http://www.thairath.co.th/content/498504
นาทีเป็นนาทีตาย อุบัติเหตุบิ๊กไบค์
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพิ่งออกมาเรียกร้องให้ผู้ใช้รถ ใช้ถนน มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน และยังเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกยึดใบขับขี่ผู้ที่เมาแล้วขับในทันที
สิ้นเสียงพลเอกประยุทธ์ไปไม่นาน เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2558
เวลาประมาณ 12.10 น. เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนรถมอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ชาวต่างชาติ บาดเจ็บ และเสียชีวิต ที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา บริเวณทางโค้ง บ้านปะแดรู ถนนสายยะหา-กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลา พบรถกระบะยี่ห้อ อีซูซุ ดีแมคซ์ ทะเบียน กท 1974 สงขลา มีผู้โดยสารมากับรถกระบะทั้งหมด 3 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ตัวคนขับรถกระบะมีกลิ่นสุรา
และพบรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ BMW GSA 1200 และ Honda CBR 1000 RR ทะเบียนประเทศมาเลเซีย สภาพเสียหายทั้งสองคัน พบผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 คน และผู้บาดเจ็บสาหัสอีก 1 คน
ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า รถกระบะวิ่งมาด้วยความเร็ว พอมาถึงบริเวณทางโค้ง รถกระบะวิ่งส่ายออกไปนอกเลน เสียการทรงตัวไปชนกับรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์สองคันที่วิ่งสวนมาอีกฝั่งอย่างแรงจนมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ส่วนรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ที่เหลืออีกสองคันได้ขับขี่ทิ้งระยะไปข้างหน้า จึงไม่ได้รับอันตราย
นับเป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่น่าสะเทือนใจและน่าอับอาย คนไทยดื่มสุราแล้วขับรถแหกโค้ง เป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวเสียชีวิต แต่เรื่องน่าอายสำหรับประเทศไทยไม่ได้มีแค่นั้น...
ภควัติ สายศิลป์ อาสาสมัครศูนย์กู้ภัยแม่กอเหนี่ยว ยะหา จังหวัดยะลา เล่าว่า หลังอุบัติเหตุเกิดขึ้น ได้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตไปโรงพยาบาลยะหาเพื่อชันสูตรศพ ใช้เวลากว่าสองชั่วโมง จากนั้นได้เคลื่อนศพไปฝากไว้ยังห้องดับจิตของโรงพยาบาลยะลา เพื่อรอทางญาติมารับ
เพื่อนของผู้เสียชีวิตที่เดินทางตามมาที่โรงพยาบาลด้วย ทราบชื่อต่อมาคือ Mr.Nulhisham Bin Hasnul ขอให้พาไปหาเพื่อนอีกคนที่ได้รับบาดเจ็บชื่อ Mr.Kenneth Ong เมื่อไปถึงบริเวณห้องผ่าตัด ได้พบกับผู้ได้รับบาดเจ็บนอนรออยู่บนเตียง อาสาหน่วยกู้ภัยและชาวมาเลเซียจึงไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ว่า ทำไมคนไข้ยังไม่ได้ผ่าตัด เจ้าหน้าที่ของ รพ.ยะลา แจ้งว่า...
“ยังผ่าตัดไม่ได้ เพราะต้องจ่ายเงินสด จำนวนแปดหมื่นบาทก่อน”
ภควัติ บอกว่า อาสากู้ภัยได้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่า คนเจ็บประสบเหตุที่ถนนยะลา-กาบัง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงของวันนี้ และยืนยันว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับไม่ได้ขาดต่อ ขอให้ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากทาง พ.ร.บ. และได้โปรดช่วยรักษาคนเจ็บก่อน ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ยืนยันเช่นเดิม ว่าไม่ได้
Mr.Nulhisham Bin Hasnul หรือที่เพื่อนๆ เรียกว่า Sham (แชม) บอกว่า ณ นาทีนั้น แทบไม่เชื่อตัวเองว่ากำลังยืนอยู่บนประเทศไทย ประเทศซึ่งรักเหมือนบ้านเกิด เขาได้พยายามรวบรวมเงินที่มีอยู่ในตัวทุกสกุลเงิน รวมทั้งหมดประมาณสองหมื่นบาท
“ผมบอกกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอีกครั้งว่า กำลังติดต่อญาติที่มาเลเซียให้โอนเงินมาให้เพิ่มเติม เพื่อนผมตายไปหนึ่งคนแล้ว ผมไม่อยากเสียเพื่อนไปอีก ช่วยรักษาก่อน แล้วเงินอีกหกหมื่นที่เหลือจะรีบหามาให้ภายในวันนี้ ซึ่งสีหน้าและน้ำเสียงในการปฏิเสธ ทำให้...น้ำตาของผมต้องไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว”
แชม บอกว่านาทีนั้น รู้สึกว่าต้องสูญเสียเพื่อนไปอีกคน เงินจำนวนแปดหมื่น ไม่เยอะสำหรับคนฐานะอย่างผม แต่ผมมาเที่ยวประเทศไทย เพิ่งไปบริจาคเงินที่มัสยิดแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ผมจะพกเงินขนาดนั้นติดตัวมาขี่มอเตอร์ไซค์งั้นหรือ ไม่มีทางเลือกอื่น จึงโทร.หาเพื่อนๆให้รีบช่วยเหลือ
นับว่าโชคดีที่เพื่อนของแชม รู้จักกับนักธุรกิจไทยหลายคน เขาจึงต่อสายโทรศัพท์มายัง รังษี จูดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ยูเอ็มไอพร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด และผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดชำนาญเพ็ญชาติ
รังษี เล่าว่า เวลาประมาณสามโมงเย็นของวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา เขาได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนชาวมาเลเซียว่า มีพรรคพวกขี่มอเตอร์ไซค์มาประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตในพื้นที่ยะลา ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก หลังจากที่วางโทรศัพท์แล้วได้พยายามติดต่อตำรวจ จนทราบว่าเหตุเกิดพื้นที่ สภ.ยะหา แต่ยังไม่ได้รายละเอียด ก็มีสายโทรศัพท์เรียกเข้าจากแชม
แชมโทร.มาบอกว่า อยู่ที่ รพ.ยะลา และทาง รพ. ต้องการเงินจำนวนแปดหมื่น แต่เขามีเงินมาแค่สองหมื่น ช่วยโอนเงินให้เขายืมก่อน ในใจตอนนั้นรู้สึกงงกับสิ่งที่ได้ยิน ยังคิดว่า แชม เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า จึงรีบโทรศัพท์กลับไปที่โรงพยาบาลยะลา
เมื่อติดต่อได้ จึงได้คุยกับเจ้าหน้าที่ ทราบว่าคนเจ็บกระดูกแขน และขาแตกละเอียดจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ เกรงว่าหากผ่าตัดไปแล้ว จะไม่มีใครรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องให้ญาติคนไข้หาเงินมาชำระก่อน เจ้าหน้าที่ผู้หญิงใน รพ.ยะลา ยังขอความเห็นใจว่าการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูง แต่พวกหนูเงินเดือนน้อย เคยมีเหตุการณ์ที่ผ่าตัดให้คนไข้ไปแล้ว คนไข้หนีไม่มาจ่ายเงิน ทางเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนผ่าตัด ต้องถูกหักเงินเดือน เพื่อไปชำระค่าผ่าตัดแทน
เมื่อได้ยินเช่นนั้น จึงขอหมายเลขบัญชีธนาคารของ รพ. และแจ้งว่า จะโอนเงินไปให้ทันที แต่จะส่งสำเนาใบโอนเงินให้ผู้ใหญ่ เมื่อเจ้าหน้าที่ รพ.ได้ยินดังนั้น ก็ตอบว่า งั้นไม่เป็นไร คนไข้กำลังจะได้รับการผ่าตัด
ปีนี้ พ.ศ.2558 ไม่เชื่อว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง เจตจำนง พ.ร.บ.ภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องทำก่อนต่อทะเบียน เพื่อจะนำเงินของ พ.ร.บ. ไปจ่ายค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บ เรื่องเหล่านี้ วันนี้ใช้ไม่ได้แล้วหรือ?
สกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ ได้ติดต่อไปยังสายด่วนของสามัคคีประกันภัย ได้รับการยืนยันว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ ต้องจ่ายเงินรักษาให้กับคนเจ็บ โดยไม่ต้องรอสอบสวน ว่าใครผิดหรือถูก ในวงเงินสูงสุด 50,000 บาท คนเจ็บไม่ต้องมีเงินติดตัวก็เข้ารับการรักษาได้ทันที
หากกรณีเสียชีวิต จะจ่าย 200,000 บาท และค่าทำศพอีก 35,000 บาท ให้กับทายาท ซึ่งทุกบริษัทประกันภัยมาตรฐานเดียวกันหมด
ภควัติ เสริมว่า ทำงานอาสาสมัครกู้ภัยมากว่า 4 ปี ประสบเหตุการณ์ร้ายๆมาพอสมควร แต่กรณีนี้ไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไมต้องเรียกเงินก่อน
เขาย้ำว่า ทาง รพ.ยะหา ส่งคนเจ็บต่อให้ รพ.ยะลา ในเวลา 12.50 น. กว่าที่จะตกลงกันได้ คนเจ็บเข้าห้องผ่าตัดเมื่อเวลา 17.50 น.
แหล่งข่าวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลยะลา บอกว่า จากการดูประวัติของคนไข้รายนี้ ทราบว่า มีอาการแขนหัก กระดูกสะโพกหัก ขาหัก บาดเจ็บในช่องท้อง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีรอยฉีกขาดที่ตับ...การผ่าตัดบางครั้งอุปกรณ์หลายตัวไม่สามารถเบิกได้ คนไข้ต้องสำรองจ่ายเอง
ซึ่งทางแพทย์จะแจ้งให้ญาติทราบก่อนผ่าตัด แต่ยังไม่เคยได้ยินว่า ต้องนำเงินมาก่อนจึงจะยอมผ่าตัดให้ ถ้าเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่มีคนไทยอยู่ในเหตุการณ์ ก็อาจเดาว่า มีการสื่อสารกันผิดพลาด
ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของ รพ.ยะลา จะมีเหตุผลในการปฏิเสธไม่ผ่าตัด ไม่รักษา คนเจ็บชาวมาเลเซียคนนี้อย่างไรก็ตาม แต่ภาพลักษณ์ที่ดีงามของประเทศไทย ได้ถูกทำลายลงไปแล้ว...ไม่ใช่น้อย
วันนี้...กลุ่มรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ในมาเลเซีย ตั้งฉายาใหม่ให้กับประเทศไทยสยามเมืองยิ้มว่า “No money No operation” แปลว่า... “ไม่มีเงิน ไม่ผ่าตัดให้”.
คิดอย่างไรกับข่าวนี้ครับ คนเมาแล้วขับคราวนี้ชนบิ๊กไบค์2คันเสียชีวิต1สาหัส1 คน
นาทีเป็นนาทีตาย อุบัติเหตุบิ๊กไบค์
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพิ่งออกมาเรียกร้องให้ผู้ใช้รถ ใช้ถนน มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน และยังเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกยึดใบขับขี่ผู้ที่เมาแล้วขับในทันที
สิ้นเสียงพลเอกประยุทธ์ไปไม่นาน เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2558
เวลาประมาณ 12.10 น. เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนรถมอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ชาวต่างชาติ บาดเจ็บ และเสียชีวิต ที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา บริเวณทางโค้ง บ้านปะแดรู ถนนสายยะหา-กาบัง อ.ยะหา จ.ยะลา พบรถกระบะยี่ห้อ อีซูซุ ดีแมคซ์ ทะเบียน กท 1974 สงขลา มีผู้โดยสารมากับรถกระบะทั้งหมด 3 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ตัวคนขับรถกระบะมีกลิ่นสุรา
และพบรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ BMW GSA 1200 และ Honda CBR 1000 RR ทะเบียนประเทศมาเลเซีย สภาพเสียหายทั้งสองคัน พบผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 คน และผู้บาดเจ็บสาหัสอีก 1 คน
ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า รถกระบะวิ่งมาด้วยความเร็ว พอมาถึงบริเวณทางโค้ง รถกระบะวิ่งส่ายออกไปนอกเลน เสียการทรงตัวไปชนกับรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์สองคันที่วิ่งสวนมาอีกฝั่งอย่างแรงจนมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ส่วนรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ที่เหลืออีกสองคันได้ขับขี่ทิ้งระยะไปข้างหน้า จึงไม่ได้รับอันตราย
นับเป็นอีกหนึ่งอุบัติเหตุที่น่าสะเทือนใจและน่าอับอาย คนไทยดื่มสุราแล้วขับรถแหกโค้ง เป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวเสียชีวิต แต่เรื่องน่าอายสำหรับประเทศไทยไม่ได้มีแค่นั้น...
ภควัติ สายศิลป์ อาสาสมัครศูนย์กู้ภัยแม่กอเหนี่ยว ยะหา จังหวัดยะลา เล่าว่า หลังอุบัติเหตุเกิดขึ้น ได้ช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตไปโรงพยาบาลยะหาเพื่อชันสูตรศพ ใช้เวลากว่าสองชั่วโมง จากนั้นได้เคลื่อนศพไปฝากไว้ยังห้องดับจิตของโรงพยาบาลยะลา เพื่อรอทางญาติมารับ
เพื่อนของผู้เสียชีวิตที่เดินทางตามมาที่โรงพยาบาลด้วย ทราบชื่อต่อมาคือ Mr.Nulhisham Bin Hasnul ขอให้พาไปหาเพื่อนอีกคนที่ได้รับบาดเจ็บชื่อ Mr.Kenneth Ong เมื่อไปถึงบริเวณห้องผ่าตัด ได้พบกับผู้ได้รับบาดเจ็บนอนรออยู่บนเตียง อาสาหน่วยกู้ภัยและชาวมาเลเซียจึงไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ว่า ทำไมคนไข้ยังไม่ได้ผ่าตัด เจ้าหน้าที่ของ รพ.ยะลา แจ้งว่า...
“ยังผ่าตัดไม่ได้ เพราะต้องจ่ายเงินสด จำนวนแปดหมื่นบาทก่อน”
ภควัติ บอกว่า อาสากู้ภัยได้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่า คนเจ็บประสบเหตุที่ถนนยะลา-กาบัง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงของวันนี้ และยืนยันว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับไม่ได้ขาดต่อ ขอให้ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากทาง พ.ร.บ. และได้โปรดช่วยรักษาคนเจ็บก่อน ซึ่งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ยืนยันเช่นเดิม ว่าไม่ได้
Mr.Nulhisham Bin Hasnul หรือที่เพื่อนๆ เรียกว่า Sham (แชม) บอกว่า ณ นาทีนั้น แทบไม่เชื่อตัวเองว่ากำลังยืนอยู่บนประเทศไทย ประเทศซึ่งรักเหมือนบ้านเกิด เขาได้พยายามรวบรวมเงินที่มีอยู่ในตัวทุกสกุลเงิน รวมทั้งหมดประมาณสองหมื่นบาท
“ผมบอกกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอีกครั้งว่า กำลังติดต่อญาติที่มาเลเซียให้โอนเงินมาให้เพิ่มเติม เพื่อนผมตายไปหนึ่งคนแล้ว ผมไม่อยากเสียเพื่อนไปอีก ช่วยรักษาก่อน แล้วเงินอีกหกหมื่นที่เหลือจะรีบหามาให้ภายในวันนี้ ซึ่งสีหน้าและน้ำเสียงในการปฏิเสธ ทำให้...น้ำตาของผมต้องไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว”
แชม บอกว่านาทีนั้น รู้สึกว่าต้องสูญเสียเพื่อนไปอีกคน เงินจำนวนแปดหมื่น ไม่เยอะสำหรับคนฐานะอย่างผม แต่ผมมาเที่ยวประเทศไทย เพิ่งไปบริจาคเงินที่มัสยิดแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ผมจะพกเงินขนาดนั้นติดตัวมาขี่มอเตอร์ไซค์งั้นหรือ ไม่มีทางเลือกอื่น จึงโทร.หาเพื่อนๆให้รีบช่วยเหลือ
นับว่าโชคดีที่เพื่อนของแชม รู้จักกับนักธุรกิจไทยหลายคน เขาจึงต่อสายโทรศัพท์มายัง รังษี จูดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ยูเอ็มไอพร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด และผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดชำนาญเพ็ญชาติ
รังษี เล่าว่า เวลาประมาณสามโมงเย็นของวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา เขาได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนชาวมาเลเซียว่า มีพรรคพวกขี่มอเตอร์ไซค์มาประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตในพื้นที่ยะลา ซึ่งยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก หลังจากที่วางโทรศัพท์แล้วได้พยายามติดต่อตำรวจ จนทราบว่าเหตุเกิดพื้นที่ สภ.ยะหา แต่ยังไม่ได้รายละเอียด ก็มีสายโทรศัพท์เรียกเข้าจากแชม
แชมโทร.มาบอกว่า อยู่ที่ รพ.ยะลา และทาง รพ. ต้องการเงินจำนวนแปดหมื่น แต่เขามีเงินมาแค่สองหมื่น ช่วยโอนเงินให้เขายืมก่อน ในใจตอนนั้นรู้สึกงงกับสิ่งที่ได้ยิน ยังคิดว่า แชม เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า จึงรีบโทรศัพท์กลับไปที่โรงพยาบาลยะลา
เมื่อติดต่อได้ จึงได้คุยกับเจ้าหน้าที่ ทราบว่าคนเจ็บกระดูกแขน และขาแตกละเอียดจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ เกรงว่าหากผ่าตัดไปแล้ว จะไม่มีใครรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องให้ญาติคนไข้หาเงินมาชำระก่อน เจ้าหน้าที่ผู้หญิงใน รพ.ยะลา ยังขอความเห็นใจว่าการผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายสูง แต่พวกหนูเงินเดือนน้อย เคยมีเหตุการณ์ที่ผ่าตัดให้คนไข้ไปแล้ว คนไข้หนีไม่มาจ่ายเงิน ทางเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนผ่าตัด ต้องถูกหักเงินเดือน เพื่อไปชำระค่าผ่าตัดแทน
เมื่อได้ยินเช่นนั้น จึงขอหมายเลขบัญชีธนาคารของ รพ. และแจ้งว่า จะโอนเงินไปให้ทันที แต่จะส่งสำเนาใบโอนเงินให้ผู้ใหญ่ เมื่อเจ้าหน้าที่ รพ.ได้ยินดังนั้น ก็ตอบว่า งั้นไม่เป็นไร คนไข้กำลังจะได้รับการผ่าตัด
ปีนี้ พ.ศ.2558 ไม่เชื่อว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง เจตจำนง พ.ร.บ.ภาคบังคับ ที่รถทุกคันต้องทำก่อนต่อทะเบียน เพื่อจะนำเงินของ พ.ร.บ. ไปจ่ายค่ารักษาพยาบาลคนเจ็บ เรื่องเหล่านี้ วันนี้ใช้ไม่ได้แล้วหรือ?
สกู๊ปหน้า 1 ไทยรัฐ ได้ติดต่อไปยังสายด่วนของสามัคคีประกันภัย ได้รับการยืนยันว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ ต้องจ่ายเงินรักษาให้กับคนเจ็บ โดยไม่ต้องรอสอบสวน ว่าใครผิดหรือถูก ในวงเงินสูงสุด 50,000 บาท คนเจ็บไม่ต้องมีเงินติดตัวก็เข้ารับการรักษาได้ทันที
หากกรณีเสียชีวิต จะจ่าย 200,000 บาท และค่าทำศพอีก 35,000 บาท ให้กับทายาท ซึ่งทุกบริษัทประกันภัยมาตรฐานเดียวกันหมด
ภควัติ เสริมว่า ทำงานอาสาสมัครกู้ภัยมากว่า 4 ปี ประสบเหตุการณ์ร้ายๆมาพอสมควร แต่กรณีนี้ไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไมต้องเรียกเงินก่อน
เขาย้ำว่า ทาง รพ.ยะหา ส่งคนเจ็บต่อให้ รพ.ยะลา ในเวลา 12.50 น. กว่าที่จะตกลงกันได้ คนเจ็บเข้าห้องผ่าตัดเมื่อเวลา 17.50 น.
แหล่งข่าวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลยะลา บอกว่า จากการดูประวัติของคนไข้รายนี้ ทราบว่า มีอาการแขนหัก กระดูกสะโพกหัก ขาหัก บาดเจ็บในช่องท้อง มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีรอยฉีกขาดที่ตับ...การผ่าตัดบางครั้งอุปกรณ์หลายตัวไม่สามารถเบิกได้ คนไข้ต้องสำรองจ่ายเอง
ซึ่งทางแพทย์จะแจ้งให้ญาติทราบก่อนผ่าตัด แต่ยังไม่เคยได้ยินว่า ต้องนำเงินมาก่อนจึงจะยอมผ่าตัดให้ ถ้าเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่มีคนไทยอยู่ในเหตุการณ์ ก็อาจเดาว่า มีการสื่อสารกันผิดพลาด
ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของ รพ.ยะลา จะมีเหตุผลในการปฏิเสธไม่ผ่าตัด ไม่รักษา คนเจ็บชาวมาเลเซียคนนี้อย่างไรก็ตาม แต่ภาพลักษณ์ที่ดีงามของประเทศไทย ได้ถูกทำลายลงไปแล้ว...ไม่ใช่น้อย
วันนี้...กลุ่มรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ในมาเลเซีย ตั้งฉายาใหม่ให้กับประเทศไทยสยามเมืองยิ้มว่า “No money No operation” แปลว่า... “ไม่มีเงิน ไม่ผ่าตัดให้”.