ทำไมพระอานนท์ถึงจำพระสูตรได้หมด....

สงสัยมานานละ แต่ก็พอมีคำตอบอยู่ในใจ ไม่รู้ว่าหลายท่านคิดสงสัยเหมือนกับผมมั่งหรือเปล่า
พระสูตรในพระไตรปิฎกมีเป็นพันเป็นหมื่น ที่พระอานนท์ครั้งสังคายนาได้วิสัชนาไว้ ท่านจำได้ทุกคำ ทุกประโยค ครบทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ สมบูรณ์ไม่มีตกหล่นเลย อีกทั้งการสังคายนาครั้งต่อมา ก็มีการสืบทอดโดยพระอรหันต์ทั้งหลายที่ทรงพระไตรปิฎก
ณ จุดนี้เอง ผมถึงเชื่อว่า พระอรหันต์มีจริง อริยะสงฆ์มีจริง ปฏิสัมภิทามรรคเกิดได้จริง ปาฏิหาริย์ในเรื่องการระลึกชาติ หรือการทำอิทธิเรื่องอื่นๆ ก็คงจะไม่เกินวิสัย เอาแค่เรื่องจำพระสูตรอย่างท่านพระอานนท์   คนที่ไม่เชื่อเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จะอธิบายการจำพระสูตรของพระอานนท์ให้เป็นวิทยาศาสตร์ได้ยังไง เพราะคนๆ เดียวจะจำพระสูตรเป็นหมื่นพระสูตร เป็นล้านคำได้ยังไง คือท่านไม่ใช่คอมพิวเตอร์นะ แล้วท่านอื่นๆ เช่น พระอุบาลีผู้ทรงวินัย ก็ได้เป็นผู้ตอบเรื่องวินัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ไม่ใช่น้อยๆ อีกแหละ

ส่วนมนุษย์ธรรมดา อย่างพวกเรา ต่อให้ความจำเลิศขนาดไหน ไอคิวดีขนาดไหน คงไม่ได้สักส่วนเสี้ยวของท่านเหล่านั้นได้เลย
#อยากให้ท่านที่ไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์อธิบายเรื่องนี้ให้ฟังครับ ว่าคิดยังไง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
http://ppantip.com/topic/31055007
ไม่รู้จะเกี่ยวกันหรือเปล่านะครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
นครสูตร

(บางส่วน)

            อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก
ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง  
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก
ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคมสำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม ...
บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔ ฯ
            
              อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม
มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา ตั้งกองทัพไว้มาก คือพลม้า ฯลฯ
กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียร
เปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ...
บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรม ประการที่ ๕ ฯ
            
             อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
ย่อมตามระลึกถึงกรรมที่ได้ทำ และ คำที่ได้พูดแล้วแม้นานได้
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีทหารยามฉลาดสามารถดี
ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า
สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติเปรียบเหมือนทหารยาม
ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๒๒๖๐ - ๒๓๘๔.  หน้าที่  ๙๙ - ๑๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2260&Z=2384&pagebreak=0
            
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=64
            
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[64] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=23&item=64&Roman=0


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่