษัท บี อาร์ เอฟฯ หรือบราซิลฟู้ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต และส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่รายใหญ่สุดของบราซิลได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท โกลเด้น ฟู้ดส์สยาม จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจไก่ครบวงจรและเป็นบริษัทแปรรูปไก่ชั้นนำของไทยที่มีเครือข่ายใน 15 ประเทศทั่วโลก และติด10 อันดับแรกของบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไก่ของไทย และล่าสุดบริษัทโกลเด้น ฟู้ดฯ สยามฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บี อาร์ เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2559 นั้น
แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไก่ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การซื้อขายดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ทราบจากวงในว่าบริษัทเตรียมขยายกำลังการผลิตทั้งในส่วนของโรงเชือด และโรงแปรรูป แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน สำหรับการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้มองว่าทางบี อาร์ เอฟ มีเป้าหมายการใช้ฐานการผลิตส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าไก่จากประเทศไทย รวมถึงตลาดอาเซียนที่ตลาดกำลังขยายตัว เพราะฐานในไทยอยู่ใกล้ญี่ปุ่น และอาเซียนช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่การส่งสินค้าตรงจากบราซิลมาจำหน่ายมีต้นทุนที่สูงกว่า นอกจากคงมาอาศัยโควตาไก่ไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป(อียู) ด้วย
“แน่นอนว่าหากเขาขยายกำลังผลิต จะมีผลทำให้สินค้าไก่ของไทยที่เวลาล้นตลาดเกิดความต้องการอยู่แล้ว จะยิ่งล้นตลาด และทำให้ราคาตกลงไปอีก ทั้งราคาในประเทศ ที่ส่วนหนึ่งไก่ที่ชำแหละเพื่อส่งออกจะมีบายด์โปรดักต์ที่ต้องขายในประเทศ เช่น โครงไก่ เครื่องใน ขา ปีก และอื่น ๆ จากเวลานี้การเลี้ยงไก่ในไทยมีการส่งลูกไก่เข้าเลี้ยง 30-31 ล้านตัวต่อสัปดาห์ และยืนระดับนี้มาเป็นปีแล้ว จากปี 2556-2557 ไก่ราคาดีคนแห่เลี้ยง ทั้งที่ปริมาณที่เหมาะสมควรลดลงประมาณ 10%”แหล่งข่าวกล่าว และว่า
จากตัวเลขการเลี้ยงไก่ของไทย ณ ปัจจุบัน มีผลให้เวลานี้ราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยที่ 34-35 บาทต่อกิโลกรัม จากต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกรเฉลี่ยที่ 33-35 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนดังกล่าวบางรายขาดทุน บางรายที่ลดต้นทุนได้ก็มีกำไรเพียงเล็กน้อย
ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไก่ปีนี้ถือว่าไม่สดใส เพราะนอกจากผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาไก่ในประเทศไม่ค่อยดีแล้ว ในส่วนของตลาดส่งออกก็ราคาตก อาทิ ในส่วนของไก่สดแช่แข็งที่ส่งไปจำหน่ายในตลาด อียู ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดหลักของไทย จากราคาในปี 2557 เฉลี่ยขายได้ที่ 3,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปัจจุบันลดลงเหลือ 2,400-2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือลดลง 700-800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ไก่แปรรูปจากปี 2557 เฉลี่ยที่กว่า 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลงเหลือ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ผลจากผลผลิตไก่ในตลาดโลกมีมาก และไก่ไทยต้องแข่งขันด้านราคากับไก่จากบราซิล และยุโรปตะวันออก
นอกจากนี้อุตสาหกรรมยังถูกเพ่งเล็งเรื่องแรงงานจากต่างประเทศ ถูกกล่าวหาว่ามีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวสาลี กากข้าวโพดเข้ามามากกระทบเกษตรกรในประเทศ ทั้งที่ข้อเท็จจริงในประเทศผลิตได้ไม่เพียงพอ และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ขยายตัวมาก กรณีอังกฤษจะออกจากอียู(เบร็กซิท)ทำให้ค่าเงินปอนด์ และยูโรอ่อน สินค้าเราราคาสูงขึ้น ถูกต่อรองราคามากขึ้น และล่าสุดกรณี(ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ จะเรียกเก็บอาการการฆ่าไก่สูงถึงตัวละ 2 บาท ที่ทาง 9 สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพื่อคัดค้าน เพราะจะกระทบต้นทุนและอุตสาหกรรมในภาพรวมอย่างมาก
“ในปีนี้เป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของสมาคมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7 แสนตัน มูลค่า 9.1 หมื่นล้านบาท คงยังต้องลุ้น จากยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ส่วนกรณีของบี อาร์ เอฟ จากบราซิลที่เข้ามาเทกโอเวอร์โกลเด้น ฟู้ดส์ สยามซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ที่หลายฝ่ายกังวลว่าเขาจะมาเพิ่มกำลังผลิต ทำให้ไก่ล้นตลาดมากขึ้นอีก และจะทำให้ราคา เราก็ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้บริหารเขาเหมือนกันเรื่องราคา แต่เรื่องแผนการผลิต และการขยายตลาดถือเป็นความลับของเขา อันนี้ไม่ทราบ แต่หากใครขยายผลิตหรือตั้งโรงงานใหม่ช่วงนี้มองว่าน่าจะเจ็บตัวมากกว่า”
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,172 วันที่ 7 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
CPF gooddddddddddddddd
ผมขอ good bye ก่อนครับ
http://www.thansettakij.com/2016/07/07/68139
ผวาเบอร์1ไก่บราซิลปักฐานไทย ทำซัพพลายล้นราคาดิ่ง/เป้าส่งออก 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ผวาเบอร์1ไก่บราซิลปักฐานไทย ทำซัพพลายล้นราคาดิ่ง/เป้าส่งออก 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
วงการสั่งจับตา “บี อาร์ เอฟ” เบอร์ 1 ไก่บราซิล ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านเทกโอเวอร์ “โกลเด้น ฟู้ดส์ สยาม” บริษัทแปรรูปธุรกิจไก่ครบวงจรชั้นนำในไทย ผวาอนาคตขยายกำลังผลิตยิ่งทำล้นตลาด ราคาดิ่งเหว ชี้เหตุลงทุนใช้เป็นฐานผลิตส่งออกตลาดญี่ปุ่น อาเซียน ใช้โควตาไทยส่งออกอียู อุบเงียบแผนลงทุน ขณะอุตสาหกรรมไก่ไทยโอดปีนี้ไม่สดใสสารพัดปัญหารุม ตลาดส่งออกราคารูดหนัก เป้า 9.1 หมื่นล้านต้องลุ้น
กรณีที่บริษัท บี อาร์ เอฟฯ หรือบราซิลฟู้ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต และส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่รายใหญ่สุดของบราซิลได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท โกลเด้น ฟู้ดส์สยาม จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจไก่ครบวงจรและเป็นบริษัทแปรรูปไก่ชั้นนำของไทยที่มีเครือข่ายใน 15 ประเทศทั่วโลก และติด10 อันดับแรกของบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไก่ของไทย และล่าสุดบริษัทโกลเด้น ฟู้ดฯ สยามฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บี อาร์ เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2559 นั้น
แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไก่ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การซื้อขายดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ทราบจากวงในว่าบริษัทเตรียมขยายกำลังการผลิตทั้งในส่วนของโรงเชือด และโรงแปรรูป แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน สำหรับการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้มองว่าทางบี อาร์ เอฟ มีเป้าหมายการใช้ฐานการผลิตส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าไก่จากประเทศไทย รวมถึงตลาดอาเซียนที่ตลาดกำลังขยายตัว เพราะฐานในไทยอยู่ใกล้ญี่ปุ่น และอาเซียนช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่การส่งสินค้าตรงจากบราซิลมาจำหน่ายมีต้นทุนที่สูงกว่า นอกจากคงมาอาศัยโควตาไก่ไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป(อียู) ด้วย
“แน่นอนว่าหากเขาขยายกำลังผลิต จะมีผลทำให้สินค้าไก่ของไทยที่เวลาล้นตลาดเกิดความต้องการอยู่แล้ว จะยิ่งล้นตลาด และทำให้ราคาตกลงไปอีก ทั้งราคาในประเทศ ที่ส่วนหนึ่งไก่ที่ชำแหละเพื่อส่งออกจะมีบายด์โปรดักต์ที่ต้องขายในประเทศ เช่น โครงไก่ เครื่องใน ขา ปีก และอื่น ๆ จากเวลานี้การเลี้ยงไก่ในไทยมีการส่งลูกไก่เข้าเลี้ยง 30-31 ล้านตัวต่อสัปดาห์ และยืนระดับนี้มาเป็นปีแล้ว จากปี 2556-2557 ไก่ราคาดีคนแห่เลี้ยง ทั้งที่ปริมาณที่เหมาะสมควรลดลงประมาณ 10%”แหล่งข่าวกล่าว และว่า
จากตัวเลขการเลี้ยงไก่ของไทย ณ ปัจจุบัน มีผลให้เวลานี้ราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยที่ 34-35 บาทต่อกิโลกรัม จากต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกรเฉลี่ยที่ 33-35 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนดังกล่าวบางรายขาดทุน บางรายที่ลดต้นทุนได้ก็มีกำไรเพียงเล็กน้อย
ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไก่ปีนี้ถือว่าไม่สดใส เพราะนอกจากผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาไก่ในประเทศไม่ค่อยดีแล้ว ในส่วนของตลาดส่งออกก็ราคาตก อาทิ ในส่วนของไก่สดแช่แข็งที่ส่งไปจำหน่ายในตลาด อียู ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดหลักของไทย จากราคาในปี 2557 เฉลี่ยขายได้ที่ 3,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปัจจุบันลดลงเหลือ 2,400-2,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือลดลง 700-800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ไก่แปรรูปจากปี 2557 เฉลี่ยที่กว่า 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลงเหลือ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ผลจากผลผลิตไก่ในตลาดโลกมีมาก และไก่ไทยต้องแข่งขันด้านราคากับไก่จากบราซิล และยุโรปตะวันออก
นอกจากนี้อุตสาหกรรมยังถูกเพ่งเล็งเรื่องแรงงานจากต่างประเทศ ถูกกล่าวหาว่ามีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวสาลี กากข้าวโพดเข้ามามากกระทบเกษตรกรในประเทศ ทั้งที่ข้อเท็จจริงในประเทศผลิตได้ไม่เพียงพอ และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ขยายตัวมาก กรณีอังกฤษจะออกจากอียู(เบร็กซิท)ทำให้ค่าเงินปอนด์ และยูโรอ่อน สินค้าเราราคาสูงขึ้น ถูกต่อรองราคามากขึ้น และล่าสุดกรณี(ร่าง) พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ จะเรียกเก็บอาการการฆ่าไก่สูงถึงตัวละ 2 บาท ที่ทาง 9 สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพื่อคัดค้าน เพราะจะกระทบต้นทุนและอุตสาหกรรมในภาพรวมอย่างมาก
“ในปีนี้เป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของสมาคมที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7 แสนตัน มูลค่า 9.1 หมื่นล้านบาท คงยังต้องลุ้น จากยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ส่วนกรณีของบี อาร์ เอฟ จากบราซิลที่เข้ามาเทกโอเวอร์โกลเด้น ฟู้ดส์ สยามซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ที่หลายฝ่ายกังวลว่าเขาจะมาเพิ่มกำลังผลิต ทำให้ไก่ล้นตลาดมากขึ้นอีก และจะทำให้ราคา เราก็ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้บริหารเขาเหมือนกันเรื่องราคา แต่เรื่องแผนการผลิต และการขยายตลาดถือเป็นความลับของเขา อันนี้ไม่ทราบ แต่หากใครขยายผลิตหรือตั้งโรงงานใหม่ช่วงนี้มองว่าน่าจะเจ็บตัวมากกว่า”
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,172 วันที่ 7 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559