ออมสินเกาะติดหนี้ครู 6 แสนล้านบาท หวั่นหนี้เสียพุ่งหลังเกิดปัญหาภายใน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินอยู่ระหว่างการติดตามสินเชื่อครูอย่างใกล้ชิด หลังจากมีตัวแทนข้าราชการครูบางส่วนทำเรื่องถึงนายกรัฐมนตรีขอผ่อนปรนเรื่องหนี้สิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนของธนาคารออมสินมีการปล่อยสินเชื่อให้ครูคิดเป็นวงเงินกว่า 6 แสนล้านบาท ที่ผ่านมามียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่ถึง 1%
ทั้งนี้ ธนาคารได้ประสานขอความร่วมมือจากคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ให้ทำหน้าที่ในการติดตามหักชำระหนี้ให้ โดยมีข้อตกลงที่ธนาคารจะให้ค่าบริหารจัดการส่วนหนึ่ง และกรณีที่มีการค้างชำระหนี้ก็ให้ธนาคารหักเงินค่าบริหารจัดการส่วนนี้ไปก่อนได้ จึงทำให้เอ็นพีแอลต่ำ เพราะกระบวนการติดตามหนี้มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ สกสค. มีปัญหาอันเกิดจากการถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สั่งสอบกรณีการใช้เงินของ สกสค.ว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการติดตามทวงหนี้ของธนาคาร เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร แต่ข้อตกลงระหว่างธนาคารกับ สกสค.ยังมีอยู่ และการปฏิบัติงานยังดำเนินไปตามปกติ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะผู้ปล่อยกู้ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. และธนาคารออมสิน ซึ่งขณะนี้มียอดปล่อยกู้กว่า 6 แสนล้านบาท อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาภายในของครู
“เดิมโครงการนี้มีการจำกัดเพดานวงเงินกู้ทั้งหมดเพียง 5 แสนบาท ต่อมาได้ปรับเงื่อนไขขยายการปล่อยกู้ให้ครูต่อคนได้มากถึง 3 ล้านบาท วงเงินจึงสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาหากครูไม่มีความสามารถในการชำระหนี้” แหล่งข่าวเปิดเผย
ประกอบกับหลังมีการแก้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สหกรณ์เมื่อ 2-3 ปีก่อน ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนให้สหกรณ์คือเจ้าหนี้รายแรกที่สามารถหักหนี้ในบัญชีเงินเดือนของครูได้ก่อนสถาบันการเงิน ส่งผลให้เงินเดือนครูหลังถูกเจ้าหนี้สหกรณ์หักไปแล้วอาจเหลือไม่พอจ่ายหนี้สถาบันการเงิน คือ ธนาคารออมสิน ทำให้ขณะนี้ธนาคารออมสินต้องเข้าไปดูแลลูกค้ากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเอ็นพีแอลขึ้น
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า การยื่นหนังสือถึงนายกฯ น่าจะเป็นการขอผ่อนผันหนี้ของธนาคารออมสิน เพราะครูเกือบทุกคนเป็นหนี้เงินกู้สหกรณ์ เมื่อหักหนี้ที่กู้จากสหกรณ์แล้ว ครูบางคนก็มีเงินเหลือแค่พอยังชีพ บางรายยังเป็นหนี้นอกระบบอีกด้วย หากจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้รายอื่นอาจจะมีปัญหาได้ การแก้ไขปัญหาหนี้ครูต้องดูทั้งระบบ
Link :
http://goo.gl/FOKtX2
▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ ออมสินหนาว! หนี้ครู 6 แสนล้านบาท █ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂
ออมสินเกาะติดหนี้ครู 6 แสนล้านบาท หวั่นหนี้เสียพุ่งหลังเกิดปัญหาภายใน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินอยู่ระหว่างการติดตามสินเชื่อครูอย่างใกล้ชิด หลังจากมีตัวแทนข้าราชการครูบางส่วนทำเรื่องถึงนายกรัฐมนตรีขอผ่อนปรนเรื่องหนี้สิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนของธนาคารออมสินมีการปล่อยสินเชื่อให้ครูคิดเป็นวงเงินกว่า 6 แสนล้านบาท ที่ผ่านมามียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไม่ถึง 1%
ทั้งนี้ ธนาคารได้ประสานขอความร่วมมือจากคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ให้ทำหน้าที่ในการติดตามหักชำระหนี้ให้ โดยมีข้อตกลงที่ธนาคารจะให้ค่าบริหารจัดการส่วนหนึ่ง และกรณีที่มีการค้างชำระหนี้ก็ให้ธนาคารหักเงินค่าบริหารจัดการส่วนนี้ไปก่อนได้ จึงทำให้เอ็นพีแอลต่ำ เพราะกระบวนการติดตามหนี้มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ สกสค. มีปัญหาอันเกิดจากการถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สั่งสอบกรณีการใช้เงินของ สกสค.ว่ามีความโปร่งใสหรือไม่ แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการติดตามทวงหนี้ของธนาคาร เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร แต่ข้อตกลงระหว่างธนาคารกับ สกสค.ยังมีอยู่ และการปฏิบัติงานยังดำเนินไปตามปกติ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะผู้ปล่อยกู้ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. และธนาคารออมสิน ซึ่งขณะนี้มียอดปล่อยกู้กว่า 6 แสนล้านบาท อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาภายในของครู
“เดิมโครงการนี้มีการจำกัดเพดานวงเงินกู้ทั้งหมดเพียง 5 แสนบาท ต่อมาได้ปรับเงื่อนไขขยายการปล่อยกู้ให้ครูต่อคนได้มากถึง 3 ล้านบาท วงเงินจึงสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาหากครูไม่มีความสามารถในการชำระหนี้” แหล่งข่าวเปิดเผย
ประกอบกับหลังมีการแก้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สหกรณ์เมื่อ 2-3 ปีก่อน ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนให้สหกรณ์คือเจ้าหนี้รายแรกที่สามารถหักหนี้ในบัญชีเงินเดือนของครูได้ก่อนสถาบันการเงิน ส่งผลให้เงินเดือนครูหลังถูกเจ้าหนี้สหกรณ์หักไปแล้วอาจเหลือไม่พอจ่ายหนี้สถาบันการเงิน คือ ธนาคารออมสิน ทำให้ขณะนี้ธนาคารออมสินต้องเข้าไปดูแลลูกค้ากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเอ็นพีแอลขึ้น
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า การยื่นหนังสือถึงนายกฯ น่าจะเป็นการขอผ่อนผันหนี้ของธนาคารออมสิน เพราะครูเกือบทุกคนเป็นหนี้เงินกู้สหกรณ์ เมื่อหักหนี้ที่กู้จากสหกรณ์แล้ว ครูบางคนก็มีเงินเหลือแค่พอยังชีพ บางรายยังเป็นหนี้นอกระบบอีกด้วย หากจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้รายอื่นอาจจะมีปัญหาได้ การแก้ไขปัญหาหนี้ครูต้องดูทั้งระบบ
Link : http://goo.gl/FOKtX2