ที่มา :
http://www.thaisa.org/?p=469#more-469
ประสบการณ์การลงทุน เริ่มจากศูนย์ โดย [L] THAIVI
ตอน 1: ขอเล่าที่มาที่ไปสักเล็กน้อยนะครับ
เมื่อเดือนที่แล้ว ผมได้ไปกินข้าวกับพี่ๆเพื่อนๆ VI กลุ่มนึงรวมทั้งพี่ sai, พี่ biker ด้วย แต่ละคนก็เก่งๆกว่าผมทั้งนั้นครับ
ก็กินไปคุยไปเรื่อยๆตามภาษา VI จนยังไงไม่รู้ พอพี่เค้ารู้ว่าผมถือหุ้นอยู่บริษัทนึง (ไม่ได้มากมายอะไรนะครับ)
แล้วผมก็บอกว่าผมเริ่มต้นลงทุนจากศูนย์ โดยอาศัยเงินเก็บแต่ละเดือนจากเงินเดือนมาลงทุนสะสมไปเรื่อยๆ
พี่ sai เค้าก็ตกใจใหญ่เลยครับ ผมก็งงๆว่าตกใจอะไร เริ่มต้นลงทุนจากศูนย์มันแปลกตรงไหน
ปรากฏว่า VI หลายคนที่พี่เค้ารู้จักส่วนใหญ่มีเงินลงทุนเริ่มต้นเป็นหลักล้านทั้งนั้นเลย
ผมเดาว่าคงเป็นเพราะ พี่ๆรุ่นก่อนๆเค้าน่าจะเป็นแบบที่เรียกว่า มีตังค์อยู่ก่อน ค่อยมารู้จัก VI ทีหลัง
ส่วนผมคนรุ่นหลังหน่อย เลยรู้จัก VI ก่อน ค่อยมารู้จักตังค์ทีหลัง (หวังว่านะ )
ผมว่านักลงทุน VI รุ่นใหม่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเหมือนผม
สรุปคือ ที่พี่ อิอิอิ (ซาอิ) ชักนำผมมาพูดเนี่ย หลักๆไม่ใช่เพราะผมเก่งเลยนะครับ
แต่เพราะผมเริ่มต้นลงทุนจากศูนย์แล้วยังพอไปวัดไปวาได้ต่างหากล่ะครับ
และคงพอเป็นกำลังใจให้น้องรุ่นใหม่ได้บ้าง :8)
ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ขอเล่าไปแบบเรื่อยเปื่อย ไร้สาระบ้างอย่าว่ากันนะครับ
มีเงินน้อยเป็น VI ไม่ได้จริงหรือ ?
คำตอบมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่จริง
แต่ปัญหาคือ VI รุ่นใหม่หลายคนมักจะน้อยใจหรือเสียใจ ว่าเพิ่งเริ่มต้น
เงินลงทุนยังมีน้อย ลงทุนเมื่อไหร่จะรวยซะที
ผมว่าลองคิดกลับกันดูสิครับ
บางคนที่เค้ามีเงินลงทุนเริ่มต้นหลายล้านน่ะ จริงๆแล้วเค้าก็ต้องค่อยๆเริ่มต้นทำงานเก็บเงินมาก่อนนะ
ว่าที่จริงตอนนั้นเค้ายังไม่รู้จัก VI เลยด้วยซ้ำไป พวกเค้าต้องฝากเงินอยู่ในธนาคารตั้งนาน นานหลายๆปีจนมีเงินเยอะแล้ว
ถึงเพิ่งจะมารู้จัก VI และมาลงทุนแบบ VI
คิดดูสิว่า ถ้าพวกเค้ารู้จัก VI มาตั้งแต่ต้น ผลมันจะออกมาแตกต่างขนาดไหน
พวกเค้าสูญเสียโอกาสไปขนาดไหน
VI รุ่นใหม่อย่างพวกเราถือว่าโชคดีมากนะครับ ได้รู้จัก VI ตั้งแต่ช่วงต้นๆของการลงทุน
ก็คิดซะว่าเราเป็นคนพอร์ตใหญ่สมัยตอนหนุ่มๆก็แล้วกัน ดังนั้นเราก็ไม่ควรไปอิจฉาเค้าเลยนะครับ เค้าต่างหากที่ควรอิจฉาเรา 😀
(ที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็เพื่อเป็นกำลังใจ VI รุ่นใหม่ที่ยังเบี้ยน้อยหอยน้อยอยู่นะครับ
มิได้มีเจตนาว่ากล่าวใครนะครับ ยังไงก็ตาม ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
ตอน 2: ทำไมถึงต้องลงทุนในหุ้น ?
ถ้าไม่รู้ซึ้งถึงความสำคัญของข้อนี้แล้วละก็ มันก็ไปได้ไม่ถึงไหนหรอกครับ
เดิมทีผมก็มีความคิดเหมือนคนส่วนใหญ่ คือ หนทางที่คนเราจะรวยได้คือ
เราต้องเป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จ (คนรุ่นเก่าจะเชื่อแบบนี้เยอะ แต่สำหรับผมมันคงจะยากลำบากมาก)
หรือไม่ก็ต้อง เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทใหญ่ๆ (อันนี้พอมีลุ้น แต่หลังจากทำงานมาซักพัก ผมว่าผมคงไม่เหมาะจะเป็นผู้บริหาร 😳 )
หรือไม่ก็ต้อง พ่อแม่รวยอยู่แล้ว (อันนี้ก็ไม่ใช่ผม)
หรือไม่ก็ต้อง ได้เมียรวย (ถ้าผมหล่อเหมือนดาราเกาหลี ก็ว่าไปอย่าง 😈 )
สรุปคือ ผมไม่เอาถ่านเลยซักอย่าง 😳
แต่ผู้จุดประกายความหวังให้ผม คือหนังสือของ อ.นิเวศน์ ครับ ตอนนั้นรู้สึกจะมีอยู่ 3 เล่ม
ตีแตก เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้ และ เซียนหุ้นมือทอง ผมอ่านหมดเลยครับ
อ่านแล้วรู้สึก ใช่เลย ต้องขอบคุณ อ.นิเวศน์ มากๆเลยครับ ถือว่าท่านเป็นอาจารย์ด้านการลงทุนของผมเลยครับ
จากนั้นผมก็ติดตามผลงานของ อ.นิเวศน์ เรื่อยมาจนปัจจุบัน
แล้วผมก็ตระหนักได้ถึงความสำคัญของ 2 สิ่ง คือ
หนึ่ง อัตราผลตอบแทนทบต้นมันมหัศจรรย์มาก ในระยะยาว (เช่น 10-20 ปี) มันทำให้เรารวยได้จริงๆ
สอง ทางเดียวที่พนักงานกินเงินเดือนธรรมดาๆอย่างผมจะรวยได้คือ ต้องลงทุนในหุ้นเท่านั้น ไม่มีทางเลือกอื่น
เมื่อคิดได้แบบนี้ ผมก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานเก็บเงิน ก็เพื่อจะลงทุนในหุ้นต่อไปครับ
เริ่มออมเงินยังไง ?
ตอนเริ่มลงทุนจริงๆ ผมก็ค่อยๆสะสมเอาจากเงินเดือนครับ เริ่มจากหมื่น หลายๆเดือนก็เป็นแสน หลายๆปีก็เป็นล้านได้
ดังนั้น ช่วงแรกๆต้องอดทนมากหน่อย กว่าจะเก็บเงินลงทุนได้ซักแสนก็หลายๆเดือนอยู่
ช่วงแรกที่ลงทุน ถึงจะได้กำไรมาตั้งหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คิดเป็นเม็ดเงินก็แค่ไม่กี่หมื่นบาท
แต่ถ้าอดทนสะสมไปเรื่อยๆ หลังๆมันจะเร็วจนน่าตกใจเลยครับ (เวลาขาดทุนก็ตกใจเช่นกันครับ 😆 )
เงินเก็บสะสมในแต่ละเดือนผมลงทุนในหุ้นทั้งหมด ผมค่อนข้างจริงจังครับ
เพราะผมรู้แล้วว่าการลงทุนในหุ้นมันสำคัญขนาดไหน ไม่มีลังเลครับ
ผมไม่ซื้อรถ ไม่ซื้อคอนโด ไม่ซื้อบ้าน ไม่มีบัตรเครดิต ไม่ซื้อเครื่องใช้แพงๆโดยไม่จำเป็น
มันทำให้ผมมีเงินเหลือไว้ลงทุนเป็นสัดส่วนค่อนข้างเยอะ ประมาณว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ส่วนค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารการกิน การท่องเที่ยว เสื้อผ้า ของใช้ทั่วไป หรือเรื่องอื่นๆที่จำเป็น
เช่น สุขภาพ การเรียน หรือหนังสือ ผมไม่ค่อยได้ประหยัดเท่าไหร่ครับ
แต่ผมจะหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายใหญ่ๆแทน เช่น บ้าน รถ คอนโด (แต่ถ้าใครจำเป็นซื้อ ก็ต้องซื้อนะครับ แต่อย่าให้เกินตัว)
แค่นี้ผมก็มีความสุขได้ 80% โดยใช้เงินแค่ 20% แล้ว ผมว่าการซื้อรถ บ้าน โดยไม่จำเป็นน่าจะเป็นความทุกข์ด้วยซ้ำไป
การทำแบบนี้ ก็ต้องมีจิตใจที่มั่นคง ต้องศรัทธาในการลงทุนหุ้นพอสมควร เพราะมันค่อนข้างจะสวนกระแสกับคนทั่วไป
ใหม่ๆผมเล่าเรื่องการลงทุนแนว VI ให้เพื่อนที่รู้จักหลายคนฟัง ไม่มีใครเชื่อเลย แล้วยังมองว่าแปลกประหลาด หรือมองเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำไป
VI เป็นศาสตร์(และศิลป์)ของคนส่วนน้อยจริงๆ เป็นคนประเภทต้องคิดต่างจากคนส่วนใหญ่ (แล้วก็น่าจะรวยต่างจากคนส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน)
เหมือนเคยได้ยินว่า VI มันเป็นสิ่งติดตัวมา ผมยังไม่เคยเห็นใครค่อยๆเป็น VI เลย
ถ้าใครได้ยินแนวทาง VI แล้วใช่ ก็ใช่เลย ถ้ามันไม่ใช่ตั้งแต่แรก ยังไงมันก็ไม่ใช่
ตอนที่ 3: เริ่มต้นลงทุนยังไง ?
ผมเพิ่งจะลงทุนมาเต็ม 4 ปีเองครับ ผมยังมือใหม่มากๆ
ยังต้องเรียนรู้ ยังต้องลองผิดลองถูกอีกเยอะ 😳
ตอนเริ่มจะซื้อหุ้น ผมรู้ว่าผมไม่ได้เก่ง ประสบการณ์ลงทุนก็แทบไม่มี
เวลาก็ไม่มีเพราะต้องทำงาน ข่าวสารต่างๆก็รู้ช้ากว่าคนอื่น
แถมยังค่อนข้างขี้เกียจ(อันนี้เป็นปัญหาหนักสุด ห้ามลอกเลียนแบบ )
แทบไม่เคยโทรหา IR หรือ company visit เลย
ดังนั้นด้วยข้อจำกัดต่างๆ ผมจึงไม่ค่อยได้คิดอะไรใหม่ๆ หรือเริ่มต้นหาหุ้นด้วยตัวเองเลย
พูดง่ายๆคือ ผมอาศัยลอกการบ้านเอาจากอาจารย์และพี่ๆที่เค้าศึกษามาแล้ว :bow:
ผมศึกษาเอาจากคนเก่งๆทั้งหลายนั่นแหละครับ เช่น ไปสัมมนาบ่อยๆ อ่าน thaivi อ่านหนังสือ
จากนั้นผมก็มาเลือกลงทุนเองอีกที เรียกได้ว่าผมทำการบ้านของการบ้านของคนอื่นอีกทีครับ
อย่างน้อยเราก็ต้องเข้าใจในกิจการและวิเคราะห์ตามหลัก VI เองตามปกติด้วย
(ส่วนสไตล์การลงทุนแต่ละคนก็ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง)
และต้องคิดด้วยตัวเองอีกทีก่อนตัดสินใจ เพราะถ้าพลาดจะได้ไม่โทษคนอื่น แต่ถ้ากำไรต้องชมเค้านะครับ 😀
ซึ่งส่วนใหญ่มีหุ้นน้อยตัวที่ผมจะซื้อ
(การแห่ซื้อตามเซียนโดยไม่มีความรู้เป็นเรื่องอันตรายมากๆนะครับ)
ผมจะมองหาโอกาสที่ง่ายๆชัดๆ ซึ่งนานๆจะเจอที ปีๆเจอ 1 2 ทีก็พอแล้วครับ บางตัวก็อยู่หลายปี
เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือก็จะอยู่เฉยๆไม่ค่อยทำอะไร แต่ก็จะติดตามข่าวสารไปเรื่อยๆ
โดยเฉพาะเรื่องราวของหุ้นที่อยู่ในความสนใจของเรา ที่เหลือก็อ่านหนังสือบ้างไปตามเรื่องตามราว
ในพอร์ตก็มีหุ้นหลักๆ 2-3 ตัว ระหว่างปีก็มีแบ่งเงินบางส่วนมาลองผิดลองถูกบ้าง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามภาษาคนมือใหม่
นี่คือผลงานการลงทุนที่ผ่านมาของผม
2006 +58.6%
2007 +31.6%
2008 -30.7%
2009 +369.3%
คราวหน้าผมจะลองเล่าถึงประสบการณ์ลงทุนบ้าง เท่าที่นึกออกครับ
ตอนที่ 4: บทเรียน/ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ผมลองนึกดูว่า ที่ผ่านมาลงทุนยังไง เห็นอะไรมาบ้าง พบว่า
– การลงทุนให้ประสบความสำเร็จไม่ได้มีวิธีเดียว มีหลายวิธีที่สำเร็จได้ แนวทางใครแนวทางมัน
– หลังวิกฤตย่อมมีโอกาส แต่ก่อนจะมีโอกาสต้องรอดจากวิกฤต และเมื่อโอกาสมาถึงเราต้องกล้า
– อย่าให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการลงทุนมากจนเกินไป ความสม่ำเสมอและระยะเวลาการลงทุนต่างหากที่สำคัญมากกว่า
– และข้อสังเกตอื่นๆที่น่าสนใจ
การลงทุนให้สำเร็จไม่ได้มีวิธีเดียว
เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า น่าจะมีแนวทางการลงทุนอันเดียวที่ดีที่สุด ที่เหมาะกับทุกคน ต้องลงทุนแบบนี้ถึงจะดี ลงทุนแบบอื่นๆนั้นไม่ดี
แต่เมื่อเวลาผ่านไปถึงรู้ว่า จริงๆแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะคนเรานั้นต่างกัน
ทางที่ประสบความสำเร็จไม่ได้มีทางเดียว แต่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักมีแนวทางเป็นของตัวเอง
บางคนเก่งหุ้น Cyclical บางคนชอบหุ้นถูกมีตัวเร่ง บางคนหุ้นฟื้นตัว บ้างก็หุ้นประมูลงาน บางคนชอบ Super Stock
บางคนเก่ง Commodities บางคนเก่ง Arbitrage บางคนเก่งทุกอย่างเลย :bow: หรือบางคนก็ใช้ Technical ใช้ Fund Flow ประกอบ
เรื่องการบริหารพอร์ต บางคนก็ชอบถือนานหลายปี บางคนถือไม่นานมากหุ้นขึ้นก็ขายเปลี่ยนตัว บางคนถือแค่ไม่กี่หุ้น
แต่บางคนก็ชอบกระจายหลายหุ้น หรือบางคนอาจจะเหมาะลงทุนในกองทุนดัชนีโดยไม่ต้องเลือกหุ้นเลยก็ยังได้
ไม่มีใครถูกใครผิด แนวทางไหนไม่สำคัญ ที่สำคัญคือเราต้องแน่ใจว่าเรารู้เรื่องเหล่านั้นจริงๆ
(มีนักลงทุนฝีมือดีท่านนึงเคยกล่าวว่า แมวสีไหนไม่สำคัญ ขอให้จับหนูได้ก็พอแล้ว)
ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเก็บหุ้นเด็ดทุกตัว เอาแค่ไม่กี่ตัวที่เราเข้าใจได้ก็พอแล้ว ผมเองพลาดหุ้นเด็ดไปตั้งเยอะ
บางตัวก็เป็นโอกาสที่ดีซึ่งผมก็เสียดายเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ไม่ลงทุนเพราะยังไม่เข้าใจพอ และบางตัวก็ไม่ใช่แนวที่ถนัด 😳
หุ้นที่ผมไม่เคยลงทุนเช่น AIT BANPU BGH BH BLA BOL CPF CPN DSGT GFPT ILINK IRP KH MINT PB PDI PS PTT PTTEP
SAT SCIB SCNYL SIS SNC SPALI SSF STPI SVI TICON TNH TOP TPAC TTA UEC UMS UVAN WG
ตลอด 4 ปีที่ลงทุนมา กว่า 80% ของผลตอบแทนการลงทุนเกิดจากหุ้นหลักๆเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น (4-5 ตัว)
ส่วนผลงานอีก 20% ที่เหลือเกิดจากหุ้นจำนวนมากกว่าที่ผมลองซื้อขายบ่อยๆแบบเก็งกำไร ซึ่งช่วงหลังผมพยายามทำให้น้อยลง
ที่ผ่านมาสไตล์การลงทุนหลักที่ผมใช้คือเน้นลงทุนน้อยตัว (Focus) ถ้าภาวะปกติ ผมจะเลือกหุ้นคุณภาพที่มี DCA + Growth
ยกเว้นถ้าเกิดวิกฤตเหมือนปีที่แล้ว ผมจะเลือกหุ้นถูก + ฟื้นตัว + DCA
ส่วนนักลงทุนท่านอื่นๆก็มีแนวทางของเค้า มีผลงานการลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงๆมากมาย
ต้องรอดจากวิกฤต และเมื่อโอกาสมาถึงต้องกล้า
การลงทุนที่ผ่านมา ผมคิดว่าผมมีโชคอยู่มากพอควร (จะเรียกว่าฟลุ๊คบ้างก็ได้) แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ผลตอบแทนที่คิดเป็นเม็ดเงินส่วนใหญ่ของผมเกิดขึ้นในปี 2009 เหมือนมีคนเคยบอกว่า
โอกาสใหญ่ๆของคนเรามีแค่ไม่กี่ครั้งในชีวิต เมื่อมันมาถึงเราต้องกล้า แต่ไม่ใช่อยู่ๆก็กล้า เราต้องศึกษาต้องเห็นมาก่อน
ตอนผมอ่าน ตีแตก อ่านบทความ ผมทั้งดีใจและเสียใจ เสียใจที่โอกาสดีๆแบบตอนนั้น มันผ่านไปแล้ว ไม่รู้เมื่อไหร่จะมาอีก
ผมพอรู้เรื่องราวของหุ้นเรือ หุ้นปี 2003 ตอนนั้นผมบอกกับตัวเองว่า ถ้าโอกาสครั้งหน้ามาถึงผมต้องไม่พลาด
แต่เนื่องจากโอกาสจะมาหลังวิกฤต ดังนั้นก่อนจะมีโอกาสได้ เราต้องรอดจากวิกฤตซะก่อนเพราะถ้าพลาดเราอาจไม่ได้แก้ตัวอีก
(ที่จริงปี 2008 ผลตอบแทนผมก็ติดลบ 30% ไม่รู้จะเรียกว่ารอดดีรึเปล่า 😳 )
ดังคำกล่าวว่า ถ้าเรารู้ว่าเราจะตายที่ไหน ก็อย่าไปที่นั้น
ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าโอกาสขาดทุนครั้งใหญ่เกิดได้ยังไง เราก็อาจจะพอหลีกเลี่ยงได้บ้าง
เท่าที่ผมเห็น โอกาสขาดทุนครั้งใหญ่มักจะเกิดจาก การลงทุนในหุ้นคุณภาพต่ำหรืองั้นๆในเวลาทองของธุรกิจนั้น และ
การใช้ Margin ที่มากเกินไป หรือทั้งสองอย่างรวมกัน :vm:
อีกอย่างคือ การลงทุนหุ้นคุณภาพดีในราคาที่แพงเกินไป เช่น PE 40 เท่าบนกำไรปกติ (ที่ผ่านมา VI น้อยคนที่จะลงทุนแบบนี้)
หรือแม้แต่ การลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นที่ร้อนแรง เช่น ลองนึกถึงตลาดหุ้นจีนตอนก่อนวิกฤตที่ PE 40 เท่าดู
(ไม่ต้องพูดถึงหุ้นปั่น หรือการเล่นเก็งกำไร Futures ซึ่งนักลงทุนทุกคนควรรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสหมดตัวได้ทุกเมื่อ)
ดูเหมือนผมจะพูดย้อนหลังใครก็พูดได้
ประสบการณ์การลงทุน เริ่มจากศูนย์ โดย [L] ThaiVI
ประสบการณ์การลงทุน เริ่มจากศูนย์ โดย [L] THAIVI
ตอน 1: ขอเล่าที่มาที่ไปสักเล็กน้อยนะครับ
เมื่อเดือนที่แล้ว ผมได้ไปกินข้าวกับพี่ๆเพื่อนๆ VI กลุ่มนึงรวมทั้งพี่ sai, พี่ biker ด้วย แต่ละคนก็เก่งๆกว่าผมทั้งนั้นครับ
ก็กินไปคุยไปเรื่อยๆตามภาษา VI จนยังไงไม่รู้ พอพี่เค้ารู้ว่าผมถือหุ้นอยู่บริษัทนึง (ไม่ได้มากมายอะไรนะครับ)
แล้วผมก็บอกว่าผมเริ่มต้นลงทุนจากศูนย์ โดยอาศัยเงินเก็บแต่ละเดือนจากเงินเดือนมาลงทุนสะสมไปเรื่อยๆ
พี่ sai เค้าก็ตกใจใหญ่เลยครับ ผมก็งงๆว่าตกใจอะไร เริ่มต้นลงทุนจากศูนย์มันแปลกตรงไหน
ปรากฏว่า VI หลายคนที่พี่เค้ารู้จักส่วนใหญ่มีเงินลงทุนเริ่มต้นเป็นหลักล้านทั้งนั้นเลย
ผมเดาว่าคงเป็นเพราะ พี่ๆรุ่นก่อนๆเค้าน่าจะเป็นแบบที่เรียกว่า มีตังค์อยู่ก่อน ค่อยมารู้จัก VI ทีหลัง
ส่วนผมคนรุ่นหลังหน่อย เลยรู้จัก VI ก่อน ค่อยมารู้จักตังค์ทีหลัง (หวังว่านะ )
ผมว่านักลงทุน VI รุ่นใหม่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเหมือนผม
สรุปคือ ที่พี่ อิอิอิ (ซาอิ) ชักนำผมมาพูดเนี่ย หลักๆไม่ใช่เพราะผมเก่งเลยนะครับ
แต่เพราะผมเริ่มต้นลงทุนจากศูนย์แล้วยังพอไปวัดไปวาได้ต่างหากล่ะครับ
และคงพอเป็นกำลังใจให้น้องรุ่นใหม่ได้บ้าง :8)
ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ขอเล่าไปแบบเรื่อยเปื่อย ไร้สาระบ้างอย่าว่ากันนะครับ
มีเงินน้อยเป็น VI ไม่ได้จริงหรือ ?
คำตอบมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่จริง
แต่ปัญหาคือ VI รุ่นใหม่หลายคนมักจะน้อยใจหรือเสียใจ ว่าเพิ่งเริ่มต้น
เงินลงทุนยังมีน้อย ลงทุนเมื่อไหร่จะรวยซะที
ผมว่าลองคิดกลับกันดูสิครับ
บางคนที่เค้ามีเงินลงทุนเริ่มต้นหลายล้านน่ะ จริงๆแล้วเค้าก็ต้องค่อยๆเริ่มต้นทำงานเก็บเงินมาก่อนนะ
ว่าที่จริงตอนนั้นเค้ายังไม่รู้จัก VI เลยด้วยซ้ำไป พวกเค้าต้องฝากเงินอยู่ในธนาคารตั้งนาน นานหลายๆปีจนมีเงินเยอะแล้ว
ถึงเพิ่งจะมารู้จัก VI และมาลงทุนแบบ VI
คิดดูสิว่า ถ้าพวกเค้ารู้จัก VI มาตั้งแต่ต้น ผลมันจะออกมาแตกต่างขนาดไหน
พวกเค้าสูญเสียโอกาสไปขนาดไหน
VI รุ่นใหม่อย่างพวกเราถือว่าโชคดีมากนะครับ ได้รู้จัก VI ตั้งแต่ช่วงต้นๆของการลงทุน
ก็คิดซะว่าเราเป็นคนพอร์ตใหญ่สมัยตอนหนุ่มๆก็แล้วกัน ดังนั้นเราก็ไม่ควรไปอิจฉาเค้าเลยนะครับ เค้าต่างหากที่ควรอิจฉาเรา 😀
(ที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็เพื่อเป็นกำลังใจ VI รุ่นใหม่ที่ยังเบี้ยน้อยหอยน้อยอยู่นะครับ
มิได้มีเจตนาว่ากล่าวใครนะครับ ยังไงก็ตาม ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
ตอน 2: ทำไมถึงต้องลงทุนในหุ้น ?
ถ้าไม่รู้ซึ้งถึงความสำคัญของข้อนี้แล้วละก็ มันก็ไปได้ไม่ถึงไหนหรอกครับ
เดิมทีผมก็มีความคิดเหมือนคนส่วนใหญ่ คือ หนทางที่คนเราจะรวยได้คือ
เราต้องเป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จ (คนรุ่นเก่าจะเชื่อแบบนี้เยอะ แต่สำหรับผมมันคงจะยากลำบากมาก)
หรือไม่ก็ต้อง เป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทใหญ่ๆ (อันนี้พอมีลุ้น แต่หลังจากทำงานมาซักพัก ผมว่าผมคงไม่เหมาะจะเป็นผู้บริหาร 😳 )
หรือไม่ก็ต้อง พ่อแม่รวยอยู่แล้ว (อันนี้ก็ไม่ใช่ผม)
หรือไม่ก็ต้อง ได้เมียรวย (ถ้าผมหล่อเหมือนดาราเกาหลี ก็ว่าไปอย่าง 😈 )
สรุปคือ ผมไม่เอาถ่านเลยซักอย่าง 😳
แต่ผู้จุดประกายความหวังให้ผม คือหนังสือของ อ.นิเวศน์ ครับ ตอนนั้นรู้สึกจะมีอยู่ 3 เล่ม
ตีแตก เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้ และ เซียนหุ้นมือทอง ผมอ่านหมดเลยครับ
อ่านแล้วรู้สึก ใช่เลย ต้องขอบคุณ อ.นิเวศน์ มากๆเลยครับ ถือว่าท่านเป็นอาจารย์ด้านการลงทุนของผมเลยครับ
จากนั้นผมก็ติดตามผลงานของ อ.นิเวศน์ เรื่อยมาจนปัจจุบัน
แล้วผมก็ตระหนักได้ถึงความสำคัญของ 2 สิ่ง คือ
หนึ่ง อัตราผลตอบแทนทบต้นมันมหัศจรรย์มาก ในระยะยาว (เช่น 10-20 ปี) มันทำให้เรารวยได้จริงๆ
สอง ทางเดียวที่พนักงานกินเงินเดือนธรรมดาๆอย่างผมจะรวยได้คือ ต้องลงทุนในหุ้นเท่านั้น ไม่มีทางเลือกอื่น
เมื่อคิดได้แบบนี้ ผมก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานเก็บเงิน ก็เพื่อจะลงทุนในหุ้นต่อไปครับ
เริ่มออมเงินยังไง ?
ตอนเริ่มลงทุนจริงๆ ผมก็ค่อยๆสะสมเอาจากเงินเดือนครับ เริ่มจากหมื่น หลายๆเดือนก็เป็นแสน หลายๆปีก็เป็นล้านได้
ดังนั้น ช่วงแรกๆต้องอดทนมากหน่อย กว่าจะเก็บเงินลงทุนได้ซักแสนก็หลายๆเดือนอยู่
ช่วงแรกที่ลงทุน ถึงจะได้กำไรมาตั้งหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คิดเป็นเม็ดเงินก็แค่ไม่กี่หมื่นบาท
แต่ถ้าอดทนสะสมไปเรื่อยๆ หลังๆมันจะเร็วจนน่าตกใจเลยครับ (เวลาขาดทุนก็ตกใจเช่นกันครับ 😆 )
เงินเก็บสะสมในแต่ละเดือนผมลงทุนในหุ้นทั้งหมด ผมค่อนข้างจริงจังครับ
เพราะผมรู้แล้วว่าการลงทุนในหุ้นมันสำคัญขนาดไหน ไม่มีลังเลครับ
ผมไม่ซื้อรถ ไม่ซื้อคอนโด ไม่ซื้อบ้าน ไม่มีบัตรเครดิต ไม่ซื้อเครื่องใช้แพงๆโดยไม่จำเป็น
มันทำให้ผมมีเงินเหลือไว้ลงทุนเป็นสัดส่วนค่อนข้างเยอะ ประมาณว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
ส่วนค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารการกิน การท่องเที่ยว เสื้อผ้า ของใช้ทั่วไป หรือเรื่องอื่นๆที่จำเป็น
เช่น สุขภาพ การเรียน หรือหนังสือ ผมไม่ค่อยได้ประหยัดเท่าไหร่ครับ
แต่ผมจะหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายใหญ่ๆแทน เช่น บ้าน รถ คอนโด (แต่ถ้าใครจำเป็นซื้อ ก็ต้องซื้อนะครับ แต่อย่าให้เกินตัว)
แค่นี้ผมก็มีความสุขได้ 80% โดยใช้เงินแค่ 20% แล้ว ผมว่าการซื้อรถ บ้าน โดยไม่จำเป็นน่าจะเป็นความทุกข์ด้วยซ้ำไป
การทำแบบนี้ ก็ต้องมีจิตใจที่มั่นคง ต้องศรัทธาในการลงทุนหุ้นพอสมควร เพราะมันค่อนข้างจะสวนกระแสกับคนทั่วไป
ใหม่ๆผมเล่าเรื่องการลงทุนแนว VI ให้เพื่อนที่รู้จักหลายคนฟัง ไม่มีใครเชื่อเลย แล้วยังมองว่าแปลกประหลาด หรือมองเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำไป
VI เป็นศาสตร์(และศิลป์)ของคนส่วนน้อยจริงๆ เป็นคนประเภทต้องคิดต่างจากคนส่วนใหญ่ (แล้วก็น่าจะรวยต่างจากคนส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน)
เหมือนเคยได้ยินว่า VI มันเป็นสิ่งติดตัวมา ผมยังไม่เคยเห็นใครค่อยๆเป็น VI เลย
ถ้าใครได้ยินแนวทาง VI แล้วใช่ ก็ใช่เลย ถ้ามันไม่ใช่ตั้งแต่แรก ยังไงมันก็ไม่ใช่
ตอนที่ 3: เริ่มต้นลงทุนยังไง ?
ผมเพิ่งจะลงทุนมาเต็ม 4 ปีเองครับ ผมยังมือใหม่มากๆ
ยังต้องเรียนรู้ ยังต้องลองผิดลองถูกอีกเยอะ 😳
ตอนเริ่มจะซื้อหุ้น ผมรู้ว่าผมไม่ได้เก่ง ประสบการณ์ลงทุนก็แทบไม่มี
เวลาก็ไม่มีเพราะต้องทำงาน ข่าวสารต่างๆก็รู้ช้ากว่าคนอื่น
แถมยังค่อนข้างขี้เกียจ(อันนี้เป็นปัญหาหนักสุด ห้ามลอกเลียนแบบ )
แทบไม่เคยโทรหา IR หรือ company visit เลย
ดังนั้นด้วยข้อจำกัดต่างๆ ผมจึงไม่ค่อยได้คิดอะไรใหม่ๆ หรือเริ่มต้นหาหุ้นด้วยตัวเองเลย
พูดง่ายๆคือ ผมอาศัยลอกการบ้านเอาจากอาจารย์และพี่ๆที่เค้าศึกษามาแล้ว :bow:
ผมศึกษาเอาจากคนเก่งๆทั้งหลายนั่นแหละครับ เช่น ไปสัมมนาบ่อยๆ อ่าน thaivi อ่านหนังสือ
จากนั้นผมก็มาเลือกลงทุนเองอีกที เรียกได้ว่าผมทำการบ้านของการบ้านของคนอื่นอีกทีครับ
อย่างน้อยเราก็ต้องเข้าใจในกิจการและวิเคราะห์ตามหลัก VI เองตามปกติด้วย
(ส่วนสไตล์การลงทุนแต่ละคนก็ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง)
และต้องคิดด้วยตัวเองอีกทีก่อนตัดสินใจ เพราะถ้าพลาดจะได้ไม่โทษคนอื่น แต่ถ้ากำไรต้องชมเค้านะครับ 😀
ซึ่งส่วนใหญ่มีหุ้นน้อยตัวที่ผมจะซื้อ
(การแห่ซื้อตามเซียนโดยไม่มีความรู้เป็นเรื่องอันตรายมากๆนะครับ)
ผมจะมองหาโอกาสที่ง่ายๆชัดๆ ซึ่งนานๆจะเจอที ปีๆเจอ 1 2 ทีก็พอแล้วครับ บางตัวก็อยู่หลายปี
เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือก็จะอยู่เฉยๆไม่ค่อยทำอะไร แต่ก็จะติดตามข่าวสารไปเรื่อยๆ
โดยเฉพาะเรื่องราวของหุ้นที่อยู่ในความสนใจของเรา ที่เหลือก็อ่านหนังสือบ้างไปตามเรื่องตามราว
ในพอร์ตก็มีหุ้นหลักๆ 2-3 ตัว ระหว่างปีก็มีแบ่งเงินบางส่วนมาลองผิดลองถูกบ้าง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามภาษาคนมือใหม่
นี่คือผลงานการลงทุนที่ผ่านมาของผม
2006 +58.6%
2007 +31.6%
2008 -30.7%
2009 +369.3%
คราวหน้าผมจะลองเล่าถึงประสบการณ์ลงทุนบ้าง เท่าที่นึกออกครับ
ตอนที่ 4: บทเรียน/ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ผมลองนึกดูว่า ที่ผ่านมาลงทุนยังไง เห็นอะไรมาบ้าง พบว่า
– การลงทุนให้ประสบความสำเร็จไม่ได้มีวิธีเดียว มีหลายวิธีที่สำเร็จได้ แนวทางใครแนวทางมัน
– หลังวิกฤตย่อมมีโอกาส แต่ก่อนจะมีโอกาสต้องรอดจากวิกฤต และเมื่อโอกาสมาถึงเราต้องกล้า
– อย่าให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการลงทุนมากจนเกินไป ความสม่ำเสมอและระยะเวลาการลงทุนต่างหากที่สำคัญมากกว่า
– และข้อสังเกตอื่นๆที่น่าสนใจ
การลงทุนให้สำเร็จไม่ได้มีวิธีเดียว
เมื่อก่อนผมเคยคิดว่า น่าจะมีแนวทางการลงทุนอันเดียวที่ดีที่สุด ที่เหมาะกับทุกคน ต้องลงทุนแบบนี้ถึงจะดี ลงทุนแบบอื่นๆนั้นไม่ดี
แต่เมื่อเวลาผ่านไปถึงรู้ว่า จริงๆแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะคนเรานั้นต่างกัน
ทางที่ประสบความสำเร็จไม่ได้มีทางเดียว แต่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักมีแนวทางเป็นของตัวเอง
บางคนเก่งหุ้น Cyclical บางคนชอบหุ้นถูกมีตัวเร่ง บางคนหุ้นฟื้นตัว บ้างก็หุ้นประมูลงาน บางคนชอบ Super Stock
บางคนเก่ง Commodities บางคนเก่ง Arbitrage บางคนเก่งทุกอย่างเลย :bow: หรือบางคนก็ใช้ Technical ใช้ Fund Flow ประกอบ
เรื่องการบริหารพอร์ต บางคนก็ชอบถือนานหลายปี บางคนถือไม่นานมากหุ้นขึ้นก็ขายเปลี่ยนตัว บางคนถือแค่ไม่กี่หุ้น
แต่บางคนก็ชอบกระจายหลายหุ้น หรือบางคนอาจจะเหมาะลงทุนในกองทุนดัชนีโดยไม่ต้องเลือกหุ้นเลยก็ยังได้
ไม่มีใครถูกใครผิด แนวทางไหนไม่สำคัญ ที่สำคัญคือเราต้องแน่ใจว่าเรารู้เรื่องเหล่านั้นจริงๆ
(มีนักลงทุนฝีมือดีท่านนึงเคยกล่าวว่า แมวสีไหนไม่สำคัญ ขอให้จับหนูได้ก็พอแล้ว)
ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเก็บหุ้นเด็ดทุกตัว เอาแค่ไม่กี่ตัวที่เราเข้าใจได้ก็พอแล้ว ผมเองพลาดหุ้นเด็ดไปตั้งเยอะ
บางตัวก็เป็นโอกาสที่ดีซึ่งผมก็เสียดายเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ไม่ลงทุนเพราะยังไม่เข้าใจพอ และบางตัวก็ไม่ใช่แนวที่ถนัด 😳
หุ้นที่ผมไม่เคยลงทุนเช่น AIT BANPU BGH BH BLA BOL CPF CPN DSGT GFPT ILINK IRP KH MINT PB PDI PS PTT PTTEP
SAT SCIB SCNYL SIS SNC SPALI SSF STPI SVI TICON TNH TOP TPAC TTA UEC UMS UVAN WG
ตลอด 4 ปีที่ลงทุนมา กว่า 80% ของผลตอบแทนการลงทุนเกิดจากหุ้นหลักๆเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น (4-5 ตัว)
ส่วนผลงานอีก 20% ที่เหลือเกิดจากหุ้นจำนวนมากกว่าที่ผมลองซื้อขายบ่อยๆแบบเก็งกำไร ซึ่งช่วงหลังผมพยายามทำให้น้อยลง
ที่ผ่านมาสไตล์การลงทุนหลักที่ผมใช้คือเน้นลงทุนน้อยตัว (Focus) ถ้าภาวะปกติ ผมจะเลือกหุ้นคุณภาพที่มี DCA + Growth
ยกเว้นถ้าเกิดวิกฤตเหมือนปีที่แล้ว ผมจะเลือกหุ้นถูก + ฟื้นตัว + DCA
ส่วนนักลงทุนท่านอื่นๆก็มีแนวทางของเค้า มีผลงานการลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงๆมากมาย
ต้องรอดจากวิกฤต และเมื่อโอกาสมาถึงต้องกล้า
การลงทุนที่ผ่านมา ผมคิดว่าผมมีโชคอยู่มากพอควร (จะเรียกว่าฟลุ๊คบ้างก็ได้) แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ผลตอบแทนที่คิดเป็นเม็ดเงินส่วนใหญ่ของผมเกิดขึ้นในปี 2009 เหมือนมีคนเคยบอกว่า
โอกาสใหญ่ๆของคนเรามีแค่ไม่กี่ครั้งในชีวิต เมื่อมันมาถึงเราต้องกล้า แต่ไม่ใช่อยู่ๆก็กล้า เราต้องศึกษาต้องเห็นมาก่อน
ตอนผมอ่าน ตีแตก อ่านบทความ ผมทั้งดีใจและเสียใจ เสียใจที่โอกาสดีๆแบบตอนนั้น มันผ่านไปแล้ว ไม่รู้เมื่อไหร่จะมาอีก
ผมพอรู้เรื่องราวของหุ้นเรือ หุ้นปี 2003 ตอนนั้นผมบอกกับตัวเองว่า ถ้าโอกาสครั้งหน้ามาถึงผมต้องไม่พลาด
แต่เนื่องจากโอกาสจะมาหลังวิกฤต ดังนั้นก่อนจะมีโอกาสได้ เราต้องรอดจากวิกฤตซะก่อนเพราะถ้าพลาดเราอาจไม่ได้แก้ตัวอีก
(ที่จริงปี 2008 ผลตอบแทนผมก็ติดลบ 30% ไม่รู้จะเรียกว่ารอดดีรึเปล่า 😳 )
ดังคำกล่าวว่า ถ้าเรารู้ว่าเราจะตายที่ไหน ก็อย่าไปที่นั้น
ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าโอกาสขาดทุนครั้งใหญ่เกิดได้ยังไง เราก็อาจจะพอหลีกเลี่ยงได้บ้าง
เท่าที่ผมเห็น โอกาสขาดทุนครั้งใหญ่มักจะเกิดจาก การลงทุนในหุ้นคุณภาพต่ำหรืองั้นๆในเวลาทองของธุรกิจนั้น และ
การใช้ Margin ที่มากเกินไป หรือทั้งสองอย่างรวมกัน :vm:
อีกอย่างคือ การลงทุนหุ้นคุณภาพดีในราคาที่แพงเกินไป เช่น PE 40 เท่าบนกำไรปกติ (ที่ผ่านมา VI น้อยคนที่จะลงทุนแบบนี้)
หรือแม้แต่ การลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นที่ร้อนแรง เช่น ลองนึกถึงตลาดหุ้นจีนตอนก่อนวิกฤตที่ PE 40 เท่าดู
(ไม่ต้องพูดถึงหุ้นปั่น หรือการเล่นเก็งกำไร Futures ซึ่งนักลงทุนทุกคนควรรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสหมดตัวได้ทุกเมื่อ)
ดูเหมือนผมจะพูดย้อนหลังใครก็พูดได้