ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000059908
ดิจิตอลทีวี เริ่มเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของผู้คนในสังคมไทยมากขึ้น ขณะที่การคาดการณ์ว่าดิจิตอลทีวีไปไม่รอด ถึงขั้นตีธงว่าขาดทุนย่อยยับก็ตกเป็นกระแสวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กรณี ทีวิพูล ยื่นขอยกเลิกช่องดิจิตอลทีวี ไทยทีวี และ โลก้า(LOCO) ต่อทาง กสทช. กลายปรากฎหลักฐานโชว์หราว่าความคงอยู่ช่องดิจิตอลทีวีนั้นไม่ง่ายเลย
'ทีวีพูล : 9 บทเรียนสื่อธุรกิจบันเทิง ในธุรกิจทีวีดิจิตอล' บทความโดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ตีแผ่บทเรียนสำคัญของธุรกิจทีวีดิจิตอล เขาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Time Chuastapanasiri ความว่า
“บทเรียนของทีวีดิจิตอลในมือเจ๊ติ๋ม แห่งทีวีพูลนั้น ดูจะไม่เกินคาด และก็เป็นไปตามการณ์ที่ควรจะเกิด คือ ยกเลิก ซึ่งก็ถือว่า เจ๊ติ๋ม ตัดสินใจถูกแล้วในทางธุรกิจ คือ เมื่อมันไปไม่รอด ก็ควรยกเลิก ทิ้งมันไป จะฝืนทำต่อไปก็มีแต่เจ็บตัว
ผมขอแสดงความคิดเห็นยาวๆ ต่อการขอยกเลิกการดำเนินกิจการทีวีดิจิตอล ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยทีวี จำกัด ที่เมื่อเช้านี้ ได้ทำจดหมายถึง กสทช. ว่า "ขอเลิกใบอนุญาต และการประกอบกิจการ"
อ่านจดหมายดู ก็พบว่า เป็นกล่าวอ้างโทษ กสทช. เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นเรื่องการแจกคูปอง การขยายโครงข่าย และเรื่องสัญญาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ - ก็เลยเป็นเหตุผลหลักๆ ให้กิจการโทรทัศน์ของตนเองขาดทุน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และต้องขอยกเลิกในที่สุด
ส่วนตัวผมคิดว่า "ไม่แฟร์" นะ เพราะช่องทีวีดิจิตอลรายอื่นๆ ก็ดำเนินงานธุรกิจไปได้ด้วยความเข้มแข็ง เช่นช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง Workpoint หรืออย่างช่อง อัมรินทร์ เนชั่น ไทยรัฐ ก็ทยอยจ่ายค่างวดตามสัญญาทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุน
เหตุผลที่ผมคิดว่า ช่องไทยทีวี และโลก้า ต้องยกเลิกกิจการอย่างแท้จริง คือ
(1) การบริหารงานธุรกิจที่มอง และคาดการณ์ผิดพลาดมาตั้งแต่แรก โดยเฉาะการคิดประมูลใบอนุญาต การทำรายงานศึกษาทางการเงิน เม็ดเงินคาดการณ์ที่จะได้ และการคำนึงถึงโอกาส และความเสี่ยงของโครงข่าย สัญญาณ ตลาด เม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่ทีวีดิจิตอล และจำนวนผู้เล่นในตลาด ล้วนมีส่วนต่อการทำ "วิเคราะห์การเงิน" ทั้งสิ้น
(2) สายป่านการเงินที่ไม่มาก ไม่ยาว ไม่ไกล เหมือนช่องอื่นๆ อย่าลืมว่า การลงทุนทีวีดิจิตอล เหมือนน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทำรายการโทรทัศน์ออกอากาศไป ฉายไป ไม่มีคนดุ คือเอาของดีไปละลายแม่น้ำ ไม่เหมือนกับทำนิตยสาร สิ่งพิมพ์ ที่มีอายุขายสินค้ายาวนาน สามสี่วันหรือสัปดาห์
รายการทีวีมีอายุสั้น ดังนั้น ต้องลงทุนสูง และมีสายป่านการเงินที่ยาว และหากไม่สามารถมีเงินทุนระยะคืนทุน คุ้มทุนได้ในช่วงที่ชี้เป็นชี้ตาย ก็ไม่ควรประมูลตั้งแต่แรก
(3) คุณภาพรายการที่ไม่มีคุณภาพ ขายข่าวบันเทิง ละคร และรายการอื่นๆ ที่คุณภาพต่ำ
ข้อนี้เป็นอีกเหตุผลหลัก เพราะทีวีพูลโตมาในสายข่าวบันเทิง ทำรายการแบบง่ายๆ มาแต่แรก (ข่าวบันเทิง ทำง่ายที่สุด โดยเฉพาะข่าวดารา บันเทิง ชิงรัก หักสวาท ไม่มีอะไรมาก เป็นแค่ข่าววูบวาบ ไม่มีคุณภาพที่ต้องลงทุนสูง มันขายได้ดีตอนเป็นแท็บลอยด์นิวส์ตามนิยตยสาร แต่พอทำรายการทีวี มันคนละเรื่องกัน)
(4) งบประมาณในการลงทุนผลิตมีน้อย ไม่กล้าเสี่ยง บางครั้งใช้กล้องตัวเดียว ทำรายการงบประมาณต่ำ หน้าตารายการใหม่บางรายการ ดูเป็นรายการแบบมือสมัครเล่น
ผมดูรายการของไทยทีวีหลายรายการ คุณภาพพอๆ กับเคเบิ้ลทีวีต่างจังหวัด หรือบางช่องทีวีดาวเทียมเท่านั้น ไม่เหมาะสมที่จะลงทุนประมูลใบอนุญาตแพงๆๆ เลย เพราะคุณภาพการผลิตนั้นยังไม่ถึงระดับประเทศ
(5) ไม่มีดาราในสังกัด สังเกตจากรายการละคร บันเทิง ใช้ดาราใหม่ ดาราโนเนม
ข้อนี้สำคัญ แต่ละช่องใหญ่ๆ อย่างช่อง 3 , 7 , rs, gmm, workpoint ต่างก็มีดาราในค่ายในสังกัด มีผู้จัดละครที่อยู่ในช่อง เสมือนคนป้อนงานรายการดีๆ ให้ แต่ทีวีพูลนั้นไม่มีเลย ทำข่าวดาราของช่องอื่นมาโดยตลอด
(6) รายการเด็กมีแต่การ์ตูน ซื้อมาจากต่างประเทศ และมีรายการโฆษณาสินค้าและบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเด็กในยามค่ำคืน ทำให้รายการเด็กดูไม่ปลอดภัย ดูเก่า เชย โบราณ และไม่มีคุณค่าพอสมกับรายการเด็ก
พอพ่อแม่เปิดมาดู ก็อาจจะไม่อยากให้ลูกดู และก็อาจเปรียบเทียบกับรายการสาระประโยชน์ความรู้ช่องอื่นๆ ที่มีมาก่อน เช่นนั้นก็ทำให้รายการช่องโลก้า ดูแย่และขาดทุนหนักไปอีก เพราะโฆษณาก็ไม่เข้า แถมโฆษณาสินค้าที่มีเข้ารายการเด็ก ก็น้อยกว่าปกติอยู่แล้ว และที่เข้ามาก็เป็นสินค้าที่ไม่มีความเหมาะสมกับเด็ก
(7) วางโพสิชั่นนิ่ง ของช่อง ที่ไม่ชัดเจนแต่แรก เช่นไม่รู้ว่า ลูกค้าคนดูคือใคร ฐานจำนวนมีเท่าไร และใครเป็นผู้ชมที่มีกำลังซื้อจริงๆ ทำให้วางโฆษณา แผนรายได้ไม่ชัด อีกทั้ง การวางโฆษณาในรายการทีวี อาจไม่เหมือนวางในสื่อสิ่งพิมพ์บันเทิง เพราะ มีมูลค่าสูงกว่า เสี่ยงกว่า ด้วยหากคนไม่ดู เรตติ้งต่ำ ก็จะเรียกโฆษณาได้น้อย ขณะที่ต้นทุนการทำรายการโทรทัศน์นั้นสูงพอๆ กันในทุกๆ ช่อง
(8) เข้าใจผิดเรื่องทำธุรกิจทีวี ไม่ใช่เฉพาะภาพคมชัดเท่านั้น แต่ผู้คนให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่าสิ่งอื่นๆ การไม่สามารถต่อยอดคอนเท้นต์ธุรกิจบันเทิงของตัวเองในสื่อทีวีได้ บ่งบอกว่า ทีวีพูลนั้นเป็นเพียงธุรกิจข่าวบันเทิง ที่หากินกับกระแสข่าวบันเทิง ของคนอื่นๆ มากกว่าที่จะลิตคอนเท้นต์ของตนเอง
แตกต่างกับไทยรัฐ เดลินิวส์ เนชั่น อมรินทร์ ที่มีการผลิตคอนเท้นต์แท้ๆ ของตนเอง ผ่านธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ (คือ มีนักเขียน มีคนเขียน มีทีมงานข่าว มีช่างภาพ มีคอลัมนิสต์)
ธุรกิจแท็บลอยด์บันเทิงของทีวีพูลเลยไปไม่รอด ไปไม่ได้ เพราะแก่นแท้ของธุรกิจนั้น มิได้เข้มแข็งมีคุณภาพมาแต่แรกอยู่แล้ว - ข่าวบันเทิงที่ขายความกระหายใคร่รู้ของประชาชน อาจมีค่าแค่หมึกเปื้อนกระดาษอ่านฆ่าเวลาเล่นตามสถานที่างๆ (และคนซื้อหนังสือบันเทิงข่าวดาราชาวบ้าน ก็ไม่มีใครอยากควักเงินซื้ออ่านเอง แต่อาศัยอ่านเล่นตามร้านค้า ร้านทำผม ตามตลาดนัดที่สาธารณะทั่วๆไป )ผู้ชมย่อมอยากใช้เวลาไปกับหน้าจอด้วยคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพ หากเจ๊ติ๋ม ทำรายงานศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เอาจริงกับการศึกษา สำรวจผู้ชมและตลาดก่อนที่จะตัดสินใจประมูล ก็คงจะไม่จบลงด้วยภาวะขาดทุนเช่นนี้ และข้อสุดท้าย
(9) จริยธรรมในการทำธุรกิจ ท่าที ความรู้ ความเข้าใจของเจ๊ติ๊มในธุรกิจทีวีดิจิตอล ที่ว่าจะขอยกเลิก หรือต่อไป หากขอไม่จ่ายค่างวด หรือ ค่าประกัน หรือค่าขอยกเลิก ที่เป็นข้อตกลงกับระเบียบ กสทช. หากทิ้งทีวีดิจิตอลไป พูดง่ายๆ หากเบี้ยว ชักดาบ หนี ไม่จ่าย ไม่มี ไม่หนี ก็แสดงว่ามันได้สะท้อน "วิธีคิด ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ จริต และจิตใจ" ของผู้บริหารทีวี ต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
การทำธุรกิจ คือ ความเสี่ยงที่จะได้ทั้งกำไรและขาดทุน หากไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ของธุรกิจแต่แรก ก็ไม่ควรลงมาทำธุรกิจนี้อีกต่อไป
เผลอๆ ต่อไป ข่าวบันเทิงของดารา ก็อาจจะแยกค่าย แยกช่อง ของใครของมัน เพราะแต่ละช่องก็ย่อมมองแล้วว่า ข่าวฉาว ข่าวคาว ของดาราในสังกัด ก็ย่อมมีมูลค่าทางการตลาดขายความกระหายใคร่รู้ของผู้ชมได้ เมื่อถึงตอนนั้น ข่าวเช่นนี้ก็มีลิขสิทธิ์ของแต่ละช่อง ใครเลยอยากจะปล่อยให้ปรสิต ให้เหยี่ยวข่าวคาว ฉาว มาหากินกับความฉาวโฉ่ เรื่องลับๆ รัก ของดาราตนเองในสังกัด
นี่พิสูจน์ชัดเจนว่า "ธุรกิจที่พึ่งพิง พึ่งพาเนื้อหาของสื่ออื่นๆ" พอมาทำทีวีมาทำคอนเท้นต์เป็นของตนเอง ด้วยตนเอง เพื่อตนเองนั้น มันไปไม่รอดสักราย
สุดท้ายคิดว่า ผู้ประกอบการคงต้องจ่ายเงิน ตามที่กสทช. กำหนดนะครับ และกรณีการฟ้องร้องเอาผิด กสทช. ในฐานะทำให้ทีวีดิจิตอลเสียหายนั้น คงจะยาก เพราะก็มีทีวีดิจิตอลช่องอื่นๆ เช่น 3 หรือ 7 และค่ายอื่นๆ ที่มีกำไร และสามารถเอาตัวรอดทางธุรกิจได้ ก็อาจไม่ได้มาร่วมฟ้องร้อง กสทช. ไปด้วย เพราะเขาทำแล้วมีผลกำไร
และแน่นอนว่าคงมีอีกหลายช่อง ที่คงต้องล้มเลิกและปิดกิจการตามไปในเร็ววัน
และนั่นก็เป็นสิ่งที่คนในวงการทีวีมองเห็นตั้งแต่แรกแล้ว!
รอดูกันต่อไปนะครับ
อย่าลืมว่า การลงทุนในทีวีดิจิตอล คือการวัดว่าคุณมีคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพขายได้หรือไม่ ด้วยตัวคุณเอง"
*** ถอดบทเรียน 'ทีวีพูล' ดิจิตอลทีวี ทะยอยเจ๊ง! *** (เน้นช่องเจ๊ติ๋มเต็ม ๆ)
ดิจิตอลทีวี เริ่มเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของผู้คนในสังคมไทยมากขึ้น ขณะที่การคาดการณ์ว่าดิจิตอลทีวีไปไม่รอด ถึงขั้นตีธงว่าขาดทุนย่อยยับก็ตกเป็นกระแสวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กรณี ทีวิพูล ยื่นขอยกเลิกช่องดิจิตอลทีวี ไทยทีวี และ โลก้า(LOCO) ต่อทาง กสทช. กลายปรากฎหลักฐานโชว์หราว่าความคงอยู่ช่องดิจิตอลทีวีนั้นไม่ง่ายเลย
'ทีวีพูล : 9 บทเรียนสื่อธุรกิจบันเทิง ในธุรกิจทีวีดิจิตอล' บทความโดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ตีแผ่บทเรียนสำคัญของธุรกิจทีวีดิจิตอล เขาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Time Chuastapanasiri ความว่า
“บทเรียนของทีวีดิจิตอลในมือเจ๊ติ๋ม แห่งทีวีพูลนั้น ดูจะไม่เกินคาด และก็เป็นไปตามการณ์ที่ควรจะเกิด คือ ยกเลิก ซึ่งก็ถือว่า เจ๊ติ๋ม ตัดสินใจถูกแล้วในทางธุรกิจ คือ เมื่อมันไปไม่รอด ก็ควรยกเลิก ทิ้งมันไป จะฝืนทำต่อไปก็มีแต่เจ็บตัว
ผมขอแสดงความคิดเห็นยาวๆ ต่อการขอยกเลิกการดำเนินกิจการทีวีดิจิตอล ของ นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยทีวี จำกัด ที่เมื่อเช้านี้ ได้ทำจดหมายถึง กสทช. ว่า "ขอเลิกใบอนุญาต และการประกอบกิจการ"
อ่านจดหมายดู ก็พบว่า เป็นกล่าวอ้างโทษ กสทช. เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นเรื่องการแจกคูปอง การขยายโครงข่าย และเรื่องสัญญาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ - ก็เลยเป็นเหตุผลหลักๆ ให้กิจการโทรทัศน์ของตนเองขาดทุน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และต้องขอยกเลิกในที่สุด
ส่วนตัวผมคิดว่า "ไม่แฟร์" นะ เพราะช่องทีวีดิจิตอลรายอื่นๆ ก็ดำเนินงานธุรกิจไปได้ด้วยความเข้มแข็ง เช่นช่อง 7 ช่อง 3 ช่อง Workpoint หรืออย่างช่อง อัมรินทร์ เนชั่น ไทยรัฐ ก็ทยอยจ่ายค่างวดตามสัญญาทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุน
เหตุผลที่ผมคิดว่า ช่องไทยทีวี และโลก้า ต้องยกเลิกกิจการอย่างแท้จริง คือ
(1) การบริหารงานธุรกิจที่มอง และคาดการณ์ผิดพลาดมาตั้งแต่แรก โดยเฉาะการคิดประมูลใบอนุญาต การทำรายงานศึกษาทางการเงิน เม็ดเงินคาดการณ์ที่จะได้ และการคำนึงถึงโอกาส และความเสี่ยงของโครงข่าย สัญญาณ ตลาด เม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่ทีวีดิจิตอล และจำนวนผู้เล่นในตลาด ล้วนมีส่วนต่อการทำ "วิเคราะห์การเงิน" ทั้งสิ้น
(2) สายป่านการเงินที่ไม่มาก ไม่ยาว ไม่ไกล เหมือนช่องอื่นๆ อย่าลืมว่า การลงทุนทีวีดิจิตอล เหมือนน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทำรายการโทรทัศน์ออกอากาศไป ฉายไป ไม่มีคนดุ คือเอาของดีไปละลายแม่น้ำ ไม่เหมือนกับทำนิตยสาร สิ่งพิมพ์ ที่มีอายุขายสินค้ายาวนาน สามสี่วันหรือสัปดาห์
รายการทีวีมีอายุสั้น ดังนั้น ต้องลงทุนสูง และมีสายป่านการเงินที่ยาว และหากไม่สามารถมีเงินทุนระยะคืนทุน คุ้มทุนได้ในช่วงที่ชี้เป็นชี้ตาย ก็ไม่ควรประมูลตั้งแต่แรก
(3) คุณภาพรายการที่ไม่มีคุณภาพ ขายข่าวบันเทิง ละคร และรายการอื่นๆ ที่คุณภาพต่ำ
ข้อนี้เป็นอีกเหตุผลหลัก เพราะทีวีพูลโตมาในสายข่าวบันเทิง ทำรายการแบบง่ายๆ มาแต่แรก (ข่าวบันเทิง ทำง่ายที่สุด โดยเฉพาะข่าวดารา บันเทิง ชิงรัก หักสวาท ไม่มีอะไรมาก เป็นแค่ข่าววูบวาบ ไม่มีคุณภาพที่ต้องลงทุนสูง มันขายได้ดีตอนเป็นแท็บลอยด์นิวส์ตามนิยตยสาร แต่พอทำรายการทีวี มันคนละเรื่องกัน)
(4) งบประมาณในการลงทุนผลิตมีน้อย ไม่กล้าเสี่ยง บางครั้งใช้กล้องตัวเดียว ทำรายการงบประมาณต่ำ หน้าตารายการใหม่บางรายการ ดูเป็นรายการแบบมือสมัครเล่น
ผมดูรายการของไทยทีวีหลายรายการ คุณภาพพอๆ กับเคเบิ้ลทีวีต่างจังหวัด หรือบางช่องทีวีดาวเทียมเท่านั้น ไม่เหมาะสมที่จะลงทุนประมูลใบอนุญาตแพงๆๆ เลย เพราะคุณภาพการผลิตนั้นยังไม่ถึงระดับประเทศ
(5) ไม่มีดาราในสังกัด สังเกตจากรายการละคร บันเทิง ใช้ดาราใหม่ ดาราโนเนม
ข้อนี้สำคัญ แต่ละช่องใหญ่ๆ อย่างช่อง 3 , 7 , rs, gmm, workpoint ต่างก็มีดาราในค่ายในสังกัด มีผู้จัดละครที่อยู่ในช่อง เสมือนคนป้อนงานรายการดีๆ ให้ แต่ทีวีพูลนั้นไม่มีเลย ทำข่าวดาราของช่องอื่นมาโดยตลอด
(6) รายการเด็กมีแต่การ์ตูน ซื้อมาจากต่างประเทศ และมีรายการโฆษณาสินค้าและบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเด็กในยามค่ำคืน ทำให้รายการเด็กดูไม่ปลอดภัย ดูเก่า เชย โบราณ และไม่มีคุณค่าพอสมกับรายการเด็ก
พอพ่อแม่เปิดมาดู ก็อาจจะไม่อยากให้ลูกดู และก็อาจเปรียบเทียบกับรายการสาระประโยชน์ความรู้ช่องอื่นๆ ที่มีมาก่อน เช่นนั้นก็ทำให้รายการช่องโลก้า ดูแย่และขาดทุนหนักไปอีก เพราะโฆษณาก็ไม่เข้า แถมโฆษณาสินค้าที่มีเข้ารายการเด็ก ก็น้อยกว่าปกติอยู่แล้ว และที่เข้ามาก็เป็นสินค้าที่ไม่มีความเหมาะสมกับเด็ก
(7) วางโพสิชั่นนิ่ง ของช่อง ที่ไม่ชัดเจนแต่แรก เช่นไม่รู้ว่า ลูกค้าคนดูคือใคร ฐานจำนวนมีเท่าไร และใครเป็นผู้ชมที่มีกำลังซื้อจริงๆ ทำให้วางโฆษณา แผนรายได้ไม่ชัด อีกทั้ง การวางโฆษณาในรายการทีวี อาจไม่เหมือนวางในสื่อสิ่งพิมพ์บันเทิง เพราะ มีมูลค่าสูงกว่า เสี่ยงกว่า ด้วยหากคนไม่ดู เรตติ้งต่ำ ก็จะเรียกโฆษณาได้น้อย ขณะที่ต้นทุนการทำรายการโทรทัศน์นั้นสูงพอๆ กันในทุกๆ ช่อง
(8) เข้าใจผิดเรื่องทำธุรกิจทีวี ไม่ใช่เฉพาะภาพคมชัดเท่านั้น แต่ผู้คนให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่าสิ่งอื่นๆ การไม่สามารถต่อยอดคอนเท้นต์ธุรกิจบันเทิงของตัวเองในสื่อทีวีได้ บ่งบอกว่า ทีวีพูลนั้นเป็นเพียงธุรกิจข่าวบันเทิง ที่หากินกับกระแสข่าวบันเทิง ของคนอื่นๆ มากกว่าที่จะลิตคอนเท้นต์ของตนเอง
แตกต่างกับไทยรัฐ เดลินิวส์ เนชั่น อมรินทร์ ที่มีการผลิตคอนเท้นต์แท้ๆ ของตนเอง ผ่านธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ (คือ มีนักเขียน มีคนเขียน มีทีมงานข่าว มีช่างภาพ มีคอลัมนิสต์)
ธุรกิจแท็บลอยด์บันเทิงของทีวีพูลเลยไปไม่รอด ไปไม่ได้ เพราะแก่นแท้ของธุรกิจนั้น มิได้เข้มแข็งมีคุณภาพมาแต่แรกอยู่แล้ว - ข่าวบันเทิงที่ขายความกระหายใคร่รู้ของประชาชน อาจมีค่าแค่หมึกเปื้อนกระดาษอ่านฆ่าเวลาเล่นตามสถานที่างๆ (และคนซื้อหนังสือบันเทิงข่าวดาราชาวบ้าน ก็ไม่มีใครอยากควักเงินซื้ออ่านเอง แต่อาศัยอ่านเล่นตามร้านค้า ร้านทำผม ตามตลาดนัดที่สาธารณะทั่วๆไป )ผู้ชมย่อมอยากใช้เวลาไปกับหน้าจอด้วยคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพ หากเจ๊ติ๋ม ทำรายงานศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เอาจริงกับการศึกษา สำรวจผู้ชมและตลาดก่อนที่จะตัดสินใจประมูล ก็คงจะไม่จบลงด้วยภาวะขาดทุนเช่นนี้ และข้อสุดท้าย
(9) จริยธรรมในการทำธุรกิจ ท่าที ความรู้ ความเข้าใจของเจ๊ติ๊มในธุรกิจทีวีดิจิตอล ที่ว่าจะขอยกเลิก หรือต่อไป หากขอไม่จ่ายค่างวด หรือ ค่าประกัน หรือค่าขอยกเลิก ที่เป็นข้อตกลงกับระเบียบ กสทช. หากทิ้งทีวีดิจิตอลไป พูดง่ายๆ หากเบี้ยว ชักดาบ หนี ไม่จ่าย ไม่มี ไม่หนี ก็แสดงว่ามันได้สะท้อน "วิธีคิด ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ จริต และจิตใจ" ของผู้บริหารทีวี ต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
การทำธุรกิจ คือ ความเสี่ยงที่จะได้ทั้งกำไรและขาดทุน หากไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ของธุรกิจแต่แรก ก็ไม่ควรลงมาทำธุรกิจนี้อีกต่อไป
เผลอๆ ต่อไป ข่าวบันเทิงของดารา ก็อาจจะแยกค่าย แยกช่อง ของใครของมัน เพราะแต่ละช่องก็ย่อมมองแล้วว่า ข่าวฉาว ข่าวคาว ของดาราในสังกัด ก็ย่อมมีมูลค่าทางการตลาดขายความกระหายใคร่รู้ของผู้ชมได้ เมื่อถึงตอนนั้น ข่าวเช่นนี้ก็มีลิขสิทธิ์ของแต่ละช่อง ใครเลยอยากจะปล่อยให้ปรสิต ให้เหยี่ยวข่าวคาว ฉาว มาหากินกับความฉาวโฉ่ เรื่องลับๆ รัก ของดาราตนเองในสังกัด
นี่พิสูจน์ชัดเจนว่า "ธุรกิจที่พึ่งพิง พึ่งพาเนื้อหาของสื่ออื่นๆ" พอมาทำทีวีมาทำคอนเท้นต์เป็นของตนเอง ด้วยตนเอง เพื่อตนเองนั้น มันไปไม่รอดสักราย
สุดท้ายคิดว่า ผู้ประกอบการคงต้องจ่ายเงิน ตามที่กสทช. กำหนดนะครับ และกรณีการฟ้องร้องเอาผิด กสทช. ในฐานะทำให้ทีวีดิจิตอลเสียหายนั้น คงจะยาก เพราะก็มีทีวีดิจิตอลช่องอื่นๆ เช่น 3 หรือ 7 และค่ายอื่นๆ ที่มีกำไร และสามารถเอาตัวรอดทางธุรกิจได้ ก็อาจไม่ได้มาร่วมฟ้องร้อง กสทช. ไปด้วย เพราะเขาทำแล้วมีผลกำไร
และแน่นอนว่าคงมีอีกหลายช่อง ที่คงต้องล้มเลิกและปิดกิจการตามไปในเร็ววัน
และนั่นก็เป็นสิ่งที่คนในวงการทีวีมองเห็นตั้งแต่แรกแล้ว!
รอดูกันต่อไปนะครับ
อย่าลืมว่า การลงทุนในทีวีดิจิตอล คือการวัดว่าคุณมีคอนเท้นต์ที่มีคุณภาพขายได้หรือไม่ ด้วยตัวคุณเอง"